ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ไอซ์แลนด์




แผนที่
สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
Republic of Iceland


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง สาธารณรัฐไอซ์แลนด์เป็นเกาะอยู่ใต้เส้นอาร์กติก เซอร์เคิล (Arctic Circle) ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์ทางทิศตะวันตกของนอร์เวย์และทางทิศเหนือของสกอตแลนด์

ขนาด 103,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 39,769 ตารางไมล์

ภูมิอากาศ ไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ในเขตโอเชียนิก (Oceanic Zone) มีฤดูร้อนที่สั้นและเย็น มีฤดูหนาวที่ยาวนานแต่ไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมเดือนที่ร้อนที่สุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส และในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนที่หนาวที่สุดประมาณ -1 องศาเซลเซียล ไอซ์แลนด์มีน้ำพุร้อนและมีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่านจึงทำให้ไม่หนาวจนเกินไปและโดยที่ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ไม่กว้างใหญ่นัก อุณหภูมิภายในประเทศจึงไม่แตกต่างกันมาก

ประชากร ประมาณ 361,900 คน (ก.ค. 50)

เมืองหลวง กรุงเรคยาวิก (Reykjavik)

ภาษา ไอซ์แลนดิก (Icelandic) เป็นภาษาราชการ

ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ (93 %) นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Evangelical Lutheran Church

มาตราวัด ใช้ระบบเมตริก

เงินตรา ใช้สกุลเงินโครนไอซ์แลนด์ (Icelandic Kronur - ISK) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 62.27 โครนไอซ์แลนด์ และ 1 โครนไอซ์แลนด์ ประมาณ 0.48 บาท

การปกครอง ระบบประชาธิปไตย (สาธารณรัฐ) โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ (อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง) และประธานาธิบดี จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศโดยรับผิดชอบอำนาจบริหารร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นมี Althingi (รัฐสภา) เป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 63 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี

ประธานาธิบดี นาย Olafur Ragnar Grimsson (1 สิงหาคม 2539)

นายกรัฐมนตรี นาย Geir H. Haarde (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549)

รัฐมนตรีต่างประเทศ นาง Ingibjorg Solrun Gisladottir (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 16.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว 31,900 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 5.2

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 2.8 (จำนวนแรงงาน 159,000 คน)

งบประมาณ เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้/รายจ่าย 3.5 และ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดุลการค้า เกินดุล 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า/ส่งออก 2 และ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

หนี้ต่างประเทศ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้า นอร์เวย์ เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์
สินค้าเข้า เครื่องจักร อุปกรณ์การขนส่ง อาหาร สัตว์มีชีวิต

สินค้าออก ปลาทะเล ผลิตภัณฑ์จากประมง ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและเกษตรกรรม
- ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (Global Competitiveness Index) ในปี 2549 อยู่ในลำดับที่ 14 (ปี 2548 ลำดับที่ 16)

