ประวัติศาสตร์จังหวัดฉะเชิงเทรา
.ตั้งแต่เมืองฉะเชิงเทรา
ตั้งปากน้ำเจ้าโล้แล้วยกมาตั้งแปดริ้ว แล้วยกไปตั้งโสธร
.
เป็นประโยคที่ได้จากจารึกในแผ่นเงิน เมื่อ พ.ศ.
๒๔๑๘ และถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.
๒๔๙๕ ปัจจุบัน เงินแผ่นนี้เจ้าอาวาสวัดพยัคฆาอินทาราม
(วัดเจดีย์) เก็บรักษาไว้
คำว่า แปดริ้ว
ปรากฏเป็นหลักฐานในข้อเขียนบรรยายภาพประวัติวัดสัมปทวน ความว่า
.บางช่องปั้นเป็นภาพของจังหวัดฉะเชิงเทรา
สมัย ๖๐ ปี สมัย ๑๐๐ ปี ที่ล่วงมาแล้วให้ผู้ที่ยังไม่ทราบจะได้ทราบว่า
จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเดิม เรียกเมืองแปดริ้วนั้น สมัยนั้นๆ
มีสภาพเป็นอย่างไร
. และ พ.ศ.
๒๕๓๐ ความว่า
.เปลี่ยนจากเซาที่แปลว่า
ความเงียบ ยังมีอีกคำหนึ่งที่เรียกว่า บางปลาสร้อยร้อยริ้ว
บางปลาสร้อยก็คือ ชลบุรี ร้อยริ้วก็คือ แปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรานี้เอง
.
เมืองแปดริ้วอยู่ที่ไหน ถ้าแปดริ้วกับร้อยริ้ว
คือเมืองเดียวกันด้วยอิทธิพลของภาษาจีนเพี้ยนเป็นคำไทย และถ้าเป็นเช่นนั้น
เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองโบราณเพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบขึ้นภายหลังล้วนอยู่ในบริเวณใกล้เมืองฉะเชิงเทราทั้งสิ้น
ดังนั้นชุมชนโบราณของฉะเชิงเทราก็ควรเป็นเมืองร้อยริ้วที่คล้องจองกับบางปลาสร้อยนั่นเอง
ถึงอย่างไรชื่อเมืองแปดริ้ว
ก็จัดอยู่ในประเภทตำนานหรือมีนิทานชาวบ้านที่เลียบชาย ฝั่งทะเล
ยังมีมากกว่านี้
ถ้าหากนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์จะไม่หลงลืมดินแดนนี้ไปเสีย
เพราะหลักฐานที่เกี่ยวกับมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกมาก
"อย่างน้อยก็เป็นดินแดนปากทางเข้า
และฐานเศรษฐกิจทางทะเลของที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเมืองไทยและที่ราบต่ำในเขมร
"
ทั้งหมดนี้คงพอจะเป็นพลังให้นักคิด นักเขียน
สามารถนำไปศึกษาข้อมูลเพื่อสนับสนุนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้มีความก้าวหน้าและสมบูรณ์ขึ้น
พงศาวดารกับประวัติเมืองฉะเชิงเทรานั้น ปรากฏหลักฐานว่า
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพไปกวาดต้อนครัวไทยกลับคืนมา
หลังจากที่พระยาละแวกได้ฉวยโอกาสขณะที่ไทยติดสงครามพม่า
เขมรเข้ามากวาดครัวไทย แถบจังหวัดจันทบูร ระยอง ฉะเชิงเทรา และชาวนาเริง
(นครนายก)
ในการศึกษาครั้งนี้
ชาวฉะเชิงเทราได้มีส่วนช่วยราชการสงครามได้รับความชอบซึ่งเป็นเกียรติมาแต่ครั้งนั้น
เจ้าเมืองซึ่งเคยมีบรรดาศักดิ์เพียง "พระวิเศษ"
ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น "พระยาวิเศษ"
ตั้งแต่นั้นมา
ล่วงเข้าสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมหมื่นเทพพิพิธได้รวบรวมกองทัพชาวเมืองแถบ
ตะวันออกพร้อมด้วยชาวเมืองฉะเชิงเทราเข้าร่วมในกองทัพนั้น
เพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขอยุธยาที่กำลังเข้าตาจนในขณะนั้น
แต่กองทัพไปเสียทีพม่าที่ปากน้ำโยธกาเสียก่อน
เมื่ออยุธยาคับขันถึงขนาดจะแก้ไขไม่ได้แล้ว
พระยาตากได้คุมพลประมาณหนึ่งพันเศษ ตลุยทหารพม่ามาข้ามฟากที่ปากน้ำเจ้าโล้
อำเภอบางคล้า แล้วเดินทัพมุ่งไปตั้งตัวที่จันทบุรี
ใช้เวลาบำรุงฝึกปรือกองทัพเป็นเวลา ๗ เดือนเต็ม
แล้วจึงนำทัพขับไล่พม่าพ้นจากดินแดนไทย
ในครั้งนั้นคนฉะเชิงเทราก็ได้เข้าร่วมไปกับกองทัพกู้ชาติอย่างสมภาคภูมิ
และถือเป็นเกียรติยศของชาวเมืองฉะเชิงเทราที่มีเลือดของความเป็นผู้เสียสละและรักชาติอย่างแท้จริงตลอดมานั้นด้วย
เข้าสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองฉะเชิงเทราได้อยู่ในสายตาชาวตะวันตกแล้ว
เพราะจากบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวว่า
"
..จังหวัดแปดริ้ว
(ต้นฉบับเขียน )
และบางปลาสร้อย ๓๐๐ คน
.." (หมายถึงมีคริสต์ศาสนิกชน)
การบันทึกของฝรั่งนี้อยู่ในปี พ.ศ.
