ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Chonburi
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดชลบุรี

ประวัติความเป็นมา

          ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรีซึ่งประกอบด้วย ๙ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา อำเภอบาง -ละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ่อทอง และกิ่งอำเภอเกาะสีชัง มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ ๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้ถ้าจะกล่าวถึงสภาพภูมิประเทศนับถอยหลังไปเพียงหลายๆ สิบปีเท่านั้น ก็คงจะแตกต่างกว่าปัจจุบันมาก สภาพที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ความเปลี่ยนแปลงตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งนับวันแต่จะตื้นเขินเป็นแผ่นดินเพิ่มขึ้นนั้นประการหนึ่ง และสภาพป่าเขาลำเนาไพรซึ่งเคยหนาทึบรกชัฏด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ก็กลายสภาพเป็นที่โล่งเตียน ทำนาทำไร่ มีเจ้าของจับจองจนแทบหมดสิ้นนั้นอีกประการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงใน ๒ ลักษณะสำคัญดังกล่าวนี้ ทำให้เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายว่า สภาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนยากที่จะคำนึงถึงสภาพชุมชนดั้งเดิมของชาวชลบุรีในสมัยโบราณ

          จากหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ภายในกรอบเนื้อที่ ๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ของเมืองชลบุรีในอดีต    เคยเป็นที่ตั้งชุมชนหรือเมืองโบราณที่เคยมีความเจริญ

รุ่งเรืองอยู่ ๒ เมือง และนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ

          เมืองศรีพะโร 

                    ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจดทะเลที่ตำบลบางทรายในปัจจุบัน เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลกคล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน ก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น เมืองศรีพะโรนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคนี้ อาจจะรุ่นราวคราวเดียวกับสมัยลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณ พ.. ๑๖๐๐–๑๙๐๐

          เมืองพระรถ

                เป็นเมืองโบราณยุคเดียวกันกับเมืองศรีพะโรหรือก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะปรากฏว่ามีทางเดินโบราณติดต่อกันได้ระหว่าง ๒ เมืองนี้ ในระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร และน่าเชื่อต่อไปว่าเมืองพระรถแห่งนี้คงอยู่ในสมัยเดียวกันกับเมืองพระรถหรือเมืองมโหสถ ที่ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในปัจจุบันอีกด้วย

          กำแพงเมืองพระรถ ตั้งอยู่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม ในปัจจุบันห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร เมื่อถนนสายชลบุรี-ฉะเชิงเทรา ตัดผ่าน ทำให้กำแพงเมืองถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เป็นด้านตะวันตกและตะวันออกของถนน สภาพที่เห็นปัจจุบันด้านตะวันออกเป็นไร่-นาไปหมดแล้วเหลือแต่ด้านตะวันตกเห็นเป็นฐานกำแพงเมืองก่อเป็นเนินดินและอิฐโบราณ สูงประมาณ ๖ ศอก หนา ๑๐ ศอก ยาว ๓๐ เส้น กว้าง ๒๕ เส้น ริมกำแพงเมืองด้านเหนือมีสระใหญ่เรียกว่า “สระฆ้อง”

          เมื่อ พ.. ๒๔๗๒ ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป “พระพนัสบดี” ได้ที่บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดำ เนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดอายุว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะเช่น พระพนัสบดีนี้มีอยู่ที่พิพิธ-ภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้

          พระพนัสบดี มีพระพุทธลักษณะแปลกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์ที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการจากประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นำโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมกันเข้าจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนาหรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้

          พระพนัสบดีที่ขุดพบนี้ สูง ๔๕ เซนติเมตร สมัยพระยาพิพิธอำพลเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

