ท่องเที่ยว
||
เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
||
ดูดวงตำราไทย
||
อ่านบทละคร
||
เกมส์คลายเครียด
||
วิทยุออนไลน์
||
ดูทีวี
||
ท็อปเชียงใหม่
||
รถตู้เชียงใหม่
Truehits.net
dooasia : ดูเอเซีย
รวมเว็บ
บอร์ด
เรื่องน่ารู้ของสยาม
สิ่งน่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
เที่ยวหลากสไตล์
มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
เส้นทางความสุข
ขับรถเที่ยวตลอน
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
อุทยานแห่งชาติในไทย
วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ไก่ชนไทย
พระเครื่องเมืองไทย
เที่ยวภาคเหนือ
กำแพงเพชร
:
เชียงราย
:
เชียงใหม่
:
ตาก
:
นครสวรรค์
:
น่าน
:
พะเยา
:
พิจิตร
:
พิษณุโลก
:
เพชรบูรณ์
:
แพร่
:
แม่ฮ่องสอน
:
ลำปาง
:
ลำพูน
:
สุโขทัย
:
อุตรดิตถ์
:
อุทัยธานี
เที่ยวภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
:
ขอนแก่น
:
ชัยภูมิ
:
นครพนม
:
นครราชสีมา(โคราช)
:
บุรีรัมย์
:
มหาสารคาม
:
มุกดาหาร
:
ยโสธร
:
ร้อยเอ็ด
:
เลย
:
ศรีสะเกษ
:
สกลนคร
:
สุรินทร์
:
หนองคาย
:
หนองบัวลำภู
:
อำนาจเจริญ
:
อุดรธานี
:
อุบลราชธานี
:
บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
เที่ยวภาคกลาง
กรุงเทพฯ
:
กาญจนบุรี
:
ฉะเชิงเทรา
:
ชัยนาท
:
นครนายก
:
นครปฐม
:
นนทบุรี
:
ปทุมธานี
:
ประจวบคีรีขันธ์
:
ปราจีนบุรี
:
พระนครศรีอยุธยา
:
เพชรบุรี
:
ราชบุรี
:
ลพบุรี
:
สมุทรปราการ
:
สมุทรสาคร
:
สมุทรสงคราม
:
สระแก้ว
:
สระบุรี
:
สิงห์บุรี
:
สุพรรณบุรี
:
อ่างทอง
เที่ยวภาคตะวันออก
จันทบุรี
:
ชลบุรี
:
ตราด
:
ระยอง
เที่ยวภาคใต้
กระบี่
:
ชุมพร
:
ตรัง
:
นครศรีธรรมราช
:
นราธิวาส
:
ปัตตานี
:
พัทลุง
:
พังงา
:
ภูเก็ต
:
ยะลา
:
ระนอง
:
สงขลา
:
สตูล
:
สุราษฎร์ธานี
http://www.dooasia.com
>
กิจกรรมท่องเที่ยว
>
ดูนก
>
สภาพพื้นที่อาศัยของนก
สภาพพื้นที่อาศัย
สภาพพื้นที่อาศัยของนก
ประเทศไทยของเราตั้งอยู่ในเขตที่เป็นแหล่งรวมของนกจากเชิงเทือกเขาหิมาลัย พม่า ตอนใต้ของจีน อินโดจีน และนกที่พบทางคาบสมุทรมลายู จึงมีทั้งนกประจำถิ่นและนกย้ายถิ่นเป็นจำนวนกว่า 925 ชนิด ซึ่งนับว่ามีจำนวน มากเมื่อเทียบขนาดกับพื้นที่ของประเทศ และยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อนกหายากหลายชนิดใช้ประเทศไทยเป็น เส้นทางในการอพยพย้ายถิ่นในฤดูหนาว
ก่อนที่จะทราบถึงแหล่งดูนกในประเทศไทย เราควรทราบถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเสียก่อนว่ามีแบบใดบ้าง ถิ่น ที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของนกในประเทศไทย พอแบ่งออกเป็น 12 ประเภทได้ดังนี้
1. ป่าเขาสูง หรือป่าดิบเขา โดยทั่วไปเรามักยึดหลักกันว่าป่าที่เรียกว่าป่าดิบเขาจะต้องมีความสูงจากระดับน้ำ ทะเลไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร พบได้ทั่วไปทุกภาค แต่พบได้มากในภาคเหนือสภาพป่ามักเป็นป่าทึบ ต้นไม้ ไม่สูงมากนัก ในป่าที่สูงมาก ๆ เช่น ตามยอดดอยต่าง ๆมักมีมอสและเฟิร์นขึ้น แสดงถึงความชื้นในป่านั้น มีสูง นกที่พบในป่าเขาสูงมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะพบได้เฉพาะในป่าประเภทนี้เท่านั้น เช่น นกศิวะหางสี น้ำตาล (Chestnut-tailed Minla) นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed Sunbird) และนก โพระดกคางเหลือง (Golden-throated Barbet) เป็นต้น
