ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> มาลี




แผนที่
สาธารณรัฐมาลี
Republic of Mali


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล มีพรมแดนทิศตะวันตกติดกับแอลจีเรีย ไนเจอร์ บูร์กินาฟาโซ ทิศใต้ติดกับโกตดิวัวร์ กินี ทิศตะวันตกติดกับเซเนกัล และมอริเตเนีย

พื้นที่ ประมาณ 1,248,755 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง Bamako

เมืองสำคัญ Segou, Mopti, Sikasso, Gao

ภูมิอากาศ ส่วนใหญ่จะร้อนและแห้งแล้ง

ประชากร ประมาณ 11,995,402 คน (กรกฎาคม 2550)

เชื้อชาติ Mande ร้อยละ 50 (Bambara, Malinke, Soninke), Peul ร้อยละ17, Voltaic ร้อยละ 12, Songhai ร้อยละ 6, Tuareg and Moor ร้อยละ 10, อื่น ๆ ร้อยละ 5

ภาษา ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ นอกจากนั้นมีภาษาพื้นเมือง คือภาษา Bamanankan, Mandinka, Voltalic,Tuareg, Dodon, Fulde, Songhai และ Malinke

ศาสนา อิสลาม 90% คริสเตียน 1% ความเชื่อดั้งเดิม 9%

รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ

สถาบันทางการเมือง ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ เข้ารับตำแหน่งโดยการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
ผ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีได้รับการเลือกตั้งจากนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาแบบสภาเดียว (unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 147 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไป และอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุด

ประมุขแห่งรัฐ/ผู้นำรัฐบาลประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Amadou Toumani Toure

นายกรัฐมนตรีนาย Modibo Sidibe ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนาย Ousmane Issoufi Maïga เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550

รัฐมนตรีต่างประเทศนาย Moctar OUANE แต่งตั้งเมื่อเดือน พฤษภาคม 2547

วันชาติ วันประกาศอิสรภาพ 22 กันยายน 1960 (2503)


ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 4.6% (2549)

อัตราเงินเฟ้อ 1.5% (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว ประมาณ 425 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญทอง ฟอสเฟต ดินขาว เกลือ ยูเรเนียม หินปูน ยิปซั่ม ไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด พืชผัก ถั่วลิสง แกะ แพะ ปศุสัตว์

อุตสาหกรรมที่สำคัญ อุตสาหกรรมอาหาร เหมืองแร่ (ฟอสเฟต, ทอง)

หนี้สินต่างประเทศ n/a

เงินตราสำรอง 970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

มูลค่าการค้า ส่งออก 1,453ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1,434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เสียดุลการค้า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้าออกที่สำคัญ ฝ้าย ทอง ปศุสัตว์

สินค้าเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุปกรณ์ก่อสร้าง อาหาร สิ่งทอ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออก ไปยัง จีน ร้อยละ 29.4 ร้อยละ ไทย ร้อยละ 10.1 ไต้หวัน ร้อยละ 7.8 อิตาลี ร้อยละ 5.3 บังคลาเทศ ร้อยละ 4.5 ฝรั่งเศส ร้อยละ 4.4 นำเข้า จาก ฝรั่งเศส ร้อยละ 13 เซเนกัล ร้อยละ 13 โกตดิวัวร์ ร้อยละ 8.4 (2548)

หน่วยเงินตรา เซฟาฟรังก์ (CFA Francs)

อัตราแลกเปลี่ยน โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 522.9 เซฟาฟรังก์ (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
มาลีมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐบาล มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว (Unicameral National Assembly) มีสมาชิก 147 คน ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

มาลีดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทางปฏิบัติใกล้ชิดกับประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเก่า มาลีได้รับการยกย่องจากสหรัฐฯ ว่า เป็นประเทศแบบอย่างของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในทวีปแอฟริกา โดยมาลีถือเป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่มีส่วนร่วมในโครงการกองกำลังนานาชาติของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งสหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ

นาย Amadou Toumani Toure (นายอามาดู ทูมานิ ทูเร) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐมาลีคนปัจจุบันได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน ปี 2550 ด้วยคะแนนสูงถึงร้อยละ 71.20 (1,612,912 คะแนน)

