ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก






สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
Democratic Republic of the Congo


 

 

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐคองโก (Brazzaville)
ทิศเหนือ ติดกับ แอฟริกากลางและซูดาน
ทิศตะวันออก ติดกับ ยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนีย
ทิศใต้ ติดกับ แซมเบียและอังโกลา
มีเขตแดนประชิดกับมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างสาธารณรัฐคองโก และอังโกลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

พื้นที่ 2,345,410 ตารางกิโลเมตร (ประกอบด้วยพื้นที่บนพื้นดิน,267,600 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บนผืนน้ำ 77,810 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกว้างใหญ่เป็นอันดับที่สามของทวีปแอฟริการองลงมาจากซูดานและแอลจีเรีย ร้อยละ 50 ของพื้นที่เป็นป่าไม้เขตร้อนพรมแดนพรมแดนรวมทั้งสิ้น 10,271 กิโลเมตร มีพรมแดนติดกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้ อังโกลา 2,511 กิโลเมตร บุรุนดี 233 กิโลเมตร แอฟริกากลาง 1,577 กิโลเมตร สาธารณรัฐคองโก 2,410 กิโลเมตร รวันดา 217 กิโลเมตร ซูดาน 628 กิโลเมตร ยูกันดา 765 กิโลเมตร และแซมเบีย 1,930 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนและฝนตกชุก ที่ราบสูงตอนใต้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง ส่วนที่ราบสูงทางภาคตะวันออกอากาศจะเย็นและเปียกชื้น สำหรับบริเวณด้านเหนือของเส้นศูนย์สูตร ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน – ตุลาคม และฤดูแล้งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ส่วนบริเวณตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มีนาคมและฤดูแล้งระหว่างเดือนเมษายน – ตุลาคม ด้านตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณที่ราบทั่วไป มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิแถบที่ราบสูงและภูเขาเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเหมาะสมกับการเกษตรกรรมและป่าไม้

แม่น้ำที่สำคัญ แม่น้ำ Zaire, Kasai และ Kwango

ประชากร 65,751,512 ล้านคน (ประมาณการปี 2550) ประกอบด้วยชนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 200 เผ่าพันธุ์ โดยเผ่าพันธุ์ส่วนใหญ่ คือ เผ่า Bantu

ภาษาภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่น ได้แก่ Lingala, Kingwana, Kikongo และ Tshiluba

เมืองหลวง กรุงกินชาซา (Kinshasa)

เมืองสำคัญ Kananga

ศาสนา
โรมันคาทอลิก ร้อยละ 50
โปรแตสแตนท์ ร้อยละ 20
Kimbanguist ร้อยละ 10
มุสลิม ร้อยละ 10
ลัทธิความเชื่อดั้งเดิมร้อยละ 10

การคมนาคม
(1) ทางอากาศ – ท่าอากาศยาน N’ Djili ที่กรุงกินชาซา เชื่อมโยงเส้นทางอากาศไปยังสนามบินกว่า 40 แห่งภายในประเทศทางรถยนต์ การจราจรต้องขับรถชิดขวา ถนนหนทางและสะพานข้าม แม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่แทบจะใช้การไม่ได้ อันเนื่องมาจากสงครามกลางเมือง นอกจากนี้ ยังมีการจารกรรมรถยนต์อยู่ทั่วไป
(2)ทางน้ำ – แม่น้ำคองโกมีระยะทางราว 1,600 กิโลเมตร (1,000 ไมล์) สามารถทำการคมนาคมได้ โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างกรุงกินชาซาไปยังเมืองท่า Kisagani และ Ilebo ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยว แต่การให้บริการยังไม่ดีนัก เนื่องจากขาดแคลนเชื้อเพลิง

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล สถาบันการเมืองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการโดยแบ่งออกเป็น 25 จังหวัด ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ 2 วาระ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Joseph Kabila บุตรชายประธานาธิบดี Laurent Kabila เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2544 ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมัชชาแห่งชาติ (สภาผู้แทนราษฏร) ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี และวุฒิสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 108 คน ได้รับเลือกจากสภานิติบัญญัติของแต่ละจังหวัด ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court) ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court) และคณะกรรมาธิการแห่งรัฐ (Council of State) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยศาลสูงทางทหาร (High Military Court)
ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากเบลเยี่ยมในปี 2503 ได้มีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏต่างๆ ภายในประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามกลางเมืองในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในระหว่างปี 2541-2545 ในสมัยของประธานาธิบดี Laurent Kabila ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดจนได้รับการขนานนามว่าเป็น Africa’s World War หรือ the Great War of Africa มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3.8 ล้านคน โดยในเดือนมกราคม 2544 ประธานาธิบดี Laurent Kabila ถูกลอบสังหาร ทำให้นาย Joseph Kabila บุตรชาย ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนและมีนโยบายแตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อน โดยพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้บรรลุความตกลงสันติภาพ และได้มีการจัดตั้งรัฐบาลรักษาการณ์ขึ้นในเดือนมิถุนายน 2546 และมีการจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปลายปี 2549 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 40 ปี ตั้งแต่ได้รับเอกราชซึ่งนาย Joseph Kabila ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

