น้ำพริกกะปิมะเขือพวง
น้ำพริกกะปิมะเขือพวงและกรรมวิธีต
น้ำพริกกะปิมะเขือพวงและกรรมวิธีต่างๆ
โดยประยูร อุลุชาฎะ
ที่มา
: สำนักพิมพ์แสงแดด
การปรุงน้ำพริกเป็นศิลปะระดับเยี่ยมยอดของแม่บ้านด้วย
เป็นอาหารหลัก อาหารพื้น ๆ
แม่บ้านหรือพ่อบ้านจักต้องมีศิลปะในการปรุงน้ำพริกให้แปลกออกไป
ทำได้หลายสิบอย่างจึงจะเก่งและทำให้การดำรงชีวิตประกอบการกินอยู่อันสมบูรณ์ได้อย่างเป็นสุข
มีผู้สัมภาษณ์ อาภัสรา หงสกุล นางงามจักรวาลคนแรกของไทย
ว่าชอบรับประทานอะไร เธอตอบว่า ชอบน้ำพริกปลาทู เป็นการตอบที่ตรงจุด
เพราะน้ำพริกปลาทูเป็นอาหารหลักของคนไทย ไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือสูงศักดิ์ขนาดไหน
จะขาดไม่ได้
จึงจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีการทำน้ำพริกปลาทูเสียก่อนเป็นอันดับแรก
เครื่องปรุง
กะปิอย่างดี กระเทียม พริกขี้หนู น้ำตาลปีบ มะนาว
วิธีทำ
ปอกกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู ใส่ครกโขลก
(ควรโขลกกระเทียมให้แตกเสียก่อนแล้วจึงใส่พริกลงไปโขลกด้วย สำหรับผู้ไม่ชอบเผ็ดมาก
เพียงแต่บุบพริกก็พอ) แล้วใส่กะปิประมาณเท่าลูกมะนาว โดยให้ปริมาณกระเทียมสัก 4-5
กลีบ ใส่น้ำตาลปีบลงไปสักเล็กน้อย (ครึ่งช้อนชา) แล้วบีบมะนาว 1 ลูก คนในครกด้วยสาก
(บางคนชอบกลิ่นแมงดา ก็จะเอาแมงดาโขลกลงไปด้วย)
เอาเปลือกมะนาวครึ่งซีกมาปลิ้นกลับข้างในออกข้างนอก
ทำเป็นช้อนตักพริกจากครกมาใส่ถ้วยน้ำพริก แล้วเด็ดพริกขี้หนูลอยหน้าสัก 4-5 เม็ด
ก็เสร็จพิธี
การปรุงน้ำพริกให้มีรสแปลกออกไปตามโอกาส
1.
บางท่านนิยมเอาเปลือกมะนาวที่บีบน้ำแล้ว มาหั่นด้วยมีดคม ๆ
ให้บางที่สุดสักครึ่งหนึ่งของเปลือกซีกหนึ่ง
ใส่คลุกน้ำพริกลงไปด้วยจะมีรสพิเศษอีกอย่างหนึ่ง
2.
สมัยโบราณบางครั้งก็ปรุงเพิ่มเติม โดยเอามะอึก (ลูกมะอึกที่สุกเป็นสีเหลือง
เอาผ้าหรือกระดาษเช็ดมือมาถูให้หมดขน สมัยโบราณถูด้วยกาบมะพร้าว
แล้วล้างน้ำเอามาผ่านด้วยมีดคมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ) ใส่โขลกลงไปกับน้ำพริกเรียกว่า
น้ำพริกมะอึก
(ก)
อีกวิธีหนึ่ง ใช้มะเขือพวงสักครึ่งกำมือโขลกกับน้ำพริกนั้น เรียกว่า
น้ำพริกมะเขือพวง บางท่านชอบมาก
(ข)
คนแก่สมัยโบราณชอบมะเขือขื่นที่แก่ เอามาผ่านบาง ๆ
โขลกกับน้ำพริกมีรสอร่อยคนแก่ชอบมาก แม้คนหนุ่มสาวกับประทานอร่อย เรียกว่า
น้ำพริกมะเขือขื่น
(ค)
บางคนนิยมเอามะดันสับให้เป็นริ้วแล้วผ่าน ใส่โขลกลงไปด้วย
แต่วิธีนี้จะต้องบีบมะนาวเพียงซีกเดียว เพราะมะดันเปรี้ยวอยู่แล้ว (ถ้าไม่มีมะนาว