การเมืองการปกครอง
ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราชเมื่อปี 2452 (ค.ศ. 1919) แต่อยู่ภายใต้ราชวงศ์เดนมาร์ก (under the Danish crown) และต่อมาประชาชนไอซ์แลนด์ได้ลงคะแนนเสียงให้ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่17 มิถุนายน 2487 (ค.ศ.1944)
การเมืองภายในประเทศ
1. การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2546 (ค.ศ.2003) ผลปรากฏว่า พรรค Independence ของนายกรัฐมนตรี David Oddsson ยังคงได้รับเสียงมากที่สุดโดยได้ที่นั่งในสภา 22 ที่นั่ง พรรค Progressive มาเป็นอันดับที่สามได้ 12 ที่นั่ง ทั้งนี้พรรค Independence ยังเป็นแกนนำโดยร่วมกับพรรค Progressive จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยสนับสนุนนาย David Oddsson ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป และนาย Halldor Asgrimsson ยังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนับเป็น
การจัดตั้ง รัฐบาลสมัยที่ 4 ของนายกรัฐมนตรี David Oddsson นับตั้งแต่ปี 2534
(ค.ศ.1991)
2. สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 (ค.ศ.2007) ผลปรากฏว่า พรรค Independence ยังคงได้รับเสียงมากที่สุดโดยได้ที่นั่ง 25 ที่นั่ง พรรค Progressive มาเป็นอันดับที่สี่ได้ 7 ที่นั่ง สำหรับการจัดตั้งรัฐบาล พรรคIndependence ร่วมกับพรรค Social Democratic Alliance ซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับ 2 โดยได้ 18 ที่นั่ง (เดิมเป็นพรรคฝ่ายค้าน) จัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมากในสภา
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2550 (ค.ศ.2007) ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ได้ให้ความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของไอซ์แลนด์ โดยมี นาย Geir Haarde หัวหน้าพรรค Independence ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนาง Ingibjorg Solrun Gisladottir หัวหน้าพรรค Social Democratic Alliance ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไอซ์แลนด์คนใหม่
3. การเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2547 (ค.ศ.2004) ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ ผลปรากฏว่า นาย Olafur Ragnar Grimsson ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 67.5 ขณะที่ผู้สมัครอีก 2 คน คือ นาย Baldur Agustsson และนาย Asthor Magnusson ผู้สมัครอิสระ ได้คะแนนเสียงร้อยละ 9.9 และ 1.5 ตามลำดับ การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งร้อยละ 62.9 จากผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวนประมาณ 211,000 คน
การเมืองระหว่างประเทศ ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของสมาคมการค้าเสรี แห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2537(ค.ศ. 1994) โดยไอซ์แลนด์เห็นว่า เขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) จะเป็นประโยชน์กับไอซ์แลนด์ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ส่งออกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหลักการพื้นฐานของการจัดตั้ง EEA ที่จะให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการเงินทุน และประชากรโดยเสรีจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไอซ์แลนด์ไปยังสหภาพยุโรป ทั้งการเข้าร่วมเจรจาจะช่วยให้ไอซ์แลนด์ในฐานะประเทศเล็กจะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับพหุภาคี (multi-national level) ที่จะมีส่วนช่วยเกื้อกูลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ปัจจัยหนึ่งที่ไอซ์แลนด์จำเป็นจะต้องหาทางเจรจากับสหภาพยุโรป คือ เพื่อรักษาสถานะของการส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปลาไว้ เนื่องจากขณะนี้ความตกลงการค้าพิเศษที่ไอซ์แลนด์ทำไว้กับสหภาพยุโรป เมื่อปี 2535 (ค.ศ. 1992) เพื่อผ่อนคลายการจำกัดการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล โดยเฉพาะปลาเค็ม ไม่ได้สนองประโยชน์ต่อการส่งออกของไอซ์แลนด์ไปยังสหภาพยุโรปได้เช่นเดิม การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) จึงเป็นลู่ทางหนึ่งในการขยายการส่งออกผลผลิตด้านการประมงของไอซ์แลนด์ไปยังสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี ไอซ์แลนด์ยังไม่มีความตั้งใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในระยะอันใกล้ ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกปลา และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเป็นสำคัญ ซึ่งเมื่อไอซ์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ไอซ์แลนด์อาจจะต้องเสียผลประโยชน์ทั้งด้านการประมงและเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ สำหรับความร่วมมือของไอซ์แลนด์ในระดับภูมิภาคยุโรป ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกในองค์กรสำคัญๆ เช่น กลุ่มนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน คณะมนตรีแห่งยุโรป (Council of Europe)องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization - NATO) นอกจากนี้ ในด้านเศรษฐกิจ ไอซ์แลนด์ยัง มีความตกลงการค้าพิเศษกับสหภาพยุโรป
ประวัติย่อบุคคลสำคัญทางการเมืองของไอซ์แลนด์
1. ประธานาธิบดี (ประมุขของรัฐ)
นาย Olafur Ragnar Grimsson เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2486 (ค.ศ.1943) เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี 2536 (ค.ศ.1996) จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขารัฐศาสตร์ ก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญๆ เช่น สมาชิกรัฐสภาไอซ์แลนด์ตั้งแต่ปี 2517 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างปี 2531-2534 เป็นต้น
2. นายกรัฐมนตรี (ผู้นำรัฐบาล)
นาย Geir H. Haarde เกิดเมื่อปี 2494 (ค.ศ.1951) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี 2548-2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่างปี 2531-2548 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตั้งแต่ ปี 2530 และเป็นหัวหน้าพรรค Independence Party ตั้งแต่ปลายปี 2548
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นาง Ingibjorg S. Gisladottir เกิดเมื่อปี 2497 (ค.ศ.1954) เป็นหัวหน้าพรรค Social Democratic Alliance เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเมืองเรคยาวิกระหว่างปี 2537 – 2546 (ค.ศ.1994 -2003)