แม้ว่าประธานาธิบดี Joseph Kabila จะชนะการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2549 แต่เป็นที่ชัดเจนว่า ประธานาธิบดี Kabila และนาย Jean-Pierre Bemba จะยังคงเป็นคู่แข่งทางการเมืองระหว่างกันต่อไป และรัฐบาลปัจจุบันยังต้องหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบทางด้านตะวันออกของประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ที่กลุ่มก่อความไม่สงบหลายกลุ่มใช้เป็นแหล่งปฏิบัติการ นอกจากนี้ กองกำลังรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างกฎระเบียบสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกให้เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลปัจจุบันมีเสถียรภาพและสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการเมืองและการปกครอง
ระบบการปกครองระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย Joseph Kabila มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาย Antoine Gizenga

สถาบันการเมืองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
- ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีภายใต้ ชื่อ National Executive Council โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสองสภา จำนวน 500 ที่นั่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
- ฝ่ายตุลาการ Supreme Court (Cour Supreme)


การต่างประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นประเทศยุทธศาสตร์ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา เนื่องจากตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปและมีขนาดใหญ่ รวมทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้การดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคงเป็นหลัก เนื่องจากความขัดแย้งภายในประเทศในอดีตที่ผ่านมาเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน โดยหลังจากประธานาธิบดี Joseph Kabila ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ๒544 องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ IMF, World Bank รวมทั้งสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูประเทศ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์กับประเทศแอฟริกาใต้ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญต่างๆ อาทิ African Union (AU), Cotonou Convention, Common Market for Eastern and Southern Africa (COMESA) และ South African Development Community (SADC)

เศรษฐกิจการค้า
นโยบายด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลปัจจุบันของนาย Joseph Kabila ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ การบริหารจัดการงบประมาณในการบริหารประเทศให้มีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับ IMF ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศผู้บริจาคต่างๆ ให้การสนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกอีกครั้ง นอกจากนี้ ปัญหาความยากจนเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลต้องรีบเข้าไปแก้ไขซึ่งรัฐบาลต้องพึ่งพาการบริจาคจากนานาประเทศ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกถือเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยผลผลิตมวลรวมในประเทศกว่า ร้อยละ 42.5 มาจากภาคเกษตรกรรม ที่เหลือมาจากการทำเหมืองแร่ร้อยละ 13.1 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 11.9 และภาคบริการร้อยละ 30.4 (ปี 2547) และเป็นประเทศที่มีทรัพยากรณธรรมชาติที่สมบูรณ์ ได้แก่ โคบอลท์ ทองแดง ปิโตรเลียม เพชร พลอย ทอง เงิน แมงกานีส ดีบุก ยูเรเนียม ถ่านหิน และป่าไม้ โดยสินค้าหลักที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกส่งออก ได้แก่ เพชร น้ำมันดิบ โคบอลท์ และคอปเปอร์ (ปี 2547) โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นประเทศผู้ส่งออกเพชรรายสำคัญของโลก ประเทศที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกส่งสินค้าออก ได้แก่ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา จีน และฝรั่งเศส (ปี 2547) ในส่วนของการนำเข้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกนำเข้าสินค้าต่างๆ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบต่างๆ และสินค้าทุนต่างๆ (ปี 2542) โดยนำเข้าจาก แอฟริกาใต้ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และแซมเบีย