ชาวบ้านจะใช้มะดัน 2-3 ลูกโขลกไปกับน้ำพริกแทนมะนาวเลยทีเดียว) เรียกว่า
น้ำพริกมะดัน น้ำพริกมะดันนี้มีเคล็ดว่าจะต้องโขลกกุ้งแห้งป่นลงไปรวมกับน้ำพริกด้วย
จึงจะอร่อย
(ง)
ถ้ามะเขือขื่นหาไม่ได้ บางคนนิยมเอามะเขือเปราะแก่ ๆ มาผ่านบาง ๆ
ลงไปโขลกกับน้ำพริกด้วยเรียกว่า น้ำพริกมะเขือเปราะ
(จ)
น้ำพริกมะม่วง เอามะม่วงดิบที่มีรสเปรี้ยวปอกเปลือกแล้วสับเป็นริ้ว
ผ่านลงไปโขลกกับน้ำพริก (ที่ยังไม่บีบมะนาวลงไป) แทนมะนาว เรียกว่า น้ำพริกมะม่วง
น้ำพริกมะม่วงนี้ตามต่างจังหวัดบางแห่งนิยมเอาหัวหอมปอกสัก 3-4 หัว
โขลกรวมไปกับมะม่วงสับ จะมีรสอร่อยมาก
การรับประทาน
พริกชี้ฟ้าเม็ดสีเขียวนี้มีรสเผ็ด แต่ไม่เท่าพริกขี้หนู
เพราะมีรสพิเศษ บางคนที่ชอบเผ็ดมาก
ก็อาจจะเอาพริกชี้ฟ้าทั้งเม็ดมาจิ้มน้ำพริกรับประทานแทนผักเลย
ซึ่งก็มีผู้นิยมกันมาก สรุปแล้วพริกชี้ฟ้าใช้แทนพริกขี้หนูได้ ส่วนพริกอื่น ๆ เช่น
พริกเหลือง เป็นต้นนั้น นิยมเอามาแทนพริกขี้หนูเป็นประจำอยู่แล้ว
มักนิยมรับประทานกับปูเค็ม
ปลาเค็มปิ้ง เนื้อเค็มทอด
น้ำพริกมะม่วง มักนิยมเอากุ้งแห้งป่นโขลกลงไปมาก ๆ
หรือจะใช้ปลากรอบก็ได้ จะเพิ่มรสอร่อยเป็นพิเศษ
เนื่องจากน้ำพริกมะม่วงเป็นอาหารอร่อยของคนไทย
ซึ่งมักนิยมทำรับประทานเป็นประจำในฤดูที่มะม่วงออกลูก
จึงมีผู้ประดิษฐ์ทำน้ำพริกมะม่วงแปลกออกไป เช่น
เอมแมงดานาโขลกลงไปด้วยเพื่อเอารสกับกลิ่นหอมของแมงดาช่วย มีการประดิษฐ์แปลก ๆ
ออกไปอีกคือ
บางคนดัดแปลงน้ำพริกมะม่วง คือเอาหมูหยองลงไปคลุกผสมด้วย
กลายเป็นน้ำพริกทรงเครื่องชนิดหนึ่ง
บางท่านปอกหัวหอมกับกระเทียม เอาวางแต่งหน้าถ้วยน้ำพริกด้วย
รวมทั้งเด็ดพริกขี้หนูโรยด้วย อันเป็นของธรรมดาอยู่แล้ว
น้ำพริกมะม่วง บางคนก็เอาปูเค็มโขลกลงไปผสมบ้างเล็กน้อย
ทำให้มีรสแปลกออกไป
(ฉ)
น้ำพริกมะขาม ก็มีเครื่องปรุงอยู่ในหมวดเดียวกับน้ำพริกกะปิ
เพียงแต่ว่าเอามะขามอ่อน (ขูดผิวเสียก่อน) หลายฝักมาโขลกให้แตกแล้วใส่หัวหอม
กระเทียม พริกขี้หนู น้ำตาล ตามลำดับ (อาจจะปรุงกลิ่นใส่แมงดาโขลกลงไปด้วยก็ได้
ส่วนมาก
ไม่มีน้ำพริกมะขามหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากจะนิยมปรุงง่าย ๆ แบบนี้ โดยไม่ใส่
เครื่องเคราลงไป ด้วยประสงค์จะได้รสแท้ของมัน
แต่บางคนชอบแบบทรงเครื่องโดยเอากุ้งแห้งป่น หรือปลากรอบโขลกลงไปด้วย
ที่สำคัญพบมากในวงสำรับในชนบท
มักจะเอาปูเค็มโขลกลงไปด้วย รสแปลกออกไป
บางท่านใส่ปลาช่อนต้มแกะเนื้อโขลกลงไปกับน้ำพริกมะขาม
เป็นการทรงเครื่องอย่างสมบูรณ์แบบโดยแท้
3.
