ประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูน
๑.
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ลำพูน
เดิมชื่อ หริภุญชัย เดิมเป็นถิ่นฐานของเมงคบุตร
(คือพวกชนเผ่าสกุลมอญในสุวรรณภูมิ
ภาคเหนืออันเป็นสาขาหนึ่งของชนเผ่ามอญ เขมร จากมหาอาณาจักรพนม)
พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า
ต่อไปจะบังเกิดนครหริภุญชัยขึ้น
และเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วพระบรมสารีริกธาตุจึงปรากฏขึ้นมาเอง
เมืองหริภุญชัย
เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นระหว่างแม่น้ำ ๒ สาย คือ
แม่น้ำปิง และแม่น้ำกวง ความมุ่งหมายการสร้าง เพื่อเป็นแหล่งขยายอารยธรรมของอาณาจักรที่
รุ่งเรืองของละโว้ไปทางทิศเหนือ
ไปสู่ชนที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณแถบนั้น
๒.
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำพูนเป็นเมืองเล็กที่มิได้ตั้งขึ้นเพื่อขยายอิทธิพลทางอาณาจักร
จึงถูกรังแกจากชุมชนที่ใหญ่กว่าตลอดมา
ทำให้อาณาจักรลานนาไทยที่อยู่ตรงกลางเปลี่ยนมือการปกครองหลายครั้ง และ
ตกอยู่ในอำนาจของพม่าและมอญเป็นเวลานานถึง ๒๐๐ ปี
(พ.ศ.
๒๑๐๑-๒๓๑๗)
พระเมืองแก้ว ราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑๓
ได้รื้อกำแพงเมืองหริภุญชัยเดิม
และสร้างใหม่ให้แคบลงซึ่งรวมอยู่ในอาณาจักรนครพิงค์ ต่อมา พ.ศ.
๒๒๗๒-๒๒๗๕ พม่าคุกคาม แคว้นลานนา
เจ้ามหายศเมืองลำพูน ได้ยกกองทัพไปรบกับชาวลำปาง แพ้นายทิพย์ช้าง
พรานป่าชาวบ้าน ปงยางคก (ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ
ลำพูน ณ ลำปาง และเชื้อเจ็ดตน)
ได้กู้ลำปางพ้นจากอำนาจพม่า หลังจากนั้นปี พ.ศ.
๒๓๐๔ โปมะยุง่วน ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ (ขณะนั้นขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา)
ได้แล้วเข้าครองเชียงใหม่
แต่พระยาลำพูนไม่ยอมขึ้นกับพม่าหนีมาอยู่เมืองพิชัย ในเวลาต่อมาปี พ.ศ.
๒๓๐๖ พม่ายกทัพมาตีลำพูนแตก
เจ้าเมืองไชยส้องสุมผู้คนเข้าแย่งตีเมืองคืน แต่มีกำลังน้อยกว่า
จึงพ่ายแพ้ถูกฆ่าตาย ปี พ.ศ.
๒๓๐๘ ชาวเมืองลำพูนรวมกำลังเป็นกบฎเข้ารบกับโปมะยุง่วนที่เชียงใหม่
โปมะยุง่วนหนีกลับเมืองอังวะพม่าส่งอะแซหวุ่นกี้มาปราบลำพูนราบคาบในปี พ.ศ.
๒๓๐๙
๓.
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสว่า
ตราบใดที่พม่ายังมีอำนาจครอบงำแผ่นดินลานนาไทยอยู่
การป้องกันประเทศให้เป็นเอกราชย่อมกระทำได้ยาก จึงตกลงพระทัยยกกองทัพขึ้นมาทำศึกชิงนครพิงค์จากพม่าถึง
๒ ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ.
๒๓๑๔ แต่ไม่สำเร็จ ครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ.
๒๓๑๗
ทรงได้รับความร่วมมือจากพญาจ่าบ้านกับเจ้ากาวิละยึดได้นครเชียงใหม่และหัวเมืองอื่นๆ
เช่น แพร่ ลำปาง ลำพูน และน่าน โดยให้เจ้าศรีบุญมา
อนุชาองค์น้อยเป็นอุปราชของเจ้าบุรีรัตน์ (อนุชาของเจ้ากาวิละ)
อพยพชาวลำปาง เชียงใหม่ และเมืองยอง (ชาวเวียงยองที่อยู่เขตตำบลเวียงยองในปัจจุบัน)
มาอยู่ลำพูน ๑,๐๐๐
ครอบครัว
๔.