          นอกจากมีการขุดพบพระพนัสบดีแล้ว เมื่อ พ.. ๒๔๖๐ บริเวณหน้าวัดพระธาตุ มีคนขุดพบกรุพระพิมพ์เนื้อตะกั่ว สนิมแดง คราบไขขาว มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน สวรรคโลก พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรี เป็นพุทธศิลปสมัยทวารวดี พระเนตรโปนประหนึ่งตาตั๊กแตน ไม่ทรงเครื่องอลังการ พระเศียรไม่ทรงเทริด พระหัตถ์ขวาหงายทาบพระอุระ มีดอกจันทน์บนฝ่าพระหัตถ์ อาณาจักรพระเครื่องถวายนามว่า พระร่วงหน้าพระธาตุ มี ๒ พิมพ์ คือ ชายจีวรแผ่กว้าง และชายจีวรธรรมดา องค์พระสูง ๕ เซนติเมตร ชนิดชายจีวรแผ่กว้าง องค์พระกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ชนิดชายจีวรธรรมดา องค์พระกว้าง ๒ เซนติเมตร นับเป็นพระกรุที่เลื่องชื่อลือชาในอาณาจักรพระเครื่องยิ่งนัก

          นอกจากนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์ และพระพิมพ์เนื้อดินดิบขนาดใหญ่ บริเวณหน้าพระธาตุ วัดกลางคลองหลวง วัดห้วยสูบ ฯลฯ โบราณวัตถุที่ขุดพบ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวารวดีเช่นเดียวกับเมืองศรีพะโร แต่เมืองศรีพะโรนั้นไม่ปรากฏว่าได้พบพระพุทธรูปหรือกรุพระพิมพ์ เท่าเมืองพระรถหรือเมืองพนัสนิคม

          ตราบมาถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงมีชื่อเมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานทำเนียบ  ศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อมหาศักราช ๑๒๙๘ ตรงกับ พ.. ๑๙๑๙ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ออกชื่อเมืองชลบุรีเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้รักษาเมืองเป็นที่ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร นา ๒๔๐๐ ขึ้นประแดงอินทปัญญาซ้าย

          ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงชำระเรียบเรียงว่า

          เมื่อ พ.. ๑๙๒๗ ถึง ๑๙๒๙ รัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร กองทัพพระยากัมพูชายกเข้ามาถึงเมืองชลบุรี กวาดต้อนครอบครัวอพยพหญิงชายเมืองชลบุรีและเมืองจันทบูร คนประมาณ ๖-๗ พันคน ไปเมืองกัมพูชา

          เมื่อ พ.. ๒๑๓๐ รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทหารกัมพูชาก็ได้ยกทัพมากวาดต้อนครอบครัวเมืองชลบุรีไปอีกครั้งหนึ่ง

          จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.. ๒๓๑๐ ชาวจังหวัดชลบุรีได้ให้ความร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพอย่างใกล้ชิด จนสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมา

          จังหวัดชลบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จประพาสชลบุรีหลายครั้งหลายหนเพราะชลบุรีเป็นเมืองชายทะเล เหมาะแก่การพักผ่อน มีทัศนียภาพงดงามและไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครนัก

          ในจดหมายเหตุพระราชกิจประจำวัน จะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า รัชกาลที่ ๔--๖ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จประพาสชลบุรีเมื่อไร ทรงพระราชกรณียกิจใดๆ บ้างล้วนแต่เป็นพระราช-กรณียกิจพื้นฐานสร้างชลบุรีให้เจริญรุ่งเรืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.. ๒๓๕๐ พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่รัตนกวีของไทย ได้เดินทางจากกรุงเทพมหานครเพื่อไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ได้เขียนไว้ในนิราศเมือง แกลง กล่าวถึงเมืองต่างๆ เมื่อเข้าเขตจังหวัดชลบุรีแล้วไปตามลำดับจากเหนือไปใต้คือ บางปลาสร้อย หนองมน บ้านไร่ บางพระ บางละมุง นาเกลือ พัทยา นาจอมเทียน ห้วยขวาง หนองชะแง้ว (ปัจจุบันเรียกบ้านชากแง้ว อยู่ในเขตอำเภอบางละมุงซึ่งเป็นทางที่จะไปอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.. ๒๔๓๗ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักรที่เป็นหัวเมืองต่างๆ แบบโบราณที่แยกกันอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  กระทรวงกลาโหม   และกรมท่า   ดูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยากแก่การปกครอง

ดูแลให้ทั่วถึงและเสมอเหมือนกันได้ โดยให้หัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียวหรือหน่วยงานเดียว คือ การรวบรวมหัวเมืองทั้งหลายขึ้นเป็นมณฑลนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (.. ๒๔๓๕–๒๔๕๘) ได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน “พระบันทึกความทรงจำ” ซึ่งมีตอนที่กล่าวถึงเมืองชลบุรีไว้ว่า

