ประวัติศาสตร์จังหวัดนครพนม
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน เดิมคือ
อาณาจักรสุวรรณภูมิ
เป็นถิ่นเดิมของชาวลวะหรือละว้ายกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ
อาณาจักรสุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น ๓ อาณาเขต คือ
๑.
อาณาเขตทวาราวดี
มีเนื้อที่อยู่ในตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าวไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก
มีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี
๒.
อาณาเขตยางหรือโยนก อยู่ตอนเหนือ
ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
๓.
อาณาเขตโคตรบูรณ์ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รวมทั้งฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมีเมืองนครพนมเป็นราชธานี
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองนครพนม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์
พอจะรวบรวมได้ความว่า เป็นเมืองสืบเนื่องมาจากนครอาณาจักรโคตรบูรณ์
ซึ่งเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
และได้ย้ายมาตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
ในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
อาณาจักรโคตรบูรณ์ เป็นแคว้นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง
ซึ่งในสมัยนั้น มีแคว้นต่าง ๆ ตั้งอยู่ลุ่มฝั่งแม่น้ำโขงหลายแคว้น เช่น
แคว้นสิบสองจุไทย แคว้นลานช้าง แคว้นเวียงจันทน์ แคว้นโคตรบูรณ์
แคว้นจำปาศักดิ์ เป็นต้น แต่ละแคว้นมีเจ้านครเป็นผู้ปกครอง
ส่วนตำนานของเมืองโคตรบูรณ์นั้น จากหลักฐานในพงศาวดารเหนือ
คำให้การของชาวกรุงเก่าพงศาวดารเขมรและเรื่องราวทางอีสาน
เขียนเป็นข้อความพาดพิงคล้ายคลึงกันเป็นนิทานปรัมปรา สรุปได้ความว่า
พระยาโคตรบองมีฤทธิ์ใช้กระบองขว้างพระยาแกรกผู้มีบุญซึ่งขี่ม้าเหาะมา
ขว้างไม่ถูกจึงหนีไปได้ธิดาพระเจ้าลานช้าง บางฉบับก็ว่า พระยาโคตรบองมาจากลพบุรีบ้าง
มาจาก
เวียงจันทน์ มาจากเมืองระแทงบ้าง มาจากเมืองสวรรคบุรีบ้าง
แต่ในฉบับคำให้การของชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นโอรสพระร่วง
หนีมาจากกรุงสุโขทัย ได้มาครองเมืองลานช้าง
ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะได้กับธิดาพระเจ้าเวียงจันทน์
แล้วพระราชบิดาจึงให้มาครองเมืองโคตรบูรณ์
เป็นเมืองลูกหลวงขึ้นแก่นครลานช้าง
แต่ฉบับเขียนไว้ทางภาคอีสานว่า
ครั้งหนึ่งพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต
มีพระราชประสงค์จะให้ราชบุตรองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าโคตะ
(คงเป็นราชบุตรเขย)
ครองเมือง จึงได้สร้างเมือง ๆ หนึ่งที่ปากน้ำหินบูรณ์
(ตรงข้ามอำเภอท่าอุเทนในปัจจุบัน)
ให้ชื่อเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นเมืองลูกหลวงขึ้น
เมืองเวียงจันทน์ตั้งให้เจ้าโคตะเป็นพระยาศรีโคตรบูรณ์
สืบเป็นเจ้าครองนครมาได้หลายพระองค์ จนถึงพระองค์ที่มีฤทธิ์ด้วยกระบอง
จึงได้พระนามว่า พระยาศรีโคตรบอง และได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก ห้วยศรีมังริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย
(คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบันนี้)
เมื่อพระยาศรีโคตรบองถึงแก่อนิจกรรม เจ้าสุบินราช
โอรสพระยาศรีโคตรบอง ครอบครองนครสืบแทนพระนามว่า พระยาสุมิตร ธรรมราช
เมื่อถึงแก่อนิจกรรม เจ้าโพธิสารราชโอรสครองนครสืบแทน
อำมาตย์ได้ผลัดเปลี่ยนกันรักษาเมือง
จนถึง พ.ศ.
