ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

http://www.dooasia.com > กิจกรรมท่องเที่ยว > ชมประวัติศาสตร์ > ยุคประวัติศาสตร์

ยุคประวัติศาสตร์
ภาพเขียนโบราณ
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวของชุมชนของตนเองไว้เป็นหลักฐาน ในส่วนของดินแดนที่เป็น ประเทศไทยนั้น มีหลักฐานจากบันทึกของจีนว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-12 ดินแดนในแถบนี้ปรากฏเมืองเล็ก ๆ กระจาย อยู่ทั่วไป โดยเริ่มรับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาแต่ยังเป็นการรับแบบตรง ยังไม่มีการดัดแปลงและผสมกลมกลืนกับ วัฒนธรรมดั้งเดิมในท้องถิ่น โดยพบหลักฐานโบราณวัตถุศิลปะอินเดียแบบอมราวดี

สมัยทวารวดี

อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นช่วงเวลาที่เมืองต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมของ ตนเองขึ้น โดยผสมผสานศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับจากอินเดียเข้ากับศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมในท้องถิ่น เกิดเป็นรูปแบบที่เรียก ว่า วัฒนธรรมทวารวดี เป็นนครรัฐที่นับถือพุทธศาสนานิกายหินยาน มีการปกครองโดยระบอบกษัตริย์ ปรากฏหลักฐาน เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีอันมีลักษณะเด่น คือ เป็นเมืองรูปวงกลม มีคูน้ำคันดินล้อมรอบและโบราณสถานโบราณ วัตถุกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนที่เป็นประเทศไทย

สมัยสพบุรี

อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-19 เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมขอมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชาเข้ามามีอิทธิพล ในดินแดนที่เป็นประเทศไทย ดังปรากฎศาสนสถานปราสาทหินแบบขอมและเมืองที่มีแผนผังคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมเป็น หลักฐานอยู่ทั่วไป ในสมัยนี้ศาสนาที่เป็นที่นับถือ คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน สมัยนี้เกิดการ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันระหว่างอาณาจักรจามปา ซึ่งอยู่ในเวียตนามกับอาณาจักรขอม ทำให้เกิดช่องว่างของอำนาจทางการ เมือง จึงเกิดความเคลื่อนไหวของบรรดาเมืองเล็กเมืองน้อยในดินแดนที่เป็นประเทศไทย มีทั้งรวมตัวกันบ้าง สลายตัวไป บ้าง เกิดเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ ขึ้น ได้แก่ แคว้นอโยธยา แคว้นสุพรรณภูมิ แคว้นหริภุญไชย แคว้นสุโขทัย แคว้นพะเยา แคว้นเชียงใหม่ แคว้นนครศรีธรรมราช

สมัยอยุธยา สมัยราชอาณาจักรอยุธยา

ในบรรดาแคว้นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น แคว้นอโยธยาเป็นแคว้นที่สามารถพัฒนาความเข้มแข็งในทุก ๆ ด้านอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการรวมตัวโดยความเชื่อมโยงทางเครือญาติกับแคว้นสุพรรณภูมิและแคว้นละโว้ จนสามารถขยายอำนาจออกไป อย่างกว้างขวาง โดยสามารถตีอาณาจักรพระนครหลวงของขอมแตก และรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สถาปนาขึ้น เป็นราชอาณาจักรอยุธยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยการเป็นราชธานีเป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองรวมทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยเริ่มนับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 จน กระทั่งถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรอยุธยาได้สร้างสรรค์มรดกทาง การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้มากมาย เป็นมรดกตก ทอดมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาเมื่อเสียกรุงแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310

สมัยอาณาจักรธนบุรี

อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2310-2325 รวม 15 ปี เป็นช่วงระยะเวลาของการกอบกู้เอกราชจากพม่า และรวบรวมดินแดนที่ แตกแยกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ให้กลับมาเป็นอาณาจักรดังเดิม โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่ กรุงธนบุรี และปราบปรามกลุ่มต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระ จนสามารถรวบรวมบ้านเมืองให้กลับเป็นราชอาณาจักรเช่นเดิม ได้สำเร็จ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2325-2394 นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้าย ราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมแบบอยุธยาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็น รูปแบบเฉพาะของสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย

รัตนโกสินทร์ตอนกลาง อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2394-2500 เป็นช่วงเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทัน สมัย โดยรับอิทธิพลอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากถูกคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก เป็นสมัยที่ประเทศ ไทยพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติ สมัยนี้เป็นสมัยแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ การเลิกทาสและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475

รัตนโกสินทร์ปัจจุบัน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ประเทศไทยเป็นรัฐสมัยใหม่ มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีการติดต่อ ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์