          “รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือเมืองปราจีนบุรี ๑  เมืองนครนายก ๑  เมืองพนมสาร-คาม ๑  เมืองฉะเชิงเทรา ๑  รวม ๔ หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล ๑ เรียกว่า “มณฑลปราจีน” ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน (ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ว่าการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก ๓ เมือง รวมเป็น ๗ เมืองด้วยกัน) แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม”

          การปกครองหัวเมืองหรือที่รู้จักในปัจจุบันว่าเป็นราชการส่วนภูมิภาคนั้น ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมมาเป็นระบบมณฑลหรือระบบเทศาภิบาลจริงจัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา กล่าวคือ จากมณฑลแบ่งย่อยออกมาเป็นเมือง เป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองบังคับบัญชาเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามลำดับ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รวมมณฑลจัดตั้งขึ้นเป็นภาค โดยมีอุปราชเป็นผู้ปกครอง มีอำนาจเหนือ

ุหเทศาภิบาล มีด้วยกัน ๔ ภาค คือ ภาคพายัพ ภาคปักษ์ใต้ ภาคอีสาน และภาคตะวันตก สำหรับภาคกลางให้คงเป็นมณฑลอยู่อย่างเดิม เรียกว่า มณฑลอยุธยา มีอุปราชปกครองแทนสมุหเทศาภิบาล การปกครองหัวเมืองแบบแบ่งเป็นภาคและมีตำแหน่งอุปราชเช่นว่านี้ ได้ยกเลิกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ โดยกลับไปใช้ในลักษณะเป็นมณฑลอย่างเดิมในลักษณะที่มีจำนวนมากขึ้นจนสูงสุดถึง ๒๐ มณฑล และภายใน ๑๐ ปีต่อมา คือก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ยุบและยกเลิกหลายๆ มณฑลลง เหลือเพียง ๑๐ มณฑลเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีรายชื่อมณฑลปรากฏอยู่ในระบบการปกครองหัวเมืองครั้งนั้น ดังนี้ คือ (๑) มณฑลพิษณุโลก (๒) มณฑลปราจีนบุรี (๓) มณฑลนครราชสีมา (๔) มณฑลราชบุรี (๕) มณฑลนครชัยศรี (๖) มณฑลนครสวรรค์ (๗) มณฑลกรุงเก่า (ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) (๘) มณฑลภูเก็ต (๙) มณฑลนครศรีธรรมราช (๑๐) มณฑลชุมพร (๑๑) มณฑลไทรบุรี (๑๒) มณฑลเพชรบูรณ์ (๑๓) มณฑลพายัพ (๑๔) มณฑลอุดร (๑๕) มณฑลอีสาน (๑๖) มณฑลปัตตานี (๑๗) มณฑลจันทบุรี (๑๘) มณฑลอุบล (๑๙) มณฑลร้อยเอ็ด และ (๒๐) มณฑลมหาราษฎร์ (แยกจากมณฑลพายัพ)

          ที่กล่าวถึงเรื่องของมณฑลมาค่อนข้างยืดยาว ก็เพียงเพื่อจะชี้ให้เห็นนิดเดียวว่าเมืองชลบุรี คือ เมืองๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนมาตั้งแต่ ๒๔๓๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕

อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ในสาระยิ่งขึ้น ก็คงจะเว้นเสียมิได้ที่จะต้องสรุปความเป็นมาของจังหวัดชลบุรีไว้ตามลำดับดังนี้

ยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา

                มีเมืองศรีพะโร และเมืองพระรถ ตั้งอยู่แล้ว โดยปัจจุบันยังมีหลักฐานความเป็นเมืองบางอย่างปรากฏอยู่

ยุคกรุงศรีอยุธยา

                    เมืองศรีพะโร และเมืองพระรถ อาจเสื่อมไปแล้วและมีชุมชนที่รวมกันอยู่หลายจุดในลักษณะเป็นบ้านเมือง อาทิ บางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ บางละมุง ฯลฯ เป็นต้น

ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงแรก (ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๐ หรือ ร.ศ. ๑๑๕) ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ออกมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชุมชนใหญ่ๆ นอกกรุงเทพมหานคร เรียกว่าเมือง  มีเจ้าเมืองปกครอง เป็นเมืองๆ ไปไม่ขึ้นแก่กัน ในช่วงนี้จังหวัดชลบุรียังไม่เกิด แต่ได้มีเมืองต่างๆ ใน

พื้นที่เกิดขึ้นแล้วคือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง

ช่วงสอง  (หลัง พ.ศ. ๒๔๔๐–๒๔๗๕) ได้มีอำเภอเกิดขึ้น เมืองใหญ่ๆ ยังคงเป็นเมืองอยู่ ส่วนเมืองเล็กๆ ให้ยุบเป็นอำเภอไปขึ้นอยู่กับเมือง โดยมีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา  สูงสุดของเมือง ขณะนั้นคำว่าจังหวัดมีใช้อยู่แห่งเดียวในราชอาณาจักร คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ปรากฏเรียกใน พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๒) เข้าใจว่า   คำว่าเมืองชลบุรีมีชื่อเรียกกันในช่วงนี้ โดยมีอำเภอบางปลาสร้อย (ที่ตั้งตัวเมือง) อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม อำเภอบางละมุง อยู่ในเขตการปกครองในระยะต้น และในระยะหลังปี ๒๔๖๐ ก็มีอำเภอ ศรีราชา กิ่งอำเภอเกาะสีชัง กิ่งอำเภอบ้านบึง เกิดขึ้นรวมอยู่ในเขตเมืองชลบุรีตามมา

ช่วงสาม (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕–ปัจจุบัน) เป็นระยะที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปการปก-ครองประเทศครั้งใหญ่ โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบเมืองทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีเดิมก็กลายเป็นจังหวัดชลบุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ (แต่เปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด) โดยมีอำเภอและกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วตามลำดับ คือ ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านบึงเป็นอำเภอบ้านบึง พ.ศ. ๒๔๘๑ กิ่งอำเภอสัตหีบเป็นอำเภอสัตหีบ พ.ศ. ๒๔๙๖ กิ่งอำเภอหนองใหญ่เป็นอำเภอหนองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๒๔ และตั้งกิ่งอำเภอบ่อทอง พ.ศ. ๒๕๒๑

เหตุการณ์สำคัญ

๑. ในหนังสือ ชลบุรีภาคต้นของกรมศิลปากร พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๓ หน้า ๗–๑๐ ได้บรรยายถึงชลบุรีสมัยกู้ชาติไว้ดังนี้

เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมใน พ.ศ. ๒๓๐๙ กรมหมื่นเทพพิพิธพยายามเกลี้ย-กล่อมชาวหัวเมืองตะวันออก ตั้งแต่เมืองจันทบุรีตลอดถึงปราจีนบุรีเข้ากองทัพด้วยหวังว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ชาวชลบุรีก็เต็มใจสนับสนุน พาสมัครพรรคพวกเข้ากองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอันมาก จนแทบจะทิ้งให้ชลบุรีเป็นเมืองร้าง ขณะนั้นพระยาแม่กลอง (เสม) เป็นข้าหลวงออกไปเร่งส่วยหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก พักค้างอยู่เมืองชลบุรี ไม่ยินดีเข้าร่วมมือในกรมหมื่นเทพพิพิธ พยายามรักษาเงินส่วยที่เก็บรวบรวมได้มานั้นแอบแฝงหลบภัยอยู่ในชลบุรี ครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธยกกองทัพไปตั้งมั่นที่เมืองปราจีนบุรีบอกเข้าไปยังกรุงให้กราบบังคมทูลขออาสาเป็นผู้ป้องกันพระนคร ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชดำริเห็นว่า กรมหมื่นเทพพิพิธทำการซ่องสุมกำลังโดยบังอาจ แล้วยังทนงเอื้อมเข้าไปขอป้องกันกรุงด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง ชะรอยจะมีความไม่สุจริตเคลือบแฝงอยู่ด้วย จึงโปรดให้กองทัพออกไปปราบ กรมหมื่นเทพพิพิธกลับต่อสู้กองทัพกรุง รบบุกบั่นผลัดกันแพ้ชนะ จนกำลังย่อยยับลงทั้งสองฝ่าย ครั้นพม่าล้อมกรุงกระชั้นชิดมั่นคงแล้ว ได้ทราบว่ากรมหมื่นเทพพิพิธยังตั้งทัพประจัญอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี พม่าจึงส่งกองทัพออกไปตีเพราะทัพกรมหมื่นเทพพิพิธบอบช้ำอยู่แล้ว ถูกกองทัพพม่าซ้ำเติมจึงพาลแตกเอาง่ายๆ ผู้คนล้มตายมากต่อมาก ที่ยังเหลือก็กระจัดพรัดพรายไม่เป็นส่ำ เหตุการณ์ครั้งนั้น ได้ทำให้เมืองฉะเชิงเทราและเมืองชลบุรีต้องร้างอยู่ชั่วคราว

