ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> สวาซิแลนด์




แผนที่
ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
Kingdom of Swaziland


 
ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ 17,363 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ถูกล้อมรอบด้วยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 430 กิโลเมตร และโมซัมบิก 105 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา แบ่งออกเป็น 4 จังหวัด คือ Mhohhe, Lubombo, Manzini และ Shiselweni

เมืองหลวง Mbabane (อัมบาบาเน)
เมืองธุรกิจที่สำคัญ Manzini (แมนซินี่)

ประชากร ประมาณ 1.14 ล้านคน (2549) มีอัตราการเพิ่มของประชากรติดลบ คือ -0.23% เนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์สูง

ศาสนา ประชากรร้อยละ 40 นับถือ Zionist (เป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) ร้อยละ 20 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 10 นับถือศาสนาอิสลาม และนับถือความเชื่อดั้งเดิม ร้อยละ 10

ชนชาติ เริ่มก่อตั้งประเทศเมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 โดยคนเผ่า Nguni ซึ่งเดิมอยู่แอฟริกาตอนใต้ได้อพยพลงมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ปัจจุบัน และปัจจุบันได้เรียกเผ่าตนว่า Swazi นอกจากนั้น ประชาชนยังประกอบด้วยชนเผ่าซูลูและชนเผ่า Tsonga – Shangaan

การปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่เดิมจนกระทั่งปัจจุบันนี้อยู่ภายใต้ราชวงศ์ Dlamini

ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาพื้นเมือง siSwati
ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีสวาตีที่สาม (ตั้งแต่ 25 เมษายน 2529)
นายกรัฐมนตรี นาย Absalom Themba Dlamini (ตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน 2546)
รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Mr. Mathendele Moses Dlamini (ตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์ 2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
ชนชาติสวาซิเป็นชนเผ่า Nguni เดิมอาศัยอยู่ทางแอฟริกากลาง ตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสวาซิแลนด์ถือว่ากษัตริย์องค์แรกของตนก่อนที่จะเคลื่อนย้ายลงมาในดินแดนปัจจุบัน ได้แก่ Ngwane I กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ได้แก่ Dlamni I, Mswati I, Ngwane II, Dlamini II, Mavuso I, Magudulela I, Ludvonga I, Dlamini III โดยที่ไม่มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในช่วงที่ขึ้นครองราชสมบัติของกษัตริย์เหล่านี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่ทราบแน่นอนว่ากษัตริย์เหล่านี้ครองราชสมบัติในช่วง ค.ศ. ใดบ้าง
ชนชาติสวาซิหรือเผ่า Nguni ได้เคลื่อนย้ายลงมาทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ในปัจจุบันประมาณปี ค.ศ. 1750 ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Ngwane III จึงได้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ปัจจุบัน โดยครองราชย์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1780 กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาของสวาซิแลนด์ ได้แก่ Ndugunye Sobhuza I, Mswati, Mbandzeni, Ngwane V, Sobhuza II และกษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือ King Mswati III ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1986 เมื่อชนชาติสวาซิแลนด์อพยพลงมาอาศัยมาในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศนี้ ใหม่ ๆ ได้เกิดข้อขัดแย้งในการแย่งดินแดนกับชนเผ่าซูลู ซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าชนเผ่า Swazi ต่อมาเมื่อมีการขุดพบทองคำในภูมิภาคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1879 จึงมีคนผิวขาวจากยุโรปอพยพเข้าไปแสวงโชคกันมากและยึดดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเมืองขึ้น สวาซิแลนด์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาวเชื้อสายดัชต์ ซึ่งได้ครองดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ปัจจุบันด้วย ในขณะนั้นเรียกว่า Boer Republic of Transvaal ต่อมาคนเชื้อสายอังกฤษได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้และได้ทำสงครามชนะคนเชื้อสายดัช (Boer) เมื่อปี ค.ศ. 1903 สวาซิแลนด์จึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหรือเป็น British High Commission Territory สวาซิแลนด์ได้รับเอกราชเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ. 1968 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับเอกราช สวาซิแลนด์เคยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973-1977 สมเด็จพระราชาธิบดี Sobhuza II แห่งราชวงศ์ Dlamini ได้ทรงปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของสวาซิแลนด์ โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศสวาซิแลนด์ซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ปัจจุบันสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือราชอาณาจักรสวาซิแลนด์พยายามกดดันให้สวาซิแลนด์เปลี่ยนเปลงการปกครองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

