ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โตโก






สาธารณรัฐโตโก
Togolese Republic


 
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐโตโก (Togolese Republic)

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับบูร์กินาฟาโซ
ทิศใต้ติดกับอ่าวกินี มหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศตะวันออกติดกับเบนิน
ทิศตะวันตกติดกับกานา
มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
พื้นที่ : 56,785 ตารางกิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและทุ่งหญ้า โดยเฉพาะทางภาคเหนือมีเทือกเขากั้นกลางตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงภาคตะวันตกเฉียงใต้ และมีที่ราบสูงทางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งเป็นที่ราบซึ่งมีทะเลสาบและหนองบึงขนาดใหญ่
เมืองหลวง : กรุงโลเม (Lome) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญด้วย
เมืองสำคัญอื่น ๆ : เมือง Sokode Kpalime Atakpame Bassar Tsevie และ Aneho
ภูมิอากาศ : บริเวณชายฝั่งอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมี 2 ช่วง คือเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคมและเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฝนตกชุกมากบริเวณเทือกเขาในเขตภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ โดยฝนตกเฉลี่ย 875 มิลลิเมตรต่อปี ภาคเหนืออากาศร้อนชื้นและแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส

ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
จำนวนประชากร : 5,701,579 คน (ประมาณการเดือนกรกฎาคม 2550)
เชื้อชาติ : ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ 37 เผ่า ที่สำคัญ ได้แก่ ชนเผ่า Ewe (ร้อยละ 44) ซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคใต้ และชนเผ่า Kabre (ร้อยละ 27) Gurma (ร้อยละ 14) และ Tem (ร้อยละ 4) ซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคเหนือ

ภาษา : ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และใช้ในวงการธุรกิจ แต่มีการสอนภาษาพื้นเมือง คือ Ewe และ Kabre ในโรงเรียนด้วย
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือความเชื่อดั้งเดิม (ร้อยละ 70) นอกจากนี้ นับถือศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 20) และศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 10)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
โตโกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองแบบอาณานิคมของเยอรมันตั้งแต่ พ.ศ. 2427 ต่อมาในปี 2457 ถูกปกครองโดยกลุ่มประเทศพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2462 ถูกแบ่งสรรเป็นเขตในการปกครองของอังกฤษ (British Togoland) และของฝรั่งเศส (French Togo) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโตโกทั้งสองส่วนตกเป็นดินแดนภายใต้การอารักขาของสหประชาชาติ ดินแดนในส่วนการปกครองของอังกฤษหรือ British Togoland ได้รวมกับ Gold Coast และกลายเป็นประเทศกานา ส่วนดินแดนในส่วนการปกครองของฝรั่งเศสหรือ French Togo ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองบางส่วนในปี พ.ศ. 2499 และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503 ก็เป็นประเทศเอกราชและมีนาย Sylvanus Olympio ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรก
เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2506 ประธานาธิบดี Olympio ถูกกลุ่มทหารที่ก่อการรัฐประหารยิงเสียชีวิต และนาย Nicolas Grunitzky ได้เข้ารับตำแหน่งxระธานาธิบดีแทน จนถูกกระทำรัฐประหารเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งต่อมาในเดือนเมษายนปีเดียวกัน พลเอก Gnassingbe Eyadema ได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปัจจุบัน โดยชนะการเลือกตั้งมาตลอด ตั้งแต่การเลือกตั้งใน ปี พ.ศ. 2522 รวมทั้งการเลือกตั้งครั้งล่าสุดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2541

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกครอง
รูปแบบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้ประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
สถาบันทางการเมือง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยการหารือกับประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภา (National Assembly) แบบสภาเดียว (unicameral) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 81 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2542
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลอุทธรณ์และศาลสูง นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลสูงสุดที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

ประมุขแห่งรัฐ : นาย Faure Gnassingbéซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548
ผู้นำรัฐบาล : นาย Yawovi Agboyiboซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 20 กันยายน 2549
รัฐมนตรีต่างประเทศ : นาย Zarifou Ayéva (แต่งตั้งเมื่อปี 2548)
วันชาติ : วันที่ 27 เมษายน (ซึ่งเป็นวันที่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2503)

