ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียประมาณ 4,000 กิโลเมตร อยู่กึ่งกลางระหว่างออสเตรเลียกับเกาะฮาวายพื้นที่26 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 9 เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 757,500 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงฟูนะฟูตี (Funafuti)
ภูมิประเทศ หมู่เกาะล้อมรอบด้วยแนวหินปะการังและแนวหินโสโครกที่กว้างใหญ่
ภูมิอากาศ เขตร้อนแถบทะเลเส้นศูนย์สูตร
ประชากร 11,810 คน (ปี 2549)
เชื้อชาติ
โพลินีเซีย (Polynesian) ร้อยละ 96
ไมโครนีเซีย (Micronesian) ร้อยละ 4
ศาสนา คริสต์
ภาษา อังกฤษ ตูวาลวน (Tuvaluan) และภาษาพื้นเมืองกิลเบิร์ท
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์ออสเตรเลีย
วันชาติ 1 ตุลาคม 2521 (ค.ศ. 1978) ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
GDP 14.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
GDP per capita 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
Real GDP Growth ร้อยละ 1.2 (ปี 2549)
อุตสาหกรรม ประมง ท่องเที่ยว มะพร้าวแห้ง
สินค้าส่งออก มะพร้าวแห้ง สินค้าหัตถกรรม
ตลาดส่งออก สหรัฐอเมริกา อิตาลี
สินค้านำเข้า อาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ สินค้าอุตสาหกรรม น้ำมัน
ตลาดนำเข้า ฟิจิ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี
การเมืองการปกครอง
ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี
ประมุขรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร โดยมีผู้สำเร็จราชการคือ General Filoimea Telito
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี มีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรี Apisai lelemia (ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและแรงงานด้วย)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลสูง 1 แห่ง และศาลประจำเกาะ 8 แห่ง
การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดปี 2549 (ค.ศ. 2006)
สถานการณ์ทางการเมือง
ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2545 (ค.ศ. 2002) Hon. Saufatu Sopoanga ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 (ค.ศ.2004) สภาลงมติไม่ไว้วางใจ ทำให้นายกรัฐมนตรี Sopoanga ต้องลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 และ Hon. Maatia Toafa ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในเดือนตุลาคม 2547 โดยมีนาย Sopoanga ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
เศรษฐกิจ
สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Country) เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู (Tuvalu Trust Fund) และการให้เช่าอินเตอร์เน็ตโดเมนเนม ดอด ทีวี (.tv)
สถิติการค้าไทย-ตูวาลู (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 0 0 0 0
2545(2002) 0 0 0 0
2546(2003) 0 0 0 0
2547(2004) 0.2 0.2 0 0.2
2548(2005) ม.ค.-เม.ย. 0 0 0 0
2549(2006) 0.1 0.1 0 0.1
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับตูวาลู |
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ตูวาลูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ออสเตรเลีย และฟิจิ รวมทั้งได้ลงนาม Treaty of Friendship กับสหรัฐฯ ในปี 2522 (ค.ศ. 1979) นอกจากนี้ ตูวาลูยังเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โดยสถานเอกอัครราชทูตไต้หวันเป็นสำนักงานผู้แทนการทูตเพียงแห่งเดียวในตูวาลู โดยไต้หวันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ตูวาลูเป็นจำนวนมาก
ตูวาลูเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และมีคณะผู้แทนประจำสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก รวมทั้งมีสำนักงานผู้แทนทางการทูตที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ
ความสัมพันธ์กับไทย
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับตูวาลูเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2548 การค้าระหว่างไทยกับ ตูวาลูอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกทั้งหมด สินค้าที่ไทยส่งออกไปตูวาลู คือ ผ้าผืน และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
วันที่ 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5117-8 Fax. 0-2643-5119 E-mail : american04@mfa.go.th
|
|