ประวัติศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา(๑)
อาจแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ
๑.
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
๒.
สมัยประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวหนังสือ
การแบ่งอายุของ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยึดเอาวัตถุที่ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก
ในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีโดยบังเอิญ
และโดยจงใจของผู้ลักลอบขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ
ทำให้ทราบได้ว่าในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นแหล่งที่อยู่ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ตอนกลางประมาณ ๓,๘๐๐
ปี ถึง ๒,๗๐๐
ปีลงมาจนถึงยุคโลหะ ตั้งแต่สมัยสำริดและยุคเหล็ก
สังคมของมนุษย์พวกนี้เป็นสังคมเกษตรกรรม รู้จักการเพาะปลูก
รู้จักทำภาชนะดินเผา ถลุงแร่และทอผ้า บริเวณที่พบโบราณวัตถุมักจะเป็นที่ดอน
น้ำท่วมไม่ถึงอยู่ริมน้ำ และอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเขามากนัก
น่าเสียดายที่ยังไม่เคยมีการขุดค้นทางด้านก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรี
หากได้มีการขุดค้นทางด้านนี้แล้วก็จะได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกอย่างไม่ต้องสงสัย
อย่างไรก็ดีผู้ที่สนใจเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรีจะศึกษาได้จากโบราณวัตถุต่าง ๆ
ที่จัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์ทวารวดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
อู่ทอง
เป็นต้นว่าขวานหินขัด สมัยหินใหม่ พบที่บริเวณเมืองอู่ทองซึ่งมีอายุประมาณ
๓,๘๐๐
ปี ถึง ๒,๗๐๐
ปี (๒)
สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์
หรือสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์
อาณาจักรฟูนัน (ประมาณพุทธศตวรรษที่
๖-๑๐)
จากการค้นพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เป็นต้นว่า ลูกปัด
เครื่องประดับทำด้วยทองหรือดีบุก ที่ประทับตราหรือตราขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
เหรียญเงินศรีวัตสะ เศษเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ที่เมือง
อู่ทองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัตถุที่ค้นพบที่เมืองออกแก้วซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองท่าของอาณาจักร
ฟูนัน
ในแหลมโคชินไชนา ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามภาคใต้มาก(๓)
วัตถุเหล่านี้ไม่เคยพบในที่อื่นในแหลมอินโดจีน
และเชื่อกันว่าเป็นวัตถุของอาณาจักรฟูนัน
(พุทธศตวรรษที่
๖-
พุทธศตวรรษที่
๑๐)
โดยเฉพาะ(๔)
นอกจากนี้ยังได้ค้นพบประติมากรรม ศิลปอินเดียสมัยอมราวดี
(๑)
เรียบเรียงโดย ว่าที่ร้อยตรีบันเทิง พูลศิลป์ ศิลปบัณฑิต
โบราณคดี หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง
(๒)
จิรา จงกล,
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
(พระนคร:
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร,๒๕๐๙,)หน้า
๑๔
(๓)
สุภัทรดิศ ดิศกุล,
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า,
ประวัติศาสตร์เอเซียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.
๒๐๐๐,
(กรุงเทพฯ
:
โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี,
๒๕๒๒)หน้า
๑๑
(๔)
ปัจจุบันวัตถุส่วนหนึ่ง
จัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์-ทวารวดี
ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
(ประมาณพุทธศวรรษที่
๙-พุทธศตวรรษที่
๑๐)
ที่เมืองอู่ทองอีกด้วย เป็นต้นว่า ชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูป
ยืนอุ้มบาตร ๓
องค์ ชิ้นส่วนองค์พระพุทธรูปปางนาคปรก ดินเผา รูปกินรีสวมศิราภรณ์ปูนปั้น
ชิ้นส่วนหินจำหลักลวดลายและที่เจิมกระแจะจันทน์หิน
ซึ่งสืบต่อจนถึงสมัยทวารวดี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องก่อนประวัติศาสตร์-ทวารวดี
ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
อาศัยโบราณวัตถุดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุให้ศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์เสนอความเห็นว่า
เมืองอู่ทองตั้งมาก่อนอาณาจักรทวารวดี และอาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน
หรือเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖
ซึ่งเป็นอาณาจักรที่สำคัญที่สุดในเอเซียอาคเนย์
อาณาจักรนี้ในขณะที่เจริญสูงสุดได้ครอบคลุมไปจนถึงประเทศสาธารณรัฐสังคมเวียตนามภาคใต้
เมื่ออาณาจักรฟูนันหมดอำนาจลงแล้ว
เมืองอู่ทองจึงได้กลายเป็นเมืองสำคัญขึ้นในอาณาจักรทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่
๑๑-๑๒
สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่มนุษย์รู้จักใช้ตัวหนังสือ
สมัยทวารวดี
(พศว.ที่
๑๑ หรือ ๑๒ ถึง ๑๖)
อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรประวัติศาสตร์สมัยแรกในประเทศไทย
อาณาจักรนี้ตามความเห็นของศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์
ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีในภาคเอเซียอาคเนย์ ซึ่งกรม
ศิลปากรได้เชิญเข้ามาสำรวจโบราณคดีในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.