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
โตโกเคยมีปัญหาขัดแย้งกับกานา จากการที่กานาพยายามจะรวมโตโกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกานา และเมื่อความพยายามดังกล่าวไม่สำเร็จ กานาได้ตอบโต้โดยการคว่ำบาตรทางการค้าและการปิดชายแดน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้เสื่อมทรามลงในช่วงทศวรรษปี 1990 เมื่อบรรดาผู้นำฝ่ายค้านของโตโกหลบภัยไปอยู่กานา ซึ่งสร้างความหวาดระแวงสงสัยให้รัฐบาลโตโกว่ากานาให้ความสนับสนุฝ่ายค้านดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2537 ความสัมพันธ์กับกานาก็ดีขึ้นมากและได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเต็มรูปแบบ หลังจากความสัมพันธ์หยุดชะงักในปี 2525 โดยกานาได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำโตโก และได้มีการเปิดชายแดนระหว่างกันอีกครั้ง หลังจากนั้น ได้มีการลงนามในพิธีสารการไม่รุกรานกันของประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) รวมทั้งมีการลงนามในความตกลงในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนกานา – โตโกด้วย
สำหรับความสัมพันธ์กับเบนิน มีปัญหากันบ้างจากปัญหาการลักลอบขนสินค้าและการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของผู้ลี้ภัย และมีการปิดชายแดนบ่อยครั้ง ในช่วงกลางปี 2536 มีผู้ลี้ภัยชาวโตโกในเบนินถึง 100,000 คน อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2538 โตโกได้ลงนามในความตกลงกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ให้ผู้ลี้ภัยชาวโตโกเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม
โตโกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส แต่ผู้นำของโตโกก็พยายามรักษาความสัมพันธ์ไม่ให้ใกล้ชิดหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสในแอฟริกามากนัก โดยโตโกยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแอฟริกา โดยเข้าร่วมเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ แต่เป็นสมาชิกในสนธิสัญญาการป้องกันประเทศ (defence pact)
นอกจากนี้ โตโกยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเยอรมัน ซึ่งเคยเข้ายึดครองโตโกเป็นอาณานิคมจนถึงปี พ.ศ. 2461 โดยเยอรมันเป็นประเทศผู้ให้ที่สำคัญของโตโก โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาต่าง ๆ แต่เยอรมันก็ยังนำเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือมาเกี่ยวข้องกับขบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในโตโกด้วย
โตโกเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด องค์การเอกภาพแอฟริกา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแอฟริกา ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก และเป็นรัฐ ACP ของสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจการค้า
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
เศรษฐกิจของโตโกต้องพึ่งพาเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ และเป็นเกษตรกรรมที่มีผลิตผลเพียงพอเฉพาะบริโภคภายในประเทศ โดยแรงงานประมาณร้อยละ 65 อยู่ในภาคเกษตรกรรม โกโก้ กาแฟ และฝ้ายยังนำรายได้จากการส่งออกเข้าประเทศถึงร้อยละ 30 และโตโกเป็นประเทศที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร หากการเก็บเกี่ยวเป็นไปตามฤดูกาล ในภาคอุตสาหกรรม การทำเหมืองฟอสเฟตยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาฟอสเฟตโลกตกต่ำและมีการแข่งขันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โตโกยังเป็นศูนย์กลางทางด้านพาณิชย์และการค้าในภูมิภาคด้วย รัฐบาลโตโกได้พยายามดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และจูงใจให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ของรัฐให้สอดคล้องกับรายจ่าย
โดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบทางการเมือง รวมทั้งการนัดหยุดงานของภาครัฐและเอกชนในช่วงปี 2535 – 2536 ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญด้านอื่น ๆ การลดค่าเงินถึงร้อยละ 50 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นcรงกระตุ้นสำคัญในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ประกอบกับการต่อสู้ทางการเมืองต่าง ๆ ได้เริ่มสงบลง ความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังดำเนินการอยู่ รวมทั้งความโปร่งใสของรัฐบาล โดยเฉพาะการจัดสรรเงินในเรื่องสวัสดิการสังคม การลดขนาดของกองทัพซึ่งรัฐบาลยังต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอดของตนเอง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดแคลนความช่วยเหลือประกอบกับราคาโกโก้ที่ตกต่ำลง ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2541 ลดลงร้อยละ 1 แต่ก็กลับมาเช่นเดิมในปี 2542 หากบรรยากาศทางด้านการเมืองไม่เลวร้ายลง เป็นที่คาดว่าการเจริญเติบโตในปี 2543 – 2544 ควรจะสูงถึงร้อยละ 5