สถาบันกษัตริย์
ปัจจุบันสวาซิแลนด์ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ (King Mswati III) และมีพระราชอำนาจสิทธิขาดในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและในคณะรัฐบาล กษัตริย์สวาซิแลนด์ทรงมีอำนาจในการปกครองประเทศมาก ทรงครอบครองกรรมสิทธิในที่ดินส่วนใหญ่ภายในประเทศ และทรงมอบสิทธิในการทำกินบนพื้นที่ต่าง ๆ ให้ประชาชนโดยมอบผ่านหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ นำไปจัดสรรให้ประชาชนทำกินโดยมีเงื่อนไขว่าจะส่งผลผลิตเป็นการตอบแทนผ่านทางหัวหน้าเผ่าพระมหากษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสวาซิแลนด์ คือ King Mswati I และ King Sobhuza II ซึ่งพระองค์หลังมีส่วนในการช่วยให้สวาซิแลนด์ได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1968 King Sobhuza II เป็นพระราชบิดาของ King Mswati III (สวาติที่ 3) King Sbohuza II ทรงวางรากฐานทางการเมืองและการปกครองของสวาซิแลนด์ซึ่งยังคงใช้กันต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัตินานที่สุดในโลก คือ 61 ปี (ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1982) ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชนเนื่องจากทรงมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับประชาชน ตามขนบธรรมเนียมของสวาซิแลนด์นั้น พระมหากษัตริย์ทรงมีพระชายาเป็นจำนวนมาก โดยทรงเลือกจากสาวเผ่าต่าง ๆ ทุกเผ่าที่มีในประเทศเพื่อให้เกิดความผูกพันกับประชาชนเผ่าต่างๆ ประมาณกันว่า King Sobhuza II มีพระราชโอรสและธิดารวม 600 พระองค์ ขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดี Mswati III แห่งสวาซิแลนด์ พระองค์ปัจจุบัน มีพระชายา 12 พระองค์ และพระราชโอรส 2 พระองค์ พระราชธิดา 7 พระองค์ อนึ่ง สำหรับการราชาภิเษกนั้น จะเกี่ยวพันโดยตรงกับการคัดเลือกพระราชชนนี (Queen Mother) โดยหลังจากที่กษัตริย์เสด็จสวรรคต คณะองคมนตรี (Royal Council) ซึ่งประกอบด้วยพระราชวงศ์อาวุโสไม่จำกัดจำนวน จะคัดเลือกผู้เหมาะสมจากบรรดาพระชายาของกษัตริย?พระองค์ที่สิ้นพระชนม์ลง โดยมีหลักเกณฑ์ว่า บุคคลที่เหมาะสมจะต้องมิได้มาจากราชวงศ์ Dlamini และพระราชโอรสของผู้ที่ถูกเลือกเป็นพระราชชนนีขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่พระราชโอรสยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น พระราชชนนีจะปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทน เช่น กรณีของ Queen Mother องค์ปัจจุบันซึ่งมีพระนามว่า Ntombi ได้ครองราชย์ภายหลังจาก King Sobhuza II สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1982 จนกระทั่งมีการสถาปนา King Mswati III ขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1986 หรือในกรณีกษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ Queen Mother จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นอกจากนั้น จะเป็นผู้นำประเทศในด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศ

การเมืองการปกครอง
ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว สวาซิแลนด์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973 ถึง ค.ศ. 1977 กษัตริย์ Sobhuza II ได้ทำการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของสวาซิแลนด์โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของกษัตริย์และห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง กษัตริย์ Sobhuza II ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศสวาซิแลนด์ขึ้น ซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้งเดิมเข้าด้วยกัน สรุปได้ดังนี้ คือ

ฝ่ายบริหาร
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศที่มีพระราชอำนาจสิทธิขาดเหนือรัฐบาล ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยส่วนหนึ่งทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยและส่วนหนึ่งทรงแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