๒๕๐๗ ได้ลงความเห็นว่า
เมืองอู่ทองอาจเป็นราชธานีของอาณาจักรทวารวดีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
การค้นพบแผ่นทองแดงของพระเจ้าหรรษาวรมันที่บริเวณหน้าโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัยในเมืองอู่ทอง
ซึ่งมีจารึกใช้ตัวอักษรอยู่ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็อาจหมายความว่า
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกที่เราทราบพระนามกันสำหรับอาณาจักรทวารวดี
อาศัยเหตุนี้ทำให้ศาสตราจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์ มีความเห็นต่อไปอีกว่า
เมืองอู่ทองจึงเป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
นอกจากนั้นศาสตรจารย์จ็อง บ๊วซเซลิเยร์ ได้กล่าวว่า ศิลปสมัยทวารวดีได้ขยายตัวออกไป
๓ ทาง คือ ทางทิศตะวันออก ทางหนึ่งไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
โดยผ่านทางดงละครและดงศรี
มหาโพธิ์
อีกทางหนึ่งไปยังที่ราบสูงโคราช โดยผ่านทางจังหวัดสระบุรี
และไปแยกออกเป็นหลายสายที่แม่น้ำมูลไปยังจังหวัดมหาสารคาม
ทางทิศเหนือไปยังจังหวัดลำพูน
(อาณาจักรหริภุญไชย)
โดยผ่านทางจังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ และตาก
ทางใต้มีทางลงไปยังแหลมทองโดยผ่านทางจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี
ทางเหล่านี้มาบรรจบกันแถบบริเวณเมืองอู่ทอง
การที่ทราบได้เช่นนี้ก็โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุสถานศิลปสมัยทวารวดีที่ค้นพบตามสายทางเดินเหล่านั้น
เมืองอู่ทอง อยู่ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๔๐ ๒๒'
เหนือ และเส้นแวงที่ ๙๙๐ ๕๓'
๓๐"
ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปรีค่อนข้างกลมขนาด ๙๐๐
x
๑.๗๕๐
เมตร
ภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียงได้พบโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดีเป็นอันมาก
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้แหล่งชุมชนสมัยทวารวดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดสุพรรณบุรีที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง
ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่
๑๔๐ ๕๑'
เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๐๐ ๑๓'
ตะวันออก ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมนขนาด ๕๑๐X๕๖๐
เมตร
(๑)
สมัยอู่ทอง
(พุทธศตวรรษที่
๑๗-๒๐)
ภายหลังจากที่เมืองอู่ทองกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖
เนื่องจากกระแสน้ำในแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดินและเกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น
จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งเมืองใหม่ในท้องที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรีปัจจุบัน คือ
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๔๐ ๒๘'
เหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๐๐ ๑๗'
ตะวันออก
จากภาพถ่ายทางอากาศปรากฏว่า เป็นเมืองขนาด ๑๐๐๐X
๓๖๐๐ เมตร มีอาณาเขตของตัวเมืองคลุมทั้งสองฟากแม่น้ำท่าจีน
ซึ่งมีสภาพเป็นเมืองอกแตก
มีแม่น้ำท่าจีนอยู่กลางเมืองไหลผ่านจากเหนือลงใต้คูเมืองด้านตะวันออกเริ่มแต่บริเวณหมู่บ้านตาหมันขนานกับแม่น้ำท่าจีนผ่านบ้านน้อยมาหมดลงใกล้กับโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย
ส่วนทางตะวันตก คูเมืองผ่านกลางตัวเมืองสุพรรณบุรี
สมัยอยุธยาเมืองนี้เข้าใจว่าเป็น เมืองพันธุมบุรี
ตามที่ปรากฏชื่อในหนังสือไตรภูมิของเก่า
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ค้นพบซากโบราณสถานขนาดเล็กสมัยทวารวดีตอนปลาย
พระพุทธรูปขนาดใหญ่ทำด้วยหิน ๒ องค์ ที่วัดราชเดชะ
(ร้าง)
และพระบาทพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดพิหารแดง
ต่อมาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
ในบริเวณเมืองสุพรรณบุรีเก่าให้เจริญขึ้น
จึงได้มีการตัดถนนผ่านเข้าไปในบริเวณซากโบราณสถานต่าง ๆ
และมีการรื้ออิฐจากโบราณสถานต่าง ๆ
เอาไปใช้ในการสร้างบ้านเมืองและสถานที่ทางราชการทั้ง ๒ ฝั่ง
ที่ตั้งตัวจังหวัดสุพรรณบุรีปัจจุบันรวมทั้งได้มีการรื้ออิฐจากโบราณสถานต่าง
ๆ จากวัดร้างหารายได้หลายครั้งหลายหนไปขายตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
(พ.ศ.
๒๔๘๘-พ.ศ.
๒๕๐๐)
เป็นเหตุให้หลักฐานทางโบราณคดีในสมัยอู่ทอง
ในบริเวณตัวเมืองสุพรรณบุรีเก่าและบริเวณใกล้เคียงหมดสภาพไปเป็นอันมาก
โบราณสถานที่เหลือรอดจากการกระทำดังกล่าวมีอยู่เพียงประมาณ ๕
%
เท่านั้น(๒)เช่น
๑.
เจดีย์ในวัดพระอินทร์
(ร้าง)
๑ องค์
๒.
เจดีย์ในวัดเถลไถล
(ร้าง)
๑ องค์
๓.
เจดีย์ในวัดพระรูป ๑ องค์ และพระพุทธไสยาสน์ ๑ องค์
๔.
ฐานเจดีย์หลังอุโบสถวัดพระรูป ๑ องค์
๕.
พระปรางค์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ๑ องค์
๖.
เจดีย์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ๒ องค์
๗.
เจดีย์ในวัดพริก
(ร้าง)
๑ องค์
๘.
พระป่าเลไลยก์ ๑ องค์
๙.เจดีย์ในวัดมรกต
(ร้าง)
๑ องค์
๑๐.เจดีย์ในวัดสนามชัย
(ร้าง)
๑ องค์
(๑)
ศรีศักร วัลลิโภดม
"สุพรรณภูมิอยู่ที่ไหน"
ช่อฟ้าปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมีนาคม พ.ศ.
๒๕๑๐ หน้า ๖๒
(๒)
สัมภาษณ์ นายสถาน แสงจิตพันธุ์ อาจารย์โรงเรียนสงวนหญิง
จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๔
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์สมัยอู่ทอง ยังมีอีกองค์หนึ่งที่วัดเขาดิน ตำบลสระแก้ว
อำเภอเมือง
สุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยสุโขทัย
(พุทธศตวรรษที่
๑๙-๒๐)
จากจารึกตอนท้ายในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
(พ.ศ.
