|
|
สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก Republic of Trinidad and Tobago
|
|
ที่ตั้ง เป็นหมู่เกาะ โดยมีเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะตรินิแดด และเกาะโตเบโก ตั้งอยู่ทางใต้ของทะเลแคริบเบียน ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเวเนซุเอลา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบโดยมีเนินเขา และภูเขาที่ไม่สูงนัก
ภูมิอากาศ เขตร้อน มีฝนตกชุกระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม
พื้นที่ 5,128 ตารางกิโลเมตร
ประชากร (2548) 1,088,644 คน
อัตราการเจริญเติบโตของประชากร (2548) ร้อยละ 0.74
เมืองหลวง กรุงพอร์ต-ออฟ-สเปน (Port-of-Spain)
ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาฮินดี ฝรั่งเศส สเปน
ศาสนา
นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ร้อยละ 30
ฮินดู ร้อยละ 24
แองกลิกัน ร้อยละ 10
มุสลิม ร้อยละ 6
เชื้อชาติ
ผิวดำร้อยละ 40
อินเดีย ร้อยละ 40.3
ผสม ร้อยละ 18
ผิวขาว ร้อยละ 1
ชาวจีน ร้อยละ 1
อื่นๆ ร้อยละ 3.7
วันชาติ 31 สิงหาคม ( ปี ค.ศ.1962 / Independence Day)
อัตราการรู้หนังสือของประชากร ร้อยละ 98.6 (2546)
หน่วยเงินตรา ตรินิแดดและโตเบโกดอลลาร์ (TT$) 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ เท่ากับ 6.29 TT$ ( 2547)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ CARICOM ECLAC FAO G77 IBRD ICAO ILO IMF INTELSAT ITU NAM OAS UN UNCTAD UNESCO UNIDO UPU WHO WIPO WMO
รูปแบบการปกครอง ระบบสาธารณรัฐ
รัฐธรรมนูญ 1 สิงหาคม 2519
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี Emeritus George Maxwell Richards (ตั้งแต่ 17 มีนาคม 2546)
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี Patrick Manning (ตั้งแต่ 24 ธันวาคม 2544)
สภานิติบัญญัติ เป็นระบบสองสภาประกอบด้วย วุฒิสภาทั้งสิ้น 31 ที่นั่ง (พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากแต่งตั้ง 16 ที่นั่ง ประธานาธิบดีแต่งตั้ง 9 ที่นั่ง และพรรคฝ่ายค้านแต่งตั้งอีก 9 ที่นั่ง โดยวุฒิสมาชิกอยู่ในวาระสูงสุด 5 ปี และสภาผู้แทนราษฎร 36 ที่นั่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในวาระ 5 ปี
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 5 ปี และนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายตุลาการ มีระบบศาลยุติธรรมแบ่งเป็นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
การแบ่งเขตการบริหาร 8 จังหวัด (Counties) คือ Caroni, Mayaro, Nariva, Saint-Andrew, Saint-David, Saint George, Saint Patrick และ Victoria 3 เขต (Municipalities) ได้แก่ Arima, Port-of Spain และ San Fernando และอีก 1 เขตพิเศษ (Ward) ได้แก่ Tobago
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546
เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร (เพื่อคัดสรรนายกรัฐมนตรี) ตุลาคม 2545
การเลือกตั้งครั้งต่อไป
เลือกตั้งประธานาธิบดี ในปี 2551
เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ในเดือนตุลาคม 2550
ภาพรวมทางเศรษฐกิจ ตรินิแดดและโตเบโกมีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งการลงทุนที่ดีสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2538 ธุรกิจการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็วแม้ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนอื่นๆ นอกจากนี้ เนื่องจากราคาน้ำมัน ปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติเหลวซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศนี้ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาและทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างพื้นฐาน และจัดตั้งโรงงานสำเร็จ ภาคธุรกิจปิโตรเคมีเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นธุรกิจในด้านอื่นๆ และธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นรายได้เงินตราต่างประเทศที่สำคัญ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากยุโรป
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2547) ร้อยละ 5.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 11.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
GDP per capita 10,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ
โครงสร้าง GDP
ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 2.7
ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 47
ภาคบริการ ร้อยละ 50.3
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 10.4
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.3
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 12.8
อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ การท่องเที่ยว อาหารแปรรูป ซีเมนต์
เกษตรกรรมสำคัญ ได้แก่ โกโก้ อ้อย ข้าว มะนาว กาแฟ ผัก สัตว์ปีก
สินค้าเข้า มูลค่า 4.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง สินค้าหัตถอุตสาหกรรม อาหาร ปศุสัตว์
สินค้าออก มูลค่า 6.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า ปุ๋ย น้ำตาล
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ประเทศต่าง ๆ ในลาตินอเมริกาและแคริเบียน สหภาพยุโรป
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยกับสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโกสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2529 โดยฝ่ายไทยให้อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
สถิติการค้าระหว่างไทย-ตรินิแดดและโตเบโก ดูเอกสารแนบ
สินค้าที่ไทยนำเข้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลม และสุรา เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักร ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยส่งออก ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็นเครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องสูบเชื้อเพลิงของเหลวและเครื่องสูบลม กุ้งสดแช่เย็น-แช่แข็ง หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
สถิติการค้าไทย-สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า การส่งออก การนำเข้า ดุลการค้า
2545 11.8 11.7 0.1 11.6
2546 13.6 13.6 0.0 13.6
2547 27.9 22.1 5.8 16.4
2547 (ม.ค.-เม.ย.) 6.1 6.0 0.1 6.0
2548 (ม.ค.-เม.ย.) 6.9 6.1 0.8 5.3
ในปี 2547 มีชาวตรินิแดดและโตเบโกเดินทางเข้าประเทศไทย 344 คน และเดินทางออก 350 คน
8 พฤศจิกายน 2548
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|