ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Kalasin
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์

                       เมืองกาฬสินธุ์ หรือจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "เมือง" ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในช่วงนี้มีความกล่าวว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวละว้า และได้เคยตกอยู่ในอำนาจของพม่า

สมัยกรุงธนบุรี

ในช่วงนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อการตั้งเมืองกาฬสินธุ์เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ เมื่อ พ.. ๒๓๑๐  พระเจ้าองค์เวียนดาแห่งนครเวียงจันทน์ ได้สิ้นพระชนม์ลง โอรสท้าวเพี้ยเมืองแสน ได้ยกกองทัพเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ประสบความสำเร็จ และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบแทนพระนามว่า "พระเจ้าศิริบุญสาร"

เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ได้กดขี่ข่มเหงเบียดเบียนประชาราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส ดังนั้น ประมาณปี พ.. ๒๓๒๐ ท้าวโสมพะมิตร และอุปฮาดเมืองแสนฆ้อนโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เกิดขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสาร เจ้าผู้ครองนคร  เวียงจันทน์จึงได้รวบรวมผู้คนที่เป็นสมัครพรรคพวกอพยพจากดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ข้ามมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวบริเวณลุ่มน้ำก่ำแถบบ้านพรรณา หนองหาร ธาตุเชียงชุม เมืองพรรณานิคม ซึ่งเป็น หมู่บ้าน และอำเภอของจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน

ครั้นต่อมาท้าวศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา เพื่อกวาดต้อนผู้คนที่หลบหนีมา ให้กลับคืนสู่นครเวียงจันทน์ ทำให้ท้าวโสมพะมิตรและพรรคพวกต้องอพยพต่อไปและได้แบ่งแยกเป็น ๒ สาย

สายที่ ๑

โดยมีเมืองแสนหน้าง้ำเป็นหัวหน้า นำสมัครพรรคพวกบ่าวไพร่ บุตรหลาน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก สมทบกับพระวอ พระตา ซึ่งแตกทัพมาจากเมืองนครเขื่อนขันท์กาบแก้วบัวบาน (เมืองหนองบัวลำภู) พระตาถูกปืนข้าศึกตายในสนามรบ พระวอกับเมืองแสนหน้าง้ำ รวบรวมไพร่พลที่เหลือหลบหนีไปจนกระทั่งถึงนครจำปาศักดิ์ และได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายพอพึ่งบารมีของพระเจ้าหลวงแห่งนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวงรับสั่งไปตั้งอยู่ ณ ดอนค้อนกอง พระวอจึงสร้างค่ายขุดคูขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึก เรียกค่ายนั้นในเวลาต่อมาว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ใน พ.. ๒๕๒๑ พระเจ้าศิริบุญสารยังมีความโกรธแค้นไม่หาย จึงแต่งตั้งให้เพี้ยสรรคสุโภย ยกกองทัพกำลังหมื่นเศษติดตามลงมา เพื่อจับ พระวอและพรรคพวก พระวอได้ยกกำลังออกต่อสู้ด้วยความห้าวหาญยิ่ง แต่สู้กำลังที่เหนือกว่าไม่ได้จนวาระสุดท้ายได้ถึงแก่ความตาย ณ ค่ายบ้านดู่บ้านแกนั่นเอง ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำผู้เป็นบุตรหลาน ได้พาผู้คนที่เหลือหลบหนีเข้าไปอยู่ในเกาะกลางลำแม่น้ำมูลมี ชื่อว่า "ดอนมดแดง" อยู่ในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน

 สายที่ ๒

ท้าวโสมพะมิตรเป็นหัวหน้า ได้พาสมัครพรรคพวกยกพลข้ามสันเขาภูพานลงมาทางใต้ และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่น ขณะที่ให้ผู้คนจัดสร้างที่พักอยู่นั้น ท้าวโสมพะมิตรได้สำรวจผู้คนของตน ปรากฏว่ามีอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ คน (ครึ่งหรือกลางหมื่นเหมือนชื่อหมู่บ้านปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์) และท้าวโสมพะมิตรได้ส่งท้าวตรัยและผู้รู้หลายท่านออกเสาะหาชัยภูมิ เลือกทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่ ท้าวตรัยและคณะใช้เวลาสำรวจอยู่ประมาณปีเศษ จึงได้พบทำเลอันเหมาะสม คือได้พบลำน้ำปาว และเห็นว่าแก่งสำโรงชายสงเปลือย มีดินมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ควรแก่ตั้งเป็นบ้านเป็นเมือง จึงได้อพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้ และได้จัดสร้างหลักเมืองขึ้น ณ ที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองในปัจจุบัน โดยตั้งตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อใคร อยู่มาได้ประมาณ ๑๐ ปีเศษ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ครั้นต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.. ๒๓๒๕ และเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาก ท้าวโสมพะมิตรเห็นเป็นโอกาสดีจึงได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ และกราบทูลขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง   ปี พ.. ๒๓๓๔ โดยถือเอานิมิตเมืองพรรณานิคมและเมืองหนองหาญธาตุเชิงชุม อันเป็นเมืองเดิมใช้ลุ่มน้ำก่ำ เป็นแหล่งประกอบอาชีพ ซึ่งชาวพื้นเมืองเรียกว่าแม่น้ำ "ก่ำ" แปลว่า "ดำ" นั่นเอง ประกอบกับครั้งนั้นท้าวโสมพะมิตรได้นำกาน้ำสัมฤทธิ์ทูลเกล้าถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อมให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า "กาฬสินธุ์" เมื่อปี พ.. ๒๓๓๖ พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็นพระยาชัยสุนทรครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก และผู้คนในถิ่นนี้จึงได้นามว่า "ชาวกาฬสินธุ์" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีคำกลอนเป็นภาษาถิ่นกล่าวอ้างไว้ว่า

