ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา




แผนที่
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
Bosnia - Herzegovina


 
ข้อมูลทั่วไป
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ไม่มีทางออกทะเล
มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐโครเอเชีย สาธารณรัฐเซอร์เบีย และสาธารณรัฐมอนเตเนโกร
พื้นที่ ๕๑,๑๒๙ ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงซาราเยโว (ประชากร ๓.๘ แสนคน)
ประชากร ๓.๙ ล้านคน (ปี ๒๕๔๘)
ประกอบด้วย ๓ เชื้อชาติหลัก ได้แก่ บอสเนีย (๔๘.๓%) เซิร์บ (๓๔%) โครอัท (๑๕.๔ %) และอื่นๆ (๒.๓%)
ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบไกลทะเล มีร้อนและหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยเดือนมกราคมประมาณ ๐-๕ องศาเซลเซียส และเดือนกรกฎาคมประมาณ ๒๑-๒๕ องศาเซลเซียส
ภาษา บอสเนียน เซอร์เบียน โครเอเชี่ยน (เซอร์โบ-โครเอเชี่ยน)
ศาสนา ศาสนาอิสลาม (๔๐%) คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ (๓๑%) นิกายโรมันคาทอลิก (๑๕%) นิกายโปรเตสแตนท์ (๔%)
หน่วยเงินตรา marka (KM) อัตราแลกเปลี่ยน ๑ KM เท่ากับ ๑.๙๖ ยูโร หรือ
ประมาณ ๙๓ บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ๑๐.๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ๒,๕๖๘ ดอลลาร์สหรัฐ (๒๕๔๙)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๕.๕ (๒๕๔๙)
ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย โดยปกครองประเทศในรูปแบบคณะประธานาธิบดี ๓ คน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายเซิร์บ ๑ คน ฝ่ายบอสเนียนมุสลิม
๑ คน และฝ่ายโครอัท ๑ คน สับเปลี่ยนกันดำรงตำแหน่งประธานทุก ๘ เดือน ปัจจุบัน ประธานคณะประธานาธิบดี (Chairman of the Presidency) ได้แก่ นาย Nebojsa Radmanovic (Serbs) สมาชิกคณะประธานาธิบดี นาย Zeljko Komsic (Croats) และ Dr. Haris Silajdzic (Bosniac) ทั้งนี้ สมาชิกคณะประธานาธิบดีชุดข้างต้นได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙

