ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> คองโก




แผนที่
สาธารณรัฐคองโก
Republic of the Congo


 

 

ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือติดกับแคเมอรูนและแอฟริกากลาง
ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ทิศตะวันตกติดกับกาบอง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับแองโกลาและมหาสมุทรแอตแลนติก
พื้นที่ 342,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงบราซซาวิล (Brazzaville)
ประชากร 4.1 ล้านคน (2548) โดยชาว Kongo เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ภูมิอากาศ
อากาศร้อนชื้นแบบเส้นศูนย์สูตร บริเวณที่ราบสูงทางตะวันตกเฉียงใต้มีฤดูแล้งยาวนาน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม แต่บริเวณลุ่มแม่น้ำ คองโก (Congo Basin) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะชื้น
ภาษา ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ Monokutuba และ Lingala
ศาสนา ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 50 ความเชื่อดั้งเดิมร้อยละ 48 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2
หน่วยเงินตรา ฟรังก์เซฟา (CFAfr)
อัตราแลกเปลี่ยน 550.60 CFAfr = 1 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,486 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.7 (2548)
ระบอบการปกครอง
แบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่ พลเอก Denis Sassou–Nguesso






การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐคองโกปกครองในระบอบแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารประกอบด้วยประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่ในวาระคราวละ 7 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้ 2 สมัย และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2545 และจะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2552 ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบ 2 สภา ประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate) จำนวน 66 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง มีวาระคราวละ 5 ปี และสมัชชาแห่งชาติหรือสภาผู้แทนราษฏร (National Assembly) มีจำนวน 137 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูง (Supreme Court) เป็นสถาบันหลัก

ประธานาธิบดี Denis Sassou–Nguesso ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยการใช้กำลังทหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2540 ซึ่งได้ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในสาธารณรัฐคองโก โดยต่อมาประธานาธิบดี Sassou-Nguesso เข้าร่วมในกระบวนการสันติภาพซึ่งทำให้สงครามกลางเมืองยุติ และได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2545 โดยประธานาธิบดี Sassou-Nguesso ซึ่งสังกัดพรรค Parti congolais du travail (PCT) ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่คาดการณ์ว่า ประธานาธิบดี Sassou-Nguesso และพรรค PCT ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลจะยังคงมีอำนาจทางการเมืองในสาธารณรัฐคองโกต่อไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในของสาธารณรัฐคองโกอาจเกิดความขัดแย้งและความไม่มั่นคงได้เนื่องจากรัฐบาลและพรรค Force démocratique unies (FDU) ยังคงมีความขัดแย้งระหว่างกันอยู่อย่างต่อเนื่อง

นโยบายต่างประเทศ
ภายหลังได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส สาธารณรัฐคองโกปกครองประเทศโดยระบอบสังคมนิยมมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ในช่วงดังกล่าว สาธารณรัฐคองโกมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับอดีตสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และความช่วยเหลือทางด้านการทหาร อย่างไรก็ดี ภายหลังการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกก็ลดน้อยลง

สาธารณรัฐคองโกยังคงรักษาความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศสไว้อย่างแนบแน่น โดยฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือด้านวัฒนธรรม การศึกษา และเศรษฐกิจมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนของฝรั่งเศสในอุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่งในเวลาต่อมาชาติตะวันตกอื่นก็ได้เริ่มเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันในสาธารณรัฐ คองโกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา

สาธารณรัฐคองโกเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ UN, African Union, African Development Bank, NAM, และ G-77




เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจและสังคม
เศรษฐกิจ
ในอดีต เศรษฐกิจของสาธารณรัฐคองโกเป็นการผสมผสานระหว่างเกษตรกรรมและหัตถกรรมแบบชนบท ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ คือ น้ำมันซึ่งได้เป็นตัวช่วยทางเศรษฐกิจที่สำคัญแทนป่าไม้และเป็นสินค้าออกสำคัญที่ทำรายได้ให้รัฐบาลจำนวนมหาศาล

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันของสาธารณรัฐคองโกเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ โดยรายได้จากการส่งออกของประเทศในปี 2548 กว่าร้อยละ 87 มาจากอุตสาหกรรมน้ำมัน หรือกว่าร้อยละ 43.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากนี้ การป่าไม้และภาคเกษตรกรรมก็เป็นส่วนสำคัญในภาคเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชนกว่าร้อยละ 60 มีรายได้มาจากภาคการเกษตร สินค้าส่งออกที่สำคัญของสาธารณรัฐคองโก ได้แก่ ปิโตรเลียม ป่าไม้ และน้ำตาล โดยประเทศที่สาธารณรัฐคองโกส่งสินค้าออกไปขาย ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเกาหลีเหนือ ส่วนสินค้าที่นำเข้า ได้แก่ สินค้าเกี่ยวกับการปิโตรเลียม โดยนำเข้าจากประเทศต่างๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส จีน สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี

สังคม
สังคมของสาธารณรัฐคองโกเป็นสังคมเมือง โดยประชาชนกว่าร้อยละ 54 อาศัยอยู่ในเมือง นอกจากนี้ ประชาชนส่วนยังประกอบอาชีพรับราชการเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง โดยสาธารณรัฐคองโกเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการได้รับการศึกษาสูงที่สุดในทวีปแอฟริกา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคองโก
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยและสาธารณรัฐคองโกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2531 ปัจจุบัน สาธารณรัฐคองโกได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคองโกประจำกรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และได้แต่งตั้งนายวิชัย ทิตตภัคคี เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐคองโกประจำประเทศไทย ส่วนไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐคองโก

ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคองโกที่ผ่านมายังมีปริมาณไม่มากนัก โดยระหว่างปี 2546-2549 มูลค่าการค้าโดยเฉลี่ยประมาณ 44.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 การค้ารวมมีมูลค่า 54.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกไปสาธารณรัฐคองโกมีมูลค่า 35.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ส่งออกได้แก่ ข้าว ผ้าผืน เม็ดพลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว ส่วนไทยนำเข้าจากสาธารณรัฐคองโกมีมูลค่า 19.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ ไม้ซุงไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ และกระจก แก้ว และผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดการณ์ว่าการค้าระหว่างสองประเทศจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยและสาธารณรัฐคองโกมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้เสนอความร่วมมือทางวิชาการในรูปของการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นแก่สาธารณรัฐคองโกในสาขาที่ฝ่ายไทยมีประสบการณ์ อาทิ การสาธารณสุข การเกษตร และการศึกษา

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูจา
Royal Thai Embassy, Abuja
Plot 766 Panama Street, Cadastral Zone A6, off IBB Way, Maitama, Abuja,
NIGERIA
E-mail : thaiabj@mfa.go.th

The Embassy of the Republic of the Congo
No. 7, Dong Si Jie, San Li Tun, Beijing, The People’s Republic of China
Tel: (8610) 6532-1417, 6532-1658
Fax: (8610) 6532-2915

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์