ฝ่ายนิติบัญญัติ
ประกอบด้วยวุฒิสภา (Upper House) ซึ่งมีจำนวน 30 คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจแต่งตั้ง 20 คน และอีก 10 คน สภาผู้แทนราษฎร (Lower House or House of Assembly) เป็นผู้คัดเลือกจากบุคคลทั่วไป มีประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ในการควบคุมการประชุม สภาล่างประกอบด้วยประธาน รองประธานสภาฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ และผู้แทนของประชาชนอีก 53 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนและบริหารท้องถิ่นนั้นซึ่งมีทั้งหมด 53 เขต ทั่วประเทศเรียกว่า Tinkhundla Centres นอกจากนั้น สภาล่างยังประกอบด้วยผู้แทนอีก 10 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ในการเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนโดยผ่าน Tinkhundla Centres นั้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ คือ จะมีการเลือกตั้งผู้สมัครจากเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเขต Tinkhundla Centres แต่ละแห่งก่อน โดยหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ จะเรียกประชุมชาวบ้าน หลังจากนั้นจะให้มีการเลือกตั้งผู้สมัครของแต่ละเผ่าเพื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง Tinkhundla Centres โดยทั่วไปแล้ว Tinkhundla Centres จะประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ประมาณ 6 – 10 เผ่า ดังนั้น การเลือกตั้งผู้แทนสภา Tinkhundla Centres จึงเป็นการเลือกตั้งจากผู้แทนของแต่ละเผ่าในเขต Tinkhundla Centres จากผู้สมัคร 6 – 10 คน ให้เหลือเพียง 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชนของ Tinkhundla Centres นั้น ๆ Tinkhundla Centres ในสวาซิแลนด์มีทั้งหมด 53 เขต และจะมีการเลือกตั้งทุก ๆ 5 ปี โดยให้ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 การที่สวาซิแลนด์มีระบบการมีผู้แทนของประชาชนจาก Tinkhundla Centres ซึ่งไปทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชนของท้องที่ต่าง ๆ นั้น ทำให้การเมืองของสวาซิแลนด์เป็นการผสมผสานระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเพณีดั้งเดิมของตน

ฝ่ายตุลาการ
สวาซิแลนด์ใช้ระบบตุลาการ 2 แนวทางควบคู่กันไป คือ การพิจารณาคดีตามประเพณีดั้งเดิม หรือเรียกว่า Traditional Swazi National Courst และการพิจารณาตามระบบศาลสถิตยุติธรรมตามแบบตะวันตก โดยยึดแนวทางกฎหมายแลล Roman Dutch ซึ่งการพิจารณาตามแนวทางสมัยใหม่นี้แบ่งศาลยุติธรรมเป็น High Court, Magistrates Courts และ Industrial Courts นอกจากนั้น ยังมี Constitutional Courts ซึ่งทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทศและจะมีหน้าที่พิพากษาตัดสินคดีที่ศาลอื่น ๆ มีความเห็นขัดแย้งกัน และการตัดสินคดีของ Constitutional Courts ถือว่าคดีสิ้นสุด

สถานการณ์การเมืองที่สำคัญ
สวาซิแลนด์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งในระบบไม่มีพรรคการเมือง นายแอฟซาลอม เทมบา ลามินี (Absalom Themba Dlamini) ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 และได้จัดตั้งรัฐบาลและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 สวาซิแลนด์ได้มีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่ได้มีการปรับเปลี่ยนในบางตำแหน่ง โดยมีการแต่งตั้งให้นาย Mathendele M. Dlamini วุฒิสมาชิกดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจของสวาซิแลนด์ เป็นเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ พึ่งพิงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ประชาชนอยู่ในภาคการเกษตรกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของสวาซิแลนด์ยังผูกพันอยู่กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยประมาณร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนำเข้าจากแอฟริกาใต้ และร้อยละ 30 ของสินค้าส่งออกของสวาซิแลนด์ส่งไปยังแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ระบบการเงินและการคลังรวมทั้งระบบภาษีศุลกากรของสวาซิแลนด์ก็ผูกพันกับแอฟริกาใต้ เนื่องจากสวาซิแลนด์เป็นประเทศสมาชิกของ Southern African Customs Union (SACU) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เลโซโท นามิเบีย และสวาซิแลนด์ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก SACU ได้ทำความตกลงยินยอมให้มีการขนถ่ายสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี การนำเข้าสินค้าเข้าจากประเทศภายนอกสมาชิก SACU สามารถนำเข้าได้ที่เมืองท่าเมืองหนึ่งท่าใดของประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าและภาษีศุลกากร ณ เมืองท่า นั้น โดยจะนำรายได้จากภาษีเหล่านี้มาเฉลี่ยแก่ประเทศสมาชิกตามอัตราส่วนที่ตกลงกันได้ ในส่วนของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์นั้นถือว่ารายได้ซึ่งได้รับจากส่วนเฉลี่ยของภาษีที่ได้จาก SACU นั้นเป็นรายได้หลักที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล ซึ่งนำไปใช้ในการบริหารประเทศ สินค้าจากต่างประเทศที่ผ่านเข้าเมืองท่าของประเทศสมาชิก SACU แล้วสามารถส่งต่อไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้โดยเสรีและไม่ต้องเสียภาษีอีก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วสินค้าเข้าส่วนใหญ่ผ่านเข้าทางเมืองท่าของแอฟริกาใต้ ดังนั้น แอฟริกาใต้จึงมีอิทธิพลเหนือประเทศ SACU อื่น ๆ มาก โดยใช้เรื่องสัดส่วนในการแบ่งปันรายได้จากการจัดเก็บภาษีสินค้าเข้า SACU เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจาทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่เสมอ

