ฟักต้มกับกุ้งแห้ง
ฟักต้มกับกุ้งแห้ง
ฟักต้มกับกุ้งแห้ง
โดย ประยูร อุลุชาฎะ
ที่มา
: สำนักพิมพ์แสงแดด
เรื่องนี้มีอุทาหรณ์คือ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ดูคุณสาโรช จารักษ์
นักปรุงอาหารชั้นเยี่ยมของกรมศิลปากร
ท่านผู้นี้เป็นผู้อำนวยการปั้นและหล่อพระใหญ่ที่พุทธมณฑลแต่เรื่องนี้เกิดก่อนปั้น
พระพุทธมณฑล นับเป็น 10 ปี วันนั้นภรรยาอาจารย์และสงฆ์ มั่งมี อยากจะกินแกงจืดฟัก
คุณสาโรชออกไปสั่งเด็ก ๆ ให้เด็กปรุงน้ำแกงจืด
เครื่องปรุง
ฟักเขียว ต้นหอม ผักชี กระเทียม พริกไทย รากผักชี หัวหอม น้ำเปล่า
วิธีทำ
โขลก กระเทียม พริกไทย รากผักชี และหัวหอม ละลายน้ำใส่หม้อต้ม
หั่นฟัก ต้นหอม ผักชีเตรียมไว้ พอน้ำแกงเดือดก็ใส่น้ำปลาดีเยี่ยมลงไป
ชิมได้ที่แล้วก็ใส่กุ้งแห้งตัวโตลงไปแล้วต้มอยู่พักหนึ่งจึงใส่ฟัก
รอจนฟักสุก็ใส่ต้นหอมหั่นแล้วยกลง ตักใส่ชามโรยผักชีเล็กน้อย
วันนั้นบนโต๊ะอาหารมีผู้ตักแกงฟักต้มจืดขณะร้อน ๆ
พากันออกปากว่ารสนุ่มนวลดี แต่มีบางคนพูดว่าถ้าจะให้ดีน่าจะใส่หมู
ใส่ตังฉ่ายเล็กน้อย จะเยี่ยมยิ่งกว่านี้ แต่สาโรช์ จารักษ์ บอกว่า
อย่างนั้นต้องไปกินที่ร้านเจ๊ก เราต้องการรสอันสุขุมของกุ้งแห้งกับฟัก
ซึ่งจะไม่มีอะไรมาข่มได้ วันนั้นแกงจืดฟักกับกุ้งแห้งเกลี้ยงหม้อ
ข้อนี้
เป็นเครื่องเตือนใจแก่ผู้ประกอบอาหารว่าจะต้องมีรสนิยมรู้ซึ้งถึงรสของสิ่งที่จะมาประกอบหาร
ทำอย่างไรจะให้สิ่งพื้น ๆ มีคุณค่าโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางเครื่องดนตรีทั้งวง
เปรียบเสมือนการบรรเลงคอนแชร์โตฉะนั้น
การใส่หมู ใส่กุ้ง ใส่ลูกชิ้นปลา ประเดประดังลงไปเสียมากมาย
ประสงค์จะให้อร่อย
มันก็ไม่ผิดกับเครื่องดนตรีฝีมือเยี่ยมหลายเครื่องบรรเลงประชันพร้อมกัน
จะเกิดรสอะไร นอกจากเสียงเซ็งแซ่
นักประกอบอาหารที่ดีจะตองไม่ใส่อะไรลงไปเลย (คือใส่น้อย ๆ
เท่าที่จำเป็นแล้วอร่อยจึงจะมีฝีมือวิเศษแท้
|