๑๘๒๒-๑๘๔๑)
ซึ่งคงสลักขึ้นหลัง พ.ศ.
๑๘๓๕
ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับชัยชนะของพระองค์ได้ว่าอาจปราบฝูงข้าศึก
มีเมืองกว้างขวางหลายเมือง รวมทั้งเมืองสุพรรณภูมิด้วย
เมืองนี้คงเป็นเมืองสุพรรณบุรีเก่า ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๔๐
๒๘'
เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐๐๐๑๗'
ตะวันออก
ที่ได้กล่าวมาแล้วและคงเป็นเมืองเดียวกับสุพรรณภูมิในจารึกหลักที่ ๔๘
วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นจารึกบนแผ่นทอง อักษรไทย ภาษาไทย
มีศักราชระบุแน่ชัดว่าจะอยู่ในพ.ศ.
๑๙๕๑ ในรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราช
จารึกหลักนี้กล่าวถึงเจ้าเมืองขุนเพชญสารว่าได้เคยทำบุญอุทิศบ้านเรือนถวายวัดในเมืองศรีสุพรรณภูมิ
และเมืองศรีอโยธยา เพราะระยะเวลาระหว่างจารึกหลักที่ ๑
ตอนที่กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิกับ พ.ศ.
๑๙๕๑ นั้น ห่างกันเพียงประมาณ ๑๐๐ ปีเท่านั้น
ประกอบทั้งโบราณวัตถุสถานในเขตเมืองสุพรรณภูมิหรือเมืองสุพรรณบุรีเก่าก็มีถึงสมัยสุโขทัยด้วย
(๑)
เมืองนี้ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้โปรดให้รื้อกำแพงเมืองลงเมื่อ
พ.ศ.
๒๐๘๖
เพื่อไม่ให้พม่าข้าศึกใช้เป็นที่มั่นถ้าเสียเมืองสุพรรณบุรีเก่าให้แก่ข้าศึก
เมืองสุพรรณบุรีได้ตั้งอยู่ ณ
ที่นี้ตลอดสมัยอยุธยาและได้ปรับปรุงเมืองให้มีขนาดเหมาะสมกับฐานะเมืองที่ถูกลดฐานะจากเมืองลูกหลวงมาเป็นหัวเมืองชั้นใน
ในการปรับปรุงครั้งนี้ได้ทิ้งบริเวณเมืองทางฟากตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน
มาอยู่แค่ฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝั่งเดียวเท่านั้น
เข้าใจว่าเมืองแห่งนี้คงสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
กับสมเด็จพระชัยราชาธิราช
(ระหว่าง
พ.ศ.
๑๙๙๑-๒๐๘๙)
(๒)
สมัยลพบุรี
(พุทธศตวรรษที่
๑๘-๑๙)
จากศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ในบริเวณเมืองพระนคร
ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
(พ.ศ.
๑๗๒๔-๑๗๖๐)
ทำให้ทราบว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่งมีชื่อตามศิลาจารึกว่า
"สวรรณปุระ"
ซึ่งน่าจะอยู่ที่บริเวณดอนทางพระ หรือเนินทางพระ
ตำบลบ้านสระ
อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะได้พบทรากโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ.
๒๕๒๒ มีดินอัด อิฐ และศิลาแลงเป็นรากฐาน
น่าเสียดายที่โบราณสถานแห่งนี้ถูกทำลายอย่างยับเยิน ก่อนที่หน่วยศิลปากรที่
๒ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน
ระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๒
จึงไม่สามารถพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมได้อย่างเด่นชัด ถึงกระนั้นก็ดี
(๑)
ศรีศักร วัลลิโภดม
"สุพรรณภูมิอยู่ที่ไหน"
ช่อฟ้า ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมีนาคม พ.ศ.
๒๕๑๐ หน้า ๕๖
(๒)
ศรีศักร วัลลิโภดม
"สุพรรณภูมิอยู่ที่ไหน"
ช่อฟ้า ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เดือนมีนาคม พ.ศ.
๒๕๑๐ หน้า ๕๘
การขุดแต่งที่ดอนทางพระได้พบปฏิมากรรมต่าง
ๆ มีทั้งทำด้วยศิลา และปูนปั้นที่สวยงาม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาทางศิลปประวัติศาสตร์
และโบราณคดี ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นอันมาก(๑)
เช่น
หน้าภาพรูปอสูรซึ่งเหมือนกับที่ประดับอยู่ที่ฐานปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
หน้าภาพเศียรเทวดาปูนปั้น ประติมากรรมบางชิ้นก็น่าสนใจ
และยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็นรูปอะไร เช่น รูปครุฑยุดช้าง ๒ เชือก
รูปบุคคลที่มีลิ้นจุกปาก และจากการที่ได้พบปฏิมากรรมรูปกลีบขนุนปรางค์
เนื่องในการขุดแต่งจึงสันนิษฐานได้ว่า
ทรากโบราณสถานที่เนินทางพระหรือดอนทางพระ
คงเป็นรูปปรางค์ที่สร้างตามศิลปเขมร แบบบายน หรือสมัยลพบุรี
อนึ่งก่อนหน้าที่จะมีการขุดแต่งดอนทางพระดังกล่าวแล้วข้างต้น
ที่โบราณสถานดอนทางพระ ก็เคยมีผู้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นต้นว่า
พระพุทธรูปปางนาคปรก(๒)
พระพิมพ์ พระโพธิสัตว์
อวโลกิเตศวร
ศิลปสมัยลพบุรี ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูปปางนาคปรก นั้นเป็นศิลปแบบเดียวกับที่พบที่วัดปู่บัว(๓)
ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
นอกจากศิลปโบราณวัตถุศิลปสมัยลพบุรี
มักจะพบอยู่ทั่วไปทุกอำเภอ(๔)
ในจังหวัดสุพรรณบุรี ยกเว้นอำเภอด่านช้างเพียงอำเภอเดียว
บริเวณที่พบมากกว่าที่อื่นอยู่ในท้องที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยอยุธยา
ตอนต้นสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง)
โปรดให้ตั้งขุนหลวงพะงั่วพี่พระมเหสีขึ้นเป็นพระบรมราชา(๕)
ให้อยู่ครองเมืองสุพรรณบุรีเดิมในฐานะเมืองลูกหลวง
และเป็นเมืองหน้าด่าน ด้านตะวันตก
ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากในการศึกสงคราม
จึงมักจะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเชื้อพระองค์ไปเป็นเจ้าเมือง
เป็นที่น่าสังเกตว่าในสมัยนั้นมี
"เจ้า"
ครองเมืองหน้าด่านเพียง ๒ องค์ เท่านั้น คือ
พระราเมศวรพระราชโอรสครองเมืองลพบุรี
ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือและขุนหลวงพะงั่วพี่พระมเหสีครองเมืองสุพรรณบุรี
ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศตะวันตก หน้าด่านอีก ๒ เมือง คือ
เมืองนครเขื่อนขันธ์
(พระประแดง)
ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศใต้
และเมืองนครนายกซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านด้านทิศตะวันออก ไม่มี
"เจ้า"
ไปเป็นเจ้าเมือง
เมืองสุพรรณบุรีในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง)
นั้น มีกำลังทหารเข้มแข็งมาก
มิได้ทำหน้าที่แต่เพียงเมืองหน้าด่านอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเกิดกรณี
"ขอมแปรพักตร์"
สมเด็จ
พระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง)
โปรดให้พระราเมศวรพระราชโอรสยกกองทัพไปตีเมืองเขมร
แต่ฝ่ายเขมรรู้ตัวก่อน ทัพหน้าของพระราเมศวรยังไม่ทันตั้งค่าย พญาอุปราช
ราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินเขมรก็
(๑)
ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ห้องลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
(๒)
ปัจจุบันอยู่ที่วิมลโภคาราม ในเขตสุขาภิบาลสามชุก
อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี องค์หนึ่ง
(๓)
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องลพบุรี
-
รัตนโกสินทร์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
(๔)
มนัส โอภากุล พระฯเมืองสุพรรณ
(สุพรรณบุรี
มนัสการพิมพ์ ๒๕๒๔)
หน้า ๑๕
(๕)
รายงานพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ปีรัตนโกสินทร์
ศก ๑๑๒
(พ.ศ.
๒๔๔๖)
ยกทัพโจมตีทัพหน้าแตก
มาปะทะทัพหลวง และเสียพระศรีสวัสดิ์ในที่รบ เมื่อความทราบถึงกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
(พระเจ้าอู่ทอง)
โปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกทัพไปช่วยหลาน และ
สามารถตีนครธมได้สำเร็จ
พร้อมทั้งกวาดต้อนชาวเขมรเข้ามากรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก(๖)
ถึงเก้าหมื่นคน(๗)
ส่วนปีที่ตีนครธมได้ ขณะนี้ยังไม่เป็นข้อยุติว่าเป็นปีใด
อาจเป็นพ.ศ.
๑๘๙๕ หรือ พ.ศ.
๑๙๑๒ ปลายรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
ในช่วงเวลาต่อมาเมืองสุพรรณบุรีกับเมืองลพบุรี
ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงด้วยกันต่างก็แข่งขันกันเองและไม่วางใจซึ่งกันและกันดังจะเห็นได้จากตอนที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่
๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
สวรรคต สมเด็จพระราเมศวรพระราชโอรสได้ครองราชสมบัติต่อมา
แต่ครองได้เพียง ๑ ปี ขุนหลวง
พะงั่วก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี
เข้ากรุงศรีอยุธยาสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ครองกรุงศรีอยุธยา
พระราเมศวรต้องเสด็จกลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าทองลันพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๑ ขึ้นครองราชสมบัติต่อในพ.ศ.
๑๙๓๑ ได้เพียง ๗ วัน พระราเมศวรก็ยกทัพจากเมืองลพบุรีมาจับสมเด็จพระเจ้าทองลัน
สำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นครั้งที่ ๒
การช่วงชิงอำนาจระหว่างเมืองสุพรรณบุรีกับเมืองลพบุรี
ยังคงกระทำสืบเนื่องต่อมาอีก เมื่อสมเด็จพระรามราชาธิราช
พระราชโอรสของสมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติแล้วไม่นานนักพระนครอินทร์เจ้าเมืองสุพรรณบุรี
ก็ยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาและถอดสมเด็จพระรามราชาธิราชออกจากราชบัลลังก์แล้วสถาปนาพระองค์เองเป็นสมเด็จพระนครินทราธิราช
(พ.ศ.
๑๙๕๒-
พ.ศ.
๑๙๖๗)(๘)
และทรงโปรดให้เจ้าอ้ายพระยามาครองเมืองสุพรรณบุรีในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราช สวรรคต เจ้าอ้ายพระยา
พระราชโอรสผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีกับเจ้ายี่พระยา
พระราชโอรสผู้ครองเมืองแพรก
(เมืองสรรค์)
ต่างก็แย่งชิงราชสมบัติ
และชนช้างต่อสู้กันที่เชิงสะพานป่าถ่าน
และถึงกับสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างทั้งสองพระองค์ เจ้าสามพระยา
พระราชโอรสผู้ครองเมืองชัยนาทจึงขึ้นครองราชย์
เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
ในรัชกาลนี้ได้เลิกประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสไปครองเมืองลูกหลวง ๒ แห่ง
หรือหลายแห่ง เพราะเป็นจุดอ่อนเป็นผลเสียหายมากกว่าผลดี จึงทรงตั้งพระราเมศวร
พระราชโอรสเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ สวรรคต ในปี พ.ศ.
