ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Nakhonsawan
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดนครสวรรค์

นครสวรรค์เป็นเมืองโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า “เมืองพระบาง” เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งแต่อยู่ในที่ตอนบริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี) จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่  เมืองพระบางต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น”เมืองชอนตะวัน” เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “เมืองนครสวรรค์” เพื่อเป็นศุภนิมิตอันดี

นครสวรรค์ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า “ปากน้ำโพ” โดยปรากฏเรียกกันมาแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ปากน้ำโพ แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไป

ที่มาของคำว่า “ปากน้ำโพ” สันนิษฐานได้ ๒ ประการคือ อาจมาจากคำว่า “ปากน้ำโผล่” เพราะเป็นที่ปากน้ำแคว ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่งคือมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำ ในบริเวณวัดโพธิ์ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบันจึงเรียกกันว่า “ปากน้ำโพธิ์”ก็อาจเป็นได้

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนำพระพุทธรูปชื่อ “พระบาง” ไปคืนให้เมืองเวียงจันทน์  แต่ติดศึกพม่าต้องเอาพระพุทธรูป "พระบาง" มาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึกกับพม่า และปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมือง ยกมาตีกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงเทพฯ กองทัพไทยได้ยกเคลื่อนที่ขึ้นมาเลือกนครสวรรค์ (ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าหลังโรงเหล้าเดี๋ยวนี้) เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลงขุดคูประตูหอรบ จากตะวันตกตลาดสะพานดำไปบ้านสันคูไปถึงทุ่งสันคู เดี๋ยวนี้ยังปรากฏแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึกยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์ สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาวมาเหนือทุ่งสันคู เมื่อฤดูแล้งเป็นที่ดอนขาดน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็หลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึก ไทยยกทัพตีตลบหลังพม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้จึงได้ชื่อว่า "เขาช่องขาด" มาจนบัตหนี้

          เนื่องจากเมืองนครสวรรค์เป็นหัวเมืองชั้นตรี ซึ่งปรากฏอยู่ตามกฎหมายเก่า ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ราว พ.. ๒๑๐๐ ว่าด้วยเรื่องดวงตราประทับหนังสือที่ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงใช้ในราชการ ดังนั้นเมืองนครสวรรค์ จึงมิได้มีบทบาทที่ถูกกล่าวถึงไว้ในประวัติศาสตร์สำคัญของไทยเท่าใดนัก

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

          ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงพระราชดำริที่จะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคง จึงทรงริเริ่มจัดรูปการปกครองท้องถิ่นขึ้นใหม่ โดยให้รวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าเป็นมณฑล มีผู้ปกครองมณฑลขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยแต่กระทรวงเดียว

          ครั้งแรกได้ทรงเริ่มจัดตั้งมณฑลขึ้น ๔ มณฑล คือ มณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจีน มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลพิษณุโลก แต่ตั้งเป็นมณฑลสมบูรณ์มีข้าหลวงเทศาภิบาลปกครองถูกต้องเพียง ๒ มณฑล ในปี พ.. ๒๔๓๕ คือมณฑลปราจีน และมณฑลพิษณุโลก ส่วนอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลกรุงเก่า  และมณฑลนครสวรรค์มาจัดตั้งสำเร็จในปลายปี พ.. ๒๔๓๖ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พระองค์เจ้าวัฒนานุวงค์ ต้นราชสกุล วัฒนวงค์) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าและให้พระยาดัสกรปลาศ (อยู่) ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ ณ เมืองหลวงพระบาง เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์

          ในการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ ได้รวมเอาหัวเมืองทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน ๘ เมือง คือเมืองชัยนาท เมืองสรรคบุรี เมืองมโนรมย์ เมืองอุทัยธานี เมืองพยุหะคีรี เมืองนครสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร และเมืองตาก ตั้งที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ การจัดรูปปกครองในลักษณะมณฑลได้ดำเนินการมาจนถึง พ.. ๒๔๗๕ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุบมณฑลและระเบียบเทศาภิบาลของเก่าไปให้คงไว้แต่หัวเมืองและอำเภอ โดยให้ทุกเมืองมีฐานะเท่าเทียมกัน ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อเจ้ากระทรวง และรับคำสั่งจากเจ้ากระทรวงโดยตรง

การจัดรูปการปกครองสมัยปัจจุบัน

          ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.. ๒๔๗๕ โดยการยุบเลิกมณฑลตามระเบียบเทศาภิบาลแบบเก่าไปแล้ว ได้มีการจัดระบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ ครั้นมาในปี พ.. ๒๔๙๕ ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดฐานะจังหวัดเป็นนิติบุคคล และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจังหวัดแต่เพียงบุคคลเดียว โดยมีคณะกรมการจังหวัดเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

          การปกครองรูปจังหวัดในปีปัจจุบัน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ ซึ่งจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติในจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคน เป็นผู้รับนโยบายของทางราชการมาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและประชาชน เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร และส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้ง ๒ ตำแหน่ง  เป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด   ทั้งนี้ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีคณะกรมการจังหวัด เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

          ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์ : ไพศาลการพิมพ์, ๒๕๒๙.

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์