"กาฬสินธุ์นี้ดำดินน้ำสุ่ม ปลากุ่มบ้อนคือแข่แก่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น

จั๊กจั่นฮ้องคือฟ้าล่วงบน แตกจ่น ๆ คนปีบโฮแซว เมืองนี้มีสู่แนวแอ่นระบำฟ้อน" หมายถึงกาฬสินธุ์ เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มาก มีดินดี น้ำดี ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ประชาชนมีความสุข      สดชื่นรื่นเริงทั่วไป

ในครั้งนั้น ท้าวโสมพะมิตร (พระยาชัยสุนทร) ได้ปกครองอาณาประชาราษฎร์ ในเขตดินแดนด้วยความร่มเย็นเป็นสุขด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งท้าวโสมพะมิตร (พระยาชัยสมุทร) ได้ถึงแก่      นิจกรรม เมื่ออายุ ๗๐ ปี ท้าวหมาแพงบุตรอุปฮาดเมืองแสนฆ้อนโปง ได้รับพระราชทานเป็นพระยาชัย -สุนทรครองเมืองกาฬสินธุ์แทน ซึ่งตรงกับ พ.. ๒๓๔๘ และยังได้โปรดเกล้าให้ท้าวหมาสุ่ยเป็นอุปฮาด ให้ท้าวหมาฟองเป็นราชวงศ์ ครั้นต่อมาเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ ได้มาเกลี้ยกล่อมท้าวหมาแพงให้ร่วมด้วย แต่ท้าวหมาแพงและชาวเมืองกาฬสินธุ์ ทั้งมวลยังมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ท้าวหมาแพงถูกทารุณเฆี่ยนตีและตัดหัวเสียบประจาน ณ ทุ่งหนองหอย ตรงกับปี พ.. ๒๓๖๙

เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางกรุงเทพมหานคร จึงได้มอบให้พระยาราชสุภาวดี (พระยาบดินทร์เดชา) ยกกองทัพขึ้นไปปราบเมืองเวียงจันทน์จนมีชัยชนะแล้วกวาดต้อน    ผู้คนเมืองลาวมารวมกันอยู่ที่เมืองกาฬสินธุ์เป็นจำนวนมาก และได้โปรดเกล้าแต่งตั้ง ท้าวบุตรเจียม บ้านขามเปีย ซึ่งมีความชอบต่อเจ้าพระยาบดินทร์เดชา คือจัดส่งเสบียง ครั้งตีเมืองเวียงจันทน์ขึ้นเป็นพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และแต่งตั้งท้าวหล้าขึ้นเป็นอุปฮาด และท้าวอินทิสารผู้เป็นมิตรสหายของท้าวหล้าขึ้นเป็นที่ราชวงศ์ แล้วแต่งตั้ง ท้าวเชียงพิมพ์ขึ้นเป็นราชบุตร ครั้นโปรดเกล้าฯ จัดแจงแต่งตั้ง  เจ้าเมืองกรมการเมืองกาฬสินธุ์ ทั้งปวงเสร็จแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชาแม่ทัพจึงยกทัพกลับไป

การปกครองบ้านเมืองในระบอบมณฑลเทศาภิบาล

พระยาชัยสุนทร (ท้าวบุตรเจียม) ได้ปกครองบ้านเมืองโดยเรียบร้อยต่อมาจนถึงสมัย  พระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) ปี พ.. ๒๔๓๗ ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพ มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล และมีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์

จนกระทั่งถึงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๕๖ ได้ทรงพระกรุณายกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ด ขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้จังหวัดมีอำนาจปกครองอำเภอ คือให้อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด ขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และให้จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด ให้พระภิรมย์บุรีรักษ์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

ต่อมามีเหตุการณ์สำคัญ คือเกิดข้าวยากหมากแพงเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถ- เปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

ในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับ ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมดังนี้

-          จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เดิมไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

-          อำนาจการบริหารจังหวัดเดิมเป็นของคณะกรมการจังหวัด ได้เปลี่ยนมาเป็นมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือผู้ว่าราชการจังหวัด

-          ในฐานะกรมการจังหวัด เดิมมีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ในที่สุดได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น

 . จังหวัด

. อำเภอ

จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคลการตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

 

ที่มา : ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์จินตภัณฑ์, ๒๕๒๖.

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์