|
|
|
|
|
|
|
|
ชนิดป่าของเมืองไทย |
- จากสภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อนมีลมมรสุมตะวันออก
เฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้พัด
ผ่าน
มีสภาพภูมิประเทศตั้งแต่หาด
ทรายชายทะเลจนถึงยอดเขาสูงถึง
2,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ปานกลาง
บางพื้นที่มีความแห้งแล้งและมีไฟป่าเป็นประจำ
ดินแปรผันไป
มากมายหลายชนิด
มีคุณลักษณะและความอุดม
สมบูรณ์แตกต่างกันไป
จึงทำให้ประเทศไทยมีป่าอยู่หลายชนิดด้วยกัน
- สามารถแบ่งป่าในประเทศไทยออกเป็นสองกลุ่มใหญ่
ๆ คือ ป่าไม้ผลัดใบ (Evergreen Forest)
และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่าง
ๆ ดังนี้
- สังคมพืชป่าไม้ผลัดใบ
เป็นป่าที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ให้ความเขียวชอุ่มตลอดปี
ป่ากลุ่มนี้มีประมาณ 30
เปอร์เซ็นต์
ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย
และสามารถแยกออกเป็นชนิดย่อย
ๆ ได้อีกหลายชนิด คือ
- 1. ป่าดิบชื้น
มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ
ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำ
ทะเล จนถึงระดับ 100 เมตร
มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า
2,500 มิลลิเมตรต่อปี
พรรณไม้ที่ขึ้นมากชนิด
เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ
พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม
หวาย ไผ่ต่าง ๆ
และเถาวัลย์นานาชนิด
- 2. ป่าดิบแล้ง
มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ
ของประเทศ
ตามบริเวณที่ราบและหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำ
ทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร
มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง
1,000-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี
มีพรรณไม้หลักมาก
ชนิดด้วยกัน เช่น กระบาก
ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน
เต็งตานี พยอม สมพง มะค่า
ยางน่อง กระบก พลวง
เป็นต้น
พืชชั้นล่างก็มีพวกปาล์ม
พวกหวาย พวกขิง ข่า
แต่ปริมาณไม่หนาแน่นนัก
- 3. ป่าดิบเขา
คือป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่
1,000 เมตร ขึ้นไป
มีกระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่าง
ๆ ของประเทศ
มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง
1,500-2,000 มิลลิเมตร ต่อปี
พรรณไม้หลักค่อนข้างจำกัด
เช่น ก่อชนิดต่าง ๆ ทะโล้
ยมหอม กำลังเสือโคร่ง
นางพญาเสือโคร่ง
สนสามพันปี มะขามป้อมดง
พญาไม้ พญามะขามป้อมดง
สนแผง กุหลาบป่า ฯลฯ
ผสมปนกันไป
ตามต้นไม้มีพวกไลเคนและมอส
หรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่
พืชชั้นล่างมีพวกไม้ดอกล้มลุก
เฟิร์น และไผ่ชนิดต่าง ๆ
กระจายอยู่ทั่วไป
- 4. ป่าสน
มักจะกระจายเป็นหย่อม ๆ
ทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก และภาคตะวัน
ตกเฉียงใต้
ที่สูงจากระดับน้ำทะเล
200-1,600 เมตร
มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง
1,000-1,500 เมตร
พรรณไม้ที่ขึ้นมีไม่มากชนิด
มีสนสองใบกับสนสามใบเป็นหลัก
นอกนั้นก็มีพวกไม้เหียง
ไม้พลวง ก่อ กำยาน
ไม้เหมือด
พืชชั้นล่างมักเป็นพวกหญ้าต่าง
ๆ และพืชกินแมลงบางชนิด
- 5. ป่าพรุและป่าบึงน้ำจืด
เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ
พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้
อยู่
ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก
เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
เท่าที่มีการ
สำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า
470 ชนิด
และในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง
50 ชนิด ปริมาณน้ำฝนระหว่าง
2,300-2,600 มิลลิเมตร ต่อปี
พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง
สะเตียว ยากา ตารา
อ้ายบ่าว หว้าน้ำ หว้าหิน
ช้างไห้ ตังหน ตีนเป็ดแดง
จิกนม เป็นต้น
พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม
เช่น หลุมพี ค้อ หวายน้ำ
ขวน ปาล์มสาคู รัศมีเงิน
กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น
- 6.
