ประวัติศาสตร์จังหวัดชัยภูมิ
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ผืนแผ่นดินไทยในอดีตเต็มไปด้วยอารยธรรมอันสูงส่งในนามของอาณาจักรต่าง ๆ ที่
วิวัฒนาสืบต่อกันมาโดยมิขาดสาย เมืองไทย แผ่นดินไทย
จึงเป็นขุมทรัพย์อันมหาศาลของวงการนักปราชญ์ทางโบราณคดีทั่วโลก
ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันจึงกลายเป็นแผ่นดินแห่งประวัติศาสตร์ และอารยธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
ซึ่งดินแดนแห่งนี้ เมื่อครั้งโน้นเรียกว่า
ดินแดนสุวรรณภูมิ
หรือแหลมอินโดจีนก่อนที่ชาติไทยจะได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนานั้น
เดิมเป็นที่อยู่ของชน ๓ ชาติ คือ ขอม,มอญและละว้า
ก.
ขอม
อยู่ทางภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้อันเป็นที่ตั้งของ
ประเทศกัมพูชาปัจจุบันนี้
ข.
มอญหรือรามัญ
อยู่ทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตลอดจนถึงลุ่มแม่น้ำ
อิรวดี
ซึ่งเป็นอาณาเขตของสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพ
พม่าในปัจจุบัน
ค.
ละว้า
อยู่ทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ปัจจุบัน
อาณาเขตละว้า แบ่งเป็น ๓ อาณาจักร คือ
๑.อาณาจักรทวารวดี
หรือละว้าใต้
มีอาณาเขตทางภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกและตะวันออกของอ่าวไทยซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี
๒.อาณาจักรยางหรือโยนกหรือละว้าเหนือ
มีอาณาเขตที่เป็นภาคเหนือของประเทศ
ไทยในปัจจุบันมีราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
๓.
อาณาจักรโคตรบูรณ์หรือพนม
มีอาณาเขตที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบันตลอดไปจนถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี
แต่ก่อนที่จะมีคนไทยอพยพเข้ามานั้น
ดินแดนแห่งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปของผู้เข้าครอบครอง
ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ขอมได้เริ่มแผ่อำนาจเข้าไปในอาณาเขตของละว้า
และสามารถครอบครองอาณาเขตละว้าทั้ง ๓ ได้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔
โดยเฉพาะอาณาจักรโคตรบูรณ์ขอมได้รวมเข้าเป็นอาณาจักรของขอมโดยตรง
-
อาณาจักรทวารวดี ส่งคนมาเป็นอุปราชปกครอง
-
อาณาจักรยางหรือโยนก ให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองแต่ต้องส่งส่วยให้แก่ขอม
ในระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี ขอมได้แผ่ขยายศิลปวิทยาการอันเป็นความรู้ทางศาสนา
ปรัชญา
สถาปัตย์และอารยธรรมอีกมากมาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากอินเดีย
และต่อมาพุทธศตวรรษที่ ๑๖
อำนาจของขอมต้องเสื่อมลงดินแดนส่วนใหญ่ได้เสียแก่พม่าไป
ซึ่งในเวลานั้นพม่ามีอาณาเขตอยู่ทางลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนเหนือ
ได้รุกรานอาณาดินแดนของพวกมอญโดยลำดับมา และได้สถาปนาเป็นอาณาจักรขึ้น
มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า อโนระธามังช่อ หรือพระเจ้าอนุรุทมหาราช
ปราบได้ดินแดนมอญลาวได้ทั้งหมด แต่ภายหลังเมื่อพระเจ้าอนุรุทสิ้นพระชนม์แล้วพม่าก็หมดอำนาจ
ขอมก็ได้อำนาจอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งหลังนี้ก็เป็นความรุ่งเรืองตอนปลาย
จึงอยู่ได้ไม่นานนัก เปิดโอกาสให้ไทยซึ่งได้เข้ามาตั้งทัพอยู่เขตละว้าเหนือ
โดยขยายอำนาจเข้ามาแล้วขับไล่ขอมเจ้าของเดิมออกไป
จากประวัติศาสตร์ดังกล่าว
อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรหนึ่งของละว้าซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย
ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ สืบต่อมาจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๖
เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑
แห่งขอมได้แยกขยายอำนาจออกมาตั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา
อาณาจักรโคตรบูรณ์หรือพนม มีอาณาเขตอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด
ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยขอมตอนปลาย
ถ้าอาศัยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ประกอบกับภูมิศาสตร์ก็น่าจะเชื่อว่าดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูรณ์
หรือพนมก็คงครอบคลุมมาถึงดินแดนที่เป็นที่ตั้งของเมืองชัยภูมิในปัจจุบัน
โดยศึกษาจากหลักฐานศิลปะวัดโบราณในจังหวัดชัยภูมิ
อันได้แก่ใบเสมาหินทรายแดงที่พบที่บ้านกุดโง้ง
ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งแกะสลักเป็นรูปเสมาธรรมจักร
บรรจุตัวอักษรอินเดียโบราณ
(ซึ่งศิลปอินเดียเองก็เป็นต้นฉบับของขอม)
ศิลปวัตถุชิ้นนี้จัดอยู่ใน
"ศิลปทวารวดี"
นอกจากนี้ยังจะเห็นได้ชัดจากพระธาตุบ้านแก้ง
หรือพระธาตุหนองสามหมื่น เป็นพระธาตุสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ ๑๐ เมตร
สูงประมาณ ๒๕ เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูนจากฐานของพระธาตุขึ้นไปประมาณ
๑๐ เมตร
ทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ
แต่ละทิศจำหลักเทวรูป
ลักษณะเป็น
ศิลปทวารวดี
ปรางค์กู่
เป็นโบราณสถานที่ตั้งห่างจากจังหวัดประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นปรางค์เก่าแก่
ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ภายในปรางค์มีพระพุทธรูปเป็นศิลปทวารวดีประดิษฐานอยู่
ดูจากศิลปและการก่อสร้าง ตลอดทั้งวัตถุก่อสร้างใช้ศิลาแลง
สันนิษฐานว่าคงจะสร้างในสมัยเดียวกันกับประสาทหินพิมาย
ภูพระ
เป็นภูเขาเตี้ยอยู่ที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ ระยะห่างจากตัวจังหวัด
๑๒ กิโลเมตร ตามผนังภูพระจำหลักเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง
นั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลาพระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์
หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต เรียกว่า
"พระเจ้าตื้อ"
และรอบพระพุทธรูปมีรอยแกะทับเป็นรูปพระสาวกอีกองค์หนึ่งสันนิษฐานว่า
คงจะสร้างในสมัยขอมรุ่นเดียวกับที่สร้างปรางค์กู่ก็เป็นได้
พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง
มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙
พระธาตุกุดจอก
สร้างเป็นแบบปรางค์ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี
อยู่ภายในตัวปรางค์สร้างในสมัยขอมเช่นกัน อาศัยจากหลักฐานต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์ประกอบกับทางด้านภูมิศาสตร์ก็น่าจะเชื่อว่า
เมืองชัยภูมิในปัจจุบันเป็นเมืองที่ขอมสร้างขึ้นร่วมสมัยเดียวกันกับลพบุรี,
พิมาย
แต่ขอมจะสร้างชื่อเมื่อใดหรือศักราชใดนั้นหาหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดไม่ได้
นอกจากจะสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยขอมมีอำนาจเข้าครอบครองในเขตลาว
โดยอาศัยหลักโบราณคดีวินิจฉัย เปรียบเทียบตลอดจน
ศิลปการก่อสร้างเทวรูป
ศิลปกรรมเป็นต้น ว่าการแกะสลักตามฝาผนัง
ตามปรางค์กู่มีส่วนคล้ายคลึงกับประสาทหินพิมายมากและอยู่ในบริเวณที่ราบสูงโคราชด้วยกัน
ระยะทางระหว่างประสาทหินพิมายกับปรางค์กู่ ชัยภูมิห่างกันประมาณ ๑๐๐
กิโลเมตรเศษ ๆ เท่านั้น
เมื่ออนุมานดูแล้ว
เมืองชัยภูมิปัจจุบันเป็นเมืองที่อยู่ในอิทธิพลของขอมมาก่อนและสร้างในสมัยเดียวหรือรุ่นเดียวกันกับเมืองพิมายหรือประสาทหินพิมายดังหลักฐานปรากฏข้างต้น
สมัยอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ.