๒๓๗๓
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวต่างประเทศก็ให้ความสำคัญต่อดินแดนแถบนี้เป็นอย่างมาก
ยิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทางของฝรั่งก้าวหน้าและทันสมัย
ก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้มีการสำรวจบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงนี้อย่างกว้างขวางอย่างแน่นอนเพียงแต่เรายังไม่พบหลักฐานที่เขาเขียนไว้อย่างละเอียดในตอนนี้เท่านั้น
และคาดว่าต่อไปเมื่อพบคงจะทราบของแปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็นแน่
ต่อมาไทยเกิดบาดหมางกับญวน สู้รบกันในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓
และภายหลังญวนได้ได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสจึงทำให้ไทยเล็งเห็นถึงภัยที่จะมาจากเรือ
ต่างชาติ
พระองค์จึงรับสั่งให้สร้างป้อมขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราพร้อมกับเมืองอื่นๆ
อีกหลายเมืองในปี พ.ศ.
๒๓๗๗
เมืองฉะเชิงเทราจึงปรากฏหลักฐานเป็นเมืองคล้ายเมืองสมัยใหม่คือมีป้อมป้องกันแบบเมืองสมัยใหม่เพื่อทานแรงจากการยิงของปืนเรือศัตรูที่มาทางเรือ
ข้อนี้นับเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ควรจะเล็งเห็นถึงอดีตของกำแพงเมืองที่ยังอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษาเป็นอย่างดี
ป้อมเมืองหรือกำแพงเมืองฉะเชิงเทราสร้างขึ้นพร้อมกับวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์ซึ่งถือเป็นวัดหลวงในสมัยนั้น
เพื่อประกอบพิธีการต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๓๙๐ เกิดจลาจล "อั้งยี่"
พวกนี้เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามารับจ้างทำไร่
และเป็นกรรมกรในงานอื่นๆ เกิดมีความกำเริบยึดเมือง
และฆ่าเจ้าเมืองฉะเชิงเทราในครั้งนั้นคือ พระยาวิเศษฤาชัย (บัว)
มีผลให้บ้านเมืองฉะเชิงเทราร่วงโรยไประยะหนึ่ง
พอเข้าสู่ยุคการล่าอาณานิคมอย่างจงใจของชาติมหาอำนาจ
เมืองฉะเชิงเทราจึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย
เพื่อเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ในด้านทิศตะวันออกอีกครั้งหนึ่ง
เริ่มตั้งแต่การสร้างทางรถไฟมาถึงแปดริ้ว
และสร้างที่ว่าการมณฑลปราจีนไว้ในย่านเดียวกัน คือริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง
(ปัจจุบันคือศาลากลางไฟไหม้
สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๙)
สร้างกำลังทหารกองพล ๙ ขึ้นที่ตำบลโสธร (ค่ายศรีโสธรปัจจุบัน)
สร้างโรงเรียนตัวอย่างมณฑลปราจีน "ฉะเชิงเทรารังสฤษฎิ์"
(ปัจจุบันคือโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์)
การที่ต้องเร่งดำเนินการสร้างบ้านเมืองให้ทันสมัยก็เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนที่กำลังไม่แน่ใจในอธิปไตยของชาติ
เพราะชาติมหาอำนาจใช้นโยบายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคือ
คนในบังคับของสถานกงสุลไปขึ้นศาลกงสุลสำหรับคนต่างด้าวโดยเฉพาะ
ชาวจีนต่างก็สนใจที่จะไปเป็นคนในบังคับของต่างชาติ
และพร้อมกับเมื่อมีข่าวเรื่องการเสียดินแดนให้กับชาติมหาอำนาจบ่อยๆ ด้วย
จึงทำให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสต่อการปกครองของรัฐบาลไทยและเมืองฉะเชิงเทรานี้
ก็ได้เป็นตัวอย่างให้มณฑลอื่นๆ
มาดูแบบอย่างการปกครองที่ก้าวหน้าและมั่นคงในครั้งนี้ด้วย
จึงนับเป็นประวัติศาสตร์ที่
สมควรแก่การบันทึกให้เยาวชนชาวฉะเชิงเทราได้ภาคภูมิใจโดยถ้วนหน้าด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะได้ให้ทราบโดยทั่วกันคือ
ดินแดนเมืองฉะเชิงเทรานี้มีประชาชนที่รวมกันอยู่หลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม
แต่ทางราชการก็ได้ดำเนินการปกครองที่ก่อให้เกิดความกลมกลืนได้อย่างราบรื่นกล่าวคือ
แต่งตั้งปลัดเขมรขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง เรียกว่า
"พระกัมพุชภักดี"
เพื่อช่วยทางราชการปกครองคนไทยวัฒนธรรมเขมร
หรือตั้งปลัดจีนขึ้นมาช่วยปกครองคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินที่ฉะเชิงเทรามากขึ้นในขณะนั้น
และเรียกตำแหน่งปลัดจีนว่า "หลวงวิสุทธิจีนชาติ"
และถ้าเป็นระดับ นายอำเภอก็ตั้งเป็น "หมื่นวิจารณกฤตจีน"
เป็นต้น
สรุปว่า
เมืองฉะเชิงเทราได้คงความสำคัญของชาติบ้านเมืองมาแต่โบราณกาล
เมื่อเข้าสู่ยุคการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.