2. ป่าดงดิบ ป่าดงดิบแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบฝน ในที่นี้ป่าดงดิบ หมายถึง ป่าดงดิบที่อยู่ระดับความสูงตั้งแต่ 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป จนถึงระดับ 1,000 เมตร พรรณ ไม้จะมีหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพของดินและภูมิศาสตร์ของป่าดิบนั้น ๆ นกป่าส่วนใหญ่อาศัย อยู่ในป่าประเภทนี้ เช่น นกกก (Great Hornbill) นกพญาไฟใหญ่ (Scalet Minivet) นกเขียวก้าน ตองปีกสีฟ้า (blue-winged Leafbird) และนกเขียวคราม (Asian Fairy-bluebird) เป็นต้น
3. ป่าเบญจพรรณ ป่าประเภทนี้เป็นป่าที่มีความสำคัญแก่นกและสัตว์ป่ามาก เนื่องจากมีความหลากหลายของ พรรณไม้ ทำให้มีอาหารหลายอย่างให้สัตว์ได้เลือก มีนกที่น่าสนใจ เช่น พวกไก่ฟ้า (Pheasants) นกขุนแผนอกสีส้ม (Orange-breasted trogon) นกโพระดกหูเขียว (Green-eared Barbet) เป็น ต้น
4. ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังเป็นป่าที่ขึ้นในบริเวณที่ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์นัก มีพรรณไม้เด่น เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ ทุ่งฟ้า ส้าน นกที่พบประจำในป่าเต็งรัง คือ พวกนกหัวขวาน (Woodpeckers) เช่น นกหัวขวานเขียว ตะโพกแดง (Black-headed Woodpecker) นกหัวขวานใหญ่สีดำ (White-bellied Woodpecker ) และนกป่าอื่น ๆ เช่น นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (Chestnut-belllied Nuthatch) และนกปีกลายสก๊อท (Eurasian Jay) เป็นต้น
5. ป่าในที่ราบต่ำ ป่าที่อยู่จากระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นป่าที่ มีความอุดมสมบูรณ์และมีเหลืออยู่น้อยในบ้านเรา นกที่พบมีที่น่าสนใจ เช่น นกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney's Pitta) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกโพระดกหลากสี (Red-crowned Barbet) และนกขุนแผนตะโพกสีน้ำตาล (Cinnamon-rumped Trogon) เป็นต้น
6. ป่าลุ่มแม่น้ำ ป่าลุ่มแม่น้ำกำลังจะหมดไปพร้อมกับการเข้ามาแทนที่ของความเจริญ แม่น้ำหลายสายถูกดัด แปลงให้เป็นเขื่อน ทำให้นกหลายชนิดต้องเดือดร้อน เช่น พวกนกกะเต็น (Kingfishers) นกยูง (Green Peafowl) และพวกนกพญาปากกว้าง (Broadbills) ที่ชอบทำรังใกล้ ๆ น้ำ เช่น นกพญาปากกว้างท้อง แดง (Black-and-Red Broadbill) เป็นต้น
7. ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง ป่าชายเลน หรือป่าโกงกางเป็นป่าที่กำลังจะหมดไปจากประเทศไทย เนื่องจาก การพัฒนาชายฝั่งทะเลให้เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้พื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในท้องทะเลต้องหมดไป นกหลายชนิดก็ได้รับ ผลกระทบด้วย เช่น นกกะเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher) นกฟินฟุท (Masked Finfoot) และนกกระสาคอดำ (Black-necked Stork) ซึ่งกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ในไม่ช้านี้
