|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สาธารณรัฐจิบูตี Republic of Djibouti
|
|
ชื่อทางการ สาธารณรัฐจิบูตี (Republic of Djibouti)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดเอริเทรีย ทิศตะวันตกและใต้ติด
เอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดโซมาเลียพื้นที่ 22,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงจิบูตี (Djibouti)
ภูมิอากาศ ร้อนแห้งแบบทะเลทราย
ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
จำนวนประชากร 496,374 คน (กค. 2550)
เชื้อชาติ โซมาเลียร้อยละ 60 อาร์ฟาร์ร้อยละ 35 ฝรั่งเศส อาหรับ เอธิโอเปีย และอิตาลีร้อยละ 5
ภาษา ฝรั่งเศสและอาหรับเป็นภาษาทางการ โซมาเลีย อาร์ฟาร์
ศาสนา มุสลิมร้อยละ 94 ที่เหลือเป็นคริสเตียนร้อยละ 6
การเมืองการปกครอง
จิบูตีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2520 โดยนาย Hassan Gouled Aptidon ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของจิบูตี ปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการ มีพรรคการเมืองพรรคเดียว ซึ่งประกอบด้วยชาว Issa เท่านั้น (ประชากรจิบูตีประกอบด้วย 2 เชื้อชาติที่สำคัญ คือ Issa จากโซมาเลีย และ Afar จากเอธิโอเปีย) ก่อให้เกิดความไม่พอใจและความขัดแย้ง นำไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้าน ซึ่งได้ตั้งพรรค Front pour la restauration de lunité et de la démocratie (FRUD) ของชาว Afar ขึ้นในปี 2535 หลังจากนั้น ได้มี การลงนามสันติภาพระหว่าง FRUD นำโดยนาย Ahmed Dini อดีตนายกรัฐมนตรี กับฝ่ายรัฐบาลของ นาย Ismail Omar Guelleh ประธานาธิบดีคนใหม่ของจิบูตีในเดือนพฤษภาคม 2544
ระบอบพรรคการเมืองหลายพรรคถูกจัดตั้งขึ้นหลังจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2535
ปัจจุบันมี 8 พรรคการเมือง โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดี Union pour la majorité présidentielle (UMP) และฝ่ายค้าน Union pour une alternance démocratique (UAD) แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2546 ฝ่าย UMP ได้รับเลือกตั้งครองที่นั่งทั้งหมดในสภา จึงมีการประท้วงจากฝ่ายค้าน แต่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดี Ismail Omar Guelleh ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 8 พฤษภาคม 2542 และได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 มีวาระสมัยละ 6 ปี โดยได้คะแนนเสียง ร้อยละ 100 เนื่องจากคู่แข่งคนสำคัญ นาย Ahmed Dini เสียชีวิต 7 เดือนก่อนวันเลือกตั้ง และฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้ง
มีสภาเดียวคือ สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies หรือ Chambre des Députés) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 65 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระสมัยละ 5 ปี
ข้อมูลเกี่ยวกับการปกครอง
รูปแบบการปกครอง เป็นแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ประมุขของรัฐนาย Ismail Omar Guelleh (ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของจิบูตี ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศภาคม 2542) ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี
- นายกรัฐมนตรีนาย Mohamed Dilleita Dilleita (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 4 มินาคม 2544)
- รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Mahamoud Ali Youssouf (แต่งตั้งเมื่อพฤษภาคม 2548)
สถาบันทางการเมือง
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ Chamber of Deputies ประกอบด้วยสมาชิก 65 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
- ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ฝ่ายตุลาการศาลสูง (Supreme Court) ระบบศาลตั้งอยู่บนพื้นฐานกฎหมายอิสลาม
การต่างประเทศ
3.1 จิบูตีเป็นประเทศเล็กและยากจน นโยบายต่างประเทศจึงมุ่งให้ความสำคัญกับทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน (โซมาเลีย เอธิโอเปียและเอริเทรีย) และฝรั่งเศส เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยจิบูตีมีบทบาทสำคัญในการจัดการประชุมของชนเผ่าต่างๆ ในโซมาเลีย เพื่อความปรองดองแห่งชาติของโซมาเลียในปี 2543 และวางตัวเป็นกลางในสงครามระหว่างเอธิโอเปีย
กับเอริเทรียในปี 2541 ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบภายใน 2 ประเทศนี้ ตลอดจนปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ความแห้งแล้ง มักจะทำให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากอพยพเข้ามาในจิบูตี ปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์กับเอธิโอเปียเสื่อมลง เนื่องจากข้อขัดแย้งเรื่องการส่งกำลังทหารเอธิโอเปียเข้าไปยังโซมาเลีย ทั้งที่จิบูตีได้เรียกร้องไม่ให้มีการส่งกองกำลังต่างชาติไปยุ่งเกี่ยว จิบูตียังถูกกล่าวหาจากรัฐบาลชั่วคราวโซมาเลียว่า ได้ให้การสนับสนุน