๒๔๗๕ การปกครองในระบบเทศาภิบาลที่เริ่มมาเมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๖ ก็ยุติลง เริ่มใช้ พ.ร.บ.
ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
๒๔๗๖และรัฐบาลก็กระจายอำนาจมายังส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ.
๒๔๙๕
จังหวัดฉะเชิงเทราได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งภาคมีเขตรับผิดชอบ ๘
จังหวัด ซึ่งเป็นการตั้งภาคครั้งสุดท้ายแล้วก็ยกเลิกไป
ในปัจจุบัน
ฉะเชิงเทรามี ๘ อำเภอ ๑ กิ่ง ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคราม
อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว และกิ่งอำเภอราชสาส์น
มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ แห่ง เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
เทศบาลตำบลบางคล้า สุขาภิบาล ๑๕ แห่ง และสภาตำบล ๘๙ ตำบล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๔ คน
มีกองพล ร.๑๑
ตั้งขึ้นเมื่อ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๒๔ ที่ตำบลบางตีนเป็ด อ.
เมือง จ. ฉะเชิงเทรา
ถือเป็นประวัติศาสตร์ด้านการทหาร ซึ่งในสมัยการล่าอาณานิคม
รัฐบาลก็ได้เคยขยายกำลังทหารระดับกองพลมาตั้งไว้ครั้งหนึ่งแล้วคือ กองพล ๙
ที่ได้กล่าวไปแล้วครั้งหนึ่ง มาปัจจุบันสถาน-การณ์ทางชายแดนตะวันออกส่อไปในทางไม่ปลอดภัย
รัฐบาลจึงเตรียมการไว้โดยไม่ประมาทซึ่งนับว่าเป็นขวัญและกำลังใจกับลูกแปดริ้วอีกส่วนหนึ่งด้วย
การศึกษาของจังหวัดนั้นนับว่าเคยได้รับการเหลียวแลอย่างจริงจังมาตั้งแต่สมัยปรับตัวเผชิญกับการล่าอาณานิคมแล้ว
ซึ่งนับว่าเป็นความโชคดีที่คนเมืองนี้สามารถรับรู้แนวความคิดเห็นใหม่ๆ
ได้อย่างสะดวกโดยไม่รู้สึกขัดกับระเบียบชีวิตของตน
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว ทาง องค์การยูเนสโก
ก็ยังใช้เมืองฉะเชิงเทราเป็นศูนย์ทดลองการศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๔๙๔
ซึ่งปัจจุบันสถานที่นี้ได้เป็นสำนักงานการศึกษาเขต ๑๒ ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์
บริเวณริมน้ำหน้าวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
นอกจากนั้นแล้วยังมีสถาบันชั้นสูงที่มีรากฐานจากการทดลองปรับปรุงการศึกษาในครั้งนั้น
ช่วยสร้างคนแปดริ้วให้มีคุณภาพพร้อมกันอีกหลายโรงเรียนหลายวิทยาลัย
ฐานเศรษฐกิจของจังหวัดนับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สมบูรณ์ยิ่งแห่งหนึ่งของประเทศไทยทีเดียว
เพราะทั้งเรือกสวนไร่นา การปศุสัตว์ เจริญรุดหน้าไปกว่าแหล่งอื่นเป็นอันมาก
_______________________________
ที่มา
:
อ.สุนทร คัยนันทน์.
หนังสือที่ระลึกเปิดศาลาประชาคมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระภูมิพลมหาราช.
ชลบุรี : กมลศิลป์การพิมพ์,
๒๕๓๑.
|