108 เส้นทางออมบุญ
108
เส้นทางออมบุญ
ออมบุญเพื่อสิริมงคลแห่งชีวิต (ภาคเหนือ)
วัดท่าถนน
อุตรดิตถ์
โดย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
วัดท่าถนน
อุตรดิตถ์
วัดท่าถนน เป็นที่เคารถศรัทธาอย่างมาก
เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัด
และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวอุตรดิตถ์หรือชาวเมืองลับแลแห่งนี้เสมอมา
ตามประวัตินั้นเล่าว่าหลวงพ่อด้วงผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้เป็นผู้ค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้ในจอมปลวกขนาดใหญ่ขณะที่ท่านเดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่ง
และได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดหมอนไม้ ในปี พ.ศ.2436
ต่อมาท่านได้นำไปถวายให้แก่เจ้าอาวาสวัดวังเตาหม้ออันเป็นชื่อเดิมของ
วัดท่าถนนแห่งนี้
เนื่องจากเห็นว่ามีความเหมาะสมกว่าในการเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรนี้ด้วยประการทั้งปวง
และเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
5
ทรงโปรดให้สร้างวัดเบญจม-บพิตรขึ้นนั้นได้ทรงให้รวบรวมพระพุทธรูปที่งดงามจากหัวเมืองทั่วประเทศ
เพื่อมาประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจม-บพิตร
ด้วยพุทธลักษณะซึ่งงดงามยิ่งของหลวงพ่อเพชร
ท่านจึงได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานด้วยเช่นกัน
เล่ากันว่าสร้างด้วยความเศร้าโศกให้เจ้าอาวาสวัดวังเตาหม้อเป็นอย่างมาก
ท่านจึงได้ออกธุดงค์จากวัดไปและไม่กลับมาอีกเลย
จนกระทั่งมรณภาพอยู่บนเขานาตารอดแถวบริเวณ ต.บ้านด่าน
และชื่อที่ชาวอุตรดิตถ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรนั้น
ก็มาจากชื่อท่านเจ้าอาวาสองค์ที่มรณภาพไปนั่นเอง
ทว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรได้เพียง 10 ปี
เท่านั้น รัชกาลที่ 5 ก็ทรงให้อัญเชิญท่านกลับคืนมาอยู่ที่วัดท่าถนนตามเดิมในปี
พ.ศ.2453 ตามคำขอของชาวอุตรดิตถ์
โดยครั้งนั้นมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่าหลวงพ่อเพชรได้เข้าพระสุบิน
และขอให้ส่งท่านคืนไปยังเมืองอุตรดิตถ์ดังเดิม
และท่านก็ได้ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญของชาวอุตรดิตถ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้
วันและเวลาเปิด- ปิด
เปิดให้สักการะทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 06.00 - 1 8.00 น.
สถานที่ตั้ง
ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
ความเชื่อและวิธีการบูชา
แม้เรื่องราวจะผ่านมานานแต่ชาวอุตรดิตถ์ยังเล่าขานถึงตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเพชรเรื่อยมา
เช่นเรื่องเล่าเมื่อครั้งที่เกิดไฟไหม้ตลาดอุตรดิตถ์นั้น
เล่ากันว่าเปลวไฟนั้นไม่อาจลุกลามเข้าไปในวิหารหลวงพ่อเพชรได้ จึงทำให้พระ
และเณรที่หลบอยู่ภายในปลอดภัย มีแต่รอยดำที่ประตูหน้าต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทุกวันที่หลวงพ่อเพชรยังคงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวอุตรดิตถ์อย่างเหนียวแน่น
โดยต่างเชื่อกันว่าบารมีของท่านจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อนนานา
และทำให้ชีวิตราบรื่นมั่นคง
เทศกาลงานประเพณี
งานนมัสการหลวงพ่อเพชรจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงกลางเดือน 4
(มีนาคม) ของทุกปี
คาถาบูชาหลวงพ่อเพชร
(ท่องนะโม 3 จบ) กาเยนะ วาจายะ เจตสา วะ วะชิรัง นามะ
ปฏิทัง อิทธิปาฏิหาริยะกะรัง พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะโส สะทา
โสตถี ภะวันตุ เม
|