เศรษฐกิจการค้า
สภาวะทางเศรษฐกิจ ไอซ์แลนด์มีระดับมาตรฐานการครองชีพที่นับว่าสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลกและแม้ว่าไอซ์แลนด์จะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก แต่ก็มีการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจที่สูง ดังจะเห็นได้จากการจัดอันดับ Global Competitiveness โดย World Economic Forum จัดให้ไอซ์แลนด์อยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก (2007-2008) และประชาชนไอซ์แลนด์มีรายได้ประชาชาติต่อหัวที่สูงมากโดยเป็นอันดับ 4 ของโลก (62,976 USD)
แหล่งรายได้ที่สำคัญของไอซ์แลนด์ คือ การประมงซึ่งทำรายได้เข้าประเทศถึงร้อยละ 70 จากรายได้ที่ได้รับจากการส่งออกทั้งหมด ประเทศที่ไอซ์แลนด์ส่งออกสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และสเปน สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรลียม ประเทศที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ เยอรมนี สวีเดนเดนมาร์ก เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงราคาของการซื้อขายปลาระหว่างประเทศกระทบเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์มีนโยบายสนับสนุนการส่งออกกระแสไฟฟ้าพลังน้ำและที่ได้รับความร้อนจากใต้ดิน (Geothermal and hydro power) ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้เข้าประเทศที่สำคัญอีกสาขาหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
ความสัมพันธ์ทางการทูต ไอซ์แลนด์กับไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2518 (ค.ศ. 1975) โดยที่ประเทศทั้งสองยังไม่ได้จัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตซึ่งกันและกัน ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้ไอซ์แลนด์อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน และเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำไอซ์แลนด์อีกตำแหน่ง โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโคเปนเฮเกน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 นายชัยสิริ อนะมาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน เดินทางเข้ายื่นพระราชสาส์นตราตั้งแด่ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ เพื่อดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำไอซ์แลนด์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงโคเปนเฮเกน
สถานที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน
Royal Thai Embassy, Norgesmindevej 18, 2900 Hellerup, Copenhagen, Denmark
Tel 45-39625010 Fax 45-39625059
สำหรับไอซ์แลนด์ได้แต่งตั้งให้นาย Thordur Aegir Oskarsson เอกอัครราชทูต
ไอซ์แลนด์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย
สำหรับงานด้านกงสุล รัฐบาลไอซ์แลนด์แต่งตั้งนายชำนาญ วีรวรรณ เป็น กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย และนาย Poul Weber เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ ตั้งแต่ปี 2540 สถานที่อยู่ The Consulate – General of Iceland, 2nd Floor Sivadon Building,Bangrak, Bangkok 10500, Tel. 0-2289-1121-5 Fax 0-2688-2690และรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งนาย Kjartan Borg เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไอซ์แลนด์
ล่าสุด ในโอกาสที่ไทยและไอซ์แลนด์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 30 ปี ในปี 2548 ฝ่ายไทยได้ส่งสารในนามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงนายกรัฐมนตรีไอซ์แลนด์ และรัฐมนตรีต่างประเทศไอซ์แลนด์


