108 เส้นทางออมบุญ
108 เส้นทางออมบุญ
ศาสนสถานสำคัญในเมืองไทย (ศาสนาอื่นๆ)
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
หลังจากที่พระบาทสมเด็จระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่1 )
ได้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีแล้ว ทรงโปรดฯให้สร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
รวมทั้งเสาชิงช้าในปี พ.ศ.2327 เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีพราหมณ์
ดังมีพระราชประเพณีปฏิบัติมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นมาคู่กับพระนคร
ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยันความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูในสังคมไทย
ทีมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสังคมไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีต
ภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ มีโบสถ์ก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้อง 3
หลัง สำหรับประดิษฐานเทพเจ้าชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู คือสถานพระอิศวร
เป็นโบสถ์หลังใหญ่ ภายในประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรทำด้วยสัมฤทธิ์ ประทับยืน
ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างและยังมีเทวรูปอื่นๆ
อีกหลายพระองค์สองข้างแท่นมีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิ และพระอุมาทรงโคนันทิ
เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณ มีมาแล้วก่อนสมัยรัชกาลที่ 5
ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร
สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมปวาย
โบสถ์กลางนั้นเป็นสถานพระพิฆเณศวร มีพาไลทั้งด้านหน้า
และด้านหลังแบบศิลปกรรมอยุธยา ภายในโบสถ์ประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวร ประทับนั่ง 5
องค์ ทำด้วยหิน และสัมฤทธิ์
ส่วนโบสถ์ริมนั้นเป็นสถานพระนารายณ์ มีรูปทรงเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร
ภายในมีบุษบก 3 หลัง หลังกลางประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ประทับยืนขนาด 1.5 เมตร
ทำด้วยสำริดบุษบกอีก 2 ข้าง ประดิษฐานพระลักษมี และพระมเหศวรีประทับยืน
ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้าเสาชิงช้าข้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์
นอกจากนี้บริเวณลานของเทวสถานนั้นมีเทวาลัยขนาดเล็กเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระพรหมตั้งอยู่กลางบ่อน้ำด้วย
สถานที่ตั้ง
ถ.ดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เดิมทีนั้นหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานเสาชิงช้า
เพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวาย
ที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนยี่ เพราะถือว่าเป็นวันปีใหม่ของพราหมณ์
ภายหลังได้มีการย้ายเสาชิงช้ามาบริเวณด้านหน้าวัดสุทัศน์ ในสมัยรัชกาลที่ 5
ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน และได้มีการยกเลิกพระราชพิธีตรียัมปวายในภายหลัง
วัน และเวลาเปิด-ปิด
การเข้าชมควรติดต่อสอบถามรายละเอียดก่อนล่วงหน้า โทร. 0 2222 6951
|