ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บาห์เรน




แผนที่
ราชอาณาจักรบาห์เรน
Kingdom of Bahrain


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง บาห์เรนตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยเกาะต่างๆประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งห่างจากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 24 กิโลเมตรและห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 27 กิโลเมตร

พื้นที่ ประมาณ 712 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงมานามา (Manama)

ภูมิอากาศ ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส

ประชากร 724,645 คน (2549 )

เชื้อชาติ ชาวบาห์เรน 62.4%, อื่นๆ 37.6%

ภาษา อาหรับ (ภาษาอังกฤษก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง)

ศาสนา อิสลาม (ชีอะห์และสุหนี่) 85% คริสต์และอื่นๆ 15%

วันชาติ 16 ธันวาคม

วันประกาศเอกราช 15 สิงหาคม (ได้รับเอกราชจากอังกฤษปี 2514)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-บาห์เรน 17 มกราคม 2520

เวลา ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง

ประมุขของประเทศ H.H. Shaikh Hamad bin Isa Al Khalifa

นายกรัฐมนตรี H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa

รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Shaikh Khalid bin Ahmed Al Khalifa

รูปแบบการปกครอง
เดิมกษัตริย์ Hamad bin Isa Al Khalifa ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐ (Emir) แต่ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนชื่อประเทศจากรัฐบาห์เรน (State of Bahrain) เป็นราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdom of Bahrain) ในปี 2545

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาที่ปรึกษา (Shura Council เทียบเท่าวุฒิสภา) ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และสภาผู้แทนราษฎร (Nuwwab Council) ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการตัดสินใจทางการเมืองการปกครองขึ้นอยู่กับกษัตริย์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นพระปิตุลาของกษัตริย์ Hamad ทั้งนี้ สมาชิกพระราชวงศ์ Al Khalifa ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงด้านความมั่นคง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

รัฐบาลบาห์เรนได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2545 บาห์เรนได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ของบาห์เรน มีขึ้นในปลายเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยมีการเลือกตั้งซ่อม ในบางเขตเลือกตั้ง ในต้นเดือนธันวาคม 2549 โดยสมาคมการเมือง Al Wefaq Society ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน เคร่งศาสนาอิสลามนิกายชีอะต์และได้คว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ได้รับเลือกตั้ง 17 ที่นั่ง จาก 40 ที่นั่ง

ทางด้านการทหาร กองทัพบาห์เรนมีกำลังพล 11,200 คน ทหารบก 8,500 คน ทหารเรือ 1,200 คน ทหารอากาศ 1,500 คน ทั้งนี้ การที่บาห์เรนเป็นประเทศเล็กและมีกำลังพลจำกัด จึงพึ่งพาประเทศสมาชิกอื่นๆ ในคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ในการป้องกันประเทศ นอกจากนี้ บาห์เรนยังเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่ 5 (Fifth Fleet) ของสหรัฐอเมริกา

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อปี 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และ Trucial States (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ

บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ในปี 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
บาห์เรนเป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ใน GCC โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต นอกจากกลุ่มประเทศ GCC บาห์เรนมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกในกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (League of Arab States หรือ Arab League) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค

ความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อนาย Mohammed Khatami ได้รับเลือกตั้งให้ดำรง ตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อปี 2540 กษัตริย์ Hamad เสด็จฯ เยือนอิหร่านในปี 2545 ซึ่งนับเป็นการเยือนอิหร่านครั้งแรกของประมุขบาห์เรนตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่าน (Islamic Revolution) ในปี 2522 อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่นาย Mahmoud Ahmadinejad สมาชิกกลุ่มการเมืองหัวรุนแรงเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 บาห์เรนดำเนินความสัมพันธ์กับอิหร่านในลักษณะระมัดระวังมากขึ้น

ทางด้านความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก บาห์เรนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร บาห์เรนเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา (The 5th Fleet) และเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่สหรัฐอเมริกามีข้อตกลง FTA ด้วย

เศรษฐกิจการค้า
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.6 (2549)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 17.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 25,300 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี2549)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ปลา ไข่มุก

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.5 (2549)

อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 15 (2548)

สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมัน สิ่งทอ

สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นำเข้า ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สกุลเงิน Bahrain Dinar (BHD)

อัตราแลกเปลี่ยน Bahrain Dinar (BHD) : (1 US$ = 0.376 dinar) (2549)

อุตสาหกรรมสำคัญ โรงกลั่นน้ำมัน ผลิตอลูมิเนียม ปุ๋ย ธนาคารต่างประเทศ ซ่อมเรือและท่องเที่ยว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรบาห์เรน
ด้านการเมือง
ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 โดยไทยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาดมีเขตอาณาคลุมถึงบาห์เรนด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 ให้บาห์เรนอยู่ใต้เขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต ความสัมพันธ์ทางการเมืองไทย-บาห์เรนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายหลังการเปิด สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมานามา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นประจำ บาห์เรนอยู่ระหว่างดำเนินการเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปแล้ว เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 ในระหว่างนี้ สถานเอกอัครราชทูตบาห์เรน ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ไทยและบาห์เรนมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับประเทศไทยมากที่สุด มีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลาง ได้ช่วยแก้ไขภาพลักษณ์ของไทยในเวที OIC (Organization of Islamic Conference - OIC) นายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงชื่นชมพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งทรงชื่นชอบอัธยาศัยไมตรีของคนไทย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงมีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย อย่างไรก็ดี ทรงมั่นใจว่าทางการไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างดี

ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทย – บาห์เรนในปี 2549 มีมูลค่ารวม 289.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกเป็นมูลค่า 78.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 210.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 57.2