๑๙๙๑ จึงได้ครองราชสมบัติ
ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(พ.ศ.
๑๙๙๑-พ.ศ.๒๐๓๑)
ทรงเลิกเมืองลูกหลวง และใช้ระบบขุนนางแทน
เมืองสุพรรณบุรีจึงมีแต่
ผู้รั้ง
ซึ่งไม่มีอำนาจเด็ดขาดแบบการปกครองเมือง แต่หากต้องปรึกษากับกรมการเมือง
ซึ่งประกอบด้วยจ่าเมืองแพ่ง และศุภมาตรา ผู้รั้ง
และกรมการเมืองจะได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าแผ่นดินไปปกครองเมืองในความควบคุมของราชธานีอย่างใกล้ชิด(๙)
(๖)
กรมศิลปากร,
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
(ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์
(จาด),หน้า
๒-๓
(๗)
กรมศิลปากร,
พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา,
(พระนคร,
แพร่พิทยา,
๒๕๑๓)
หน้า ๗๙
(๘)เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน
ครั้งดำรงพระยศเป็นที่พระมหาอุปราช
(๙)สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
"ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ"
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.
๒๐๘๖ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งพม่า
ได้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีประเทศไทย(๑๐)
ด่านแรกที่ตั้งรับกองทัพพม่า คือ เมืองสุพรรณบุรี
ซึ่งมีพระสุนทรสงครามเป็นเจ้าเมือง กองทัพทั้ง ๒ ฝ่าย
ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถแต่เนื่องจากกำลังกองทัพไทยน้อยกว่า
จึงทิ้งเมืองสุพรรณบุรีแตกถอยร่นเข้ามากรุงศรีอยุธยากองทัพพม่าก็ยกติดตามตีเข้ามาจนถึงชานกรุงศรีอยุธยา
การศึกครั้งนี้กองทัพพม่าไม่สามารถตีหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ต้องถอยทัพกลับไป
ผลของการสงครามครั้งนี้เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชดำริเห็นว่าเมืองสุพรรณบุรี
แม้จะมีป้อมคูประตูหอรบมั่นคงสักปานใดก็ตาม
แต่เมื่อมีศึกใหญ่ยกมาติดเมืองก็ไม่สามารถจะรับไว้อยู่
และเมื่อข้าศึกตีได้แล้วกลับจะใช้เป็นที่มั่นอีกด้วย
จึงโปรดให้รื้อป้อมกำแพงเมืองเสียซีกหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.
๒๐๘๖(๑๑)
เพื่อว่าข้าศึกตีเมืองได้แล้วจะไม่ได้มีโอกาสอาศัยใช้เป็นที่มั่นอยู่ในเมืองได้อีก
และในปีเดียวกันนี้โปรดให้แบ่งท้องที่เมืองราชบุรี และเมืองสุพรรณบุรี
ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี
ต่อมา
พ.ศ.
๒๐๙๒ พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า
ได้ยกกองทัพใหญ่ลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเตรียมป้องกันกรุงศรีอยุธยาอย่างเต็มที่
แต่กรุงศรีอยุธยามีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่า
เหลือกำลังจะป้องกันพระนครจึงยอมเป็นไมตรีและส่งตัวผู้รับประกันพระนคร
คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร พระยาจักรี
และพระสุนทรสงครามเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ให้แก่พม่าพร้อมกับช้างพลายเผือก อีก
๔ เชือก(๑๒)
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.
๒๑๒๗ รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระนเรศวร
พระราชโอรสได้ทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมขึ้นพม่า
เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงพิโรธ
โปรดให้ยกกองทัพเข้ามาตี
กรุงศรีอยุธยา
โดยเดินทัพมาทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือของพม่า
ปะทะกับกองทัพไทยที่เมืองสุพรรณบุรี และพม่าได้ถูกทัพเรือไทยภายใตับังคับบัญชาของเจ้าพระยาจักรี
ตีแตกกลับไป
ต่อมากองทัพพม่า ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ผ่านเมืองกาญจนบุรี
เข้าตีกรุงศรีอยุธยา ทางสุพรรณบุรีอีก ๒ คราว คือ พ.ศ.
๒๑๓๓ และ พ.ศ.
๒๑๓๕ การรบทั้ง ๒ ครั้ง สมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชทรงเป็นแม่ทัพเนื่องจากทรงชำนาญภูมิประเทศ
และยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง จึงทรงกำหนดพื้นที่ตำบลตะพังกรุ
เมืองสุพรรณบุรีเป็นสนามรบทั้ง ๒ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ.
