ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Lopburi
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดลพบุรี

ลพบุรีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ดินแดนซึ่งเป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานคือโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับทำด้วยดินเผา หิน สัมฤทธิ์ เหล็ก ทองแดง กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และแก้วของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกสำโรง อำเภอ    ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม หลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าวส่วนใหญ่พบอยู่ตามเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ไม่ไกลจากภูเขา และมีทางน้ำไหลผ่านเฉพาะส่วนน้อยเท่านั้นที่พบอยู่ตามถ้ำในภูเขา

สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีผู้ให้คำจำกัดความว่าเป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษร   ขึ้นใช้ ต่อเมื่อมนุษย์รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แล้วจึงเรียกว่าเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุสมัยก่อน   ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้รับการศึกษาว่ามีอายุเก่าแก่ก่อน ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงราว พ.. ๑๐๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่อายุตัวอักษรแบบเก่าสุดได้ค้นพบในดินแดนนี้

การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่เป็นมา ได้แบ่งออกเป็นยุคตามลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ที่พบ กล่าวคือ

ยุคหินเก่า                        เป็นยุคเก่าสุด มนุษย์ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ

ยุคหินกลาง                      มนุษย์รู้จักใช้ขวานหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น

ยุคหินใหม่                        มีเครื่องมือทำด้วยหินที่ได้รับการขัดฝนเป็นอย่างดี

ยุคโลหะ                          มีเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ เหล็ก และทองแดง

ปัจจุบัน การศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อลักษณะการดำรงชีพของมนุษย์ในสมัยนั้น จึงได้มีการแบ่งยุคออกเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม (Non-Agricultural Society) และสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยอาจจะสรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่า ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่ดั้งเดิมยุคหินเก่าและยุคหินกลางเป็นสังคมก่อนเกษตรกรรม ส่วนมนุษย์ยุคหินใหม่และยุคโลหะจัดเป็นพวกสังคมเกษตรกรรมรู้จักเพาะปลูก ทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า

หลักฐานมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรี ที่พบเก่าสุดได้แก่ขวานหินกะเทาะที่ศาสตราจารย์ ฟริทซ์ สารสิน นักโบราณคดีชาวสวิส ได้สำรวจพบจากถ้ำกระดำ (กระดาน) ตำบลเขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ เมื่อ พ.. ๒๔๗๕ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องมือมนุษย์ยุคหินกลาง หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคต่อมาคือยุคหินใหม่ได้ค้นพบเครื่องมือขวานหินขัดของมนุษย์ยุคหินใหม่มากมายกระจัดกระจายเกือบทุกอำเภอในจังหวัดลพบุรี และได้รับการขุดค้นแล้วนั้นคือที่ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกสำโรง ใน พ.. ๒๕๐๙ และ พ.. ๒๕๑๐ ที่สำคัญก็คือพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่พร้อมเครื่องใช้และพบว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในแหล่งดังกล่าวรู้จักใช้ภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่พบที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาญจนบุรี

การขุดค้นอีกครั้งหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดลพบุรีก็คือการค้นพบหลักฐาน มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ พบกระจัดกระจายมากมาย ที่ได้รับการขุดค้นและกำหนดอายุได้นั้นคือการขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะในศูนย์การทหารปืนใหญ่ โดยกรมศิลปากรใน พ.. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ กำหนดอายุจากเศษเครื่องปั้นดินเผาได้ ๗๐๐ ปี ก่อน ค.. ๑๖๖ มนุษย์พวกนี้รู้จักทอผ้าใช้มีเครื่องประดับกาย เช่น แหวน กำไล ลูกปัด ทำด้วยสัมฤทธิ์ แก้วและหินมีเทคโลโลยีสูงในเรื่องการโลหะกรรม

หากกำหนดโดยลักษณะการดำรงชีพจะพบว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่เขตจังหวัดลพบุรีจะมีทั้งเป็นพวกสังคมสมัยก่อนเกษตรกรรม คือ ยุคหินกลางและสังคมสมัยเกษตรกรรม คือยุคหินใหม่และยุคโลหะ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยสำหรับจังหวัดลพบุรีที่ได้ค้นพบหลักฐานของการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด

ลพบุรีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘)

เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘  มีไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ

