ประวัติศาสตร์จังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานควบคู่มากับประวัติศาสตร์ของไทย
โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว
สระหลวง สองแควทวิสาขะ ไทยวนที อกแตก การเปลี่ยนชื่อเป็น พิษณุโลก
มาเปลี่ยนในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
ก่อนที่ราชวงศ์พระร่วงซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์
ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั้น
ราชวงศ์ที่มีอำนาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ คือ ราชวงศ์ศรีนาวนำถม
พ่อขุนศรีนาวนำถมเสวยราชเมืองเชลียงตั้งแต่ราว พ.ศ.
๑๗๖๒ พระองค์มีพระโอรส ๒ พระองค์ คือ
พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด
และพระยาคำแหงพระราม
ครองเมืองพิษณุโลก
ภายหลังจากที่พ่อขุน-ศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์
ขอมสมาดโขลณลำพง เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้
พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ
พ่อขุนผาเมืองจึงยกเมืองสุโขทัยให้ขุนบางกลางหาว
ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัย
และได้เฉลิมพระนามเป็นพ่อขุนศรี-
อินทราทิตย์
สมัยกรุงสุโขทัย
เมืองสองแคว
(พิษณุโลก)
อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมืองจนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนราม-คำแหงมหาราช
จึงได้ยึดเป็นสองแคว
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย
ครั้นสมัยพระมหา-ธรรมราชาที่
๑ (ลิไท)
ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ท่านได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงความเจริญ
เป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝายสนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก
สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลก ไปสุโขทัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศาสดา
เพื่อประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระศรีรัตนมหาธาตุ
ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพิษณุโลก
ในช่วงที่พระเจ้าลิไทเสด็จมาประทับเท่าที่หลักฐานเหลืออยู่
น่าจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพิษณุโลกในช่วงนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์กลางการติดต่อที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำน่าน
พิษณุโลกในช่วงรัชกาลพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลไม่พบหลักฐานว่าได้มีบทบาทนอกเหนือไปจากเมืองหลวงของรัฐกันชนเล็ก
ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้สำหรับเป็นอนุสาวรีย์
ซึ่งยังคงอยู่ทุกวันนี้ คือ การสร้างรอยพระพุทธบาทคู่พร้อมกับศิลาจารึก
ไว้ที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.
๑๙๗๐ พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.
๑๙๘๑ ที่เมืองพิษณุโลก พระยาอุธิษเฐียรโอรสของพระยารามได้ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก
ต่อมาระหว่าง พ.ศ.
๑๙๘๑
-
๑๙๙๔ จึงเอาใจออกห่างเป็นกบฏ
พาพลเมืองไปร่วมกับพระเจ้าเชียงใหม่
ทางอยุธยาจึงส่งเจ้านายขึ้นมาปกครองเมืองพิษณุโลก
แล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์
เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๐๐๖๒๐๓๑
รวมเวลา ๒๕ ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก ในรัชสมัยของสมเด็จ-พระนเรศวรมหาราช
ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ.
๒๑๑๒๒๑๓๓
ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักรบกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย
ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก
เป็นการสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐทางเหนือคือ
ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน
มีผลให้พิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีจากทั้ง ๒ รัฐ
โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทางผ่านสินค้าของป่า
และผลิตผลทางเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย
โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา
ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ในปัจจุบันที่พิษณุโลกมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี
ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย
โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก
พร้อมทั้งเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้
นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย
วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่ง
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
นับว่าพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือ
เป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา
ด้านการปกครอง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่จัดระเบียบการปกครองที่เรียกว่า
จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วยในการบริหารงาน
คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๓ ฝ่าย
คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ
อยู่ในความดูแลของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหกลาโหม
และหัวเมืองชายทะเลอยู่ในความดูแลของกรมท่า
ด้านศาสนานั้น แม้ว่าเมืองพิษณุโลก
จะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอาณาจักรล้านนา-อยุธยา
และพม่า-กรุงศรีอยุธยา
มาโดยตลอดแต่การพระศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน
ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าพระพุทธรูป และวัดที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น
พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
(วัดใหญ่)
วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา และวัดเจดีย์ยอดทอง
เป็นต้น ล้วนแต่เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย
แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการทำนุบำรุงมาโดยตลอด
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นใน
พ.ศ.
