|
แผนที่
|
สาธารณรัฐนิการากัว Republic of Nicaragua
|
|
ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ทิศเหนือติดฮอนดูรัส ทิศใต้ติดคอสตาริกา
ทิศตะวันออกติดกับทะเลแคริบเบียน และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิอากาศ แบบเขตร้อน โดยมีป่าไม้เขตร้อนทางฝั่งแอตแลนติก อุณหภูมิเฉลี่ย 25.5 องศาเซลเซียส
พื้นที่ 120,254 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงมานากัว (Managua)
ประชากร (2549) ประมาณ 6,080,000 คน
อัตราการเติบโตของประชากร (2549) ร้อยละ 1.89
ภาษาราชการ สเปน
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 95 โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 5
เชื้อชาติMestizo (เลือดผสมสเปนกับชาวพื้นเมือง) ร้อยละ 69 ผิวขาวร้อยละ 17 ผิวดำร้อยละ 9 ชาวพื้นเมืองร้อยละ 5
อัตราผู้รู้หนังสือ (2546) ร้อยละ 67.5
หน่วยเงินตรา Nicaraguan cordoba (NIO) อัตราแลกเปลี่ยน 16.7 NIO ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 13 ชั่วโมง
วันชาติ 15 กันยายน ค.ศ.1821 (ได้รับอิสรภาพจากสเปน)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ CACM, ECLAC, FAO, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICRM, IDA, IFAD, ILO, IMF, IMO, IOM, ITU, NAM, OAS, OPANAL, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, UPU, WHO, WIPO, WMO, WTO
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี นาย Daniel Ortega จากการเลือกตั้งเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2549
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ หัวหน้ารัฐบาล และผู้บัญชาการทหาร (commander-in-chief of the armed forces) ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว (Unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 93 คน ที่เลือกตั้งตามสัดส่วน ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอื่นๆ ของสาธารณรัฐ ศาลฎีกามีผู้พิพากษา 12 คน เลือกโดยรัฐสภาและดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี
การเลือกตั้งครั้งต่อไป พฤศจิกายน 2554
พรรคการเมืองหลัก
Liberal Alliance (พรรครัฐบาล)
Sandinista National Liberation Front (FSLN)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 5.27พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทย 183.9 พันล้าน USD)
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 3.7
รายได้ประชาชาติต่อหัว (2549) 867 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
โครงสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (2549) การบริการร้อยละ 52 อุตสาหกรรมร้อยละ 19 เกษตรกรรมร้อยละ 29
อัตราเงินเฟ้อ (2548) ร้อยละ 9.6
อัตราการว่างงาน (2548) ร้อยละ 5.6
หนี้สินต่างประเทศ (2548) 3.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ แร่ธาตุ อาทิ ทองคำ เงิน ทองแดง ทังสเตน ตะกั่ว สังกะสี ไม้ และสัตว์ทะเล
อุตสาหกรรมสำคัญ อาหารสำเร็จรูป สารเคมี ผลิตภัณฑ์จากโลหะและเครื่องจักรกล สิ่งทอ เสื้อผ้า ปิโตรเลียม
สินค้าเกษตรสำคัญ กาแฟ กล้วย อ้อย ฝ้าย ข้าว ข้าวโพด ถั่วชนิดต่าง ๆ เนื่อสัตว์ สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นม อาหารทะเล
สินค้าเข้านำเข้าหลัก สินค้าอุปโภคบริโภค (consumer goods) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตลาดนำเข้าหลัก สหรัฐอเมริกา เวเนซุเอลา คอสตาริกา กัวเตมาลา เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ เกาหลีใต้
สินค้าส่งออกหลัก กาแฟ เนื้อ อาหารทะเล ยาสูบ น้ำตาล ทองคำ ถั่ว
ตลาดส่งออกหลัก สหรัฐอเมริกา เอลซัลวาดอร์ เม็กซิโก ฮอนดูรัส เวเนซุเอลา คอสตาริกา
นโยบายเศรษฐกิจหลัก สนับสนุนระบบการค้าเสรี การรวมกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และการจัดทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี โดยร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอเมริกากลาง จัดทำ ความตกลง FTA กับสหรัฐฯ (DR-CAFTA) และเม็กซิโก
สถิติการค้าไทย-นิการากัว (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มูลค่าการค้า ไทยส่งออก ไทยนำเข้า ดุลการค้า
ปี 2546 2547 2548 2549
มูลค่าการค้า 7.09 7.42 8.82 13.00
การส่งออก 6.82 7.13 8.80 12.98
การนำเข้า 0.28 0.29 0.02 0.02
ดุลการค้า 6.54 6.85 8.78 12.96
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐนิการากัว |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2518 โดยรัฐบาลไทยมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก (ร.ท. ระวี หงส์ประภาส) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนิการากัวอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่นิการากัวได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายอาณัฐชัย รัตตกุล เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์นิการากัวประจำประเทศไทยเมื่อปี 2537<การเยือนสำคัญ นาย Arnoldo Aleman Lacayo ประธานาธิบดีนิการากัว เดินทางเยือน ประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 20-25 มีนาคม 2543
สินค้าที่ไทยส่งออก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยนำเข้า ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แก้วและผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผา ปลาสำเร็จรูป ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เส้นใยใช้ในการทอ
ปรับปรุงล่าสุด 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|