ในระยะ ๘ ศตวรรษของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็นคาบต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลทางด้านภาษา ศิลปกรรม ตำนาน และจดหมายเหตุจีนได้ ดังนี้

ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ มีหลักฐานไม่มากนักที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องเมืองลพบุรีในระยะพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕  กล่าวคือ พงศาวดารเหนือกล่าวถึงพระยากาฬวรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.. ๑๐๐๒ ปีที่พระองค์ครองราชย์ใช้เวลาสร้าง ๑๙ ปี แต่เรื่องดังกล่าวคงจะต้องหาหลักฐานอื่นมาสอบเทียบ เพราะพงศาวดารเหนือเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ห่างจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงหลายศตวรรษ รวมทั้งข้อความในพงศาวดารส่วนใหญ่ค่อนข้างสับสน ทั้งศักราชก็คลาดเคลื่อนอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีตำนานและภาษาบาลีเหนือเขียนขึ้นราว ๕๐๐ ปีเศษมาแล้ว เนื้อเรื่องไม่สับสน ศักราชเชื่อถือได้และถูกนำมาใช้อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางคือตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงฤษีวาสุเทพได้สร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ใน พ.. ๑๒๐๔ ต่อมาอีก ๒ ปี (.. ๑๒๖๐) ได้ส่งทูตล่องไปตามแม่น้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้มาปกครองกษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดาให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน

หลักฐานที่มีอายุในศตวรรษดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเมืองลพบุรีอีกคือการค้นพบศิลาจารึกที่สำคัญ ๓ หลัก คือ

๑.     จารึกหลักที่ ๑๘ จารึกบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) เป็นจารึกเนื่องในพุทธศาสนาภาษามอญโบราณ ลักษณะของเสาแปดเหลี่ยมเป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบหลังคุปตะของอินเดีย ศาสตราจาย์ยอร์ซ เซเดส์ นักปราชญ์ทางด้านความรู้เกี่ยวกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ หรือ ๑๔

๒.    จารึกหลักที่ ๑๖ จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต กล่าวถึง “นายกอารุซวะ เป็นอธิบดีแก่ชาวเมืองตังคุร และเป็นโอรสของพระราชาแห่งศามพูกะ ได้สร้างรูปพระมุนีองค์นี้” เมืองตังคุรและเมืองศามพูกะนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่าอยู่ที่แห่งใด แต่คงอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศไทยเพราะลักษณะพระพุทธรูปที่พบเป็นศิลปแบบที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย

๓.     จารึกภาษาบาลีบนเสาแปดเหลี่ยมพบที่เมืองโบราณซับจำปา อำเภอชัยบาดาล มี    ข้อความคัดลอกจากคัมภีร์พุทธสาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓

สำหรับศิลปกรรมที่พบในจังหวัดลพบุรีที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ นั้น เป็นศิลปกรรมทางด้านพุทธศาสนาที่เก่าสุดแบบหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งคงได้รับอิทธิพลศิลปกรรมอินเดียแบบคุปตะและแบบหลังคุปตะ (ศิลปะอินเดียวภาคกลางและภาคตะวันตก อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๓) ชื่อเรียกศิลปกรรมแบบดังกล่าวได้เรียกว่าศิลปะแบบทวารวดี บัดนี้มีผู้เสนอให้เรียกว่า ศิลปมอญแบบภาคกลางประเทศไทย เพราะชาวมอญเป็นผู้กำเนิดเอกลักษณ์ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้น ชนิดของศิลปกรรม ได้แก่ พระพุทธรูป พระธรรมจักรกวางหมอบ เศียรอสูร หรือเทวดา และปติมากรรมตกแต่งสถูป เท่าที่พบแกะสลักจากหินปูนและทำด้วยปูนปั้น

จึงสรุปด้วยว่าเมื่อเข้าสู่สมัยทางประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๕ ลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับอำนาจและขอเชื้อสายไปปกครอง สังคมเดิมแบบก่อนประวัติศาสตร์คือสังคมเผ่าได้เปลี่ยนเป็นสังคมเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง มีภาษาที่ใช้คือภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และภาษามอญโบราณ ประชาชนนับถือพุทธศาสนา

ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ หลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเมืองลพบุรีมีมากขึ้นถ้าได้เปรียบเทียบกับใน ๕ ศตวรรษแรก หลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ จารึกซึ่งค้นพบทั้งในประเทศไทย กัมพูชาประชาธิปไตย และหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน

สำหรับหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานพบในเมืองลพบุรี ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ มีความสำคัญช่วยสนับสนุนหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น

จากหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏอาจจะกล่าวได้ว่า ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๘ ลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรกัมพูชาเป็นครั้งคราว รวมทั้งได้ยอมรับเอาศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพระนคร กล่าวคือ

ได้ค้นพบศิลาจารึกภาษาขอมที่เมืองลพบุรีที่สำคัญคือ จารึกหลักที่ ๑๙ พบที่ศาลสูง (ศาลพระกาฬ) ระบุศักราช ๙๔๔ ตรงกับ พ.. ๑๕๖๕ มีข้อความกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์ พ.. ๑๕๕๕ - ๑๕๙๓) มีประกาศให้บรรดานักบวชอุทิศกุศลแห่งการบำเพ็ญตะบะของตนถวายแด่    พระองค์ และออกพระราชกำหนดเพื่อป้องกันมิให้นักบวชเหล่านั้นถูกรบกวนภายในอาวาสของตน   นอกจากนั้นพบจารึกหลักที่ ๒๑ ที่ศาลเจ้าลพบุรี ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นจารึกภาษาเขมร จารึกขึ้นเพื่อให้ทราบถึงสิ่งของต่างๆ ที่อุทิศถวายแด่เทวรูปพระนารายณ์ในโอกาสที่มีการทำพิธีฉลองเทวรูป จารึกหลักนี้ออกชื่อเมือง “โลว” คือเมืองละโว้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าที่เมืองละโว้มีผู้นับถือไวษณพนิกายของศาสนาฮินดูด้วย

การตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ.. ๑๖๕๘ และ พ.. ๑๖๙๘ ละโว้ส่งทูตไปจีน ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ให้ข้อสังเกตว่า พ.. ๑๖๕๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวแรก พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรกัมพูชา (ครองราชย์ราว พ.. ๑๖๕๖ - ราว ๑๖๙๓) เพิ่งครองราชย์ได้เพียง ๒ ปี คงจะเป็นสมัยที่พระองค์ยังไม่มีอำนาจมั่นคงนัก ลพบุรีจึงเป็นนครอิสระส่งทูตไปจีนได้ และใน พ.. ๑๖๙๘ ปีที่ละโว้ส่งทูตไปจีนคราวหลังพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สวรรคตแล้ว การส่งทูตไปเมืองจีนอาจจะเป็นความพยายามของละโว้ที่จะตัดความสัมพันธ์ฐานเป็นประเทศราชของอาณาจักรกัมพูชา

เรื่องที่ละโว้ส่งทูตไปจีนนี้ได้รับการขยายความให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น เมื่อค้นพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองที่จังหวัดนครสวรรค์ มีศักราชตรงกับ พ.. ๑๗๑๐ ระบุเรื่องราวราชวงศ์ศรีธรรมา    โศกราช ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มกล่าวกันว่า เป็นราชวงศ์อิสระในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลงความเห็นว่าคงเป็นราชวงศ์ปกครองเมืองลพบุรี จึงได้มีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชนั้นเองที่เป็นผู้พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากอาณาจักรกัมพูชา

หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองลพบุรีอีกคือ ปรากฏภาพสลักนูนต่ำทหารละโว้บนผนังระเบียงปราสาทนครวัตซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้า     สุริยวรมันที่ ๒ คู่กันกับภาพทหารสยาม โดยทหารละโว้มีนายทัพเป็นแม่ทัพขอม แสดงถึงอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาที่มีเหนืออาณาจักรละโว้ในขณะนั้น จารึกปราสาทพระขรรค์ พ.. ๑๗๓๔ ตรงกับ    รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์ พ.. ๑๗๒๔ - ราว ๑๗๖๒) กล่าวถึงเมืองลโวทยะปุระซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๒๓ เมืองที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้พระราชทานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็น    พระพุทธรูปฉลองพระองค์ไปประดิษฐาน นอกจากนั้นในจดหมายเหตุจีนของ เจา ซู กัว แต่งขึ้นใน พ.. ๑๗๖๘ กล่าวว่า ละโว้เป็นประเทศราชประเทศหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา

อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาต่อเมืองละโว้และประเทศราชอื่นๆ ลดน้อยลงหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ กล่าวว่า ในคริสศตวรรษที่ ๑๓ (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙) กัมพูชาเริ่มประสบความลำบากเนื่องจากได้ขยายเขตออกไปมากเกินไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีภาระหนักในศตวรรษที่ ๑๒ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘) เพราะประชาชนถูกกษัตริย์ยิ่งใหญ่ ๒ พระองค์ ซึ่งเป็นทั้งนักรบและนัก     ก่อสร้างเกณฑ์ไปใช้ กอปรกับได้ถูกพวกจับปารุกรานเมื่อ ค.. ๑๑๗๗ (.. ๑๗๒๐) กัมพูชาจึงอ่อนแอลงจนถึงกับเข้าสู่ยุคไม่มีขื่อไม่มีแป เมืองขึ้นและประเทศราชของกัมพูชาสามารถแข็งเมืองใน พ.. ๑๘๓๙ โจว ตา กวน ทูตจีนได้ไปเยือนอาณาจักรกัมพูชาและได้เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับประเพณีของอาณาจักรกัมพูชชา มีข้อความหลายแห่งกล่าวถึงบทบาทของชาวสยามที่มีต่อาณาจักรกัมพูชา ทั้งทางด้านการทำสงครามศาสนาและเศรษฐกิจ

หลักฐานทางด้านโบราณวัตถุสถานที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ปรางค์แขกเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมได้รับการกำหนดอายุว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ต่อจากนั้นได้ค้นพบเศียรพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเทวรูป ศิลปขอมแบบต่างๆ ที่เมืองลพบุรี มีอายุไล่เรี่ยกันมาคือ แบบบาปวน (อายุราว พ.. ๑๕๕๓ - ๑๖๒๓) แบบนครวัต (อายุราว พ.. ๑๖๔๓ - ๑๗๑๕) และแบบบายน (อายุราว พ.. ๑๗๒๐ - ๑๗๗๓) พระปรางค์สามยอดศาสนสถานที่สำคัญและเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองลพบุรีมีแบบและผังเป็นสถาปัตยกรรมขอมแบบบายน

ศิลปกรรมแบบต่างๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ามีการนับถือพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับศาสนาพราหมณ์ และที่สำคัญคือขอมคงนำพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาฝังรากให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในที่ราบภาคกลางประเทศไทยจึงได้ค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม

ลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - .. ๑๘๙๓

ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เกิดความอ่อนแอภายในอาณาจักรกัมพูชาทำให้รัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าละโว้ได้ต่อสู้เพื่อเป็นเอกราชตั้งแต่เมื่อใด ถ้าได้เปรียบเทียบกับสุโขทัยซึ่งมีหลักฐานว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวได้ร่วมมือกันขับไล่ “ขอมสมาดโขลญลำพง” ขุนนางขอมออกไปจากอาณาจักรได้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แต่ความอ่อนแอภายในของอาณาจักรกัมพูชาเอง จึงอาจจะกล่าวได้ว่าละโว้คงหลุดพ้นจากอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรขอมในศตวรรษเดียวกับสุโขทัย

เมื่ออิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาหมดไป เกิดรัฐต่างๆ ที่มีบทบาทของตัวเองขึ้นทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลางประเทศไทย ที่สำคัญคือรัฐพะเยา รัฐเชียงใหม่ รัฐสุโขทัย รัฐละโว้ รัฐต่างๆ เหล่านี้มีรูปการปกครองแบบนครรัฐ มีอาณาเขตในการปกครองไม่กว้างขวางมากนักและมีหลักฐานว่าได้เป็นไมตรีกันในระยะแรกๆ เช่น ตำนานทางภาคเหนือกล่าวถึงการร่วมปรึกษาหารือกันในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ระหว่างผู้ปกครอง รัฐพะเยา รัฐสุโขทัย และรัฐเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงพระยางำเมืองและพระร่วงเคยไปเรียนในสำนักพระสุกทันตฤษี ณ กรุงละโว้ เป็นต้น

ลพบุรีในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นรัฐอิสระเช่นเดียวกับเชียงใหม่และสุโขทัย ทั้งนี้มีหลักฐานที่สำคัญคือในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงอาณาเขตสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง (ครองราชย์ราว พ.. ๑๘๒๒ - ราว ๑๘๔๒) ทางทิศใต้ว่ามีเมืองคณฑี (อยู่ใกล้กำแพงเพชร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรีหรืออ่างทอง) เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าเว้นกล่าวถึงเมืองลพบุรีเมืองใหญ่ซึ่งอยู่ทางใต้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีการทำสัญญาเป็นมิตรกันระหว่างสุโขทัยกับลพบุรี เช่นเดียวกับสุโขทัยได้ทำกับเมืองน่านใน พ.. ๑๘๓๐ นอกจากนี้ในจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงละโว้ส่งทูตไปจีนใน พ.. ๑๘๓๒ และ พ.. ๑๘๔๒ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระของรัฐลพบุรีในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙

ราชวงศ์หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้ปกครองเมืองลพบุรี ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ยังขาดหลักฐานที่หนักแน่นเพื่อไขความกระจ่างแจ้งอยู่มาก นอกจากในตำนานภาคเหนือกล่าวถึงพระรามาธิบดีผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นกัมโพชและอโยชณปุระกับเรื่องพระรามาธิบดีกษัตริย์อโยชณปุระเสด็จมาจากกัมโพชทรงยึดเมืองชัยนาท เป็นที่ยอมรับกันว่าพระรามาธิบดีในตำนานภาคเหนือหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นที่อยุธยาใน พ.. ๑๘๙๓ แคว้นกัมโพช    หมายถึงลพบุรีและอโยชณปุระหมายถึงอยุธยา จะเห็นได้ว่าตำนานภาคเหนือกล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เมืองลพบุรี และเมืองอยุธยา และทราบต่อมาว่าเมื่อสมเด็จพระรามา  ธิบดีที่ ๑ ครองอยุธยาแล้ว ได้โปรดให้พระราชบุตรคือพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองลพบุรี อาจจะเป็นได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ครองเมืองลพบุรีมาก่อนแล้วจึงได้เสด็จย้ายไปครองเมืองอยุธยาและจึงให้พระราเมศวรครองเมืองลพบุรีแทน  เรื่องดังกล่าวอาจจะสัมพันธ์กับข้อสังเกตของศาสตราจารย์     ยอร์ช เซเดส์ ทว่าอุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยาตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรต่างกับ      อุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์สุโขทัย สำหรับกษัตริย์สุโขทัยโปรดให้ค้าขายได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมภาษีเก็บพอประมาณ การเกณฑ์คนก็เป็นไปตามส่วนกำลังที่มีและไม่ใช้แรงคนชรา มรดกก็ยอมให้ตกทอดไปยังทายาทได้เต็มที่ ไม่มีการชักประโยชน์ไว้สำหรับกษัตริย์ แต่สำหรับกษัตริย์อยุธยาเป็นเทพเจ้าบนพิภพเช่นเดียวกับที่กัมพูชาหรือมิฉะนั้นอย่างน้อยก็เป็นเสมือนพระพุทธองค์ที่ยัง      พระชนม์ชีพอยู่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ จึงสรุปไว้ว่าราชวงศ์สยามวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตมาทั้งหมดน่าจะเป็นได้ว่าเพราะระบอบกษัตริย์ของสยามใหม่นี้ได้เกิดขึ้นในแวดวงที่ได้รับอารยธรรมเขมร เมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้รับมรดกระบอบกษัตริย์จากนครวัตอย่างเต็มที่นั้นควรจะเป็นที่เมืองลพบุรี

การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองลพบุรีไปอยุธยานั้นคงเกี่ยวเนื่องกับความ     เหมาะสมของอยุธยาในทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ กล่าวคืออยุธยาตั้งอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าออกไปจนถึงเมือง นอกจากนั้นทำเลที่ตั้งอยุธยาอยู่ในจุดที่สามารถควบคุมเมืองใหญ่ใกล้เคียง เช่น เมืองสุพรรณบุรี เพชรบุรีได้ง่าย

เมื่อมีการสถาปนาอยุธยาใน พ.. ๑๘๙๓ แล้ว เมืองลพบุรีมีฐานะกลายเป็นเมืองลูกหลวงที่อุปราชปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งรัชทายาทขึ้นปกครอง

