ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Maehongsorn
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์

แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น

 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ต่อมาในปี พ.. ๒๓๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตร-ประเทศ (เจ้าพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประสงค์จะได้ช้างป่ามาฝึกใช้งานจึงบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมาควบคุมไพร่พล หมอครวญพร้อมด้วยกำลังช้างต่อ ออกเดินทางไปสำรวจและคล้องช้างป่าทางด้านดินแดนแถบนี้ เจ้าแก้วเมืองมาเดินทางรอนแรมจากเชียงใหม่ มาถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งน้ำปาย เห็นว่าทำเลดีและเหมาะสม เพราะเป็นที่ราบมีน้ำท่าบริบูรณ์ ทั้งยังเป็นป่าโปร่ง มีหมูป่าลงกินโป่งชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านได้ จึงหยุดพักไพร่พลอยู่ ณ ที่แห่งนี้ แล้วทำการรวบรวมชาวไทยใหญ่ที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง และตั้งชื่อว่า "บ้านโป่ง-หมู"  ซึ่งปัจจุบันได้เพี้ยนเป็น "บ้านปางหมู" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้งให้  "พระกาหม่อง" เป็นหัวหน้าบ้านปกครองดูแล  เมื่อเจ้าแก้วเมืองมา ได้จัดตั้งหมู่บ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปทางใต้เพื่อคล้องช้างป่า จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งไม่ไกลจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบันนัก ได้พบรอยเท้าช้างป่ามากมาย จึงหยุดพักพลอยู่ ณ ที่นั้นทำการคล้องช้างป่าได้หลายเชือก เมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว ก็ได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างป่าในลำห้วยนั้น และได้มอบให้  "แสนโกมบุตรชายพะกาหม่อง ไปชักชวนผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและชื่อว่า "แม่ร่องสอน" ซึ่งปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"

 การจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประกาศรวมหัวเมืองต่างๆ ของอาณาจักรลานนาไทยเป็นมณฑลพายัพเป็นส่วนหนึ่งในผืนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย อาณาจักรลานนาไทยจึงสิ้นสภาพของการเป็นประเทศราช พ้นจากการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ คือ ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ฯลฯ และก็สูญสิ้นความเป็นอาณาจักรลงด้วยเช่นกัน เว้นแต่ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครมีฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้า" เช่นเดียวกับในตอนที่เข้ารวมอยู่ในอำนาจของไทยใหม่ๆ ต่างกันแต่เพียงในสมัยที่จัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้วทางราชการได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นสมุหเทศาภิบาล และโดยเฉพาะมณฑลพายัพ เปลี่ยนเป็น อุปราช มาดำเนินการ    ปกครอง และแต่งตั้งเจ้าเมืองมาปฏิบัติราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร (ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าหลวง) ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมา สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครนั้นถือว่าเป็นตำแหน่งมีเกียรติ และมีเจ้าผู้ครองนครอยู่ทุกจังหวัดในมณฑลพายัพ ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่มีเจ้าผู้ครองนคร เจ้าผู้ครองนครมา  สิ้นสุดลงภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศ เมื่อ พ.. ๒๔๗๕ และยุบเลิกเจ้าผู้ครองนครเสียทั้งหมด ไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ในเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัยลง

 การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

            การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.. ๒๔๗๖ มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริการราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และ กรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองเป็นจังหวัด และอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลอีกด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย

          เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก

. การคมนาคมสื่อสารสะดวก และรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนสามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

.  เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

. เห็นว่าหน่วยมณฑล ซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑล เมื่อจังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

ต่อมาในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดนี้

) จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

) อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลเดียวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

) ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ    แผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ   ฉบับที่ ๒๑๘   ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕        โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

) จังหวัด

) อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ      และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

 

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดแม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องสอน : องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ๒๕๒๘.

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์