ความสัมพันธ์ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ไอซ์แลนด์ดำเนินไปด้วยความราบรื่นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ไทยและไอซ์แลนด์มีความเห็นสอดคล้องและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในกรอบการดำเนินงานในองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสนับสนุนของไอซ์แลนด์ต่อผู้สมัครของไทยในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ เช่น การสมัครเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก(WTO) ของฯพณฯ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ในขณะนั้น)
ล่าสุดจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ไอซ์แลนด์ได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ไทย โดยได้จัดส่งน้ำดื่มใส่ขวดพลาสติกจำนวน 20 ตัน เต็นท์ และผ้าห่ม ให้แก่ผู้ประสบภัย
นอกจากนี้ ในโอกาสที่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ไอซ์แลนด์ ครบรอบ 30 ปี ในปี 2548 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารแสดงความยินดีถึงฝ่ายไอซ์แลนด์ด้วย
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
1. การค้าทวิภาคีไทย-ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 138 ของไทย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์มีมูลค่ารวมน้อยมาก กล่าวคือ ในปี 2549 มีมูลค่า 14.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าส่งออก 9.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่านำเข้า 5.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 4.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการขยายตัวลดลงร้อยละ 14.1 จากปีก่อนหน้า
การส่งออก สินค้าออกสำคัญของไทย คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป่องและแปรรูป ตาข่ายจับปลา ข้าว เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ เป็นต้น
การนำเข้า สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งแปรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอย อัญมนี เงินแท่งและทองคำ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ สัตวืและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น
การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ไอซ์แลนด์ ในกรอบ EFTA
ในขณะนี้ไทยและไอซ์แลนด์ในฐานะที่เป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) กำลังเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับ EFTA ซึ่งได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม 2548 และครั้งที่ 2 ที่กรุงเรคยาวิก ไอซ์แลนด์ในเดือนพฤษภาคม 2548 และได้มีการเจรจรารอบที่ 1 เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ที่จังหวัดภูเก็ต และการเจรจารอบที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ล่าสุด ได้มีการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ (Expert Meeting) เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ที่นครเจนีวา
2. ปัญหาและอุปสรรคการค้าทวิภาคีไทย-ไอซ์แลนด์
2.1 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ตลาดไอซ์แลนด์มากนัก
เนื่องจากเห็นว่า เป็นตลาดขนาดเล็ก และยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับตลาดไอซ์แลนด์ในด้านต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่จะทำการซื้อขายระหว่างกัน การกำหนดราคาที่สามารถแข่งขันในตลาดช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าและการส่งเสริมการขาย
2.2 ด้านการขนส่ง เส้นทางการขนส่งที่มีระยะทางห่างไกลก่อให้เกิดต้นทุนสินค้าที่สูงการขนส่งทางอากาศที่ยังมีอัตราระวางที่สูง
การท่องเที่ยว ประชาชนทั้งสองประเทศยังไปมาหาสู่ในรูปของการท่องเที่ยวไม่มากนัก เนื่องจากห่างไกลกันมาก การคมนาคมไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม ชาวไอซ์แลนด์เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2549 (ค.ศ. 2006) 2,281 คน ในขณะที่ปี 2548 (ค.ศ. 2005) 1,790 (ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
ภาพลักษณ์ไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์อยู่ในระดับดีไอซ์แลนด์ให้ความสนใจและรู้จักประเทศไทยผ่านทางการรายงานข่าวระหว่างประเทศทั้งทางสื่อมวลชน โทรทัศน์ และการติดต่อระหว่างภาครัฐและเอกชน ภาพลักษณ์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจสูงและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีบทบาทสำคัญทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค เป็นสมาชิกชั้นนำในอาเซียน เอเปค (APEC) และการประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) และเป็นประเทศเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ในด้านปัญหาของภาพลักษณ์นั้น จะอยู่ในการรายงานข่าวในประเด็นปัญหาเรื่องโสเภณีและโสเภณีเด็ก ยาเสพติด เป็นต้น

ชุมชนชาวไทยในไอซ์แลนด์
มีชาวไทยอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์ประมาณ 600 คน ส่วนใหญ่จะเป็นสตรีไทยที่สมรสกับชาวไอซ์แลนด์ ซึ่งประกอบอาชีพแม่บ้าน และรับจ้าง (แรงงานไทยส่วนใหญ่ ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลา) มีร้านอาหารไทย ประมาณ 5 ร้าน และวัดไทย 1 แห่ง (พระภิกษุ 1-2 รูป)

การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไอซ์แลนด์
- วันที่ 27- 31 มกราคม 2542 (ค.ศ.1999) นาย Halldor Asgrimsson รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะภาคเอกชน 24 คนเยือนไทย โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2542
- วันที่ 10 เมษายน 2545 (ค.ศ.2002) นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง เดินทางมาเยือนไทย
- วันที่ 1-3 ตุลาคม 2546 (ค.ศ.2003) นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงเรคยาวิก เดินทางมาเยือนไทย
- วันที่ 4-12 ธันวาคม 2547 (ค.ศ.2004) นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงเรคยาวิก เดินทางมาเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

- วันที่ 10 มกราคม 2548 (ค.ศ.2005) เอกอัครราชทูต Gretar Mar Sigurosson อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนการเจรจาของสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เยือนไทยเพื่อเจรจาเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำความตกลง เขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปกับทางการไทย
- วันที่ 1-7 พฤษภาคม 2548 (ค.ศ.2005) นาย David Gunnarsson ปลัดกระทรวงและประธานคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลก (Permanent Secretary and Chairman of the Executive Board of the World Health Organization) เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม The Health Aspects of the Tsunami Disater in Asia ที่จ.ภูเก็ต และได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ฝ่ายไทย
- เดือนมิถุนายน 2539 (ค.ศ.1996) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนไอซ์แลนด์ เป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ 16-21 กรกฎาคม 2546 (ค.ศ.2003) รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง (นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล) และคณะ เยือนไอซ์แลนด์
- วันที่ 10-12 พฤษภาคม 2548 (ค.ศ.2005) นายเกริกไกร จีระแพทย์ หัวหน้าคณะ ผู้แทนไทยในการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เยือนไอซ์แลนด์ เพื่อเจรจาเรื่อง FTA ระหว่างไทยกับ EFTA (Exploratory Meeting)

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0-2643-5133 Fax. 0-2643-5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์