|
แผนที่
|
สาธารณรัฐคิวบา Republic of Cuba
|
|
ที่ตั้ง กลางทะเลแคริบเบียน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดใน West Indies
ตั้งอยู่ทาง ทิศใต้ของรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา บริเวณทางตอนเหนืออยู่ใกล้กับอ่าวเม็กซิโก
และทางด้านตะวันออกอยู่ใกล้กับไฮติ และสาธารณรัฐโดมินิกัน ทางตอนใต้ของประเทศมีภูเขาสำคัญคือ
Sierra Maestra
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น (tropical) ฤดูแล้งระหว่างเดือน พ.ย. - เม.ย.
ฤดูฝนระหว่างเดือน พ.ค. - ต.ค.
พื้นที่ 110,860 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 11.38 ล้านคน(2549)
เมืองหลวง ฮาวานา (Havana)
ภาษา สเปนเป็นภาษาราชการ
ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
เชื้อชาติ Mulatto (ผิวขาวผสมนิโกร) ร้อยละ 51 ผิวขาวร้อยละ 37
ผิวดำร้อยละ 11 ชาวจีนร้อยละ 1
อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 99
อาชีพ การกษตรกร 20% อุตสาหกรรม 19.4% ภาคบริการ 60.6% (2548)
หน่วยเงินตรา คิวบาเปโซ (1 คิวบาเปโซ* = 1.11 ดอลลาร์สหรัฐ)สหรัฐฯ) หมายเหตุ - อัตราทางการ* (ปี 2549)
(24 คิวบาเปโซ* = 1 ดอลลาร์สหรัฐ) หมายเหตุ - อัตราภายใน* (ปี 2549)
เวลาแตกต่างจากไทย -5 GMT (ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง)
วันชาติ 1 มกราคม / Anniversary of the Revolution (ค.ศ. 1959)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ FEALAC, ECLAC, FAO, UN, UNESCO, NAM,
G77, WTO, ILO, UNCTAD, IAEA, OAS (ยังไม่ขาดจากการเป็นสมาชิก แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1962)
รูปแบบการปกครอง สังคมนิยม
ประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ผลเอก Raul Castro Ruz รักษาการประธานาธิบดีแทนนาย Fidel Castro Ruz ซึ่งมีปัญหาสุขภาพ (ตั้งแต่ 31 กรกฏาคม 2549)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr.Felipe Perez Roque
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นระบบสภาเดียว (National Assembly of Peoples Power หรือ Assemblea Nacional del Poder Popular) สภาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 601 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และมีวาระ 5 ปี
ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร รองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาแห่งชาติ
การเลือกตั้งสมาชิก 6 มีนาคม 2546 เลือกตั้งระดับชาติและระดับจังหวัด
สภานิติบัญญัติครั้งล่าสุด
การเลือกตั้งครั้งต่อไป ปี 2551
พรรคการเมือง พรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์ (Partido Comunista de Cuba : PCC) ซึ่งเลขาธิการพรรคคนที่ 1 (First Secretary) ได้แก่ Fidel Castro Ruz
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.7 (ปี 2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) USD 67.6 พันล้าน(2549)
โครงสร้าง GDP (2543) ภาคบริการ ร้อยละ 57.9 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 27.2 ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 7.6
รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,584 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.1 (2549)
อัตราการว่างงาน (2549) ร้อยละ 1.9
หนี้สินต่างประเทศ 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทรัพยากรธรรมชาติ เหล็ก ทองแดง นิเกิล แมงกานีส เกลือ ไม้
อุตสาหกรรม น้ำตาล อาหารแปรรูป เหล็ก ปูน เคมีภัณฑ์
เกษตรกรรม อ้อย ยาสูบ ผลไม้ประเภทส้ม (Citrus) กาแฟ ผัก ถั่ว เนื้อ
สินค้านำเข้า อาหาร เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร
สินค้าออก น้ำตาล นิเกิล ยาสูบ อาหารทะเล เหล้ารัม
ประเทส่งศคู่ค้าที่สำคัญ เนเธอร์แลนด์ เวเนซูเอลา แคนาดา จีน สเปน สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
นโยบายเศรษฐกิจหลัก สังคมนิยม แต่เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในบางภาคธุรกิจ อาทิ การท่องเที่ยว โรงแรม เพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศ คิวบาได้เปิดประเทศและปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคิวบา |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยและคิวบาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2501 โดยในปัจจุบันรัฐบาลไทยแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกเป็นเอกอัครราชทูตประจำคิวบา
อีกตำแหน่งหนึ่ง และในปี 2546 ได้เปิดสถานกงสุลกิตติศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐคิวบาขึ้นโดยมีนาย Jorge Manuel Vera Gonzalez ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ส่วนรัฐบาลคิวบาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย โดยเริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2547
เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ฯพณฯ ร้อยโทระวี หงส์ประภาส
(ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ Royal Thai Embassy สาธารรัฐคิวบาอีกตำแหน่งหนึ่ง)
ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ
Paseo de la Reforma No. 930
Lomas de Chapultepec 11000 Mexico,D.F.
