|
www.dooasia.com
> ปลา > ปลาการ์ตูน(Anemonefish/นีโม/nemo)
ชื่อไทย
ปลาการ์ตูน
ชื่อสามัญ
Anemonefish
ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเลเป็นเสมือนสิ่งที่ควบคู่กันปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเลเป็นส่วนหนึ่งในการเติม
สีสรรให้กับท้องทะเลปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีเอกลักษณ์ของมันเองโดยทั่วไปจะประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง
และจะมีสีขาวพาดกลางลำตัว1-3 แถบ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นชนิดเดียวกันมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอซึ่งความ
แตกต่างนี้ทำให้
มันจำคู่ของมันได้
นอกจากนั้น
แหล่งที่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันของสีได้
|
|
|
|
ปลาการ์ตูนอินเดียน
yellow skunk anemonefish, A. akallopisos
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู
มีแถบขาวเล็ก ๆ
พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง
อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25
เมตรขนาด โตที่สุดประมาณ
10-11 เซนติเมตร
อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii
อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว
พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน
ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน
|
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง
sebae anemonefish, A. sebae
ลำตัวมีสีดำ
ส่วนหางมีสีเหลือง
มีแถบขาว 2 แถบ
แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา
อีกแถบพาดผ่านท้องขึ้นมายังครีบหลังเป็นชนิดที่หายาก
พบเฉพาะฝั่งอันดามันในที่ลึกตั้งแต่
2-25 เมตร ขนาดโตที่สุดประมาณ
14 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะลชนิดที่ฝังทรายได้แก่
Stichodactyia haddoni มีสีน้ำตาลหนวดสั้นมักอยู่กันเป็นคู่กับลูกเล็ก
ๆ 3-4 ตัว
มีนิสัยดุร้ายกับปลาอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว
|
ปลาการ์ตูนแดง
Spine - cheek anemonefish, Premnas biaculeatus (Bloch, 1790)
ปลาการ์ตูนแก้มหนาม
หรือการ์ตูนทอง
หรือการ์ตูนแดง
เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species)
ลำตัวมีสีส้มแดง
เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ
ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว
3 แถบ บริเวณหลังตา
กลางลำตัว และโคนหาง
ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม.
พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง
และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน
มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Entacmaea quadricolor
ในตลาดซื้อขายปลาสวยงามปลาชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น
2 กลุ่ม ตามลักษณะสี คือ
1. ปลาการ์ตูนทอง
ลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแต่แถบสีขาวที่พาดขวางลำตัวเป็นสีขาวอมเหลืองทอง
และสีแดงบริเวณลำตัวจะเข้มกว่าปลาการ์ตูนแดง
ปลาการ์ตูนทองเป็นปลาที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้น
ๆ ในกลุ่มปลาการ์ตูน
2. ปลาการ์ตูนแดง
คล้ายกับปลาการ์ตูนทองแต่แถบที่สีขาวที่พาดขวางลำตัวจะเป็นสีขาว
ปลาการ์ตูนแดงจะซื้อขายกันในราคาที่ถูกกว่าปลาการ์ตูนทองประมาณ
1 เท่าตัว |
|
ปลาการ์ตูนส้มขาว
clown anemonefish, A. ocellaris
ลำตัวมีสีส้มเข้ม
มีแถบสีขาว 3 แถบ
พาดบริเวณส่วนหัว
ลำตัวและบริเวณหาง
ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ
ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ
อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15
เมตร
ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10
เซนติเมตร
อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น
ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน
6-8 ตัว
ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน
อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน
จังหวัดนราธิวาส
อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
|
ปลาการ์ตูนอานม้า
saddleback anemonefish, A. polymnus
ลำตัวมีสีน้ำตาลอมดำ
มีแถบขาว 2 แถบ
แถบแรกอยู่ที่หลังตา
อีกแถบเริ่มบริเวณกลางลำตัวเป็นแถบโค้งพาดเฉียงขึ้นไปที่ครีบหลัง
ลักษณะคล้ายอานม้า
พบในที่ลึก ตั้งแต่ 2-30 เมตร
ขนาดโตที่สุดประมาณ 12
เซนติเมตร
อยู่กับดอกไม้ทะเลชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย
คือ Heteractis crispa และ Stichodactyla haddoni พบเฉพาะในอ่าวไทย
|
ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ
tomato anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีดำอมแดง
ครีบทุกครีบมีสีแดง
มีแถบสีขาว 1 แถบ
พาดขวางบริเวณหลังตา ปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวและครีบเป็นสีแดง
มีแถบขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ
บริเวณหลังตา
ตอนกลางของลำตัว
และโคนหาง
ในปลาวัยรุ่นแถบสีขาวที่โคนหางจะหายไปขนาดโตเต็มวัยประมาณ
12 เซนติเมตร
อาศัยอยู่ตามลากูน
หรือรอบนอกของแนวปะการัง
มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Entacmaea quadricolor
เคยมีรายงานว่าพบได้ในประเทศไทย
(Allen, 2000)
แต่ปัจจุบันไม่มีใครพบอีก
(ธรณ์,2544)
ปลาที่ซื้อขายในตลาดประเทศไทยเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย
|
ปลาการ์ตูนดำแดง
red saddleback anemonefish, A. frenatus, Brevoort, 1856
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง
ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ
และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12
เซนติเมตร
อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย
หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง
มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน
|
ปลาการ์ตูนลายปล้อง
clark's anemonefish, A. clarkii
ลำตัวมีสีดำเข้ม
ส่วนหน้าครีบอกและหางมีสีเหลืองทอง
มีแถบขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว
ลำตัว และโคนหาง
ปลาชนิดนี้มีความผันแปรของสีสูง
มีไม่ตำกว่า 8 รูปแบบ
สีของลูกปลาวัยรุ่นก็ต่างจากปลาเต็มวัย
พบทั้งอ่าวไทย และอันดามัน
จัดเป็นปลาการ์ตูนใหญ่ที่สุดของเมืองไทยขนาดโตที่สุดประมาณ
15 เซนติเมตร
อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลหลายชนิด
บางครั้งเป็นชนิดที่พบตามพื้นทราย
ปลาการ์ตูนลายปล้องมีการแพร่กระจายกว้างมากอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
3-4 ตัว โดยมีตัวเมีย
ซึ่งมีขนาดโตที่สุด
เป็นจ่าฝูง
ตัวที่มีขนาดรองลงมาจะเป็นตัวผู้
|
ปลาการ์ตูนอินเดียน
yellow skunk anemonefish, A. akallopisos
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู
มีแถบขาวเล็ก ๆ
พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง
อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25
เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11
เซนติเมตร
อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด
Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii
อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว
พบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน
ส่วนอ่าวไทยพบที่เกาะโลซิน
|
วงจรชีวิตปลาการ์ตูน |
|
|
|
|
|
|
|
ปลาการ์ตูนวัยเจริญพันธุ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลาวัยรุ่นอายุ
60 วัน
|
|
|
|
ไข่ปลาอายุ
7 วัน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลูกปลาอายุ
10 วัน
|
|
|
|
ลูกปลาอายุ
4 วัน
|
|
ที่มา : http://www.fisheries.go.th
|