ภาวะการค้าต่างประเทศ
- ด้านการส่งออกของซาอีร์ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและเหมืองแร่ กล่าวได้ว่า รายได้จากการส่งออกร้อยละ 60 มาจากผลิตภัณฑ์แร่ (ทองแดง โคบอลท์ เพชร ฯลฯ) และร้อยละ 40 มาจากภาคการเกษตร (ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน กาแฟ โกโก้ ชา ยาง ฝ้าย ฯลฯ)
ด้านสินค้าเข้า ซาอีร์นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นมูลค่าถึงหนึ่งในสามของมูลค่าสินค้าเข้าทั้งหมด โดยครึ่งหนึ่งจ่ายเพื่อสินค้าประเภทอาหาร มูลค่าการส่งออกของซาอีร์มีมากกว่ามูลค่าการนำเข้า
ดุลการค้าจึงเกินดุลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์แร่ส่งออกสูงมาก โดยเฉพาะทองแดงและโคบอลท์ เศรษฐกิจของซาอีร์หลังจากได้รับเอกราชแล้วตกต่ำลงมาก แม้ว่าซาอีร์จะได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด อัตราเงินเฟ้อในประเทศสูงและมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังประสบปัญหามีหนี้สินต่างประเทศในระดับสูงด้วย
ภายหลังจากที่ประธานาธิบดี Kabira ได้เข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ประธานาธิบดี Kabila ได้ริเริ่มนโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด โดยพยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อมิให้สูงขึ้นและป้องกันค่าเงินมิให้ตกต่ำ แต่นโยบายดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการสู้รบระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับกลุ่มกบฏต่าง ๆ ทางด้านตะวันออกของประเทศ โดยความขัดแย้งดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศและการเข้าไปลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อการลงทุน นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังล้าหลัง การทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ขาดความชัดเจนก็เป็นปัญหาสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย

ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ โคบอลท์ ทองแดง แคดเมียม ทองเงิน ดีบุก สังกะสี เหล็ก ทังสเตน นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ ยางพารา และงาช้าง เป็นต้น

อุตสาหกรรมสำคัญเหมืองแร่ mineral processing ซีเมนต์ เพชร เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ยาสูบ และเครื่องดื่ม

สินค้าเกษตรสำคัญกาแฟ น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ยางพารา ชา ควินิน สาคู ข้าวโพด ผักและผลิตภัณฑ์ไม้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (Gross Domestic Product – GDP) (ประมาณการปี 2549)

รายได้ประชากรต่อหัว 123 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2548)

อัตราเงินเฟ้อ : 13.1 % (ประมาณการปี 2549)

สกุลเงิน : Congolese franc (Cf)

อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 468.3 Cf (2550)

สินค้าออกสำคัญ : เพชร ทองแดง กาแฟ โคบอลท์ น้ำมันดิบ
สินค้าเข้าสำคัญ : สินค้าอุปโภคบริโภค (consumer products) อาหาร เครื่องจักรกลต่าง ๆ อุปกรณ์ขนส่ง และเชื้อเพลิง

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
สินค้าเข้า แอฟริกาใต้ ร้อยละ 19.5 เบลเยียม ร้อยละ 11.8 ฝรั่งเศส ร้อยละ 9.4 เคนยา ร้อยละ 7.5 แซมเบีย ร้อยละ 6.5 โกตดิวัวร์ ร้อยละ 4.8 (2550)
สินค้าออก เบลเยียม ร้อยละ 33.4 จีน ร้อยละ 24.1 ชิลี ร้อยละ 8.9 ฟินแลนด์ ร้อยละ 8.2 สหรัฐอเมริกา 5.6 (2550)

หนี้สินต่างประเทศ : 13,328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการทูต
ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2512 โดยทางการไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในขณะที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกประจำกรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังมีไม่มากนัก ตั้งแต่ปี 2535 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ในปี 2549 ไทยส่งสินค้าออกไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีมูลค่าทั้งสิ้น 80,957 ดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ส่งออก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ในการเดินทาง และของเล่น ส่วนไทยไม่มีการนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกแต่อย่างใด

สถิติการค้าไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) ดูเอกสารแนบ

การเยือนระดับต่าง ๆ
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ในชั้นนี้ ยังไม่เคยมีการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์
รัฐบาล
- วันที่ 30 มิถุนายน 2503 ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทนไปร่วมในพิธีฉลองเอกราชที่กรุงกินชาซาในโอกาสที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกได้รับและฉลองเอกราช

ฝ่ายคองโก
- วันที่ 27 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2511 เอกอัครราชทูต Marcel Lengema ผู้แทนส่วนตัวของประธานาธิบดีโมบูตูแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และได้เสนอให้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสาส์น ขอเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยของประธานาธิบดีประชาธิปไตยคองโก และเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศด้วย

สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์