สินค้าออกของไทยไปบาห์เรนที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับ อากาศและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ตู้เย็น ผลิตภัณฑ์ พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูปด้าย และเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ทองแดง สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากบาห์เรน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่ ปุ๋ย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และผ้าผืน เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีบาห์เรนได้ทรงพยายามกระตุ้นการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับบาห์เรน และผลักดันให้สมาคมผู้ลงทุนและผู้ประกอบการในต่างประเทศ (Overseas Business Investment Association – OBIA ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท Promoseven ของบาห์เรน ร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์ Thai Business Center (TBC) เป็นศูนย์ส่งเสริมการค้าไทยที่กรุงมานามา ซึ่งเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 โดยเน้นการแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยทั้งในด้านสินค้าและบริการ 6 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง สินค้าหัตถกรรม (OTOP) สปาและการแพทย์ไทย สินค้ากลุ่มแฟชั่น ร้านอาหารไทย และ super -market ที่จัดจำหน่ายผลไม้สด อาหารสดและแช่แข็ง และอาหารฮาลาลกระป๋อง

ปัจจุบันมีคนไทยในบาห์เรนประมาณ 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือ หรือกึ่งฝีมือ เช่น ช่างเคาะพ่นสี ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างทำผม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และพนักงานร้านอาหารไทย คนงานส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ที่กรุงมานามา และเมืองริฟฟา (เมืองท่องเที่ยวของบาห์เรน) และเมืองมูฮารัค (เป็นเมืองใหญ่ของบาห์เรนและเป็นที่ตั้งของ Bahrain International Airport)

ด้านสังคมวัฒนธรรม
ในขณะนี้ ประเทศไทย และบาห์เรน ยังไม่มีความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี ชาวบาห์เรนส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกับประเทศไทย เนื่องจากนิยมเดินทางมาพักผ่อนในประเทศไทย

ความตกลง
• ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2523
• ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544
• ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544
• ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2545
• ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูง (High Joint Commission) ไทย-บาห์เรน ลงนามเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545
• ความตกลงการบินฉบับใหม่ ลงนามเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
• สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของมกุฎราชกุมารบาห์เรนในขณะนั้น (สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน) ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2532
รัฐบาล
• พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2545
• ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เยือนบาห์เรนเพื่อเข้าร่วมการประชุม Gulf Investment Forum ระหว่างวันที่ 8 - 10 เมษายน 2545
• นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองนายกรัฐมนตรี นำคณะส่งเสริมอาหารฮาลาลไทยเยือนบาห์เรน ระหว่างวันที่ 28 - 29 เมษายน 2547
• ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนบาห์เรนและประเทศ GCC เพื่อกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระราชาธิบดีบาห์เรน และเจ้าผู้ครองรัฐ GCC เสด็จฯ เยือนไทยเพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 20 - 25 พฤศจิกายน 2548
• ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดศูนย์ Thai Business Center ณ กรุงมานามา ระหว่างวันที่ 24 - 27 เมษายน 2549
• ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2541
• ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 1 เมษายน 2545
• นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2545
• ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนเพื่อร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน ครั้งที่ 1 และเป็นประธานในพิธีเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 13 - 15 กุมภาพันธ์ 2547
• นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7 - 8 เมษายน 2547
• นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1 - 2 กรกฎาคม 2548
• นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤษภาคม 2549
• นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน 2549
• นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20 - 22 เมษายน 2550

ฝ่ายบาห์เรน
พระราชวงศ์
• H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรน
- เสด็จเยือนไทย ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาล และทรงเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2544
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 1 - 3 พฤศจิกายน 2544
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2545
- เสด็จร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะผู้แทนราชอาณาจักรบาห์เรน ระหว่างวันที่ 11 - 29 มิถุนายน 2549
- เสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระอาคันตุกะของรัฐบาล (Official Visit) และทรงเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 10 - 12 มกราคม 2550
รัฐบาล
• H.E. Shaikh Mohammed bin Mubarak Al Khalifa รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2545
• H.E. Mr. Ali Saleh Al Saleh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บาห์เรน เยือนไทยเพื่อร่วมการประชุม Asia Cooperation Dialogue ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2546
• H.E. Dr. Majeed bin Muhsen Al Alawi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมบาห์เรน เยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2547
• H.E. Mr. Fahmi bin Ali Al Jowder รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาและการเคหะบาห์เรน เยือนไทยระหว่างวันที่ 27 - 30 ธันวาคม 2547

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมานามา นายพิทักษ์ พรหมบุบผา
Royal Thai Embassy
Villa No132, Road 66
Block 360, Zinj Area,
Manama, P.O. Box 26475
Tel. (973) 1724-6242
Fax. (973) 1727-2714
E-mail: thaimnm@mfa.go.th

ฝ่ายบาห์เรน
เอกอัครราชทูตบาห์เรน ณ กรุงปักกิ่ง H.E. Mr. Karim Ebrahim Al-Shakar
Embassy of the Kingdom of Bahrain
10-06, No.22
Dong Fang Donglu Road,
Liangmaqiao Diplomatic Residence
Compound, Chaoyang District Royal 100600,
Beijing, The People’s Republic of China
Tel. : (8610) 6532-6483,6532-6485,6532-6486
Fax : (8610) 6532-6393,6532-6435
E-mail: bahembj@yahoo.com

อุปทูตบาห์เรนประจำประเทศไทย Mr. Khalil Yaqoob Al Khayat
Embassy of the State of Kuwait (Temporary Chancery)
Sathorn Nakhon Tower, 24A Fl.,
100/44 North Sathorn Rd.,
Bangrak, Bangkok 10500
Tel: 0-2636-6600, 0-2636-7461-3
Fax: 0-2636-7360
E-mail: kuembasy @inet.co.th

*****************

สิงหาคม 2550



เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์