108 เส้นทางออมบุญ
108 เส้นทางออมบุญ
ออมบุญเพื่อสิริมงคลแห่งชีวิต (ภาคเหนือ)
วัดพระธาตุช่อแฮ
แพร่
โดย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
วัดพระธาตุช่อแฮ
แพร่
พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุศักดิ์สิทธิ์เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่มาแต่โบราณ
เป็นพระบรมธาตุที่บรรจุพระเกศา
และพระบรมสารีริกธาตุส่วนข้อศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามคติความเชื่อของทางภาคเหนือนั้นยังถือเป้นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
หรือปีเสืออีกด้วย
ประวัติแห่งพระธาตุช่อแฮนั้นกล่าวไว้หลากหลายตำนานด้วยกัน
ตำนานหนังสือพระเจ้าเหยียบโลกกล่าวว่า
ขุนลัวะอ้ายก๊อมได้รับพระธาตุเกศาจากพระพุทธเจ้าขณะเสด็จประทับ ณ ดอยโกสิยธชค
เมืองพล(แพร่) ซึ่งได้สั่งให้นำไปเก็บไว้ที่ถ้ำใกล้บริเวณนี้
ในครั้งนั้นพระพุทธองค์รับสั่งไว้ด้วยว่าเมื่อทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วให้นำพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่สถานที่แห่งนี้
จนกว่าจะสิ้นอายุพระพุทธศาสนาห้าพันปี
ส่วนหลักฐานประวัติศาสตร์ตามพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย
กล่าวว่าพระธาตุช่อแฮนั้นได้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1879 -1881
ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงเป็นพระมหาอุปราชาปกครองเมืองศรีสัชนาลัย
พระธาตุแห่งนี้ได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านครแพร่ทุกพระองค์เรื่อยมา
ครูบาศรีวิชัยผู้เป็นนักบุญสำคัญแห่งล้านนายังเคยได้มาปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์นี้มาแล้ว
เทศกาล งานประเพณี
งานไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่ แห่ตุงหลวงจัดเป็นประจำทุกปี
วันแรกของานจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 - 15 ค่ำ เดือน 4 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์
ถึงต้นเดือนมีนาคม มีขบวนแห่งตุงหลวงถวายองค์พระธาตุและมหรสพตลอดงาน
สถานที่ตั้ง
ถ.ช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กม.
ความเชื่อและวิธีการบูชา
พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (เสือ)
ว่ากันว่าหากนำผ้าแพรเนื้อดีไปถวายองค์พระธาตุช่อแฮ จะทำให้มีแต่ความผาสุก
มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหน้าที่การงานและคุ้มครองป้องกันศัตรู
สำหรับคนทั่วไปเชื่อว่าการสวดบูชาพระธาตุจะช่วยดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการไปกราบหลวงพ่อทันใจ
ซึ่งถือว่าเป้ฯพระพุทธรูปทีมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง
และเชื่อว่าผู้ใดมาขอพรแล้วมักจะได้สมดังใจปรารถนา
คาถาบูชาพระธาตุช่อแฮ
(ท่องนะโม 3 จบ) โกเสยยะ ธะชัคคะปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะเกสาธาตุ
ปะติฎฐิตา อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
(5 จบ)
คาถาบูชาหลวงพ่อทันใจ
(ท่องนะโม 3 จบ) นะโม นะมะ สะขัง โกธะมัง ใจจะคุ (3 จบ)
|