๒๑๙๙-๒๒๓๑
ซึ่งในสมัยนี้เองเป็นครั้งแรกที่เมืองเวียงจันทน์ได้มาขอเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
หลังจากทางกรุงศรีอยุธยาได้รับเมือง
เวียงจันทน์เข้าเป็นเมืองขึ้นแล้ว
ชาวเมืองเวียงจันทน์ก็ได้อพยพเข้ามาประกอบอาชีพติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามากขึ้นเรื่อย
ๆ
การเดินทางจากเวียงจันทน์เข้ามายังอยุธยาเส้นทางก็ผ่านพื้นที่ของเมืองชัยภูมิปัจจุบัน
ข้ามลำชี ข้ามช่องเขาสามหมด(สามหมอ)
ชาวเวียงจันทน์ที่อพยพเดินทางผ่านไปผ่านมา เห็นทำเลแห่งนี้เป็นทำเลดีเหมาะในการเพาะปลูกทำไร่
ทำนา จึงได้พากันเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน
เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตลอดทั้งผู้เข้ามาอยู่อาศัยในแถบนี้มีแต่ความสันติสุขสงบเรียบร้อย
ดินแดนแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า
"ชัยภูมิ"
เริ่มสร้างบ้านเรือนอยู่กันเป็นหลักแหล่ง
ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นตามลุ่มลำชี ตามบึง ตามหนองน้ำต่าง ๆ
เมื่อมีคนเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็ตั้งเป็นหมู่บ้าน
โดยใช้ชื่อหมู่บ้านตามลักษณะที่ตั้ง
เช่นบ้านอยู่ริมฝั่งชีก็ตั้งชื่อว่าบ้านลุ่มลำชี
ถ้าใกล้หนองน้ำก็ตั้งชื่อบ้านตามหนองน้ำนั้น เช่น บ้านหนองนาแซง
บ้านหนองหลอด ฯลฯ
ชาวพื้นเมืองชัยภูมิได้รับสืบทอดอารยธรรมต่าง ๆ จากบรรพบุรุษเหล่านี้ เช่น
ทางด้านภาษาพูด ภาษาเขียน
(ตัวหนังสือที่เขียนใส่ใบลานหรือหนังสือผูก)
วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอื่น ๆ
ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวชัยภูมิ
เมื่อมีคนอยู่ในแดนนี้มากขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
จึงได้โปรดให้เมืองชัยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา
เพราะอยู่ใกล้กว่าและสะดวกในการปกครองดูแล
ตั้งแต่นั้นมาเป็นอันว่าเมืองชัยภูมิ อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา
ตลอดมา
สมัยกรุงธนบุรี
หลังจากกรุงศรีอยุธยา เสียเอกราชแก่พม่า เมื่อ พ.ศ.