น้ำพริกที่พรรณนามานี้เป็นประเภทน้ำพริกกะปิที่ดัดแปลงเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม
ถ้าผู้บริโภคเคยไปรับประทานอาหารตามวงสำรับบ้านในชนบท
ก็อาจจะมีน้ำพริกกะปิแปลกออกไปอีก คือ
(ก)
กะปิในบ้านนอก ไกลทะเล มักนิยมช้อนกุ้งฝอยมาทำกะปิเอง โดยเอากุ้งฝายมาเคล้าเกลือ
หมักไว้พักหนึ่ง แล้วเอามาตากแดด แยกเอาน้ำไปเคี่ยวทำน้ำปลา
กากที่เหลือจะเอามาโขลกแล้วตากแดดไว้ทุกวัน
กะปิชนิดนี้ไม่ได้ทำจากกุ้งเคยทะเลรสจึงแปลกออกไป
(ข)
บางครั้ง ขาดกะปิหาไม่ได้เลย ชาวบ้านจะแสวงหาสิ่งอื่นมาชดเชยกัน คือ
เอาปลากุเลาเค็มที่ย่างแล้วมาโขลกกับเครื่องน้ำพริกกะปิ ก็แทนกะปิได้ และอร่อยด้วย
(ค)
บางท่านอยู่ต่างประเทศ ขาดแคลนกะปิ หรือปลาเค็มจะทำน้ำพริกกะปิเทียม
ก็ใช้กุ้งต้มมาโขลกกับเกลือป่นแทนกะปิได้อย่างดี
แล้วปรุงน้ำพริกแบบน้ำพริกกะปิทั่วไป
ถ้าขาดแคลนพริกขี้หนูสด จะใช้พริกขี้หนูแห้งก็ได้ หรือใช้พริกป่นก็ได้เหมือนกัน
(ง)
ท่านผู้รับประทานอาหารเจ ประสงค์จะรับประทานน้ำพริกกะปิ
ก็ต้องหาสิ่งที่มาชดเชยแทนกะปิอันเป็นส่วนปรุงของเนื้อสัตว์ คือ
บ้างก็ใช้เต้าหู้ยี้แทน บ้างก็ใช้เต้าเจี้ยวดำ บ้างก็ใช้สมอดอง หรือถั่วเน่า
(คือถั่วเหลือง) ซึ่งทางเหนือนิยมกัน
(จ)
พริกขี้หนูที่เป็นตัวการเอามาผสมน้ำพริกกะปินั้นก็เป็นเคล็ดสำคัญของแม่ครัว
บางคนชอบพริกขี้หนูสวน ว่าหอมดีแม่ครัวบางคน จะโขลกพริกชี้ฟ้าลงไปกับพริกขี้หนู
ด้วยผสมกับน้ำพริก ทำให้มีรสหอมแปลกออกไป
ไม่มีใครใส่พริกหยวกเพราะไม่เผ็ดและมีน้ำมาก ไม่อร่อย
และบางบ้านไม่มีพริกขี้หนูก็จะใช้พริกชี้ฟ้าแทนไปเลย ด้วยมีรสหอมอร่อยอยู่แล้ว
พริกหนุ่มไม่นิยมมาแทน
เหมาะสำหรับเผาเอามาทำน้ำพริกหนุ่มเท่านั้น
พริกขี้หนูแห้งป่นนั้น
ถ้ายามจำเป็นก็แทนไม่แน่นอน ส่วนพริกไทย หรือมัสตาร์ด
แม้จะเผ็ดแต่จะทำให้รสเตลิดเปิดเปิงไป จึงไม่มีใครมาใช้แทนพริกขี้หนู
(ฉ)
กระเทียมนั้น ไม่มีสิ่งอื่นทดแทน แต่ถ้าจะตำน้ำพริกมะขาม หรือน้ำพริกมะม่วง
กระเทียมไม่มีไม่ต้อง ใช้แต่หัวหอมอย่างเดียวก็อร่อย ไม่เสียรสแต่อย่างประ
|