๒๑๓๓ ปีแรกรบกันในท้องที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
กล่าวคือเมื่อพระมหาอุปราชายกกองทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาแล้ว
ก็เดินทัพผ่านแดนป่าสูงที่เต็มไปด้วยเทือกเขาใหญ่ของเมืองกาญจนบุรี(๑๓)
เลียบลงมา
ตามแนวลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่
เมื่อพ้นแดนป่าสูงก็จะถึงพื้นที่สนามรบดอนตะพังกรุตอนใต้ที่บริเวณบ้านทวน(๑๔)
แล้วตั้งค่ายใหญ่ประชุมทัพปิดปากทางเข้าแดนป่าสูง
ซึ่งเป็นการรักษาเส้นทางสำคัญในการเดินทัพของฝ่ายพม่าไว้แล้วจึงจะเดินทัพตามพื้นที่ดอนขึ้นสู่ทิศเหนือผ่านบ้านจระเข้สามพัน
บ้านโข้ง เพื่อไปข้ามลำน้ำที่แม่น้ำท่าคอยเข้าสู่พื้นที่ดอนฝั่งตะวันออก
ซึ่งเป็นส่วนเหนือของแดนลุ่มพลี เมืองสุพรรณบุรี
แล้วจึงจะเข้าตีเมืองสุพรรณบุรี
หรือไปป่าโมกก็จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้สะดวกทั้ง
(๑๐)ประพัฒน์
ตรีณรงค์ ศึกษาและเที่ยวในเมืองไทย
(พระนคร,
เลี่ยงเซียง ๒๕๐๒ หน้า ๑๒๘๐)
(๑๑)
กรมศิลปากร,
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
(พระนคร,
อักษรสัมพันธ์ ๒๕๐๕ หน้า ๑๔๔)
(๑๒)
เล่มเดียวกัน หน้า ๑๕๔
-๑๕๘
(๑๓)
สถาน แสงจิตพันธุ์
ตอบคำถามของกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พิมพ์ดีด ๒๕๒๐
(๑๔)
คืออำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
๒
แห่ง ถ้าข้ามลำน้ำต่ำลงมากว่านั้นจะเดินทัพไม่ได้
เพราะจะติดพื้นที่หล่มเลนลุ่มพลีตลอดไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา
ขณะที่กองทัพพระมหาอุปราชา เดินทัพมาตามเส้นทางเดิมที่เคยยกทัพมาครั้งก่อน
ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งทรงจัดเจนภูมิประเทศอยู่แล้วก็ทรงนำกองกำลังทหารจัดซุ่มอยู่ในป่าทึบบริเวณเชิงเทือกเขาพระยาแมน(๑๕)
ตอนเหนือบ้านจระเข้สามพัน
ตลอดแนวขุนเขาซึ่งพื้นที่เป็นคอคอดของสนามรบ
มีเทือกเขาใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตก มีลำน้ำจระเข้สามพันอยู่ทางทิศตะวันออก
สภาพภูมิศาสตร์บีบกระหนาบพื้นที่ซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพให้เป็นช่องแคบอยู่ระหว่างกลางพระองค์ทรงพระราชดำริที่จะบุกตีกองทัพพม่า
ขณะผ่านช่องแคบให้ถอยร่นไปแตกทัพที่ริมแม่น้ำจระเข้สามพันให้จงได้
ขณะที่กองทัพพม่าผ่านเข้าช่องแคบเข้ามาด้วยความประมาท เพราะไม่เคยต้องกลยุทธในสนามรบบริเวณนี้มาแต่ก่อน
จึงถูกกองกำลังทหารไทยโจมตีถึงกับแตกพ่ายยับเยินที่ริมลำน้ำ
จระเข้สามพันหมดทุกทัพ การรบครั้งนี้ถึงขั้นตะลุมบอน
เกือบจับองค์พระมหาอุปราชาได้ พระยาพสิม พระยาพุกาม
แม่ทัพพม่าได้แก้ไขเอาพระมหาอุปราชาหนีรอดไปได้
พระยาพุกามตายในที่รบพร้อมกับไพร่พลเป็นจำนวนมาก ทหารไทยจับตัวพระยาพสิมได้
พร้อมทั้งยึดได้ช้างม้าและเครื่องศาตราวุธเป็นอันมาก
พระมหาอุปราชาและทหารพม่ารอดตายได้แตกพ่ายหนีกลับไป
นอกราชอาณาจักรด้วยความเกรงกลัวในพระบรมราชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหารช
ต่อมาพระมหาอุปราชา ยกกองทัพเข้ามาตีประเทศไทยอีก เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.
๒๑๓๕
ครั้งนี้ได้ยกกองทัพมาตั้งค่ายใหญ่ประชุมทัพปิดปากทางเข้าแดนป่าสูงที่บริเวณบ้านทวนตอนใต้ของสนามรบ
เช่นเดียวกับครั้งก่อนแต่เนื่องจากพระมหาอุปราชายังเข็ดขยาดช่องแคบที่เป็นคอคอดของสนามรบดอนตระพังกรุอยู่
เพราะเคยได้รับบทเรียนที่มีค่าอย่างสูงถึงกับเสียชีวิตทหารทั้งกองทัพมาแล้ว
จึงได้ให้กำลังส่วนใหญ่ยกล่วงหน้าขึ้นไปสำรวจช่องแคบ
และพื้นที่ของสนามรบจากตอนใต้ขึ้นสู่ตอนเหนือ
ทหารพม่าสำรวจพื้นที่ขึ้นไปและตั้งทัพหน้าอยู่ถึงบ้านโข้ง
สืบทราบว่ากองทัพไทยมีกำลังน้อยกว่าได้ยกมาขัตตาทัพอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์
พระมหาอุปราชาจึงยกกองทัพหลวงขึ้นสู่พื้นที่ด้านเหนือของสนามรบ
เพื่อจะข้ามลำน้ำท่าคอย
แล้วนำกำลังส่วนใหญ่ที่มีจำนวนมากกว่าเข้าซุ่มตีกองทัพไทยให้แตกแล้วหวังจะบุกตามตีให้ถึงกรุงศรีอยุธยา
ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า
ช่องแคบคอคอดของสนามรบดอนตระพังกรุนั้น กองทัพพม่ารู้เท่าทันในยุทธวิธีแล้ว
จึงวางแผนออกตั้งค่ายหลวงประชุมทัพอยู่ที่บริเวณตระพังน้ำหนองสาหร่ายทางตอนเหนือของสนาม
เพื่อปิดทางเข้าออกแดนลุ่มพลีของกรุงศรีอยุธยาไว้
โดยจัดกองทัพซุ่มอยู่ในป่าทึบเหนือบริเวณแม่น้ำท่าคอยคอยท่ารอจังหวะให้กองทัพพระมหาอุปราชายกข้ามลำน้ำมาเมื่อใด
จึงจะบุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าให้ถอยร่นลงไป
แตกทัพที่ริมแม่น้ำอีกครั้งหนึ่งให้จงได้
แต่พระยาศรีไสยณรงค์ไปทำกลแตกเสียที่บ้านดอนระฆัง
โดยนำกองสอดแนมเข้าโจมตีทัพหน้าของพม่าอย่างอาจหาญเป็นเหตุให้พม่าไหวตัวเสียก่อน
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงเปลี่ยนแผน
(๑๕)
คือเทือกเขาใหญ่ นับแต่เขาถ้ำเสือ-สุสานสุขนิรันทร์-น้ำตกพุม่วง-เขาพระ
ปัจจุบัน
ใหม่
แต่เนื่องจากเวลากระชั้นชิดท่ามกลางป่ารกทึบเช่นนั้นทำให้ทหารทุกกองทัพไม่สามารถปฏิบัติการรบได้โดยพร้อมเพรียงกันเพื่อแก้ปัญหา
พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยกระทำยุทธหัตถีทันทีในขณะที่กองทัพพระมหาอุปราชาไล่ติดตามทหารพระยาศรีไสยณรงค์เข้ามาใกล้บริเวณหนองสาหร่ายและพระองค์ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชา
ขาดสะพายแล่ง
ทิวงคตบนคอช้างพระที่นั่งและกองทัพไทยส่วนหนึ่งได้รุกไล่ตามตีกองทัพพม่าลงไปจนสิ้นเขตพื้นที่สนามรบดอนตระพังกรุ
และเข้าตีค่ายใหญ่ทางตอนใต้ของสนามรบแตกยับเยินไปทหารพม่าตายถึงประมาณ ๒๐,๐๐๐
คน ที่บาดเจ็บหนีกลับไปเป็นอันมาก
ทหารไทยจับทหารพม่าได้เป็นอันมากและยึดได้ช้าง ม้า ตลอดจนเครื่องศาสตราวุธเป็นอันมาก
ตั้งแต่นั้นมาพม่าก็เข็ดขยาดไม่กล้ายกกองทัพเข้ามาตีประเทศไทยเป็นเวลานานถึง
๑๖๕ ปี
ต่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าเอกทัศน์ ก่อนจะเสียกรุงไม่นานนัก
ได้เกิดสงครามกับพม่าที่บริเวณเมืองสุพรรณบุรีอีกครั้งหนึ่ง(๑๖)
สงครามครั้งนี้กองทัพไทยพ่ายแพ้ยับเยินเจ้าพระยาราชเสนาแม่ทัพถูกทหารพม่าไล่ติดตามและพุ่งด้วยหอกขัดถึงอนิจกรรม
บนหลังช้าง พระยายมราช ก็ถูกหอกขัดของทหารพม่าบาดเจ็บหลายแห่ง
แต่หนีเอาตัวรอดกลับไปได้
ส่วนกองทัพไทยก็แตกพ่ายหนีกองทัพพม่าอย่างไม่เป็นขบวน
สมัยธนบุรี
(พ.ศ.
๒๓๑๑-๒๓๒๔)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่กรุงธนบรีแล้ว
ก็ได้ทำสงครามกับพม่าอีกหลายครั้ง แต่เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ทางทิศใต้
ห่างจากพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
และเมืองสุพรรณบุรีก็อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครศรีอยุธยาประมาณ
๘๐ กิโลเมตร พม่าซึ่งเดินทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยกกองทัพย้อนขึ้นไปตีเมืองสุพรรณบุรีซึ่งอยู่เหนือกรุงธนบุรีขึ้นไปอีกประมาณ
๑๕๐ เมตร
ถ้าพม่าจะตีเมืองหลวงของไทยก็คงจะต้องยกกองทัพตัดตรงเข้าเมืองหลวงเลยทีเดียว
หรือถ้าจะยกกองทัพเข้ามาทางใต้ ก็คงตัดตรงจากเมืองราชบุรี
ผ่านเมืองสมุทรสงครามเข้ามา
เมืองสุพรรณจึงไม่อยู่ในเขตสนามรบในสมัยธนบุรีปรากฏว่ามีการรบกันประปรายในเขตเมืองสุพรรณบุรีเพียงครั้งเดียวเมื่อ
พ.ศ.
๒๓๑๙ คือในคราวที่พม่ายกกองทัพมาทางเหนือ
เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๓๑๙(๑๗)
เพื่อขับไล่กองทัพพม่าซึ่งกำลังรบติดพันอยู่กับกองทัพไทยที่เมืองนครสวรรค์
ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทัพไปถึงเมืองชัยนาท
กองทัพพม่าทราบข่าวก็ตกใจละทิ้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์หลบไปทางเมืองอุทัยธานีและเดินทัพเข้ามาทางเมืองสรรค์บุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพติดตามตีกองทัพพม่าจนถึงทุ่งบ้านเดิมบางนางบวช
เมืองสุพรรณบุรี และกองทัพทั้ง ๒ ฝ่าย ได้ต่อสู้กันเป็นสามารถที่ทุ่งนั้น
ผลการรบครั้งนั้นกองทัพพม่าถูกตีแตกอย่างพ่ายยับเยินกระเจิดกระเจิงไป
ต่อจากนั้นก็ไม่มีการรบกับพม่าในเขตเมืองสุพรรณบุรี อีกเลย
(๑๖)
ตรี อมาตยกุล เรื่องจังหวัดสุพรรณบุรี
(ธนบุรี:
เจริญรัตน์การพิมพ์ ๒๕๑๓)หน้า
๑๔-๑๕
(๑๗)
เสถียร พันธรังษี
"ความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เมืองชัยนาท"
บทความในการสัมมนาโบราณคดีที่จังหวัดชัยนาท จัดโดย
กรมศิลปากร ๒๐-๒๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑
(อัดสำเนา)
สมัยรัตนโกสินทร์
(พ.ศ.
๒๓๒๕
-
ปัจจุบัน)
ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เข้าใจว่าเมืองสุพรรณบุรีได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำท่าจีน
จะย้ายมาแต่ พ.ศ.
ใด ไม่สามารถหาหลักฐานได้แน่นอน
เมืองที่ย้ายมาตั้งใหม่ในที่ตั้งปัจจุบันที่ไม่ได้ทำเป็นเมืองป้อม กล่าวคือ
ไม่มีค่าย คู หอรบ เหมือนอย่างเมืองเก่า
เมื่อ
พ.ศ.