๒๓๑๐
พม่าทำลายล้างผลาญโดยที่ต้องการจะมิให้ไทยตั้งตัวขึ้นอีก
ได้ริบทรัพย์จับเชลย เผาผลาญทำลายปราสาทราชมณเฑียร
วัดวาอารามตลอดจนบ้านเมืองของราษฎรครั้งนั้นพม่าได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยประมาณ
๓๑,๐๐๐
คน กรุงศรีอยุธยาเกือบจะไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย นอกจากซากสลักหักพังสภาพเหมือนเมืองร้าง
อยุธยาเมืองหลวงของไทย
ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาหลายร้อยปีมีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง ๓๔ พระองค์
ต้องมาเสียแก่พม่าก็เพราะการที่คนไทยแตกความสามัคคีกันเองแต่กรุงศรีอยุธยาก็ยังไม่สิ้นคนดี
คือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พาสมัครพรรคพวกยกออกจากรุงศรีอยุธยา
ไปรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรีมีอาณาเขตตลอดบริเวณหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกต่อแดนกัมพูชา
จนถึงเมืองชลบุรี ซึ่งขณะนั้นหัวเมืองต่าง ๆ ที่มิได้ถูกกองทัพพม่าย่ำยี
มีกำลังคน กำลังอาวุธ ก็ถือโอกาสตั้งตัวเป็นอิสระ เป็นชุมชนต่าง ๆ ขึ้น
และหวังที่จะเป็นใหญ่ในเมืองไทยต่อไป
ชุมนุมที่สำคัญมี ๕ ชุมนุม คือ
๑.
ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
(เรือง)
อาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมือง
นครสวรรค์
๒.
ชุมนุมเจ้าพระฝาง
(เรือน)
อาณาเขตตั้งแต่เมืองเหนือพิชัยถึงเมืองแพร่ เมืองน่านและ
เมืองหลวงพระบาง
๓.
ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
มีอาณาเขตตอนใต้ต่อแดนมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
๔.
ชุมนุมเจ้าพิมายหรือกรมหมื่นเทพพิพิธ
โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อกรุงศรี
อยุธยาเสียแก่พม่า พระพิมายเจ้าเมืองถือราชตระกูลและมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นใหญ่
ณ
เมืองพิมาย
ชุมนุมนี้มีอาณาเขตบริเวณหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือจดแดนลานช้าง
กัมพูชา ตลอดลงมาจนถึงสระบุรี
ดูจากอาณาเขตของชุมนุมพิมายในสมัยนี้แล้ว
ครอบคลุมเมืองนครราชสีมาและเมืองชัยภูมิด้วย
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เมืองต่าง ๆ
ที่อยู่ในอาณาบริเวณนี้ก็ตกอยู่ในอำนาจของกรมหมื่นเทพพิพิธแห่งชุมนุมพิมาย
๕.
ชุมนุมพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี
มีอาณาเขตตั้งแต่แดนกรุงกัมพูชา
ลงมาจนถึงชลบุรี
พ.ศ.
๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพมาปราบชุมนุมพิมายได้สำเร็จและให้ขึ้นต่อเมืองนครราชสีมาตามเดิมและในช่วง
๑๕ ปี ของสมัยธนบุรี ประวัติเมืองชัยภูมิไม่ได้กล่าวไว้เลย
แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเมืองพิมายและเมืองนครราชสีมาก็รวมอยู่เขตเมืองชัยภูมิและการปกครองก็มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลาย
เพราะฉะนั้นเมืองชัยภูมิก็ยังขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา
เช่นเดิมตลอดรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เดิมท้องที่ชัยภูมิ มีผู้คนอาศัยมากพอควร
กระจัดกระจายอาศัยอยู่ตามแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์
อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมา
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าในสมัยนี้ใครเป็นผู้นำหรือเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ
อาจจะเป็นเพราะในเขตนี้ผู้คนยังน้อย
ยังไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจึงยังไม่สมควรที่จะแต่งตั้งใครมาปกครองเป็นทางการได้
ประมาณ
พ.ศ.
๒๓๖๐ ได้มีขุนนางชาวเวียงจันทน์คนหนึ่งมีนามว่า อ้ายแล
(แล)
ตามประวัติเดิมมีตำแหน่งเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรเจ้าอนุเวียงจันทน์
ได้ลาออกจากหน้าที่แล้วอพยพครอบครัวและไพร่พลชาวเมืองเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขง
เลือกหาภูมิลำเนาที่เหมาะเพื่อตั้งหลักแหล่งทำมาหากินขั้นแรกตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน
"น้ำขุ่นหนองอีจาน"
(ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสูงเนิน
จังหวัดนครราชสีมา)
ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่
"โนนน้ำอ้อม"
(ทุกวันนี้ชาวบ้านเรียกบ้านชีลอง)
โดยมีน้ำล้อมรอบจริง ๆ
โนนน้ำอ้อมอยู่ระหว่างบ้านขี้เหล็กใหญ่กับบ้านหนองนาแซงกับบ้านโนนกอกห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ
ประมาณ ๖ กิโลเมตร และได้ตั้งหลักฐานมั่นคง เมื่อ พ.ศ.