การเมืองการปกครอง
๑. การเมืองการปกครอง
๑.๑ บอสเนียฯ เดิมเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในหกสาธารณรัฐซึ่งประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia หรือ SFRY) ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ภายหลังจากที่สาธารณรัฐสโลวีเนีย และโครเอเชีย ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจาก SFRY ชาวมุสลิมและชาวโครอัทในบอสเนียฯ จึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๒ และได้ประกาศเอกราชจาก SFRY เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๒ ทำให้ชาวเซิร์บซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยไม่พอใจ จึงประกาศตนเป็นพันธมิตรร่วมกับชาวเซิร์บในโครเอเชีย ประกาศตนเป็นอิสระ ในขณะที่ชาวโครอัทก็ได้ประกาศยึดครองดินแดนส่วนหนึ่งในบอสเนียฯ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างกันจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองและสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ยืดเยื้อและรุนแรง
๑.๒ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๕ ผู้นำของโครเอเชีย เซอร์เบีย และบอสเนียฯ ได้ไปร่วมประชุมที่เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ร่วมลงนามย่อข้อตกลงสันติภาพเมืองเดย์ตัน (Dayton Peace Accord) ซึ่งต่อมาได้ลงนามถาวรที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๕ ข้อตกลงสันติภาพเมืองเดย์ตันต่อมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญของบอสเนียฯ เป็นการรับรองอธิปไตยของบอสเนียฯ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ รัฐ และ ๑ เขตปกครองพิเศษ คือ สหพันธ์บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา (Federation of Bosnia and Herzegovina) มีพื้นที่ร้อยละ ๕๑ และสาธารณรัฐเซิร์บ (Republika Srpska) มีพื้นที่ร้อยละ ๔๙ โดยแต่ละรัฐมีรัฐสภาของตนเอง สำหรับรัฐบาลกลางบอสเนียฯ จะมีคณะประธานาธิบดี (Collective Presidency) และสถาบันกลางอื่น ๆ อาทิ ศาลสูงและธนาคารกลางร่วมกัน ส่วนเขตปกครองพิเศษ (Brcko district) อยู่ภายใต้การปกครองของกองกำลังของสหภาพยุโรป (EU Force – EUFOR) ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๔๗
๑.๓ สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการควบคุมให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพ Dayton โดยส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของนาโต (Stabilization Force or SFOR) ไปยังบอสเนียฯ แต่ความพยายามดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างเต็มที่เนื่องจากความพยายามของพรรคการเมืองแต่ละพรรคในการสร้างฐานทางการเมืองโดยการแบ่งแยกชนชาติและสร้างกระแสชาตินิยมให้แก่ประชาชน
๑.๔ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ บอสเนียฯ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพเดย์ตันเมื่อปี ๒๕๓๘ โดยเป็นการเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี สมาชิกสภา และในระดับรัฐบาลท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงสร้างทางการเมืองของบอสเนียฯ ยังคงแบ่งตามกลุ่มเชื้อชาติอยู่ โดยมีคณะประธานาธิบดีประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายเซิร์บ ฝ่ายมุสลิม และฝ่ายโครอัท มาจากการเลือกตั้ง หมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานคณะประธานาธิบดี
๑.๕ ผลการเลือกตั้งคณะประธานาธิบดีสำหรับช่วงระหว่างปี ๒๕๔๙-๒๕๕๓ ปรากฏว่า Dr. Haris Silajdzic ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนคณะประธานาธิบดีฝ่ายมุสลิม โดยมีนโยบายผนวกเขตดินแดนปกครองตนเอง ๒ เขต เข้าด้วยกันซึ่งได้แก่ เขตสหพันธรัฐบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวบอสเนียน-โครอัท และเขตสาธารณรัฐเซิร์บ สำหรับผู้แทนคณะประธานาธิบดีฝ่ายเซิร์บเป็นของนาย Nebojsa Radmanovic โดยผู้แทนคณะประธานาธิบดีฝ่ายโครอัทได้แก่ นาย Zeljko Komsic จากพรรคฝ่ายค้านทั้งนี้ ประเด็นเรื่องเชื้อชาติและความเป็นชาตินิยมได้เป็นหัวข้อสำคัญในการรณรงค์หาเสียงในครั้งนี้ แม้ว่าอัตราการว่างงานที่สูงและความยากจนเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศก็ตาม
๑.๖ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๐ คณะประธานาธิบดีได้แต่งตั้งนาย Nikola Spiric จากพรรค Alliance of Independent Social Democrats (SNSD) ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Chairman of the Council of the Ministers) ซึ่งมีนโยบายเพิ่มมาตรฐานการครองชีพของประชาชน และเน้นการนำบอสเนียฯเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Euro-Atlantic
๒. นโยบายต่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคง และประชาธิปไตย โดยเน้นความโปร่งใสควบคู่ไปกับเป้าหมายหลักในเรื่องต่างๆ ดังนี้
๒.๑ ด้านพหุภาคี
• รักษาและปกป้องความเป็นอธิปไตย และดินแดนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในพรมแดนที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล และปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพ (General Peace Agreement - GPA)
• การรวมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเข้าในกระบวนการต่างๆ ที่จะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป (European integration)
• เข้าร่วมในกิจกรรมพหุภาคีต่างๆ กล่าวคือ เป็นส่วนหนึ่งในระบบของสหประชาชาติ สภายุโรป (Council of Europe) องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe – OSCE) องค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference – OIC)
• ส่งเสริมให้บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นหุ้นส่วนในความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้บอสเนีย ฯ ได้เข้าสู่การเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO)
๒.๒ ด้านทวิภาคี
• ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐโครเอเชีย และเซอร์เบียและมอนเตเนโกร บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน และหลักความเท่าเทียมกัน รวมทั้งให้ความเคารพต่ออธิปไตยและดินแดนซึ่งกันและกัน
• จะพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศสมาชิกของ PeaceImplementation Council Steering Board และกับสหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน และประเทศสมาชิกอื่นๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ประเทศในภูมิภาค ประเทศสมาชิกของ OIC และประเทศอื่นๆ ที่เป็นกำลังสำคัญในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูและบูรณะประเทศบอสเนีย ฯ
• ส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีผ่านทางการจัดทำความตกลงในเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ พัฒนาความร่วมมือทวิภาคีในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม การศึกษา และการกีฬา