8. ทุ่ง-ทุ่งนา ทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือเรียกว่า ท้องทุ่ง (Marsh) และทุ่งนา (Paddyfields) เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของนกหลายชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกย้ายถิ่น เช่น พวกนกเต้าลม (Wagtails) และพวกนกจาบปีกอ่อน (Finches) นกประจำถิ่นที่สำคัญก็ เช่น พวกนกกระสาแดง (Purple Heron) นกบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น นกกระเรียน (Sarus Crane) เป็นต้น ท้องทุ่ง เป็นสภาพที่กำลังถูกคุกคามจากการพัฒนาเช่นเดียวกับแหล่งที่อยู่อาศัยของนกแบบอื่น ๆ
9. หนอง บึง ทะเลสาบ และแม่น้ำใหญ่ นกน้ำได้อาศัยแหล่งน้ำในการหากิน สร้างรัง วางไข่ มีนกทั้งที่เป็นนก ประจำถิ่นและย้ายถิ่นเข้ามาในฤดูหนาว เช่น นกเป็ดแดง (Lesser whistling-Duck) นกอีลุ้ม (Watercock) และนกอีแจว (Pheasant-tailed Jacana) เป็นต้น เนื่องจากีประชากรมากขึ้นและ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับสภาพและคุณภาพของ สิ่งแวดล้อม หนอง บึง และทะเลสาบก็เปลี่ยนไป ทำให้นกหลายชนิดอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วงว่าจะสูญพันธุ์ไป ในไม่ช้า
10. หาดทรายและหาดโคลน หาดทรายและหาดโคลนตามชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด สำหรับนกชายเลน (Waders) นกหลายชนิดกำลังจะหมดไป เช่น นกหัวโตมลายู (Malasian Plover) นกที่ย้ายถิ่นมาในฤดูหนาว เช่น นกทะเลซ่อมอกแดง (Asian Dowicher) นกหัวโตกินปู (Crab Plover) เป็นต้น นากุ้ง บ่อเลี้ยงปลา และการพัฒนาหาดทรายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นเหตุให้นกที่หากินอยู่ ตามหาดทรายและหาดโคลนต้องเดือดร้อนกันอย่างแสนสาหัส
11. ป่าเกาะและทะล ป่าเกาะ หมายถึง ป่าบนเกาะในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งพักพิง ที่อยู่อาศัย และแหล่งสร้างรัง ของพวกนกทะเล หรือนกที่ย้ายถิ่นข้ามทะเล หรือข้ามทวีป เช่น พวกนกโจรสลัด (Frigatebirds) นกนางนวล (Gulls and Terns ) และนกประจำถิ่น เช่น นกชาปีไหน (Nicobar Pigeon) เป็นต้น
12. สวนสาธารณะ สวนผลไม้ในเมืองและเมือง เราคงไม่ลืมว่าเราเห็นและรู้จักนกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree-Sparrow) ก่อนนกชนิดใด ๆ เนื่องจากเป็นนกที่ทำรังใต้ซอกหลังคาบ้านเรา และพบเห็นได้ทั่วไป ในเมือง นกในเมืองก็ใช้ความเป็นเมืองในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแหล่งอาหารแหล่งที่อยู่อาศัย และ แหล่งที่สร้างรังวางไข่ ตัวอย่าง เช่น นกพิราบ นกตีทอง (Coppersmith Barbet) นกสีชมพูสวน (Scarlet-backed Flowerpecker) และนกเอี้ยงสาริกา (Common Myna) เป็นต้น
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย
www.dooasia.com
เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com
ใช้
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
.