จากการศึกษาเรื่องศิลปกรรมในเมืองลพบุรีทั้งทางด้านประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ เป็นศิลปที่ได้รับอิทธิพลศิลปขอมแบบบายน และได้วิวัฒนาการจนมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ศิลปะแบบลพบุรีที่เห็นได้ชัดเจนคือปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และคงเป็นต้นเค้าของบรรดาพระปรางค์    ทั้งหลายในประเทศไทยในศตวรรษต่อมา

ลพบุรีในสมัยอยุธยา (ระหว่าง พ.. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐)

เมืองสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง คนไทยทางใต้ก็ตั้งแข็งเมืองไม่ยอมเป็นประเทศราช และ   พระเจ้าอู่ทองก็สร้างพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.. ๑๘๙๓ และทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ลพบุรีจึงกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยป้องกันพวกขอมทางตะวันออก และพวกสุโขทัยทางเหนือในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็ได้โปรดให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงและใช้เป็นเครื่องถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองกับสุพรรณบุรีซึ่งขุนหลวงพะงั่ว พี่ของพระมเหสีไปครองอยู่

ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ (.. ๑๙๒๑) อาณาจักรอยุธยาได้ขยายตัวออกไปกว้างขวางและรวมเอาสุโขทัยเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เขมรอ่อนกำลังลงและได้ยกทัพไปตีเขมรถึงนครธมซึ่งเป็นราชธานีเขมร และเมื่อสมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏว่าส่งพระราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี และในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปรับปรุงการปกครอง โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงทั้ง ๔ ด้านของราชธานีออก ลพบุรีจึงกลายเป็น    หัวเมืองที่อยู่ในเขตราชธานีแต่นั้นมา

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ ๒ รองจากพระนครศรีอยุธยา สถานที่สร้างพระราชวังนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา-ภาพทรงสันนิษฐานว่า คงสร้างในที่ที่เป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราเมศวร สาเหตุที่สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งก็เนื่องจากในปี พ.. ๒๒๐๗ ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการค้ากับฮอลันดา พระองค์จึงหาทางป้องกันเหตุการณ์ต่างๆ อีกทั้งทรงเห็นว่าลพบุรีมีชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันตนเอง และลพบุรีมีแม่น้ำไหลผ่านแต่ไม่ลึกพอที่เรือขนาดใหญ่จะผ่านเข้าไปได้ สามารถติดต่อกับราชธานีสะดวก ซึ่งทำให้พระองค์สร้างลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ พระองค์ทรงแปรพระราชฐานมาประทับที่เมืองลพบุรีเป็นเวลายาวนาน ในแต่ละปีเสด็จประทับยังพระนครศรีอยุธยาเพียงระยะเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น และได้พระราชทานวังที่เมืองลพบุรีเป็นที่ว่าราชการ รวมทั้งต้อนรับแขกต่างประเทศที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีอีกด้วย

ตอนปลายสมัยของสมเด็จพระนารายณ์เมืองลพบุรีเกิดความวุ่นวายขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของพวกขุนนางต่างชาติ ทำให้พระเพทราชาได้เข้ายึดอำนาจทางการปกครอง ในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตไปท่ามกลางเหตุการณ์วุ่นวายในขณะนั้น เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองลพบุรีจึงมีความสำคัญลดลงไม่มีความสำคัญทางการเมืองจนสิ้นสมัยอยุธยา

ลพบุรีสมัยรัตนโกสินทร์

ลพบุรีขาดความสำคัญลงมากตั้งแต่สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนกระทั่งถึงรัชสมัย   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งรัตนโกสินทร์ ซึ่งไทยเราได้ติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และชาติตะวันตกในยุคนั้นได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมรุกรานบ้านเมืองทางตะวันออก ใช้กำลังกับประเทศต่างๆ พระองค์ก็ได้ตระหนักถึงอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงโปรดให้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง โดยปฏิสังขรณ์พระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์ที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมีสภาพดีขึ้นดังเดิม และโปรดให้สร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็นที่ประทับ และได้พระราชทานนามพระราชวังที่เมืองลพบุรีนี้ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”

จะเห็นได้ว่าจังหวัดลพบุรี มีความสำคัญติดต่อกันมานานนับพันปี คือตั้งแต่สมัยก่อน     ประวัติศาสตร์และดำรงความเป็นเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน


  ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดลพบุรี. นนทบุรี : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด,๒๕๒๗.

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์