นโยบายต่างประเทศ
ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน มาลีมีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการสู้รบในไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน ยุติการใช้กำลังและแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี

ปัญหาซาฮาราตะวันตก มาลีเรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างคู่กรณีเพื่อแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี โดยยึดถือตามมติขององค์การระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด

ปัญหาตะวันออกกลาง มาลีสนับสนุนสิทธิของชาวปาเลสไตน์ให้มีการจัดตั้งรัฐอิสระ

เศรษฐกิจการค้า
ด้านเศรษฐกิจและการค้า
มาลีอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ใหญ่กว่าไทย 1 เท่าครึ่ง ไม่มีทางออกทะเล เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ได้รับเอกราชในปี 2503 เคยรวมกับเซเนกัลภายหลังได้รับเอกราช ต่อมาแยกตัวออกเป็นอิสระ มีการปกครองแบบเผด็จการจนกระทั่งในปี 2535 จึงเริ่มเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
มีบทบาทในปัญหาข้อขัดแย้งในภูมิภาค เคยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเซียร์ราลีโอนและโกตดิวัวร์ เป็นสมาชิก OIC ประชากรมาลีร้อยละ 90 เป็นชาวมุสลิม
หลังจากที่มาลีได้รับเอกราช บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นของรัฐบาล และรัฐบาลพยายามผูกขาดการค้าจากภายนอก รวมทั้งนโยบายด้านการเกษตรที่จำกัด ทำให้ผู้ขายและชาวไร่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้รัฐบาลมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับความกดดันจากภายนอก จึงส่งผลให้รัฐบาลปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ อาทิ ปรับเปลี่ยนตลาดข้าวให้เสรี ผ่อนปรนการควบคุมราคา ส่งเสริมการลงทุน ลดการอุดหนุนจากภาครัฐ และแก้ไขความไม่สมดุลของรายได้แผ่นดิน
รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจโดยมีนโยบายแปรรูปอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการไฟฟ้าและประปาให้เป็นเอกชน ทั้งนี้ รัฐบาลประสบความสำเร็จในการแปรรูปธุรกิจฝ้ายเป็นเอกชน นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายที่จะปฏิรูปกองทุนบำนาญแก่ข้าราชการ และคาดว่าจะปฏิรูประบบเงินบำนาญนี้ให้กับลูกจ้างนอกระบบราชการด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมาลี
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ประเทศไทยและสาธารณรัฐมาลีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2524 โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ มีเขตอาณาครอบคลุมมาลี เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐมาลีคนปัจจุบัน คือ นาวาตรีอิทธิ ดิษฐบรรจง ร.น. ส่วนมาลีมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตมาลีประจำประเทศญี่ปุ่นมีเขตอาณาดูแลประเทศไทย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว คนปัจจุบันคือ นาง Guisse Maimouna Dial (กีเซ มาอีมูนา ดีอาล) และมาลีได้แต่งตั้งนายถาวร ตันติพงศ์อนันต์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Thai Castor Oil Industries (ธุรกิจการสกัดน้ำมันละหุ่ง) ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์มาลีประจำประเทศไทย

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาลีเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีปัญหาทางการเมืองต่อกัน

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยกับมาลีมีมูลค่าไม่มากนัก ส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า เนื่องจากไทยนำเข้าฝ้ายดิบและเส้นใยฝ้ายจากมาลีเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของมาลี มีผู้ประกอบการไทยเปิดร้านอาหารไทยในมาลีแล้ว 1 ร้าน และมีชุมชนมาลีในไทยประมาณ 200 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นพ่อค้าชาวมาลีที่เดินทางมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยปีละ 300-400 คน