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
อาณาจักรลานนาไทยซึ่งมีลำพูนรวมอยู่ด้วยได้พ้นจากอำนาจของพม่าโดยสิ้นเชิง
เมื่อ พ.ศ.
๒๓๔๕
โดยกองทัพไทยทำการขับไล่พม่าออกจากหัวเมืองต่างๆ ในลานนาไทย
ถึงกระนั้นลำพูนและหัวเมืองลานนาไทยก็ยังคงตกเป็นประเทศราชของกรุงเทพฯ
มาทำนองเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมา พ.ศ.
๒๓๕๗
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพระยาราชวงศ์คำฝั้น
เป็นพระยาลำพูนไชย นับเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์แรกของลำพูน
ซึ่งจะจัดลำดับได้ดังนี้
๑.
เจ้าคำฝั้น พ.ศ.
๒๓๕๗ ถึง พ.ศ.
๒๓๕๘ ครองเมืองได้ ๑ ปี
๒.
เจ้าบุญมา พ.ศ.
๒๓๕๘ ถึง พ.ศ.
๒๓๗๐ ครองเมืองได้ ๑๒ ปี
๓.
เจ้าน้อยอินทร์
(อิ่น)
พ.ศ. ๒๓๗๐
ถึง พ.ศ.
๒๓๘๑ ครองเมืองได้ ๙ ปี
๔.
เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ.
๒๓๘๑ ถึง พ.ศ.
๒๓๘๔ ครองเมืองได้ ๓ ปี
๕.
เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ.
๒๓๘๔ ถึง พ.ศ.
๒๓๘๖ ครองเมืองได้ ๒ ปี
๖.
เจ้าน้อยไชยลังการ พ.ศ.
๒๓๘๖ ถึง พ.ศ.
๒๔๑๔ ครองเมืองได้ ๒๘ ปี
๗.
เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์
(เจ้าดาวเรือง)
ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๑๔ ถึง พ.ศ.
๒๔๓๑ ครองเมืองได้ ๑๗ ปี
๘.
เจ้าเหมพินทุไพจิตร
(เจ้าคำหยาด)
ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๓๑ ถึง พ.ศ.
๒๔๓๘ ครองเมือง ได้ ๗ ปี
๙.
เจ้าอินทยงยศโชติ
(เจ้าน้อยอินทยงยศ)
ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๓๘ ถึง พ.ศ.
๒๔๕๔ ครองเมืองได้ ๑๖ ปี
๑๐.
พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๕๔ ถึง พ.ศ.
๒๔๘๖ ครองเมืองได้ ๓๒ ปี
๔.
การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่างๆ
ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพ
เป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย
อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช
พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการคือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ
แล้วก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเหมือนกัน
เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนคร มีฐานันดรศักดิ์เป็น
"เจ้า"
เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ๆ
ผิดกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่
(ต่อมาเปลี่ยนเป็นสมุหเทศาภิบาลและโดยเฉพาะมณฑลพายัพเปลี่ยนเป็นอุปราช)
มาดำเนินการปกครอง
และแต่งตั้งเจ้าเมืองเข้าปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง)
ทั้งนี้ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.
๒๔๔๐ เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้น
ถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครขึ้นทุกๆ
จังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่มีเจ้าผู้ครองนครๆ
มาสิ้นสุดลง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศเมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๕
ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมดไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก
ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นพิราลัยลง
๖.
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.
๒๔๗๖
มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด
และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด
และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย
เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ.
๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
1)
การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
สามารถที่จะสั่งการและ ตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2)
เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3)
เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด
จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง
เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4)
รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ
มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล
เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด ดังนี้
๑)
จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
๒)
อำนาจบริหารในจังหวัด
ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่คณะกรมการจังหวัดนั้น
ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
๓)
ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด
ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินในจังหวัด
ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕
โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
๑)
จังหวัด
๒)
อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ
อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของ
ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ที่มา
:
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดลำพูน
. เชียงใหม่ :
พิทักษ์การพิมพ์ , ๒๕๒๘.
|