ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Rayong
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดระยอง

เมื่อมองดูแผนที่ประเทศซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายขวานโบราณ ทางภาคตะวันออกเฉียง

ใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของตัวขวานจะเป็นที่ตั้งของจังหวัดระยอง เมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างสองเมืองใหญ่คือ ชลบุรีและจันทบุรี ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานครไม่เกินสามชั่วโมงก็จะมาถึงเมืองระยอง เมืองที่มีมาแต่ครั้งโบราณมาแล้ว

 ประวัติการก่อตั้ง

ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในพงศาวดารเมื่อปี พ.. ๒๑๑๓ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนประวัติดั้งเดิมก่อนหน้านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่พอจะเชื่อถือได้ว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของ ขอม คือ เมื่อประมาณ ปี พ.. ๑๕๐๐ ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมมี  

อนุภาพครอบคลุมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเมืองนครธมเป็นราชธานี ขอมได้สร้างเมืองนครพนมเป็นเมืองหน้าด่านแรก เมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชและได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญด้วย ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองนครธม เมืองหน้าด่านเมืองแรกที่ขอมสร้างก็คือ เมืองจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบันนี้

เมื่อขอมสร้างจันทบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อนำเอาอารยะธรรมของขอมเข้ามาสู่แคว้น   ทวาราวดี ก็น่าจะอนุมานได้ว่าขอมเป็นผู้สร้างเมืองระยองนี้ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด  นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่ได้ค้นพบ คือ ซากหินสลักรูปต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ที่บ้านดอน บ้านหนองเต่า ตำบลเชิงเนิน คูค่ายและซากศิลาแลงบ้านคลองยายล้ำ ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่ายซึ่งเป็นศิลปการก่อสร้างแบบขอม ทำให้สันนิษฐานว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่ก่อสร้างขึ้นในสมัยของขอมอย่างแน่นอน

ที่ตั้ง

ที่ตั้งของเมืองปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง ส่วนที่ตั้งดั้งเดิมนั้นหนังสือ "ตำนานเมือง" ของราชบัณฑิตยสภากล่าวไว้ว่า ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าที่เดิมจะตั้งอยู่ในท้องที่ใด ได้ความเพียงว่าตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเก่า อำเภอบ้านค่าย ปัจจุบันมีซากหินหลักรูปต่างๆ ศิลาแลงปรากฏให้เห็นอยู่ ขณะนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองเท่าใดนัก ขึ้นอยู่กับตำบลตาขัน ตำบลบ้านค่าย ต่อมาชายฝั่งทะเลได้งอกออกไปเรื่อยๆ จึงได้เลื่อนตัวเมืองตามลงไปตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง ในปัจจุบัน

จาก "นิราศเมืองแกลง" ของสุนทรภู่ก็ได้กล่าวถึง "บ้านเก่า" ไว้ตอนหนึ่งว่า

"พอสิ้นดงตรงบากออกปากช่อง

ถึงระยองเหย้าเรือนดูไสว

แวะเข้าย่านบ้านเก่าค่อยเบาใจ

เขาจุดไต้ต้อนรับให้หลับนอน"

คำว่า "บ้านเก่า" นี้ คงจะหมายถึงหมู่บ้านเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองระยองในเวลานั้นนั่นเอง สุนทรภู่ได้แวะพักเอาแรงที่บ้านเก่า ๒ คืนก่อน แล้วจึงออกเดินทางต่อไปยังบ้านนาตาขวัญ บ้านแลง ผ่านไปเรื่อยจนกระทั่งถึงบ้านกร่ำ อำเภอแกลง (ในสมัยนั้นเป็นเมืองแกลง) เพื่อไปพบกับบิดาซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่นั้น

 ที่มาของคำว่า "ระยอง"

มีผู้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชื่อนี้เป็นหลายกระแส คือ