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระยากำแพงเพ็ชร ทรงพาพรรคพวกออกไปหากำลังทางหัวเมืองภาคตะวันออก เดินทางผ่านเมืองชลบุรีซึ่งขณะนั้นว่างร้างเสียแล้ว เสด็จเลยไปประทับแรมบางละมุง และเสด็จต่อไปยังเมืองระยอง ในระหว่างประทับอยู่ที่เมืองระยอง กรมการเมืองระยองมีขุนราม หมื่นซ่อง เป็นหัวหน้าคิดประทุษร้ายยกพวกลอบมาปล้นค่ายในเวลากลางคืน สมเด็จพระเจ้าตากสินต่อสู้ป้องกัน ปราบพวกคิดร้ายแตกกระจายไป แต่พวกนั้นยังไม่เลิกพยายามที่จะคิดกำจัด จึงแยกออกเป็น ๒ หน่วย ขุนราม หมื่นซ่อง คุมหน่วยหนึ่ง ไปตั้งระหว่างทางจากระยองไปเมืองจันทบุรี นายทองอยู่ นกเล็ก คุมหน่วยหนึ่ง เล็ดลอดมาตั้งซ่องสุมอยู่บางปลาสร้อยเมืองชลบุรี ทั้งสองหน่วยนี้  คงจะมุ่งหมายช่วยกันตีกระหนาบกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินรีบเสด็จไปทำลายกำลังขุนราม หมื่นซ่องเสียก่อน แล้วเสด็จวกกลับมาเมืองชลบุรีเพื่อจะปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ให้สิ้นฤทธิ์ (บริเวณที่ตั้งค่ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินครั้งนั้น บัดนี้ก็ยังเรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน และชื่อสะพาน คือบ้านในค่าย, สะพานหัวค่าย) ฝ่ายนายทองอยู่ นกเล็ก ยอมอ่อนน้อมโดยดี จึงโปรดให้ช่วยรักษาเมืองชลบุรี เพื่อราษฎรจะได้ตั้งทำมาหากินเป็นกำลังแก่บ้านเมืองต่อไป และคอยช่วยปราบพวกสลัดซึ่งเวลานั้นชุกชุมที่สุด ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้ามีใครสมัครจะไปเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน ให้นายทองอยู่ นกเล็ก ช่วยสนับสนุน อย่ากีดกันเป็นอันขาด เมื่อทรงจัดที่ชลบุรีเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินก็เสด็จยกทัพไปยังเมืองระยอง แล้วต่อไปยังเมืองจันทบุรี ตั้งรวบรวมกำลังอยู่อย่างรีบร้อน ฝ่ายนายทองอยู่ นกเล็ก ชั้นต้นก็ปฏิบัติตามพระบัญชา แต่ต่อมากลับเหลวไหลเป็นใจด้วยพวกสลัด และคอยขัดขวางมิให้ใครๆ ไปสมัครเข้ากองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินโดยสะดวก ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงตระเตรียมกำลังได้เพียงพอสำหรับยกกลับไปปราบพม่าที่ยึดกรุงเก่าแล้วก็เคลื่อนกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ตรวจกวาดล้างสลัดทะเลฝั่งตะวันออกตลอดมาถึงชลบุรี ได้ความว่า นายทองอยู่ นกเล็ก และพวกกลับประพฤติการร้าย หากำลังโดยทุจริต มิได้คิดปลูกเลี้ยงชาวเมืองให้เป็นปึกแผ่นตามสมควรแก่หน้าที่ซึ่งทรงมอบหมายไว้ จึงโปรดให้ปลดนายทองอยู่ นกเล็ก และพวกออกหมดแต่จะทรงพระกรุณาให้ผู้ใดรักษาเมืองแทนต่อจากนายทองอยู่  นกเล็ก ยังไม่ได้ความ มาปรากฏเมื่อตอนสิ้นรัช-กาลสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า พระยาชลบุรี [บุตรเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ต้นสกุล สมุทรานนท์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีคนแรกสมัยกรุงธนบุรี] เป็นผู้รักษาเมือง