ป่าชายเลนหรือป่าบึงน้ำเค็ม
เป็นป่าที่น้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่วๆ
ไป นับ
เป็นเอกลักษณ์ของสภาพป่าอีกแบบหนึ่งในเขตร้อน
เป็นป่าที่มีพืชพรรณค่อนข้างน้อยชนิดและขึ้นเป็นกลุ่ม
ก้อน เท่าที่สำรวจพบมี 70
ชนิด
พรรณไม้หลักมีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น
นอกนั้นเป็น พวกแสม
ไม้ถั่ว ประสัก หรือพังกา
โปรง ฝาด ลำพู-ลำแพน
เป็นต้น
ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพ
เป็นอาหารของสัตว์ทะเลวัยอ่อนอย่างดี
สำหรับพืชชั้นล่างเป็นพวกเหงือกปลาหมอ
ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก
เป็นต้น
- 7. ป่าชายหาด
เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด
ทราย
และโขดหินพรรณไม้น้อยชนิด
และ
ผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด
ถ้าเป็นแหล่งดินทรายจะมีพวกสนทะเลขึ้นเป็นกลุ่มก้อน
ไม่ค่อยมีพรรณ
ไม้อื่นปะปน
พืชชั้นล่างมีพวกคนทีสอ
ผักบุ้งทะเล
และพรรณไม้เลื้อยอื่น ๆ
บางชนิด
ถ้าดินเป็นกรวดหิน
พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง
ไม้เมา หูกวาง และเกด
เป็นต้น
|
- สังคมพืชป่าผลัดใบ
เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยพรรณพืชที่ผลัดใบหรือ
ทิ้งใบเป็นองค์ประกอบสำคัญ
การ
ผลัดเปลี่ยนใบจะใช้เวลาค่อนข้างยาว
นาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง
สังคมพืชกลุ่มนี้มีประมาณ
70 เปอร์เซ็นต์
ของเนื้อที่ป่าของประเทศไทย
และแยกเป็นชนิดย่อย ๆ คือ
- 1. ป่าเบญจพรรณ
มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ
ของประเทศ
ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขาที่สูงจากระดับน้ำ
ทะเล ระหว่าง 50-600 เมตร
ดินเป็นได้ตั้งแต่ดินเหนียว
ดินร่วน จนถึงดินลูกรัง
ปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,000
มิลลิเมตร ต่อปี
เป็นสังคมพืชที่มีความหลากหลายทางมวลชีวะมากสังคมหนึ่ง
พรรณไม้จะผลัด
ใบมากในฤดูแล้ง
เป็นเหตุให้พรรณไม้เหล่านี้มีวงปีในเนื้อไม้หลายชนิด
พรรณไม้ขึ้นคละปะปนกัน
ที่เป็นไม้ หลักก็มี สัก
แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง
ชิงชัน พฤกษ์ถ่อน
ตะเคียนหนู หามกราย รกฟ้า
พี้จั่น และไผ่
ขึ้นเป็นป่าหนาแน่น
- 2. ป่าเต็งรัง
มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ
ของประเทศ
ที่เป็นที่ราบหรือตามเนินเขา
ที่สูงจากระดับน้ำทะเล
100-600 เมตร
ดินมักเป็นดินทรายและดินลูกรัง
มีปริมาณน้ำฝนไม่เกิน 1,000
มิลลิเมตรต่อปี
พรรณไม้ที่ขึ้นมักเป็นชนิดที่ทนแล้งทนไฟป่า
เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง
กราด ประดู่ แสลงใจ เม่า
มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน
ฯลฯ เป็นต้น
พืชชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นพวกหญ้า
ไผ่ต่าง ๆ
ที่พบมากที่สุดคือ
ไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก
พวกปรง พวกขิง ข่า
กระเจียว เปราะ เป็นต้น
- 3. ป่าหญ้า
เป็นป่าที่เกิดภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติอื่น
ๆ ดังกล่าวข้างต้น
ได้ถูกทำลายไปหมด
ดินมีสภาพเสื่อมโทรมจนไม้ต้นไม่อาจขึ้นหรือเจริญงอกงามต่อไปได้
พวกหญ้าต่าง ๆ
จึงเข้ามาแทนที่
พบได้ทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของไทย
หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา
แฝก หญ้าพง อ้อ แขม เป็นต้น
ไม้ต้นมีขึ้นกระจายห่าง ๆ
กันบ้าง เช่น กระโดน
กระถินป่า สีเสียดแก่น
ประดู่ ติ้ว แต้ว ตานหลือง
และปรงป่า เป็นต้น
ไม้เหล่านี้ทนแล้ง
และทนไฟป่าได้ดี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|