. ตำบลท่าประดู่อันเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในขณะนี้ แต่เดิมเป็นที่อาศัยของพวกชอง ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมอยู่ในแถบระยอง จันทบุรี ชนเผ่านี้มีความชำนาญในป่าเขาลำเนาไพรและมีภาษาพูดของตนเอง เป็นชนพื้นเมืองที่นิยมใช้ลูกปัดสีต่างๆ และทองเหลืองเป็นเครื่องประดับ สืบเชื้อสายมาจากพวกขอม (นักชาติวงศ์วิทยาจัดให้อยู่ในพวกมอญ-เขมร) อันนี้ทำให้น่าคิดว่า คำว่า ระยอง ตะพง เพ แลง ชะเมา แกลง ซึ่งเป็นชื่อเมือง ตำบลและอำเภอ ซึ่งไม่มีคำแปลในพจนานุกรมไทย ก็น่าจะมาจากภาษาชองนี่เอง จากเรื่อง "อาณาจักรชอง ตอนหนึ่ง" ของแก่นประดู่กล่าวไว้ว่า "ผู้เฒ่าผู้แก่วัยหนึ่งศตวรรษ หลายต่อหลายคนต่างก็ยืนยันในคำพูด อยู่ในทำนองเดียวกันว่าระยองเป็นภาษาพูดคำหนึ่งของคนเผ่าชอง ซึ่งเดิมเรียกกันว่า "ราย็อง" (เวลาอ่านต้องอ่านออกเสียงตัว รา ให้ยาวหน่อย และออกเสียงตัว ย็อง ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้) คำ "ราย็อง" นี้ เล่ากันมาแปลว่า "เขตแดน" หมายถึงว่าเป็นดินแดนของพวกชองอยู่ แต่ภาษาพูดนี้เรียกเพี้ยนกันมาเรื่อยๆ จึงกลายเป็น "ระยอง" ในที่สุด

. อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าคำว่า "ระยอง" นี้ในภาษาชองน่าจะหมายถึง ไม้ประดู่ เพราะ  ในบริเวณที่มีพวกชองตั้งรกรากอยู่นั้นอุดมไปด้วยไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ปัจจุบันหายากมากและราคาแพง เขตแดนแถบนี้จึงมีชื่อว่า ตำบลท่าประดู่  อันเป็นที่ตั้งของเมืองระยองเวลานี้

. ผู้อ้างหลักฐานว่าแต่เดิมมีหญิงชราชื่อว่า "ยายยอง" เป็นผู้มาตั้งหลักฐานประกอบอาชีพทำไร่ในแถบนี้ก่อนผู้ใด จึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า "ไร่ยายยอง ต่อมาภาษาพูดก็เพี้ยนไปจนกลายเป็นระยองในที่สุด

ชนเผ่าชองจะมาตั้งรกรากอยู่ทางดินแดนแถบระยองเมื่อไรไม่ปรากฏ แต่เล่ากันว่ามีมานานแล้ว เมื่อคราวที่สุนทรภู่เดินทางมาเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลงก็ยังมีพวกชองอยู่เป็นจำนวนมาก สุนทรภู่ได้เขียนถึงพวกชองไว้ในนิราศเมืองแกลงว่า

"ด้วยเดือนเก้าเข้าวสาเป็นหน้าฝน

จึงขัดสนสิ่งของต้องประสงค์

ครั้นแล้วลาฝ่าเท้าท่านบิตุรงค์

ไปบ้านพลงค้อตั้งริมฝั่งคลอง

ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต

ไม่น่าคิดเข้าในกลอนอักษรสนอง

ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง

ไม่เหมือนน้องนึกน่าน้ำตากระเด็น"

กล่าวกันว่า แม้แต่ตระกูลทางบิดาของสุนทรภู่ก็เป็นเชื้อชอง ปัจจุบันไม่มีชนเผ่านี้อยู่ในระยอง เพราะไม่ชอบอยู่ในย่านตลาดหรือชุมนุมชน เมื่อความเจริญย่างเข้ามาก็อพยพทิ้งถิ่นไปเรื่อยๆ และยังมีเชื้อสายชาวชองปรากฏอยู่ที่บ้านคะเคียนทอง คลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

 ด้านประวัติศาสตร์

ขอย้อนกล่าวทางด้านประวัติศาสตร์บ้าง ประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงเมืองระยองในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ทรงคิดว่าไทยอ่อนแอ จึงถือโอกาสกรีฑาทัพบุกรุกเข้ามาในแดนไทยแถบหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ตามวิสัยที่เคยกระทำมาเป็นเนืองนิจ คือเมื่อไทยเข้มแข็ง เขมรก็มาสวามิภักดิ์ แต่เมื่อไทยอ่อนแอก็ถือโอกาสโจมตีทุกครั้งไป แต่ในครั้งนี้เขมรก็ไม่สามารถยึดครองหัวเมืองเหล่านี้ไว้ได้ จึงเพียงแต่กวาดต้อนผู้คนไปยังประเทศเขมร ซึ่งในบรรดาชาวเมืองที่ถูกกวาดต้อนไปในครั้งนั้นก็มีชาวระยองอยู่ด้วยไม่น้อย