๒๓๖๒ คงใช้ชื่อเมืองตามเดิม คือเรียกว่าเมืองชัยภูมิ
(เวลานั้นเขียนเป็นไชยภูมิ)
นายแลได้นำพวกพ้องทนุบำรุงบ้านเมืองนั้นจนเจริญเป็นปึกแผ่น
เป็นชัยภูมิทำเลที่เหมาะแก่การทำมาหากิน ผู้คนในถิ่นต่าง ๆ
จึงพากันอพยพมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ถึง ๑๓ หมู่บ้าน คือ
๑.
บ้านสามพัน
๒.
บ้านบุ่งคล้า
๓.
บ้านกุดตุ้ม
๔.
บ้านบ่อหลุบ
(ข้าง
ๆ บ้านโพนทอง)
๕.
บ้านบ่อแก
๖.
บ้านนาเสียว
(บ้านเสี้ยว)
๗.
บ้านโนนโพธิ์
๘.
บ้านโพธิ์น้ำล้อม
๙.
บ้านโพธิ์หญ้า
๑๐.บ้านหนองใหญ่
๑๑.บ้านหลุบโพธิ์
๑๒.บ้านกุดไผ่
(บ้านตลาดแร้ง)
๑๓.บ้านโนนไพหญ้า
(บ้านร้างข้าง
ๆ บ้านเมืองน้อย)
นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวจากชายฉกรรจ์ ประมาณ ๖๐ คน
ในหมู่บ้านเหล่านั้นไปบรรณาการแก่เจ้าอนุเวียงจันทน์
เจ้าอนุเวียงจันทน์จึงได้ปูนบำเหน็จความชอบตั้งให้นายแลเป็นที่
"ขุนภักดีชุมพล"
ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้าคุมหมู่บ้านขึ้นกับเวียงจันทน์
ในปี พ.ศ.
๒๓๖๕ ขุนภักดีชุมพล(แล)
เห็นว่าบ้านโนนน้ำอ้อม
(ชีลอง)
ไม่เหมาะเพราะบริเวณคับแคบและอดน้ำ
(น้ำสกปรก)
จึงย้ายเมืองชัยภูมิมาตั้งที่แห่งหนึ่งระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอดต่อกัน
(ห่างจากศาลากลางจังหวัดเวลานี้ประมาณ
๒ กิโลเมตร)
และให้ชื่อบ้านใหม่นี้ว่า
"บ้านหลวง"
พ.ศ.
๒๓๖๖ ที่บ้านหลวงนี้ได้มีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานหนาแน่นขึ้นอีก
มีชายฉกรรจ์ ๖๖๐ คนเศษ ขุนภักดีชุมพล
(แล)
ไปพบบ่อทองคำที่บริเวณเชิงเขาภูขี้เถ้า
ที่ลำห้วยซาดเรียกว่า
"บ่อโขโล"
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาพญาฝ่อ
(พระยาพ่อ)
อยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์
จึงได้เกณฑ์ชายฉกรรจ์ทั้งปวงไปช่วยเก็บหาทอง
มีครั้งหนึ่งที่ขุดร่อนทองอยู่ฝั่งแม่น้ำลำห้วยซาด ได้พบทองก้อนหนึ่งกลิ้งโข่โล่
ทุกวันนี้เสียงเพี้ยนมาเป็นบ่อโขโหล หรือบ่อโขะโหละ
อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวแดง
(ภาชนะที่นายแลและลูกน้องใช้ร่อนทองคำนั้นเป็นภาชนะไม้รูปคล้ายงอบจับทำสวน
ชาวบ้านเรียกว่า
"บ้าง"
หาได้ง่ายในจังหวัดชัยภูมิ)
นายแลได้นำทองก้อนโข่โล่นั้นไปถวายเจ้าอนุเวียงจันทน์
ได้รับบำเหน็จความชอบคือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองไชยภูมิ
ในเวลานั้นเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เมืองชัยภูมิเช่นเมืองสี่มุม
เมืองเกษตรสมบูรณ์ เมืองภูเขียว
ได้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาและกรุงเทพมหานครหมดแล้ว
ด้วยเกรงพระบรมเดชานุภาพ
ขุนภักดีชุมพลจึงหันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาและส่งส่วยให้กรุงเทพฯ
แต่บัดนั้นมา
พ.ศ.