เศรษฐกิจการค้า
๓. เศรษฐกิจและสังคม
๓.๑ ในบรรดาประเทศอดีตยูโกสลาเวียทั้งหมด บอสเนียฯ เป็นประเทศยากจนเป็นอันดับสองรองจาก
มาซิโดเนีย ในอดีตบอสเนียฯ เป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมทางทหารของยูโกสลาเวีย ปัจจุบันบอสเนียฯ ต้องนำเข้าอาหาร โดยเฉพาะเขตมุลลิมโครอัตยังต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากองค์การระหว่างประเทศเป็นหลัก
๓.๒ ภาคการเกษตรส่วนใหญ่แม้จะเป็นของเอกชนแล้วแต่ขนาดของกิจการค่อนข้างเล็กและไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการจ้างงานเกินความต้องการ สำหรับภาคเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตข้าวสาลี ข้าวโพด ผลไม้ ผัก ปศุสัตว์ ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมไม้ แร่และโลหะ เคมีภัณฑ์และยา ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องหนัง การแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม
๓.๓ หลังจากการสู้รบได้ยุติลง เศรษฐกิจบอสเนียฯ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม อัตรา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวน ภาระที่เร่งด่วนของรัฐบาลยังคงเป็นเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของ และเป็นระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด ซึ่งปัจจุบัน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างล่าช้า อัตราการว่างงานยังคงสูง
๓.๔ สำหรับนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลบอสเนียฯ ชุดนี้ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ การเร่งเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปโดยพยายามสรุปความตกลง Stabilization and Association Agreement (SAA) ซึ่งนับเป็นความร่วมมือในขั้นแรกที่อาจนำไปสู่การเจรจาเข้าเป็นสมาชิกต่อไป ปรับปรุงระบบการเงินให้เข้มแข็ง ปฏิรูปการบริหารรัฐกิจ การเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และคงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศโดย ทำให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ข้างต้นเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง และไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ บอสเนียฯ ได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรปตามแผนงานความช่วยเหลือสำหรับภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (Stability Pact for Southeastern Europe) ซึ่งเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ควรต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความช่วยเหลือที่จะลดลงในอนาคต