๒๐๐๗ และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.
๒๐๐๘ เป็นเวลา ๘ เดือน ๑๕ วัน
มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง ๒,๓๔๘
รูป และในปี พ.ศ.
๒๐๒๕ ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะพระศรีรัตนมหาธาตุ
ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหา-วิหาร
และให้มีการสมโภชน์ถึง ๑๕ วัน พร้อมกันนั้นก็โปรดฯ
ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ ๑๓ กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้าง รอยพระพุทธบาทจำลอง เมื่อ
พ.ศ.
๒๒๒๒ และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี
พร้อมทั้งจารึกเหตุกาณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย
ด้านวรรณกรรม หนังสือมหาชาติคำหลวง
ได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรมว่าเป็น
วรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม
นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่านิพนธ์ขึ้นใน รัชสมัยสมเด็จ-พระบรมไตรโลกนาถ
เช่น ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาศและกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น
เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งเมืองราชธานี เมืองลูกหลวงและเมืองเอก
ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา
นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในภาวะสงคราม
โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง
ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้าง
แต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญควรมีผู้ที่เข้ม-แข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมืองจึงทรงแต่งตั้งพระยายมราช
(กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)
เป็น
เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช
สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก โดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว
จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี
พ.ศ.
๒๓๑๘ อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ
ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก
บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย
ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน
เมื่อทราบข่าวศึกจึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายรายล้อมเมืองพิษณุโลก
กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์
ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้ง ๆ ที่มีทหารน้อยกว่า
แต่ไม่สามารถจะชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทยและขอให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบกัน
๑ วัน ทหารทั้งสองฝ่ายรับประทานอาหารร่วมกันด้วย
เมื่อแม่ทัพไทยและแม่ทัพพม่ายืนม้าเจรจากันในสนามรบ อะแซหวุ่นกี้เห็นรูปร่างลักษณะของเจ้าพระยาจักรี
แล้วจึงได้กล่าวสรรเสริญว่า
ท่านนี้รูปงาม
ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบกับเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้
จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์
และบอกเจ้าพระยาจักรีว่า
จงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิดเราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย
พระองค์จึงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยหัวเมืองฝ่ายเหนือทันที
ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ทราบว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก
จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีทางฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์
จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร
กองทัพเมืองกำแพงเพชรยกไปตีเมืองนครสวรรค์
และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทย
ไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลก และต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย
ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริ
เห็นว่าไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า
จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี
เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้
จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด
ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จพาทัพผ่านบ้านมุง
บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์
พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานถึง ๔ เดือน
เมื่อเข้าเมืองได้ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น
คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น
ตั้งแต่ช่วงของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงก่อนการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยังคงจัดระเบียบการปกครองออกเป็นจตุสดมภ์ แต่ในส่วนภูมิภาค
มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหัวเมืองชั้นใน
หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช
เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอก
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของประเทศไทย
มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ ๑๕,๐๐๐
คน ซึ่งเป็นชาวจีนประมาณ ๑,๑๑๒
คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกันคือ
เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสอนสำแดง ชุมแสงสงครามพิบูล
พิพัฒน์ นครชุม ทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า ทำไม้
และการเกณฑ์แรงงานไพร่ พ.ศ.
๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระทั่นั่งอรรคราชวรเดชและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะนั้นกำลังทรงผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย
เมื่อเสด็จถึงเมืองพิษณุโลกได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ ๒ วัน
จึงเสด็จกลับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕
และรัชกาลที่ ๖
(เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช)
ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก
ทุกพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่าง ๆ
ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จ-ประพาส
เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราช
และเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวนี้
ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ ๕
นั้นพระองค์ทรงประทับใจในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช
ถึงกับโปรดให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น
ที่มา
:
ประวัติการบริหารการปกครองจังหวัดพิษณุโลก
.
พิษณุโลก
:
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก,
๒๕๓๗
.
|