สินค้าที่เป็นรายได้หลักของประเทศ ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลผลิตจากป่าไม้ อาทิ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์จากไม้สน เครื่องดื่ม เครื่องตกแต่งบ้าน และตู้เย็น การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากอังกฤษและแอฟริกาใต้ ประชาชนร้อยละ 80 อยู่ในภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม สวาซิแลนด์ก็ยังไม่สามารถผลิตอาหารได้พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน รายได้จากการท่องเที่ยวนับว่าเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศสินค้านำเข้า ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักร อุปกรณ์รถยนต์ ผลผลิตจากน้ำมัน อาหารและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมของประเทศ ได้แก่ เหมืองแร่ธาตุหิน และแอสเบสตอน กระดาษและน้ำตาลทราย

ทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ แอสเบสตอส ถ่านหิน ป่าไม้ นอกจากนั้น ยังมีทองคำและเพชรอยู่บ้าง
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ประมาณ 2,557 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.2 (2549)
อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5.4 (2549)
หนี้สินต่างประเทศ 405 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญอื่น ๆ ของสวาซิแลนด์ได้แก่ประเทศของสมาชิกของ Lome Conventions ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรปซึ่งได้ทำความตกลงยกเว้นภาษีที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในทวีปแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก รวม 70 ประเทศ ซึ่งสวาซิแลนด์ก็ได้ใช้สิทธิประโยชน์นี้ด้วย ลำดับรองลงไปได้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม Southern African Development Community (SADC) ซึ่งมีสมาชิก 14 ประเทศ ได้แก่ Angola, Botswana, Lesotho, Malawi, Mauritius, Mozambique, Namibia, South Africa, Tanzania, Zambia,Zimbabwe, Swaziland, Congo และ Seychelles นอกจากนั้น ได้แก่ ประเทศสมาชิกใน The Preferential Trade Area/Common Market for Eastern and Southern Africa หรือ PTA/COMESA ซึ่งมีสมาชิก 19 ประเทศ

การคมนาคม
ถนน ในปี 2538 ถนนทั้งหมดมีความยาว 2,886 กิโลเมตร ซึ่ง 828 กิโลเมตรเป็นถนนราดยาง
ทางรถไฟ ในปี 2540 เส้นทางรถไฟยาว 301 กิโลเมตร ในช่วงปี 2538 – 2539 ขนส่งสินค้าจำนวน 4,129,000 ตัน
การบินพลเรือน มีสนามบินนานาชาติที่เมือง Manzini สายการบินแห่งชาติ ชื่อ Royal Swazi National Airways มีรัฐถือหุ้น 50% นอกจากนี้สายการบินอื่น ๆ ที่บินผ่าน ได้แก่ Air Zimbabwe, Commercial Airways

โทรคมนาคม ในปี 2530 มีที่ทำการไปรษณีย์ 71 แห่ง ในปี 2538 มีโทรศัพท์ 35,131 เครื่อง สถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นของรัฐบาล ในปี 2535 มีวิทยุจำนวน 60,000 เครื่องและโทรทัศน์จำนวน 12,500 เครื่อง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ไทยและสวาซิแลนด์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2534 (1991) ปัจจุบันสวาซิแลนด์ได้แต่งตั้งนาย Mpumelelo Joseph N. Hlophe เอกอัครราชทูตสวาซิแลนด์ประจำมาเลเซียเป็นเอกอัครราชทูตสวาซิแลนด์ประจำประเทศไทยด้วย โดยมีถิ่นพำนักที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 กำหนดให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาดูแลครอบคลุมประเทศสวาซิแลนด์ ปัจจุบัน นายโดมเดช บุนนาค ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงอึมบาบาเน่ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย) และได้แต่งตั้งให้ นางสาวพันธ์พิไล ใบหยก เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ประจำไทย ตั้งแต่ปี 2548