ในปี 2549 ไทยนำเข้าจากมาลีคิดเป็นมูลค่า 1,277.1 ล้านบาท ในขณะที่ส่งสินค้าไปมาลีเพียง 143.8 ล้านบาท ไทยขาดดุลการค้าจำนวน 989.5 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งออกไปมาลี 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ 2. ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้วผลิตภัณฑ์ยาง 3.เม็ดพลาสติก 4. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 5.ผลิตภัณฑ์ยาง 6.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 7.ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8.ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 9.ผ้าผืน 10.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากมาลี 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.ด้ายและเส้นใย 2.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ 4.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 5.เคมีภัณฑ์ 6. ผ้าผืน 7. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 8. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 9. แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ 10.สัตว์มีชีวิตที่ไม่ได้ทำพันธุ์

ภาวะการค้าระหว่างไทยและมาลี (ดังเอกสารแนบ)

ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยจัดให้มาลีเป็นประเทศภายใต้โครงการ Thai Aid ซึ่งเป็นการให้ทุนการฝึกอบรมแก่ประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ (South–South Cooperation) ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญ อาทิ การเกษตร การศึกษา และการสาธารณสุข ซึ่งมาลีส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ในลักษณะ Group Training ตามโครงการ Thai Aid อยู่เป็นประจำและเคยขอความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเกษตรจากไทย นอกจากนี้ ไทยเคยบริจาคข้าวให้มาลีจำนวน 100 ตัน เมื่อปี 2527 เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงในมาลี ขณะนี้ไทยกำลังพิจารณาเรื่องการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่มาลีในด้านเทคนิคการปลูกข้าวไทย

ในปี 2549 ไทยเชิญให้มาลีส่งผู้แทนเข้าร่วมการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เรื่อง ทางเลือกใหม่: เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2549 โดยฝ่ายมาลีมอบหมายให้เอกอัครราชทูตมาลีประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว เป็นผู้แทนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

ไทยให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านการผลิตยารักษาโรคมาลาเรียและโรคเอดส์แก่ประเทศในแอฟริกา ในเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ปี 2549 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญไปประเทศบูร์กินาฟาโซ แกมเบีย เซเนกัล กาบอง และมาลี เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีด้านการผลิตยารักษาโรคมาลาเรีย ผลจากโครงการดังกล่าวทำให้มาลีเป็นประเทศแรกในแอฟริกาตะวันตกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตยารักษาโรคมาลาเรีย (artesunate) ชนิดเม็ด โดยฝ่ายไทยและมาลีเห็นพ้องที่จะตั้งชื่อยาเม็ดรักษาโรคมาลาเรียว่า “THAMASUNATE TABLETS” ย่อมาจาก Thai + Mali + Artesunate tablets เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาลีในการแก้ปัญหาโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของชาวมาลี

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
ไทยและมาลีได้ลงนามในสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547ระหว่างการประชุม Francophonie Summit ที่กรุงวากาดูกู บูร์กินาฟาโซ

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
รัฐบาล
รัฐมนตรี
- วันที่ 27–29 พฤษภาคม 2547 นายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมประชุมเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network: HSN) ครั้งที่ 6 ที่ กรุงบามาโก สาธารณรัฐมาลี และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Amadou Toumani Toure (อามาดู ทูมานิ ทูเร) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาลี

ฝ่ายมาลี
รัฐบาล
ประธานาธิบดี
- วันที่ 13 พฤศจิกายน 2540 นาย Oumar Alpha Konare ประธานาธิบดีแวะผ่านประเทศไทย พร้อมภริยา เพื่อไปประชุมกลุ่มประเทศ Francophone ที่เวียดนาม

รัฐมนตรี
- วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2540 นาย Modibo Sidibe รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนประเทศไทย ในฐานะผู้แทนพิเศษของนาย Alpha Oumar Konare ประธานาธิบดี
- วันที่ 15-28 ตุลาคม 2541 นาง Fatou Haidara รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม การค้า และหัตถกรรม นำคณะผู้แทนการค้ามาลีมาเยือนประเทศไทย
- วันที่ 8-11 ตุลาคม 2543 นาง Traore Fatoumata Nafo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยือนไทย
- วันที่ 15-19 กันยายน 2546 นาย Lassana Traoré รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะเดินทางเข้าประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทย
- วันที่ 25-26 สิงหาคม 2549 นาย Moctar Ouane รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ

มิถุนายน 2550
รัฐมนตรี

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์