๒๓๖๙
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เป็นขบถยึดเมืองนครราชสีมากวาดต้อนผู้คนไปเมือง
เวียงจันทน์
เมื่อถึงทุ่งสัมฤทธิ์
คุณหญิงโมภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมาได้คุมคนลุกขึ้นต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์
นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโมตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แตกพ่ายไป
ฝ่ายทหารลาวที่ล่าถอยแตกพ่าย
มีความแค้นนายแลมากที่เอาใจออกห่างมาเข้ากับไทย
จึงยกพวกที่เหลือเข้าจับตัวนายแลที่เมืองชัยภูมิ เกลี้ยกล่อมให้เป็นพวกตน
แต่นายแลไม่ยอมจึงถูกจับฆ่าเสียที่ใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่าซึ่งประชาชนได้สร้างศาลไว้เป็นที่สักการะจนปัจจุบัน
เมื่อพระยาภักดีชุมพล
(แล)
เจ้าเมืองชัยภูมิถึงแก่อนิจกรรมบ้านเมืองเกิดระส่ำระสายเพราะขาดหัวหน้าปกครอง
ประมาณปี พ.ศ.
๒๓๗๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
โปรดเกล้า ฯ
ให้นายเกต มาเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ
โดยตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีชุมพล นายเกตเดิมเป็นชาวอยุธยา
บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเป็นนักเทศน์
เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งเมืองชัยภูมิไม่เหมาะสม
จึงได้ย้ายเมืองจากที่ตั้งเดิมมาตั้งอยู่ที่
"บ้านโนนปอปิด"
(คือบ้านหนองบัวเมืองเก่าปัจจุบัน)
และได้เก็บส่วยทองคำส่งกรุงเทพฯ เป็นบรรณาการ พระภักดีชุมพล
(เกต)
รับราชการสนองพระเดชพระคุณเรียบร้อยมาเป็นเวลา ๑๕ ปี
ก็ถึงแก่อนิจกรรม
พ.ศ.
๒๓๘๘
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งให้หลวงปลัด
(เบี้ยว)
รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองได้ ๑๘ ปี ก็ถึงอนิจกรรม
ลำดับต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนเกิดระส่ำระสาย
อพยพแยกย้ายไปหากินในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
เมื่อ
พ.ศ.
๒๔๐๖ พระยากำแหงสงคราม
(เมฆ)
ผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมาได้ส่งกรมการเมืองออกไปสอบสวนดูว่า
มีข้าราชการเมืองไชยภูมิคนใดบ้างที่มีเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า
ก็ได้ความว่ามีอยู่ ๓ คน คือ
๑.
หลวงวิเศษภักดี
(ทิ)
บุตรพระยาภักดีชุมพล
(แล)
๒.
หลวงยกบัตร
(บุญจันทร์)
บุตรพระภักดีชุมพล
(เกต)
๓.