ข้อที่น่ายินดีสำหรับชาวชลบุรีครั้งนั้น ก็คือได้มีส่วนเข้ากองทัพทำการรบกู้ชาติไทยเป็นประวัติอันเพียบพร้อมด้วยเกียรติยศอันสูงสุด ที่บุตรหลานชาวชลบุรีจะพึงระลึกถึงด้วยความปลาบปลื้ม และช่วยกันรักษาไว้ให้เป็นคุณแก่ชาติบ้านเมืองทุกเมื่อ

จากข้อเขียนนี้มีหลักฐานปรากฏชัด

(๑) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำทัพผ่านชลบุรีไปประทับแรมเมืองบางละมุง แล้วมุ่งไปเมืองระยอง กรมการเมืองระยองมีขุนราม หมื่นซ่อง เป็นหัวหน้า แบ่งกำลังเป็น ๒ ฝ่าย โดยขุนราม หมื่นซ่องนำพวกปล้นค่ายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่เมืองระยองเวลากลางคืน ให้ นายทองอยู่ นก-เล็ก มาซ่องสุมผู้คนที่เมืองชลบุรีเพื่อตีกระหนาบทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทำลายกำลังขุนราม หมื่นซ่องได้แล้ว จึงยกมาปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ทรงตั้งค่ายที่บ้านในค่ายและสะพานหัวค่าย นายทองอยู่ นกเล็ก อ่อนน้อมแต่โดยดี จึงตั้งให้รักษาเมืองชลบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จกลับเมืองระยอง ไปเมืองจันทบุรี เพื่อรวบรวมกำลังปราบปรามพม่าที่ยึดกรุงศรีอยุธยาอยู่ เมื่อจะกลับกรุงศรีอยุธยา ทรงทราบว่า นายทองอยู่ นกเล็ก ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ประกอบมิจฉาชีพ จึงสั่งให้ลงโทษนายทองอยู่ นกเล็ก กับพวก

(๒) นายทองอยู่ นกเล็ก เป็นพวกขุนราม หมื่นซ่อง อยู่เมืองระยอง ไม่ใช่คนเมืองชล ลูกเมืองชล เป็นคนไม่ซื่อสัตย์สุจริต ประกอบมิจฉาชีพ มีความมักใหญ่ใฝ่สูง จึงถูกสำเร็จโทษ

(๓) เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงลงโทษนายทองอยู่ นกเล็ก แล้วโปรดแต่งตั้งพระยาชลบุรีรักษาเมือง สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงสันนิษฐานว่า พระยาชลบุรีเป็นบุตรเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ชื่อ “หวัง” เป็นคนเข้มแข็ง รักษาเมือง ออกปราบเหล่ามิจฉาชีพ ในรัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาชลบุรีเป็นพระยาราชวัง-ัน

          ๒. เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาล ประสูติพระโอรส ณ พระตำหนักบนเกาะสีชัง พระราชทานนามว่า “เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” และขนานนามที่เกาะสีชังว่า “พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน” ขนานนามพระอารามซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างขึ้นใหม่ว่า “วัดจุฑาธุชธรรมสภา”

          เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามสมควรแก่พระเกียรติยศเจ้าฟ้า พระนามพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามว่า  “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์-อินทราชัย” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย)

 ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : โรงพิมพ์การพิมพ์แสนสุรัติแห่ง

        ตะวันออก, ๒๕๒๘.

 

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์