ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Nayok
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายก

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

          จังหวัดนครนายก   จะสร้างขึ้นในสมัยใดนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่จากการที่กรมศิลปากรได้มาทำการขุดค้นตัวเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก เมื่อปี พ.. ๒๕๑๗ และจากการรื้อค้นหลักฐานที่มีพอจะสรุปประวัติความเป็นมาได้ว่า จังหวัดนครนายกเป็นเมืองเก่าแก่กว่า ๙๐๐ ปีมาแล้ว มีปรากฏขึ้นในสมัยทวารวดี แต่จะมีชื่อเมืองอย่างไรนั้นไม่ปรากฏ จากสภาพเมืองเก่าที่ตำบลดงละคร (เมืองลับแล) เป็นตัวเมืองที่ตั้งอยู่บนที่สูง มีลักษณะเป็นเกาะกลางทุ่ง สภาพตัวเมืองเป็นรูปทรงกลม ซึ่งเป็นลักษณะตัวเมืองสมัยทวารวดี ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมมีอำนาจได้แผ่อาณาจักรออกไปตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีนครธมเป็นราชธานีขอมได้ตั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) เป็นเมืองลูกหลวง มีหน้าที่ปกครองอาณาจักรขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองนครนายกจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของขอมชั่วระยะเวลาหนึ่ง ประมาณปี พ.. ๑๖๐๐ อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงแต่นครนายกก็ยังคงรวมอยู่ในดินแดนของอาณาจักรขอมแถบชายแดน จนเมื่อไทยเริ่มมีอำนาจ และตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

สมัยกรุงศรีอยุธยา

          มีหลักฐานว่า  นครนายกเป็นเมืองหน้าด่าน หรือ เมืองปราการ ตั้งแต่ สมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นต้นมา

          หน้าที่ของเมืองหน้าด่าน คือ เป็นเมืองที่รายล้อมราชธานี เป็นที่สะสมเสบียงอาหารและกำลังผู้คนไว้สำหรับป้องกันเมืองหลวง เมืองเหล่านี้อยู่ห่างจากเมืองหลวงโดยเฉลี่ยประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปมาจากเมืองหน้าด่านถึงราชธานีประมาณ ๒ วัน

          ในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้ทำการปรับปรุงการปกครอง คือ ยกเลิกเมืองหน้าด่านขยายอำนาจราชธานีออกไปจัดตั้งหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และนครนายก กำหนดให้หัวเมืองชั้นในเหล่านี้เป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ว่าราชการเมืองเรียกว่า "ผู้รั้ง" พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งออกไปปกครอง     เพราะฉะนั้นหัวเมืองชั้นในจึงอยู่ในการดูแลของราชธานีอย่างใกล้ชิด

          นครนายกจึงมีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ตั้งแต่นั้นมาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงธนบุรี

          ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียให้แก่พม่า ในวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.. ๒๓๑๐ เป็นครั้งที่ ๒ นั้น ในขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ พระยาตาก ได้ช่วยทำการรบศึกอยู่ในเมือง ครั้งหนึ่งพระยาตากเห็นพม่ารุกหนักเข้ามา ก็สั่งให้ยิงปืนใหญ่สกัดกั้นไว้โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาตก่อนตามกฎที่วางไว้ จึงถูก พระเจ้าเอกทัศน์ สั่งภาคทัณฑ์คาดโทษ พระยาตากตัดสินใจนำทหารประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปเมื่อปี พ.. ๒๓๐๙ และยกทัพออกมาทางตะวันออกมาทางด้านวัดพิชัย มีพลประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคน พร้อมทั้งข้าราชการกรุงเก่า บางพวกที่ร่วมหนีออกมาด้วยกับพระยาตาก

          จากพงศาวดารกรุงธนบุรีได้กล่าวว่า พระยาตากยกทัพมาทางสระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี   กองทัพพระยาตากยกไปต้องปะทะกับพม่าที่มีกำลังเหนือกว่าหลายเท่า   แต่ก็ได้ประสบชัยชนะตลอดมา ระหว่างทางได้ทำการเกลี้ยกล่อม คนไทยให้เข้าด้วยตลอดทางจนถึงชลบุรี พระยาตากใช้นโยบายเกลี้ยกล่อมให้ยอมอ่อนน้อมเสียก่อน ถ้าไม่ยอมถึง ๓ ครั้ง จึงจะจัดการอย่างเด็ดขาด

