ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> มาดากัสการ์




แผนที่
สาธารณรัฐมาดากัสการ์
Republic of Madagascar


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง มาดากัสการ์เป็นเกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ตรงกันข้ามกับประเทศโมซัมบิก
พื้นที่ 226,658 ตารางไมล์ (หรือ 587,041 ตารางกิโลเมตร)
เมืองหลวง กรุงอันตานานาริโว (Antananarivo)
ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น (ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยกว่า 3,000 มิลลิเมตร)
จำนวนประชากร 15.5 ล้านคน (ปี 2543) โดยมีอัตราการเจริญเติบโต ร้อยละ 3.02 (ปี 2543)ความหนาแน่นของประชากร 24.0 ต่อตารางกิโลเมตร
เชื้อชาติ สืบเชื้อสาย Malayo-Polynesian แบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นเมือง 18 กลุ่ม
ภาษา ภาษามาลากาซีเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อในวงการระหว่างประเทศ
ศาสนา ประมาณ 52% ของประชากรนับถือภูตผีวิญญาณ 41% นับถือศาสนาคริสต์ และ 7% นับถือศาสนาอิสลาม

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ปรากฏหลักฐานว่ามีคนอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของ Diego Diaz นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี 2340 - 2404 (1797 - 1861) แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการ ปกครองในปี 2438 (1895) และต่อมาในปี 2439 (1896) ระบอบกษัตริย์ได้ถูกทำลายซึ่งยังผลให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2439 (1896) และต่อมาในปี 2501 มีการลงประชามติประกาศให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2503 (1960) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 (1975) พันเอก Richard Ratsimandrava ซึ่งเป็นประมุขของประเทศถูกลอบสังหาร จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการทหารแห่งชาติ (National Military Directorate) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนได้โอนอำนาจให้แก่สภาปฏิวัติสูงสุด (Supreme Revolutionary Council) ภายใต้การนำของนาย Didier Ratsiraka ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2518 ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ตั้งแต่ปี 2523 (1980) เป็นต้นมา มาดากัสการ์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดแคลนอาหารทำให้มีการก่อความไม่สงบขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในขณะที่ชาวนาที่เดือดร้อนก็พากันละทิ้งไร่นาของตน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 (1990) มีการยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีพรรคการเมืองหลายพรรคในระบอบการเมือง แต่ฝ่ายต่อต้านต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากมีการนัดหยุดงานและประท้วงเป็นเวลา 6 เดือน ประธานาธิบดี Ratsiraka ก็ได้มอบอำนาจหลายส่วนให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนาย Albert Zafy ในเดือนพฤศจิกายน 2534 (1991) และในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 นาย Zafy ได้รับเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2539 แต่ต่อมาถูกรัฐสภามาดากัสการ์ลงมติไม่ไว้วางใจอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นบวกกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงราชการ จนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดี Zafy ต้องลาออกไป ในการเลือกตั้งปลายปี 2539 นาย Didier Ratsiraka ได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงมากกว่านาย Zafy เพียงเล็กน้อย ต่อมา ในเดือนธันวาคม 2544 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ขึ้น แต่เกิดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งระหว่างนาย Didier Ratsiraka และนาย Marc Ravalomanana คู่แข่งคนสำคัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีในขณะนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายเดือน จนในที่สุด วิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลงเมื่อประชาคมระหว่างประเทศได้ให้การรับรองนาย Marc Ravalomanana ในฐานะประธานาธิบดีและรัฐบาลชุดใหม่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ประกาศท่าทีให้การรับรองและไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ให้การรับรอง

รูปแบบการปกครอง จากการลงประชามติในปี 2535 (1992) ทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเปลี่ยนจากระบอบสังคมนิยมที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการบริหารภายใต้การแนะนำช่วยเหลือของสภาปฏิบัติสูงสุด (Supreme Revolutionary Council) มาเป็นระบอบที่ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลในการบริหารประเทศ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งรัฐสภาเป็นผู้เสนอชื่อ

ประมุขของรัฐ นาย Marc Ravalomanana ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อ พ.ค. 2545 ประธานาธิบดีจะอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี
นายกรัฐมนตรี นาย Jacques Sylla (ตั้งแต่ปี 2545)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Lieutenant General anjeva Marcel (ตั้งแต่ปี 2545)
วันชาติ 26 มิถุนายน (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1960)

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
มาดากัสการ์ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทางปฏิบัติ มีความใกล้ชิดและรับความช่วยเหลือจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกมากกว่าฝ่ายตะวันตก แต่เดิมนั้น รัฐบาลมาดากัสการ์ต่อต้านระบบแบ่งแยกผิวและสนับสนุนให้นามิเบียเป็นเอกราช แต่ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว โดยยอมรับพัฒนาการทางการเมืองในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ หันมากระชับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อนุญาตให้สายการบินแอฟริกาใต้บินผ่าน และยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ประธานาธิบดี de Klerk แห่งแอฟริกาใต้เดินทางมาเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2533 ด้วย การดำเนินการดังกล่าวบ่งชี้ถึงความปรารถนาของรัฐบาลมาดากัสการ์ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับสถาบันการเงินตะวันตกภายหลังจากที่ประสบการณ์ตามระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ยึดถือปฏิบัติมากว่า 10 ปี ประสบความล้มเหลว

มาดากัสการ์เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (ADB)
- ประเทศสมาชิกสมทบประชาคมยุโรป (Lome Convention)
- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา
- GATT, WTO
- องค์การสหประชาชาติ
- องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)