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
๑. ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยได้ให้การรับรองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๕ และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ทั้งนี้ ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ มีเขตอาณาครอบคลุมบอสเนีย ฯ และได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำบอสเนีย ฯ ด้วย สำหรับฝ่ายบอสเนีย ฯ ได้แต่งตั้ง นายมุสตาฟา มูจีซิโนวิก (Mustafa Mujezinovic) เป็นเอกอัครราชทูตบอสเนีย ฯ ประจำประเทศไทยคนแรก โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
๑.๑ ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ไทยและบอสเนียฯ มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก บอสเนียฯ มีความรู้สึกที่ดีกับไทยที่ได้ให้การสนับสนุนบอสเนียฯ โดยเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การรับรองและสถาปนาความสัมพันธ์กับบอสเนียฯ และได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมปฏิบัติการในกองกำลังของสหประชาชาติ
๑.๒ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยกับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มีมูลค่าไม่มากและยังไม่มีข้อมูลเป็นสถิติ เนื่องจากการจัดเก็บสถิติของบอสเนียฯ ยังไม่เป็นระบบและล้าหลัง แต่มีสินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายในบอสเนียฯ บ้างแล้วโดยเฉพาะสินค้าอาหาร ซึ่งเกิดจากผู้ค้ารายย่อยเดินทางไปซื้อสินค้าจากประเทศข้างเคียง เช่น ฮังการี โครเอเชีย สโลวีเนีย ออสเตรีย และลักลอบหนีภาษีนำเข้าไปจำหน่าย จึงทำให้ตรวจสอบมูลค่าการค้าที่แท้จริงยาก ทั้งนี้ เชื่อว่าจะมีสินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายในบอสเนียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าไทยที่มีลู่ทางสูง ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้จำเป็นในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะสินค้าอาหารซึ่งปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคการขายสินค้าไทยในบอสเนียฯ โดยตรงอาจจะมีความเสี่ยง แต่ก็เป็นตลาดใหม่ที่มีความต้องการสินค้าสูง ทั้งนี้ บอสเนียฯ ได้รับความช่วยเหลือและความสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศและจากนานาประเทศเพื่อช่วยฟื้นฟูบูรณะประเทศ โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรปตามแผนงานความช่วยเหลือสำหรับภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (Stability Pact for South Eastern Europe) ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจบอสเนียฯ ขยายตัวและเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมากขึ้น
สำหรับสถิตินักท่องเที่ยวจากบอสเนีย ฯ เดินทางมาประเทศไทยในปี ๒๕๔๙ ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม มีจำนวนเพียง ๒๗๔ คน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๖.๒๗ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี ๒๕๔๘
๑.๓ ท่าทีไทยต่อปัญหาบอสเนีย ฯ
๔.๓.๑ ไทยยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายของสหประชาชาติเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ใน
บอสเนียฯ มาโดยตลอด และไทยสนับสนุนข้อตกลงสันติภาพเดย์ตัน
๔.๓.๒ ไทยประสงค์ที่จะเห็นการสนับสนุนจากนานาชาติในการบูรณะฟื้นฟูบอสเนีย ฯ โดยในปี ๒๕๓๘ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่บอสเนียฯ ผ่านทางองค์การกาชาดสากล (ICRC) เป็นจำนวน ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และได้เพิ่มความช่วยเหลือในกรอบการทำงานภาคสนามของ ICRC ในบอสเนียฯ อีก ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ได้บริจาคเงินเพื่อเป็นค่าบำรุงการปฏิบัติการของกองกำลัง UNPROFOR อีก ๑๖๗,๔๓๖ ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งล่าสุดในปี ๒๕๔๔ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมแก่บอสเนีย ฯ เนื่องจากประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติเป็นจำนวน ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ
๔.๓.๓ ไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน ๕ นาย ไปปฏิบัติการในกองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (UNIPTF) ซึ่งอยู่ภายใต้ UN Mission in Bosnia-Herzegovina (UNMIBH) เมื่อปี ๒๕๔๑ โดยมีวาระการปฏิบัติหน้าที่ชุดละ ๑ ปี
๔.๓.๔ ไทยให้การสนับสนุนข้อมติทุกเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ในบอสเนียฯ ที่เสนอในที่ประชุมของสหประชาชาติ และเห็นด้วยกับการคงกองกำลังปฏิบัติการของสหภาพยุโรป (EU Force – EUFOR) ในบอสเนีย ฯ เพื่อดูแลการปฏิบัติตามข้อตกลงสันติภาพเดย์ตัน ดูแลความสงบและเสริมสร้างสภาวะที่เป็นมิตรของเชื้อชาติต่างๆ ในบอสเนียฯ และกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป จนกว่าสถานการณ์ภายในบอสเนียฯ จะมีเสถียรภาพและความสงบสุขมากกว่านี้
๒. ความตกลงที่สำคัญๆ กับประเทศไทย
๒.๑ ความตกลงทางการค้า (อยู่ระหว่างการพิจารณา)
๒.๒ ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (อยู่ระหว่างการพิจารณา)
ข้อมูลและภูมิหลัง
ฝ่ายบอสเนีย ฯ ได้เสนอร่างความตกลงทางการค้า ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครอง การลงทุนให้ฝ่ายไทยพิจารณาเมื่อปลายปี ๒๕๔๓ ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๓-๒๕๔๔ ฝ่ายไทยได้ชะลอการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนกับประเทศต่างๆ ออกไป เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการทบทวนนโยบายการลงทุนของไทยต่อการลงทุนกับต่างประเทศ และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฉบับปี ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความตกลงต่างๆ ข้างต้น โดยต่อมาเมื่อนโยบายการลงทุน และการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้น ฝ่ายไทยจึงได้เริ่มเจรจาความตกลงกับประเทศต่างๆ ตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน
สถานะล่าสุด
เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและบอสเนียฯ มีปริมาณน้อยมาก โดยกระทรวงพาณิชย์ก็ยังมิได้มีการจัดเก็บตัวเลขสถิติ ดังนั้น บอสเนียฯ จึงไม่ได้เป็นประเทศที่ไทยให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ และโดยที่ร่างความตกลงฯ ทั้งสองฉบับจัดทำตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงเห็นควรขอให้ฝ่ายบอสเนียฯ เสนอร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่หากประสงค์จะดำเนินการจัดทำความตกลงดังกล่าวกับไทย

๓. การเยือนที่สำคัญ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนายังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก นับตั้งแต่ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สำหรับฝ่ายไทยนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เคยเสด็จ ฯ เยือนกรุงซาราเยโว เมื่อครั้งที่เสด็จฯ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๒ โดยได้เสด็จ ฯ กรุงเบลเกรดด้วย ทั้งนี้ ยังไม่เคยมีการเยือนในระดับสูงจากฝ่ายบอสเนีย ฯ

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : european04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์