แก่กลุ่มอิสลาม (Union of Islamic Courts) แต่รัฐบาลจิบูตีได้ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2550 ว่า จิบูตีสนับสนุนเอธิโอเปียในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย นอกจากนี้ จิบูตีได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซมาเลียแลนด์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เนื่องจากมีข้อขัดแย้งกันเรื่องท่าเรือของทั้ง 2 ฝ่าย
ในด้านความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากแก่จิบูตี และมีฐานทัพอยู่ในจิบูตี (ฝรั่งเศสมีทหารประจำอยู่ 2,600 นาย) ส่วนสหรัฐฯ ได้ส่งทหาร 1,200 นาย ไปประจำการที่ฐานทัพสหรัฐฯ ในจิบูตี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 เนื่องจากจิบูตีเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอยู่บน Horn of Africa ในสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายสากลของสหรัฐฯ และรัฐบาลจิบูตีมีนโยบายชัดเจนในการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ เยอรมนีได้ส่งเรือรบ 7 ลำ และลูกเรือ 1,000 นาย ลาดตระเวนเขตเดินเรือในทะเลแดงและอ่าวเอเดน เพื่อให้ความสนับสนุนสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานในปี 2545 และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจิบูตี อยู่บนเส้นทางการเดินเรือและเป็นจุดผ่านในการขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากอ่าวอาหรับและอ่าวเปอร์เซีย ไปยังคลองสุเอซและแหลม Good Hope ของแอฟริกาใต้ ท่าเรือของจิบูตีจึงเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าและบริการกระจายเข้าสู่อนุภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออก เศรษฐกิจของจิบูตีพึ่งพาการให้บริการทางท่าเรือ โดยร้อยละ 80 ของการขนส่งสู่ท่าเรือเป็นการขนส่งจากเอธิโอเปีย และ re-export สินค้าเข้าสู่ตลาดในแอฟริกาตะวันออก และกลุ่มประเทศตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa) หรือ COMESA 20 ประเทศ ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของจิบูตีจึงเป็นหัวใจหลักที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเข้าสู่เอธิโอเปีย ผ่านเส้นทางรถไฟระหว่างกรุงแอดดิสอาบาบาของเอธิโอเปีย กับกรุงจิบูตี ซึ่งเป็นเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้นที่สินค้าและบริการสามารถเข้าสู่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย
ทั้งนี้ จิบูตีไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ไม่มีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ อีกทั้งยังไม่มีดินและน้ำที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
ในปี 2549 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจิบูตีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.2 เนื่องมาจาก
มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่ฐานทัพต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ได้ใช้บริการท่าเรือจิบูตีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ โดยจะมีการกำหนดเขตการค้าและอุตสาหกรรมของท่าเรือใหม่ที่เมือง Doraleh ในขณะนี้ได้มีการสร้างท่าขนถ่ายน้ำมัน (oil terminal) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 และกำลังดำเนินการสร้างท่าขนส่งสินค้า (container terminal) โดยคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2551
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.8 (2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 0.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 983 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.6 (2549)
หนี้สินต่างประเทศ 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าออกที่สำคัญ หนังสัตว์ วัว กาแฟ
สินค้าเข้าที่สำคัญอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ยานพาหนะ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญส่งออกไปยัง โซมาเลีย(ร้อยละ 66.3) เยเมน(ร้อยละ 3.4) เอธิโอเปีย (ร้อยละ 21.5) (2549)
นำเข้าจาก ซาอุดิอาระเบีย(ร้อยละ 21.4) อินเดีย(ร้อยละ 17.9) จีน(ร้อยละ 11) อินเดีย (ร้อยละ 17.9) เอธิโอเปีย(ร้อยละ 4.6) (2549)
สกุลเงินฟรังซ์จิบูตี (Djiboutian Francs)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 177.7 DF
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐจิบูตี |
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ด้านการเมือง
ไทยกับจิบูตีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2529 โดยไทย
ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร มีเขตอาณาครอบคลุมจิบูตี ซึ่งมีเอกอัครราชทูตไทยฯคนปัจจุบัน คือ นายนภดล เทพพิทักษ์ ฝ่ายจิบูตีมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยและเอกอัครราชทูตจิบูตีประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว คนปัจจุบัน คือ นาย Ismaël Goulal Boudine ซึ่งได้เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 นอกจานี้ ฝ่ายไทยได้แต่งตั้งนาง Koran Ahmed Aouled ทนายความหญิงชาวจิบูตี ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำจิบูตี
ไทยและจิบูตีไม่ค่อยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนมากนัก เพิ่งจะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจิบูตี นาย Ismail Omar Guelleh มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2547 โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ณ พระราชวังไกลกังวล และได้เข้าพบหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี
ด้านเศรษฐกิจ
ในปี 2549 การค้าระหว่างไทยและจิบูตีมีมูลค่า 531.3 ล้านบาท ไทยส่งออกเป็นมูลค่า 529.7 ล้านบาท จิบูตีส่งออกมายังไทยเป็นมูลค่า 1.6 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าจิบูตีถึง 528.1 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งออกไปจิบูตี ได้แก่ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์รถยนต์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจิบูตี ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์ สัตว์น้ำสดแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและ กึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุนอื่นๆ กล้อง เลนส์ และอุปกรณ์การถ่ายรูปและภาพยนตร์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะ ธุรกรรมพิเศษ
อนึ่ง ไทยได้ส่งร่างความตกลงการส่งเสริมและการป้องกันการลงทุนให้ฝ่ายจิบูตีพิจารณาตั้งแต่ปี 2546 แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ
ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามความตกลงด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย-จิบูตี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 แต่ยังไม่มีโครงการความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน
ไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ของจิบูตีในหลายด้านอาทิ ด้านการเกษตร การชลประทาน สาธารณสุข โดยได้มีการจัดเชิญผู้แทนจากจิบูตีมาเข้าร่วมการฝึกอบรมตามโครงการต่างๆ ที่ไทยจัดขึ้น ได้แก่
- รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แก่แอฟริกา โดยจัดกิจกรรมดูงานในหัวข้อ AIDS Prevention and Problem Alleviation ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่
19 กรกฎาคม 2547 ในการนี้ได้ให้ทุนแก่ผู้แทนจิบูตีเข้าร่วมหลักสูตรดังกล่าว จำนวน 1 ราย
- รัฐบาลไทยร่วมกับ UNDP จัด Workshop on Comprehensive Response to HIV/AIDS Prevention Care ที่กรุงไนโรบี ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2548 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน การจัดการกับปัญหา HIV/AIDS โดยมีประเทศจิบูตีเข้าร่วมด้วย 1 ราย
- รัฐบาลไทยได้จัดโครงการดูงานด้านการขจัดความยากจนให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจิบูตี จำนวน 5 คน ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2548
- รัฐบาลไทยจัดการฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 15-19 มกราคม 2550 และได้เชิญผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในแอฟริกาและตะวันออกกลางมาเข้าร่วม แต่ผู้แทนจากจิบูตีไม่สามารถมาเข้าร่วมได้ทันเวลา ทั้งนี้ ไทยกำลังเตรียมการฝึกอบรมไข้หวัดนกที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยจะเชิญผู้แทนจากจิบูตีมาเข้าร่วมอีกครั้งหนึ่ง
ความตกลงต่าง ๆ กับไทย
ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547)
ความตกลงด้านวัฒนธรรม (ลงนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547)
การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ในชั้นนี้ ยังไม่เคยมีการเสด็จฯ เยือน
รัฐบาล
นายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
- วันที่ 1112 กันยายน 2546 นำคณะผู้แทนเยือนจิบูตี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และศึกษาศักยภาพของจิบูตี และได้เข้าพบนาย Ali Abdi Farah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจิบูตีด้วย
ฝ่ายจีบูติ
รัฐบาล
นาย Ali Abdi Farah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจิบูตี
- วันที่ 711 มิถุนายน 2547 นำคณะเยือนไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และได้พบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547
นาย Ismail Omar Guelleh ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจิบูตี
- วันที่ 2629 กรกฎาคม 2547 เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีในวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 และ ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ที่พระราชวังไกลกังวล
ผู้แทนทางการทูต
- ฝ่ายไทยไทยมอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำอียิปต์ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำจิบูตี อีกตำแหน่งหนึ่ง อันได้แก่ นายนายนภดล เทพพิทักษ์
Royal Thai Embassy
2, El Malek El Afdal Street Zamalek, Cairo EGYPT
โทรศัพท์ (202) 340-8356
โทรสาร (202) 340-0340
- ฝ่ายจิบูตี
จิบูตีมอบหมายให้เอกอัครราชทูตจิบูตีประจำประเทศญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตจิบูตีประจำประเทศไทย ได้แก่ นาย H.E. Mr. Ismael Goulal Boudine
Embassy of the Republic of Djibouti
2-2-17, Shoto 201
Shibuya ku 150, k Tokyo JAPAN
โทรศัพท์ (813) 3481-5252
โทรสาร (813) 3481-5387
สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|