          พระยาตากมุ่งไปทางระยองและจันทบุรี พระยาจันทบุรี  ได้รับปากว่าจะเข้าด้วย แต่ขอให้พระยาตากรอไปก่อน ผลสุดท้ายพระยาตากต้องตัดสินใจโจมตีเมืองจันทบุรี เพราะ เมืองจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญทั้งในด้านทหารและด้านเศรษฐกิจ ในการที่จะสนับสนุนให้การขับไล่พม่าไปจากประเทศเป็นผลสำเร็จ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

          สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ นครนายกเป็นหัวเมือง ชั้นจัตวา  โดยเป็นหน่วยปกครองที่อยู่ไม่ไกลเมืองหลวงนัก สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูปการปกครองใหม่เรียกว่า การปกครองมณฑลเทศาภิบาลเมืองนครนายกจัดอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ซึ่งจัดตั้งเมื่อ พ.. ๒๔๓๗  ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ คือ

          . ปราจีนบุรี

          . ฉะเชิงเทรา

          . นครนายก

          . พนมสารคาม

          . พนัสนิคม

          . ชลบุรี

          . บางละมุง

          .. ๒๔๔๕   รัชกาลที่ ๕ ทรงยกเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าเข้าครอง    และให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขึ้นแทน เมืองนครนายก จึงได้มีผู้ว่าราชการเมืองคนแรก คือ พระพิบูลย์สงคราม (จอน) ศาลากลางจังหวัดแห่งแรกตั้งขึ้น ณ บริเวณริมฝั่งขวา แม่น้ำนครนายก (บริเวณหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน) จนถึง พ.. ๒๔๘๖ ทางราชการได้ยุบจังหวัดนครนายกให้ไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี หลังจากนั้นประมาณ ๔ ปี  คือใน พ.. ๒๔๘๙ จึงได้ตั้งจังหวัดนครนายกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งใน พ.. ๒๕๑๙ มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชุมนุมชนคับแคบขยายออกไปอีกไม่ได้ จึงได้ย้ายไปสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ บริเวณริมถนนสุวรรณศรห่างจากเขตเทศบาลประมาณ ๒ กิโลเมตร และได้เปิดทำการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน

 การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล

          หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ    ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ    การปกครองแบบเทศาภิบาล       เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป

          การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑  เมษายน  ๒๔๓๕  นั้น   อำนาจปกครองบังคับบัญชา

มีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ ที่เจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวางในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามาร่วมอยู่ยังจุดเดียวกัน โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงซึ่งหมายความว่า   รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. ๒๔๓๗ จนถึง พ.. ๒๔๕๘ จึงสำเร็จและเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของ "การเทศาภิบาล" ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ มีความว่า

          "การเทศาภิบาล  คือ การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาคเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาล   ซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย จึงแบ่งเขตการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็น อำเภอ และ หมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองงานของกระทรวงทบวงกรมในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถความประพฤติให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย และรวดเร็วแก่ราชการและกิจธุระของประชาชนซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"

          จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนี้

          การเทศาภิบาล นั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขต ชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า   "การปกครองส่วนภูมิภาค"  ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล"  นั้น  คือ   ส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง

          นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้างกระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง ๓ แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักรทรงพระราชดำริว่า     ควรจะรวมการบังคับบัญชา

หัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียวกัน  จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.. ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว หรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต

          การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาลการจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา และก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังนี้

          .. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียวแล้วจึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร

          .. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี

          .. ๒๔๔๒ ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

          .. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน  ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล

          .. ๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

          .. ๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด

          .. ๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

          .. ๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้

          .. ๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

            .. ๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

            การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม .. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดินมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก

            ) การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

          ) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

          ) เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

          ) รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

          ต่อมาในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้

๑.     จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

๒.    อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่ในคณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

๓.     ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

๑.     จังหวัด

๒.    อำเภอ

จังหวัดนั้นได้รวมท้องที่หลาย ๆอำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

    ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครนายก.นครนายก,๒๕๒๗

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์