๒๓๖๘
เจ้าอนุเมืองเวียงจันทร์ลงมาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วยในการพระบรมศพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ผู้คนลงมามาก
จึงทรงพระราชดำริแล้วให้ขอแรงไพร่พลที่มาด้วยให้มาตัดต้นตาลที่เมืองสุพรรณบุรี
ลากเข็นลงมาไม่กำหนดจำนวนจะไปใช้ที่เมืองสมุทรปราการเพื่อทำป้อมปืนใหญ่
เจ้าอนุได้ให้ราชวงศ์คุมคนมาดำเนินการ(๑)
ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปรากฏว่าเมืองที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้ยังคงเป็นป่าเปลี่ยวอยู่โดยมาก
(๒)
สุนทรภู่ได้เดินทางเรือผ่านมาเมื่อ พ.ศ.
๒๓๗๙ แล้วได้เขียนในโครงการนิราศสุพรรณของท่านว่า
ตวันเยนเห็นหาดหน้า
ถ้ามี
เมืองสุพรรณบุรีย
รกร้าง
ศาลตั้งฝั่งนที
ที่หาด ลาดแฮ
โรงเล่าเข้าต้มค้าง
ของคุ้งหุงสุราฯ
(๑๓๓)
ผู่รั้งตั้งรั้วรอบ
ขอบราย
เปนหมู่ดูงัวควาย
ไขว่บ้าน
สาวสาวเหล่านุ่งลาย
แล้วหม่อม มอมเอย
จ้ำม่ำล่ำสันสอ้าน
อาบน้ำปล้ำปลาฯ
(๑๓๔)
กรมการบ้านตั้งตลอด
ตลิ่งเตียร
ต่างต่อล้อเลื่อนเกียร
เก็บไว้
เรือริมหาดดาษเดียร
รดะปัก หลักแฮ
ของเหล่าเชาสวนใต้
แต่งตั้งนั่งซาย ฯ
(๑๓๕)
ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโพ้น
พิสดาร
มีวัดพระรูปบูราณ
ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาร
สงสู่ อยู่เอย
หย่อมย้านบ้านขุนช้าง
ชิดข้างสวนบันลัง ฯ
(๑๓๖)
(๑)
กรมศิลปากร พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
ฉบับหอสมุดแห่งชาติ(ธนบุรี
คลังวิทยา ๒๕๐๖ หน้า ๒๙-๓๐
)รัชกาลที่
๓ และที่ ๔
ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ
บุนนาค)
(๒)
ตรี อมาตยกุล เรื่องจังหวัดสุพรรณบุรี
(ธนบุรี
เจริญรัตน์การพิมพ์ ๒๕๑๓)หน้า
๑๖
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและได้ทรงจัดราชการบริหารส่วนกลางโดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและต่อมาได้โปรดฯ
ให้ควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว ต่อมาก็ได้จัดตั้งราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น
ได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล
ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองที่สำคัญยิ่งในการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลส่วนกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง
ๆ
เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
และเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบกินเมืองซึ่งเป็นประเพณีปกครองดั้งเดิมให้หมดไป
การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๗ เป็นต้นมาและได้จัดตั้งตามลำดับ ดังนี้ คือ
พ.ศ.
๒๔๓๗ จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๔ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก
มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และมณฑลราชบุรี
พ.ศ.
๒๔๓๘
จัดตั้งมณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า
และมณฑลภูเก็ต
พ.ศ.
๒๔๓๙ จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
พ.ศ.
๒๔๔๐ จัดตั้งมณฑลไทรบุรีและมณฑลเพชรบูรณ์
พ.ศ.
๒๔๔๓ เปลี่ยนแปลงสภาพมณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน
ซึ่งเป็นมณฑลเก่าก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ.
๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพื่อการประหยัด
พ.ศ.
๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี
พ.ศ.
๒๔๕๐ จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.
๒๔๕๑
ประเทศไทยจำต้องยอมยกมณฑลไทยบุรี ให้แก่ ประเทศ อังกฤษ
เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย
และเพื่อจะกู้ยืมเงินประเทศอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
พ.ศ.
๒๔๕๕ แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบล
และมณฑลร้อยเอ็ด
พ.ศ.
๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
สำหรับเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองอยู่ในเขตมณฑลนครชัยศรี
ซึ่งมณฑลนี้ประกอบไปด้วยเมืองนครชัยศรี
,เมืองสุพรรณบุรี
และเมืองสมุทรสาคร
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖
ได้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
จังหวัดไม่เป็นนิติบุคคล
มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด
และได้ยุบเลิกมณฑล เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น
ต่อมา
พ.ศ.
๒๔๙๕
ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้ฐานะของจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คือ
๑.
ฐานะเป็นนิติบุคคล
๒.
อำนาจบริหารในจังหวัด
แต่เดิมตกอยู่แก่คณะกรรมการจังหวัดซึ่งเป็นคณะบุคคลเปลี่ยนแปลงมาอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพียงคนเดียว
๓.
เปลี่ยนแปลงฐานะคณะกรรมการจังหวัด
ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่
๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
๑.
จังหวัด
๒.
อำเภอ
สำหรับจังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด
และมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ
และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรี มี ๙ อำเภอ และ ๑ กิ่งอำเภอ คือ
๑.
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
๒.
อำเภอบางปลาม้า
๓.
อำเภอสองพี่น้อง
๔.
อำเภอเดิมบางนางบวช
๕.
อำเภอศรีประจันต์
๖.
อำเภอดอนเจดีย์
๗.
อำเภอสามชุก
๘.
อำเภอด่านช้าง
๙.
อำเภออู่ทอง
๑๐.
กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ
ที่มา
:
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี
. สุพรรณบุรี
:
มนัสการพิมพ์
, ๒๕๒๘
.
|