ประวัติศาสตร์อีกตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่สอง พระยาวชิรปราการหรือพระยาตากแม่ทัพคนสำคัญแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกเกณฑ์ให้มารักษากรุงในระหว่างที่ถูกพม่าล้อมไว้ตั้งแต่ ปี พ.. ๒๓๐๖ - ๒๓๑๐ ได้พิจารณาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงจะต้องเสียทีแก่พม่าเป็นแน่แท้เพราะพระเจ้าเอกทัศน์ กษัตริย์ผู้ครองกรุงในเวลานั้นทรงอ่อนแอและไร้ความสามารถ ถ้าขืนสู้รบต่อไปก็จะไม่เกิดประโยชน์อันใด ฉะนั้น ในราวเดือนยี่ พ.. ๒๓๐๙ พระยาตากจึงรวบรวมพรรคพวกประมาณ ๕๐๐ คน มีทั้งไทยและจีน รวมทั้งข้าราชการที่มีความเชื่อถือในฝีมือของพระยาตากอีกหลายคน อาทิ เช่น พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา หมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งหลัก ณ วัดพิชัย (อยู่ใต้สถานีรถไฟในปัจจุบัน) แล้วยกกองทัพมุ่งไปทางตะวันออก ได้ปะทะกับพม่า แต่สามารถตีฝ่าวงล้อมไปได้ พอไปถึงบ้านลำบัณฑิตเวลาสองยามเศษก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้กรุง ต่อจากนั้นก็มุ่งไปบ้านโพธิสามหาว (โพธิสาวหารหรือโพธิสังหารก็เรียก) และบ้านพรานนก ได้สู้รบกับพม่าไปตลอดทาง

เส้นทางเดินทัพของพระยาตากที่ปรากฏในพงศาวดารภาคที่  ๖๕ เป็นดังนี้

ออกจากบ้านพรานบนไปบ้านบางคง หนองไม้ซุง ตามทางเมืองนครนายกไปบ้านนาเริ่ง ถึงเมืองปราจีนบุรี บ้านด่านขบและบ้านทองหลาง ตะพานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ  ออกไป   พัทยา นาจอมเทียน ไก่เตี้ย สัตหีบ หินโค่ง แวะหยุดพักไพร่พลที่บ้านน้ำเก่าซึ่งเข้าใจกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นเป็นบ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย ซึ่งขณะนั้นผู้รั้งเมืองระยอง คือ พระยาระยอง (บุญเมืองหรือบุญเรือง) ได้ทราบข่าวว่าพระยาตากยกทัพมาก็เกิดความเกรงกลัว จึงพาคณะกรมการเมืองออกไปเชิญให้พระยาตากพาไพร่พลเข้ามาพักในเมือง พร้อมทั้งมอบธัญญาหารเกวียนหนึ่งให้พระยาตาก พระยาตากได้พาไพร่พลเข้ามาที่ท่าประดู่ และพักแรมอยู่ที่วัดลุ่ม (วัดลุ่มมหาชัยชุมพล) สองคืน จึงได้ทำการตั้งค่าย ขุดคูปักขวากล้อมบริเวณที่พักไว้โดยมิได้ประมาท

ในระหว่างเวลานั้น เป็นระยะที่กรุงศรีอยุธยายังมิได้เสียทีแก่พม่า ฉะนั้น การยกทัพมาของพระยาตาก   ทำให้กรมการเมืองระยองคิดระแวงไปว่าพระยาตากจะคิดร้ายต่อบ้านเมืองจึงหลบหนีการสู้รบมา จึงได้นำเรื่องเข้าปรึกษาพระยาระยอง ซึ่งพระยาระยองก็ได้กล่าวห้ามปราม แต่กรมการเมืองไม่ยอมเชื่อ ครั้งเมื่อพระยาตากพักอยู่ที่วัดลุ่มได้สองวัน นายบุญรอด แขนอ่อน นายมาด นายบุญมา น้องเมียพระจันทบูร ได้เข้ามาถวายตัวทำราชการและได้นำความมาแจ้งว่าขุนรามหมื่นซ่อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่าเมือง (ด้วง) หลวงแสนพลหาญ กรมการเมืองระยองได้คบคิดกับพวกทหารประมาณ ๑,๕๐๐ คน จะยกเข้ามาประทุษร้ายพระยาตาก ครั้นเมื่อทราบความเช่นนั้นพระยาตากจึงเรียกผู้รั้งเมือง คือ พระยาระยองมาซักถามความจริง แต่ผู้รั้งไม่ยอมรับ พระยาตากจึงสั่งให้ทหารคุมตัวผู้รั้งเมืองไว้และเตรียมการที่จะรับมือกับศัตรูต่อไป