Tel. (52-55) 5540-4551,5540-4529, 5540-4711
Fax. (52-55) 5540-4817
E-mail: thaimex@inforsel.net.mx
เอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย นาง Maria Luisa Fernandez Equilaz
ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ The Embassy of the Republic of Cuba Mela Mansion
Apt.3C, 5 Soi Sukhumvit 27
Sukhumvit Road, Klongtoey Neur, Wattana, Bangkok 10110
Kingdom of Thailand
โทรศัพท์ 0 2665 2803
โทรสาร 0 2661 6560
E-mail: cubaemb1@loxinfo.co.th
กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐคิวบา Mr. Jorge Manuel Vera Gonzalez
ที่ทำการสถานกงสุลกิตติศักดิ์ฯ Royal Thai Consulate
Calle 96, Esquina 7ma.,No. 539, Miramar
Municipio Playa, Ciudad Habana, Cuba
โทรศัพท์ (537) 204-4849
โทรสาร (537) 204-1434
E-mail: consuladothai@cubaccl.net
การเยือน
ฝ่ายไทย
1. ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนคิวบา
อย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ 2545
2. รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 (นายบุญชง วีสมหมาย) เยือนคิวบาอย่างเป็น
ทางการระหว่างวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2544
3. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์มงคล ณ สงขลา) เยือนคิวบา 1-4 กรกฎาคม 2544
4. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภา
(IPU) ครั้งที่ 105 ที่กรุงฮาบานา ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน 2544
5. ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสุดยอดกลุ่ม
77 ที่กรุงฮาวานา ระหว่างวันที่ 10-14 เมษายน 2543
6. ฯพณฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนคิวบาอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2543
ฝ่ายคิวบา
1. นาย Ramon Ignacio Ripoll Diaz รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคิวบา เยือนไทยเพื่อประชุมเตรียมการ JC ระดับรัฐมนตรีไทย
คิวบา ครั้งที่ 1 ในวันที่ 18 1
9 กุมภาพันธ์ 2546
2. นาย Alberto Velazco San Jose อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนียกระทรวงการต่างประเทศคิวบา
เยือนไทยระหว่างวันที่ 5 8 กุมภาพันธ์ 2546
3. นาง Iris Noceda, Vice Director, International Organization Division กระทรวงพาณิชย์คิวบาและคณะจากกระทรวงน้ำตาล
เดินทางเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านน้ำตาล 25 มิถุนายน 2545
4. นาย Gonzalo Juan Diaz Perez, Director of Aquaculture, Training Center กระทรวงประมงคิวบาเยือนไทย
4 13 พฤษภาคม 2545
5. นาย Alberto Velazco San Jose อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนียกระทรวงการต่างประเทศคิวบา
เยือนไทยระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2545
6. นาง Noemi Benitez y de Mendoza รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคิวบาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ 10-14 กันยายน
2544
โดยในโอกาสดังกล่าวได้มีการพบหารือกับ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ
7.นาย Alberto Velazco San Jose อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนียกระทรวงการต่างประเทศ
คิวบา เยือนไทยระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2544
8. ฯพณฯ นาย Jose Armando Guerra Menchero รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การต่างประเทศคิวบาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2543
9. นาย Jaime Crombet Hernandez Baquero รองประธานรัฐสภาคิวบาเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของประธานรัฐสภา
(นายพิชัย รัตตกุล) ระหว่างวันที่ 22-27 ตุลาคม 2543 ภายหลังการประชุมสหภาพรัฐสภา
(IPU) ครั้งที่ 104 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
10. นาย Alberto Velazco San Jose อธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย กระทรวงการต่างประเทศคิวบา
เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2543
11. นาย Miguel Angel Ramirez Ramos เดินทางมาประเทศไทยในฐานะผู้แทนพิเศษ (special
envoy) ของประธานาธิบดีคิวบาเพื่อยื่นหนังสือเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีร่วมการประชุม
สุดยอดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 กลุ่ม
77 ที่กรุงฮาบานา
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ด้านการค้าในช่วงปี 2543 2546 มีมูลค่า 5.2, 5.5, 4.5 และ 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ
โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังมีโอกาสขยายความร่วมมือในด้านนี้ให้มากขึ้นได้
ความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนระหว่างกันนั้น อาจมองได้ว่าเป็นความพยายามของคิวบาที่จะกระชับความสัมพันธ์กับไทยให้มากขึ้น
เนื่องจากหวังการสนับสนุนจากไทยในคณะกรรมาธิการสิทธิ-มนุษยชน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การพัฒนาการท่องเที่ยวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากไทย
สำหรับประเทศไทย ไทยสามารถใช้คิวบาเป็นฐานขยายการลงทุนโดยกลุ่มธุรกิจ
รายใหญ่และเป็นตลาดใหม่รายย่อยสำหรับสินค้าไทย อาทิ ข้าว ยางพารา อุปกรณ์ไฟฟ้าได้
นอกจากนี้ การร่วมมือทางการแพทย์และเภสัชกรรมเป็นอีกหนทางหนึ่งที่น่าจะได้รับการส่งเสริม
รวมทั้งความร่วมมือด้านผู้ฝึกสอนกีฬาประเภทต่างๆจากคิวบา
ความตกลงระหว่างไทย คิวบา
ความตกลงที่ได้ลงนามกันแล้ว
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและคิวบา ลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543
2. ความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับคิวบา ลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545
3. ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยและคิวบา ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม 2547
4. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อเดือนกันยายน 2549
ความตกลงที่อยู่ในการพิจารณา
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างไทยกับคิวบา
2. บันทึกความเข้าใจด้านการประมงระหว่างไทยกับคิวบา
3. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมไทย-คิวบา
การค้าไทย-คิวบา
สินค้าที่ไทยส่งออก 1) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 2) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ 3) ผลิตภัณฑ์ยาง 4) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 5) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 6) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 7) เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
8) หม้อแบตเตอรีและส่วนประกอบ 9) ก็อก วาล์ว และส่วนประกอบ 10) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
สินค้าที่ไทยนำเข้า 1) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2) ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ 3) เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา
สถิติการค้าไทย - คิวบา (พันล้านดอลลาสหรัฐ)
ปีพ.ศ. มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2546 8.4 0.6 7.8 7.2
2547 11.3 0.5 10.7 10.2
2548 10.9 0.9 10.0 9.1
2549 31.6 0.8 30.8 30.0
วันที่ 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|