หลวงขจรนพคุณบุตรพระภักดีชุมพล
(เบี้ยว)
พระยากำแหงสงคราม
(เมฆ)
จึงได้หาตัวกรมการทั้งสามดังกล่าวนำเข้าเฝ้าพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อทรงพิจารณาหาตัวผู้เหมาะสมตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงวิเศษภักดี
(ทิ)
เป็นพระภักดีชุมพลตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ
หลวงยกบัตรเป็นหลวงปลัด หลวงขจรนพคุณเป็นหลวงยกบัตร
แล้วให้ป่าวร้องให้ราษฎรที่อพยพโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น กลับภูมิลำเนาเดิม
ในสมัยพระภักดีชุมพล (ทิ)
เป็นเจ้าเมืองนั้นพิจารณาเห็นว่าบ้านหินตั้งมีทำเลกว้างขวางเป็นชัยภูมิดี
จึงย้ายตัวเมืองจากบ้านโนนปอปิด
มาตั้งเมืองใหม่ที่บ้านหินตั้งและมาอยู่จนทุกวันนี้ พระภักดีชุมพล (ทิ)
รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยดีเป็นเวลา ๑๒ ปี
ก็ถึงแก่อนิจกรรม
พ.ศ.
๒๔๑๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งหลวงปลัด
(บุญจันทน์)
บุตรพระภักดีชุมพล(เกต)
เป็นพระภักดีชุมพล ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยภูมิสืบต่อมา
ในระยะเวลานี้การส่งส่วยเงินยังค้างอยู่มาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เก็บส่งลดลงกว่าเดิมเป็นคนละ ๔ บาท พระภักดีชุมพล
(บุญจันทร์)
รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อย ๑๓ ปี
ก็ถึงแก่อนิจกรรม
พ.ศ.
๒๔๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หลวงภักดีสุนทร
(เสง)
บุตรหลวงขจรนพคุณเป็นพระภักดีชุมพล
ตำแหน่งเจ้าเมืองไชยภูมิสืบต่อมา และได้ออกจากราชการเพราะชราภาพ
รับเบี้ยหวัดปีละ ๑ ชั่ง
.การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบบมณฑลเทศาภิบาล
ในปี พ.ศ.
๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระหฤทัย
(บัว)
มาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิ
ได้เปลี่ยนเขตเมืองชัยภูมิเสียใหม่ โดยยกท้องที่เมืองสี่มุม
(ปัจจุบันคืออำเภอจัตุรัส
เหตุที่เรียกเมืองสี่มุมเพราะเรียกตามชื่อสระสี่เหลี่ยม)
เมืองบำเหน็จณรงค์ เมืองภูเขียว เมืองเกษตรสมบูรณ์
ซึ่งเดิมขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมาให้ยุบเป็นอำเภอขึ้นต่อเมืองชัยภูมิ
เมื่อรวมทั้งอำเภอเมืองชัยภูมิด้วยเป็น ๕ อำเภอ พระหฤทัย
(บัว)
จัดการบ้านเมืองอยู่ ๔ ปีเศษ
เมื่อราชการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้กลับกรุงเทพฯ
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบแบ่งเขตหัวเมืองต่าง ๆ
ใหม่เป็นมณฑลเป็นจังหวัดเมืองชัยภูมิเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในเขตมณฑลนครราชสีมา
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแบ่งเขตการปกครองแผ่นดิน
ให้ยุบมณฑลทั้งหมดเป็นจังหวัด
เมืองชัยภูมิเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งมีเจ้าเมืองหรือข้าหลวง หรือ
ผู้ว่าราชการรับผิดชอบในการบริหารแผ่นดินจนถึงปัจจุบันนี้
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น
ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด
อำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน
มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว
ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย
เมื่อได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย
สาเหตุที่ยกเลิกก็เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขึ้นการสื่อสารรวดเร็ว
เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของแผ่นดิน
และรัฐบาลมุ่งกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น
ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๔๙๕
รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด
มีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
อำนาจบริหารในจังหวัดได้เปลี่ยนมาอยู่กับคน ๆ เดียว คือ
ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา
และได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.
๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็น
๑.
จังหวัด
๒.
อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้งยุบ
และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติและให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ๆ
ที่มา
:
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดชัยภูมิ.
กทม
:
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรเจริญการพิมพ์,
๒๕๒๖.
|