108 เส้นทางออมบุญ
108 เส้นทางออมบุญ
ศาสนสถานสำคัญในเมืองไทย (ศาสนาคริสต์)
อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่
โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อาสนวิหารพระหฤทัย
เชียงใหม่
อาสนวิหารพระหฤทัย หรือ วัดพระหฤทัย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันตก
ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2474 โดยบาทหลวงจอร์จ มีราแบล
และพระสงฆ์ชาวไทยชื่อคุณพ่อนิโคลัส
ที่ร่วมกันสร้างวัดน้อยขึ้นหลังหนึ่งเป็นเรือนไม้หลังย่อม
ด้วยความช่วยเหลือของชาวคริสต์ในท้องถิ่น
เพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวคริสต์ในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ
โดยในปีถัดมานั้นพระสังฆราชเรอเนแปร์โรส หัวหน้าคณะบาทหลวง
ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเรียกว่า
โรงเรียนพระหฤทัย
โดยมีบาทหลวงมีราแบลเป็นผู้จัดการและครูใหญ่
ต่อมาในปี
พ.ศ. 2502 มีการสถาปนาสังฆมณฑลเขียงใหม่ขึ้น
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในแถบจังหวัดภาคเหนือตอนบน คือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน
พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน
วัดพระหฤทัยจึงเป็นศูนย์กลางแห่งสังฆมณฑลในภูมิภาคนี้
และมีการสร้างโบสถ์หลังใหม่แทนหลังเดิมที่คับแคบลง
เพื่อให้สามารถรองรับสัตบุรุษจำนวนมาก ที่มารวมตัวกันเพื่อประกอบศาสนกิจต่างๆ
ได้อย่างสะดวกขึ้น โดยวัดหลังที่สองนั้นเป็นโบสถ์ก่ออิฐถือปูน
ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2507
ปัจจุบันสังฆมณฑลเชียงใหม่ได้เติบโตมากขึ้น
อาคารโบสถ์หลังที่เห็นในปัจจุบันนั้นถือเป็นโบสถ์หลังที่ 3
ที่ได้บูรณะปรับปรุงจากโครงสร้างของโบสถ์หลังที่ 2
ที่ชำรุดทรุดโทรมลงเพราะกาลเวลา การบูรณะนั้นเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2542
สถานที่ตั้ง
ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
อาคารโบสถ์หลังใหม่นั้น มีขนาดใหญ่และสามารถรองรับผู้ที่มาประกอบศาสนกิจได้ถึง
600 คน สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่สวยงามแบบยุโรป
ซึ่งต่อเติมบนโครงสร้างของโบสถ์หลังเดิม
โดยมีบาทหลวงขาวอิตาลีเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในครั้งนั้น
ด้วยรูปแบบการตกแต่งที่สวยงามอย่างร่วมสมัย อาคารทรงเหลี่ยมหลังคาจั่ว
มียอดโดมสูงแบบสมัยใหม่ประดับไม้กางเขน
ภายในประกอบด้วยรูปวาดและประดับกระจกสีเป็นเรื่องราวที่มาจากพระคัมภีร์
บานประตูไม้แกะสลักที่ละเอียดสวยงาม ถือได้ว่าอาสนวิหารพระหฤทัย
เป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่งของชาวคาทอลิกในภูมิภาคนี้
ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน
ควบคู่กับประวัติการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทางภาคเหนือ
วันและเวลาเปิด
ปิด
การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า โทร.0
5327 1859
|