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ : ร้อยละ 2.0 (ประมาณการ พ.ศ. 2549)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ : 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ พ.ศ. 2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว : 353 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2548)
อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 2.2 (พ.ศ. 2549)
ทรัพยากรธรรมชาติ : ฟอสเฟต หินปูน หินอ่อน และพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ : กาแฟ โกโก้ ฝ้าย หัวมันต่าง ๆ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ข้าว ข้าวฟ่าง ปศุสัตว์ และปลา
อุตสาหกรรมที่สำคัญ : การทำเหมืองแร่ฟอสเฟต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซีเมนต์ หัตถกรรม สิ่งทอและ เครื่องดื่ม
หนี้สินต่างประเทศ : 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2549)
เงินตราสำรอง : ปี พ.ศ. 2549 เงินตราสำรองการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและทองคำ 374.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดุลการค้า : ปี 2548 ส่งออก 0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นำเข้า 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขาดดุลการค้า 0.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าออกที่สำคัญ : ฝ้าย ฟอสเฟต กาแฟ และโกโก้
สินค้าเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ อาหารและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออกไปยัง กานา(ร้อยละ16.7) บูร์กินาฟาโซ(ร้อยละ 14.4) เบนิน(ร้อยละ 9.1) เบลเยียม (ร้อยละ 6.1) มาลี(ร้อยละ 5.8) เยอรมัน (ร้อยละ 5.4) อินเดีย(ร้อยละ 4.6) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 4.6) (2549)

นำเข้าจาก จีน(ร้อยละ 30.9) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 11.3) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 9.2) เบลเยียม (ร้อยละ 6) สหรัฐ (ร้อยละ 4.8) เอสโตเนีย (ร้อยละ 4.3) โกตดิวัวร์ (ร้อยละ 4.1) (2549)

สกุลเงิน : ฟรังก์เซฟา (CFA Franc) โดย 1 ฟรังก์เซฟา เท่ากับ 100 ซังตีมส์ (centimes)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 522.9 ฟรังก์เซฟา (2549)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโตโก
ด้านการเมือง
ประเทศไทยและโตโกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 โดยไทยเคยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลากอส สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมโตโกด้วย แต่ภายหลังจากปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลากอสเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ไทยได้ให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสเป็น contact point จนปัจจุบันได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศโตโก ส่วนโตโกยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแห่งใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยทั่วไปราบรื่นและไม่มีปัญหาระหว่างกัน

ด้านเศรษฐกิจ
โตโกเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาและไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด สินค้าที่ไทยส่งออกไปโตโกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าปักและลูกไม้ และตาข่ายจับปลา ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากโตโกที่สำคัญ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

สถิติการค้าระหว่างไทย – โตโก ดูเอกสารแนบ
ด้านความตกลง
ประเทศไทยและโตโกยังไม่มีความตกลงใด ๆ ระหว่างกัน

ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
โตโกเป็นประเทศที่ไทยกำหนดให้อยู่ในโครงการความช่วยเหลือในรูปทุนการศึกษา/ฝึกอบรมและดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญและเป็นที่ต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ สาขาการเกษตร สาธารณสุขและการศึกษา

สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์