ความสัมพันธ์ด้านการค้า
ไทยและสวาซิแลนด์ได้มีการติดต่อซื้อขายกันมาเป็นเวลานานแล้ว แต่มูลค่าการค้าระหว่างไทย-สวาซิแลนด์ยังมีไม่มาก ถึงแม้ว่าจะมีอัตราการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง และไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด สำหรับปี 2549 การค้าระหว่างกันมีมูลค่าทั้งหมด 6,408.2 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 5,621.3 ล้านบาท สินค้าไทยที่นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เศษโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ สินค้าหลักที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ เป็นต้น

สถิติการค้าระหว่างไทย – สวาซิแลนด์ ดูเอกสารแนบ

ในด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยกลุ่มหนึ่งทำงานอยู่ในสวาซิแลนด์ที่โรงผลิตกระดาษ Swazi Paper Mill ในเขตอุตสาหกรรม Matsapha Industrial Estate

ความตกลงที่สำคัญกับไทย
ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ) ลงนามเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550

การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายสวาซิแลนด์
- สมเด็จพระราชาธิบดี Mswati III เคยเสด็จฯ แวะพักเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ หลังการประชุมระดับประมุขของประเทศเครือจักรภพที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนตุลาคม 2532
- Sir George Mamba อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศประเทศสวาซิแลนด์และภริยาได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 13 – 20 มีนาคม 2534 โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2534
- นาย Solomon M. Dlamini รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Themba Masuku รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของสวาซิแลนด์ได้เดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 18 – 22 มกราคม 2538 โดยเป็นแขกของกระทรวงฯ การมาเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือในด้านความร่วมมือระหว่างสองประเทศ
- สมเด็จพระราชาธิบดี Mswati III และพระชายาเสด็จฯ แวะพักและเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก่อนที่จะเสด็จฯ เดินทางต่อไปยังไต้หวัน
- สมเด็จพระราชาธิบดี Mswati III และพระชายา เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2540 ในฐานะอาคันตุกะของรัฐบาล
- สมเด็จพระราชชนนีแห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 7 พฤษภาคม 2545
- สมเด็จพระราชาธิบดี Mswati III และพระชายา เสด็จ ฯ เยือนจังหวัดภูเก็ตเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2545
- นาย Absalom Themba Dlamini นายกรัฐมนตรีสวาซิแลนด์เยือนไทย ระหว่างวันที่
11-13 กรกฎาคม 2547 เพื่อเข้าร่วมการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ
- สมเด็จพระราชาธิบดีสวาตีที่สาม และพระชายา เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลเพื่อเข้าร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2549

ฝ่ายไทย
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จฯ เยือนราชอาณาจักรสวาซิแลนด์อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน 2537
- คณะผู้แทนไทยซึ่งมีรองอธิบดีกรมวิเทศสหการเป็นหัวหน้าคณะได้เดินทางไปเยือนสวาซิแลนด์ในเดือนพฤษภาคม 2538 และได้หารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสวาซิแลนด์ในเรื่องความช่วยเหลือทางวิชาการ
- คณะผู้แทน Fact-finding Mission จากกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนสวาซิแลนด์ระหว่างวันที่ 16 – 17 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ผู้แทนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ไปเยือนสวาซิแลนด์
- ผู้แทนพิเศษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนิสสัย เวชชาชีวะ) นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนเยือนสวาซิแลนด์อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2545
- กระทรวงการต่างประเทศ นำโดยนายสุรพงษ์ ชัยนาม เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย นำคณะผู้แทนนักธุรกิจภาคเอกชนไทยเยือนสวาซิแลนด์ ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2546
- คณะสำรวจข้อเท็จจริงของกระทรวงการต่างประเทศ นำโดยรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา เยือนสวาซิแลนด์ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2548
- ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนสวาซิแลนด์ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 และได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรีสวาซิแลนด์ เพื่อมอบหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระราชาธิบดีสวาซิแลนด์และพระชายาเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2549

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำสวาซิแลนด์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ
นายโดมเดช บุนนาค (H.E.Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516,
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายสวาซิแลนด์
เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ประจำไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คือ
นาย Mpumelelo Joseph N. Hlophe
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
The Embassy of the Kingdom of Swaziland
Menara Citibank,
Suite 22.03 & 03A,
165 Jalan Ampang
50450 Kuala Lumpur, Malaysia
Tel. (603) 2163-2511, 2163-2361
Fax. (603) 2163-3326

สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-8 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์