พริกกะเกลือ
พริกกะเกลือ
พริกกะเกลือ
โดยประยูร อุลุชาฎะ
ที่มา
: สำนักพิมพ์แสงแดด
อาหารพื้น ๆ ของชาวบ้านสุโขทัย
ข้าพเจ้าเคยไปรับประทานข้าวห่อที่เมืองเก่าสุโขทัยสมัยเมื่อ 40
ปีเศษมาแล้ว ไปกับพวกนักศึกษาและคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมัยนั้นเมืองเก่าสุโขทัยยังเป็นป่า ไม่มีถนนหนทางจะไปวัดศรีชุม ไปวัดพระพายหลวง
ต้องลุยน้ำไปตามลำธารด้วยไม่มีถนน
ทางราชการได้เกณฑ์ให้ชาวบ้านห่อข้าวมาเลี้ยงพวกนักศึกษา
ซึ่งมีจำนวนประมาณ 70 คน
ข้าวห่อที่รับแจก มีกับข้าวคือ เนื้อไก่ปิ้ง บ้างก็มีปลาย่าง
น้ำพริกของเขา คือ พริกกะเกลือ เป็นตำรับโบราณแท้ ๆ
เครื่องปรุง
พริก เกลือ มะพร้าวหั่นตากแดดคั่ว น้ำตาลปีบ
วิธีทำ
เขาใส่เกลือมาป่นโขลกรวมไปกับพริกขี้หนู เพียงเท่านี้จริง ๆ
ใช้เนื้อปลาย่างจิ้ม รับประทานกับข้าวสวย หรือเอาไข่ต้มมาจิ้มพริกกะเกลือ
เมื่อยามหัวก็อร่อยมาก รู้สึกว่าจะอร่อยดีกว่าน้ำจิ้มในร้านเหลาที่กรุงเทพฯ เสียอีก
ทราบว่าพวกกะเหรี่ยง พวกบ้านป่าเขารับประทานกันแบบนี้ ไม่มีวิจิตรพิสดารยิ่งไปกว่า
พริกกะเกลือเป็นอาหารชูรสของคนโบราณ
ใช้จิ้มผักต้มรับประทานกับเนื้อปิ้งทุกชนิด
พริกกะเกลือ อาหารคนไทยโบราณ ใช้คลุกกับข้าวร้อน ๆ รับประทาน
เขาใช้มะพร้าวขูดหรือเอามาหั่นตากแดด แล้วตอนเย็นเอามาคั่วในกระทะจนแห้งและเหลือง
เอามาใส่ครกโขลกกับเกลือป่นครึ่งช้อนโต๊ะ (ต่อมะพร้าว 1 ลูก)
เมื่อแหลกแล้วใส่น้ำตาลปีบ 2 หรือ 3 ช้อนโต๊ะพูน ให้โขลกไปจนแตกมันเห็นสีดำขลับ
ใช้เวลาประมาณ 2 ซม. เรียกว่าแหลกจนแตกมัน
(ถ้าชอบเผ็ดเอาพริกขี้หนูแห้งคั่วสักกำมือโขลกลงไปด้วยจนละเอียด)
เรียบร้อยแล้วให้เอาบรรจุใส่ขวดปากกว้างเตี้ย ๆ ปิดฝาให้แน่น
ใช้ช้อนตักมาคลุกข้าวขณะร้อน ๆ กิน จะมันเค็มหรือมีรสเผ็ดด้วยอร่อยมาก
เป็นตำรับพริกกะเกลือแบบโบราณที่ใช้คลุกกับข้าวร้อน ๆ รับประทานได้ทุกมื้อ
และเก็บไว้รับประทานได้เป็นแรมเดือน
พริกกะเกลือแบบนี้ คนโบราณหรือทหารโบราณจะบรรจุใส่กลับไม้ไผ่
เอาไว้รับประทานกับข้าวสะดวกดี หรือบางคนเดินทางไกลเขาป่าไปสักหนึ่งเดือน ก็จะดำมาก
ๆ เอาไว้รับประทานได้ทุกมื้อ ถ้าจะรับประทานกับผักควรใส่พริกให้เผ็ด ๆ
|