พอพลบค่ำ พระยาตากจึงสั่งให้ทหารเตรียมการป้องกันไว้และดับไฟมืดทั้งค่าย ตกเวลาประมาณทุ่มเศษ พวกกรมการเมืองซึ่งไม่ทราบว่าพระยาตากรู้ตัวก็คุมทหาร ๓๐ คน เข้าโจมตีค่ายทางด้านเหนือ คือทางด้านวัดเนิน มีขุนจ่าเมือง (ด้วง) เป็นหัวหน้า เมื่อขุนจ่าเมืองคุมพรรคพวกเข้ามาใกล้ค่ายประมาณ ๕-๖ วา พระยาตากก็สั่งให้ทหารระดมยิงปืนพร้อมกันขุนจ่าเมืองและทหารไม่ทันรู้ตัวจึงถูกอาวุธบาดเจ็บล้มตายไปตามๆ กัน พวกกรมการเมืองและทหารที่เหลืออยู่เกิดความกลัวจึงพากันล่าถอยไป พระยาตากก็ระดมไพร่พลไล่โจมตีและยึดเมืองระยองได้ในคืนนั้นเอง ยึดได้ทั้งศาสตราวุธและธัญญาหารเป็นจำนวนมาก บรรดาเหล่าทหารได้เห็นความสามารถและความฉลาดหลักแหลมของพระยาตาก จึงพากันยกย่องเรียกพระยาตากว่า "เจ้าตาก" แต่โดยที่ชื่อเดิมของพระยาชื่อว่า "สิน" จึงพากันเรียกว่า "เจ้าตากสิน" ฉะนั้น จะถือได้ว่าพระยาตากได้รับการยกย่องให้เป็น "เจ้า" ที่เมืองระยองนี่เองก็ไม่ผิดนัก เมื่อเจ้าตากยึดเมืองระยองได้แล้วก็โปรดให้พักไพร่พลอยู่ในเมือง ๗-๘ วัน เพื่อบำรุงขวัญทหารและจัดการเมืองให้เสร็จเรียบร้อย แล้วจึงเสด็จต่อไปยังเมืองจันทบุรีเพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้อิสรภาพของชาติคืนจากพม่าต่อไป

 การโอนเมืองแกลงมาขึ้นกับเมืองระยอง

อำเภอแกลงนั้นแต่เดิมเป็นเมืองเรียกกันว่า "เมืองแกลงมีฐานะเป็นเมืองจัตวาคู่กับเมือง ขลุง ขึ้นอยู่กับเมืองจันทบูร (จันทบุรี) ด้วยเหตุที่เมืองจันทบุรีเป็นเมืองโบราณมีชื่อปรากฏในพงศาวดารมาแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าเมืองแกลงซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหนึ่ง ก็น่าจะมีมาช้านานแล้วเช่นกัน

 

ที่ตั้งของเมือง

เดิมเมืองแกลงตั้งอยู่ที่บ้านแหลมสน ขณะนั้นมีกองทหารเรือตั้งอยู่ ต่อมาปี พ.. ๒๔๔๐ กองทหารเรือได้ยุบเลิกไปตั้งอยู่ที่อื่น  ทางราชการจึงได้ย้ายตัวเมืองจากบ้านแหลมสนไปอยู่ที่บ้านหนองโพรง - แหลมเมือง ตำบลปากน้ำประแสร์ แล้วจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านทางเกวียน ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดโพธิ์ทองปัจจุบัน ประมาณ ๒ กม. เหตุที่ย้ายที่ตั้งเมืองบ่อยๆ ก็คงเป็นไปตามแบบการปกครองโบราณ คือเมื่อใครได้เป็นเจ้าเมืองก็ย้ายที่ทำการไปไว้ที่บ้านของตน เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ-กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเรื่องเทศาภิบาลว่า