เศรษฐกิจการค้า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น 10.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว 780 เหรียญสหรัฐ (ปี 2545)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 35
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ กราไฟท์ โครเมียม ถ่านหิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ข้าว ปศุสัตว์ กาแฟ วนิลา น้ำตาล ฝ้าย ถั่ว ยาสูบ
อุตสาหกรรมที่สำคัญ แปรรูปอาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่ กระดาษ กลั่นน้ำมัน ประกอบรถยนต์ ก่อสร้าง
ปริมาณการส่งออก 493 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการนำเข้า 612 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออก ไปยังฝรั่งเศส สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอิตาลี นำเข้า จากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และสหรัฐฯ
สกุลเงิน Malagasy franc
อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 6,302.9 Malagasy franc (2545)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมาดากัสการ์
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยและมาดากัสการ์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 (1990) โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง
พริทอเรียมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ ต่อมา ในปี 2547 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งส่วนแยก (Outpost) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เพื่อดูแลสาธารณรัฐมาดากัสการ์ และมาดากัสการ์ให้สถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ ณ กรุงโตเกียวมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
การแลกเปลี่ยนการเยือน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ไทยได้ยกระดับส่วนแยกฯ เป็นสถานกงสุลใหญ่ โดยมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์
1 ตำแหน่ง เพื่อช่วยงานด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
อนึ่ง การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. ฯพณฯ รมช. กต. ประพาส ลิมปะพันธุ์ เคยเยือนมาดากัสการ์ระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2526 (1983)
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมาดากัสการ์เดินทางมาเยือนไทยเมื่อเดือนมกราคม 2540 (1997)
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาดากัสการ์ เดินทางมาร่วมการประชุม UNCTAD X ที่กรุงเทพฯ เมื่อดือนกุมภาพันธ์ 2543
4. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รมช.พาณิชย์ เยือนมาดากัสการ์อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2543
5. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยนำคณะภาครัฐและเอกชนเยือนมมาดากัสการ์ เมื่อเดือนมีนาคม 2544
6. ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะทูตพิเศษ นำคณะภาครัฐและเอกชนเยือนมาดากัสการ์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อเดือนกันยายน 2545
7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานมาดากัสการ์ เยือนไทยตามคำเชิญของผู้แทนการค้าไทย (นายประจวบ ไชยสาส์น) เมื่อเดือนตุลาคม 2545
8. ผู้แทนการค้าไทย (นายประจวบ ไชยสาส์น) นำคณะภาครัฐและเอกชนเดินทางเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545
9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และประมงเดินทางเดินทางเยือนไทย เมื่อเดือน มิ.ย. 2548
10. ผู้บัญชาการตำรวจภูธรแห่งชาติ และผู้ว่าการจังหวัด Mahajanga เดินทางเยือนไทย
11. พลโท Marcel Ranjeva รมว.กต. มาดากัสการ์และภริยา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 21-25 ส.ค. 2549

ด้านเศรษฐกิจและการค้า
สินค้าที่ไทยส่งไปขาย 10 อันดับแรกคือ
1. ยานพาหนะ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบ
2. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูป
4. ข้าว
5. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
6. หมวกและส่วนประกอบ
7. หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
8. รองเท้าและชิ้นส่วน
9. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ
10. ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ส่วน
สินค้าที่ไทยนำเข้า 10 อันดับแรกได้แก่
1. ปลาทูน่าสด แช่เย็น และแช่แข็ง
2. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
3. เมล็ดพืชน้ำมัน
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
5. กุ้งสด แช่เย็นและแช่แข็ง
6. เส้นใยไช้ในการทอ
7. เคมีภัณฑ์
8. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
9. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และ
10. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม

ความตกลงระหว่างไทย-มาดากัสการ์
1.วันที่ 9 มิถุนายน 2538 (1995) ได้มีพิธีลงนามความตกลงการบินระหว่างไทย -มาดากัสการ์ โดยผู้แทนคณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก และในวันที่ 13 มิถุนายน 2539 (1996) รัฐสภาของมาดากัสการ์ได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยการเดินอากาศระหว่างไทยกับมาดากัสการ์
2. บันทึกความเข้าใจทางการค้าไทย-มาดากัสการ์ ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม 2543 (2000)
3. เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2549 ได้มีการลงนามย่อร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-มาดากัสการ์ และร่างความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างการเยือนไทยของ รมว. กต. มาดากัสการ์
มูลค่าการค้าระหว่างไทยและมาดากัสการ์ ดูเอกสารแนบ

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ (รอการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ฯ กงสุลใหญ่ และการประกาศเปลี่ยนแปลงเขตอาณาอย่างเป็นทางการ) คือ
นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domdej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Hill Street,
Arcadia, Pretoria
Republic of South Africa
โทรศัพท์ (2712) 342-4516, 342-4600, 342-5470
โทรสาร (2712) 342-4805
E-mail : thailand@thaiembpta.co.za

ฝ่ายมาดากัสการ์
ขณะนี้ ฝ่ายมาดากัสการ์ ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว คือ H.E. Jocelyn B. Radifera
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์
The Embassy of the Republic of Madagascar
2-3-23, Moto-Azabu
Minato-ku, Tokyo 106-0046
Japan
โทรศัพท์ (813) 3446-7252, 3446-7254
โทรสาร (813) 3446-7078

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์มาดากัสการ์ประจำประเทศไทย
กงสุลกิตติมศักดิ์ Dr. Daniel E.H. Delevaux
(Honorary-Consul)
ที่อยู่ 27th floor, ITF 1 Building
160/660-661 Silom Road,
Bangkok 10500
โทรศัพท์ : 0-2235-4113
โทรสาร : 0-2634-2513
e-mail : daniel@ksc.th.com

พฤศจิกายน 2545

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์