"ตามหัวเมืองในสมัยนั้นปลาดอย่างหนึ่งที่ไม่มีศาลารัฐบาลตั้งประจำสำหรับว่าราชการอย่างทุกวันนี้ เจ้าเมืองตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหนก็ว่าราชการบ้านเมืองที่บ้านของตนเหมือนอย่างเสนาบดีเจ้ากระทรวงในราชธานีว่าราชการที่บ้านตามประเพณีเดิม บ้านเจ้าเมืองผิดกับบ้านของคนอื่นเพียงที่เรียกว่า "จวน" เพราะมีศาลาโถงปลูกไว้นอกรั้วข้างบ้านหลังหนึ่งเรียกว่า "ศาลากลาง" เป็นที่สำหรับประชุมกรรมการเวลามีการงาน เช่น รับท้องตราหรือปรึกษาราชการ เป็นต้น เวลาไม่มีการงานก็ใช้ศาลากลางเป็นศาลาชำระความ เห็นได้ว่าศาลากลางก็เป็นเค้าเดียวกับศาลาลูกขุนในราชธานีนั่นเอง เจ้าเมืองตั้งสร้างจวนและศาลากลางด้วยทุนของตนเอง แม้แผ่นดินซึ่งจะสร้างจวนถ้ามิได้อยู่ในเมืองมีปราการ เช่น เมืองพิษณุโลกเป็นต้น เจ้าเมืองก็ต้องหาชื้อที่ดินเหมือนกับคนทั้งหลาย จวนกับศาลากลางจึงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของเจ้าเมือง เมื่อสิ้นตัวเจ้าเมืองก็เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน ใครได้เป็นเจ้าเมืองคนใหม่ ถ้ามิได้เป็นผู้รับมรดกของเจ้าเมืองคนเก่าก็ต้องหาที่สร้างจวนและศาลากลางขึ้นใหม่ตามกำลังที่จะสร้างได้ บางทีก็ย้ายไปสร้างห่างจากที่เดิมฟากแม่น้ำหรือแม้จนต่างตำบลก็มีจวนเจ้าเมืองไปตั้งอยู่ที่ไหนก็ย้ายที่ว่าราชการไปอยู่ที่นั่นชั่วสมัยของเจ้าเมืองคนนั้น ตามหัวเมืองจึงไม่มีที่ว่าราชการเมืองตั้งประจำอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นนิจเหมือนอย่างทุกวัน"

เมืองแกลงคงจะมีศาลาสำหรับพิจารณาตัดสินคดีซึ่งเกิดขึ้นภายในเมือง ต่อมาราวปี พ.. ๒๔๕๐ ทางราชการได้สั่งยุบเมืองแกลงลงเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอแกลง" และย้ายจากบ้านทางเกวียนมาอยู่ในปัจจุบัน ศาลเมืองแกลงจึงพลอยถูกยุบลงด้วยนั่นคือ ทางราชการได้ยุบสภาพจากเมืองจัตวาลงมาตั้งเป็นอำเภอ มีหลวงแกลงแกล้วกล้า (ศรี บุญศิริ) เป็นนายอำเภอคนแรก จนถึงปี พ.. ๒๔๕๓ พระคำแหงพลล้าน (ชื่อ คชภูมิ) นายอำเภอคนที่สอง จึงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอจากบ้านทางเกวียนมาตั้งอยู่ที่บ้านสามย่าน ตำบลทางเกวียนซึ่งมีสภาพเหมาะสมที่จะขยายตัวเมืองได้อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

 การโอนเมืองแกลง

ในปี พ.. ๒๔๕๑ ได้โอนอำเภอแกลงไปขึ้นกับจังหวัดระยอง โดยมีแจ้งความของกระทรวงมหาดไทยลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๕ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ หน้า ๔๐๗ ว่า "ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าอำเภอแกลงขึ้นเมืองจันทบุรี ยากจะตรวจตราให้ทั่วถึงได้ ทรงพระราชดำริว่าควรจะโอนอำเภอแกลงไปขึ้นเมืองระยองเพราะเป็นท้องที่อยู่ใกล้ จะเป็นการสะดวกในการบังคับบัญชาและตรวจตรายิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอแกลงไปขึ้นกับเมืองระยองต่อไป"

(แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๗)

ด้วยเหตุนี้อำเภอแกลงจึงมาสังกัดกับจังหวัดระยองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา

 ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดระยอง. ระยอง : ธนชาติการพิมพ์ ,๒๕๒๕.

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์