๒๒๘๖
เจ้าเมืองระแทงให้โอรส ๒ พระองค์ เสี่ยงบ้องไฟองค์ละกระบอก
ถ้าบ้องไฟของใครไปตกที่ใดจะสร้างเมืองให้ครอง บ้องไฟโอรสองค์ใหญ่ไม่ติด
จึงได้ครองเมืองระแทงแทน บ้องไฟองค์เล็กตกที่ห้วยขวาง
(เวลานี้เรียกว่าเซบ้องไฟ)
ใกล้เมืองสร้างก่อและดงเชียงซอน จึงดำรัสสร้างเมืองที่นั่น
แต่อำมาตย์คัดค้านว่าทำเลไม่เหมาะประจวบกับขณะนั้นผู้ครองนครศรีโคตรบูรณ์ว่างอยู่
อำมาตย์จึงเชิญเจ้าองค์นั้นขึ้นครองนคร โดยมีพระนามว่าพระยาขัติยวงษาราชบุตรมหาฤาไชยไตร-ทศฤาเดชเชษฐบุรี
ศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้ซ่อมแซมบ้านเมือง วัด จนถึง พ.ศ.
๒๒๙๗
จึงพิราลัย เจ้า เอวก่านโอรสขึ้นครองนครแทน มีพระนามว่า พระบรมราชา
พระบรมราชาครองนครโคตรบูรณ์ได้ ๒๔ ปี จึงพิราลัย เมื่อ พ.ศ.
๒๓๒๑
ท้าวคำสิงห์
ราชบุตรเขยพระบรมราชาได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าเวียงจันทน์
พระเจ้าเวียงจันทน์โปรดให้ท้าวคำสิงห์ครองเมืองโคตรบูรณ์แทนพระบรมราชา
และมีพระนามว่า พระนครานุรักษ์ ผู้ครองนครนี้เห็นเมืองศรีโคตรบูรณ์
มิได้ตั้งอยู่ที่ปากน้ำหินบูรณ์อย่างเก่าก่อน
(คือขณะนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกปัจจุบัน)
จึงให้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ เรียกว่าเมืองมรุกขะนคร
นามเมืองศรีโครตบูรณ์จึงเลือนหายไปตั้งแต่นั้น
ในการที่ท้าวคำสิงห์ได้ครองเมืองโคตรบูรณ์ครั้งนั้น
ท้าวกู่แก้ว
โอรสพระบรมราชาซึ่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งแต่ชนมายุได้
๑๕ ชันษา ทราบว่าท้าวคำสิงห์ได้ครองนครแทนบิดาก็ไม่พอใจ
จึงทูลลาเจ้านครจำปาศักดิ์ขึ้นมาเกลี้ยกล่อมราษฎรได้กำลังคนเป็นอันมาก
แล้วสร้างเมืองขึ้นที่บ้านแก้งเหล็ก ริมห้วยน้ำยม
เรียกว่าเมืองมหาชัยกอบแก้วตั้งแข็งเมืองอยู่ พระนครานุ-รักษ์
(คำสิงห์)
ทราบจึงไปขอกำลังจากกรุงศรีสัตนาคนหุต
(เวียงจันทน์)
แต่ไม่ได้จึงไปขอจากเมืองญวนได้มา ๖,๐๐๐
คน แล้วจัดให้พลญวนพักอยู่ที่เมืองคำเกิด เพราะเกรงว่าท้าวกู่แก้วจะรู้ตัว
ในระหว่างที่พระนครานุรักษ์เตรียมไพร่พลจะไปสมทบกับญวนนั้น
ท้าวกู่แก้วทราบก่อนจึงยกไพร่พล ๔,๐๐๐
คน
คุมเครื่องบรรณาการไปหาแม่ทัพญวนที่เมืองคำเกิดโดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าเมืองมรุกขะนคร
ฝ่ายญวนหลงเชื่อจึงสมทบไปตีเมืองมรุกขะนครแตก
พระนครานุรักษ์จึงพาครอบครัวหนีข้ามแม่น้ำโขงไปอยู่ที่ดงเซกาฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้วแต่งคนไปขอกำลังจากเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง
พระเจ้าเวียงจันทน์ให้พระยาเชียงสาเป็นแม่ทัพมาช่วยโดยตั้งค่ายอยู่ที่บ้านหนองจันทน์
(ใต้เมืองนครพนมปัจจุบัน
๔ กิโลเมตร)
ฝ่ายหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรืองอีกค่ายหนึ่ง
แล้วจัดไพร่พลทั้งสองค่ายกระจายเป็นปีกกาโอบถึงกันเพื่อจะโจมตีเมืองมรุกขะนคร
ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม
(เมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกปัจจุบัน)
ฝ่ายทัพญวนซึ่งตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจัดทำสะพานเป็นแพลูกบวบจะยกข้ามแม่น้ำโขงมาโจมตีทัพ
พระยาเชียงสา ฝ่ายพระยาเชียงสาใช้ปืนยิงตัดสะพานแพบวบขาด
แล้วยกกำลังเข้าสู้รบกับญวนกลางแม่น้ำโขงถึงตะลุมบอน
พระยาเชียงสาได้ชัยชนะฆ่าญวนตายเป็นจำนวนมาก ศพลอยไปติดเกาะ
เกาะนี้จึงได้ชื่อเรียกกันต่อ ๆ มาว่า
ดอนแกวกอง
มาจนทุกวันนี้ พระยาเชียงสาได้เกลี้ยกล่อมท้าวกู่แก้วให้
ยินยอมแล้วให้ท้าวกู่แก้ว ครองเมืองนครมรุกขะนครต่อไป
ส่วนพระนครานุรักษ์นั้น พระยาเชียงสานำไป
เวียงจันทร์ด้วยและให้ครองเมืองใหม่ซึ่งอยู่ที่บ้านเวินทราย
สมัยกรุงธนบุรี
ในปี พ.ศ.
๒๓๒๑ พระเจ้าศิริบุญสาร แห่งเวียงจันทน์
ได้ยกกองทัพไปตีพระตา พระวอที่บ้านกู่บ้านแกแขวงจำปาศักดิ์ ฆ่าพระวอตาย
พระตาเห็นเหลือกำลังจึงขอกองทัพกรุงธนบุรีมาช่วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ยกทัพไปปราบปรามได้เมืองเวียงจันทน์
เมืองหนองคาย เมืองมรุกขะนคร ส่วนพระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์และพระบรมราชาเจ้าเมืองมรุกขะนครหนีไปอยู่เมืองคำเกิด
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อเสร็จจากการปราบปรามหัวเมืองเหล่านี้
ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางและได้นำบรรดาโอรสพระเจ้าศิริบุญสารลงไปกรุงธนบุรีด้วย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้น พ.ศ.
๒๓๒๕
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดา-
ภิเษกขึ้นเสวยราชย์แล้ว ได้ทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระเจ้าศิริบุญสารอยู่ที่กรุงเทพฯ
เป็นอย่างดี พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งอยู่ที่เมืองคำเกิดได้ ๕-๖
ปี ทรงชราภาพ ทราบว่า โอรสอยู่ด้วยความผาสุกจึงเสด็จกลับเมืองเวียงจันทน์
หวังจะขอสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งทรงนิพนธ์โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กล่าวว่า เจ้าศิริ-บุญสารกลับจากเมืองคำเกิด
จับพระยาสุโภ
ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้รักษาเมืองอยู่ฆ่าแล้วเข้าตั้งอยู่ในเมือง
ท้าวเฟี้ยขุนบางไม่ยินยอมด้วย จึงหนีลงมากรุงเทพฯ กราบทูลฯ ให้ทราบ)
แต่ไม่ทรงวางพระทัย จึงตั้งให้เจ้านันทเสนโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าศิริบุญสารที่อยู่กรุงเทพฯ
ให้กลับไปครองเมือง มรุกขะนครสืบแทน
ครั้นถึง พ.ศ.
๒๓๓๗
เจ้านันทเสนแห่งเมืองเวียงจันทน์
ได้คบคิดกับพระบรมราชาทำหนังสือขอกำลังจากญวนเพื่อมารบกับกรุงสยาม
ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินญวนมีความจงรักภักดีต่อกรุงสยาม
จึงส่งหนังสือนั้นไปถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ
ให้เรียกเจ้า
นันทเสนและพระบรมราชาลงไปเฝ้าที่กรุงเทพฯ
เมื่อได้ไต่สวนความจริงแล้ว จึงยกโทษให้และได้แต่งตั้งให้พระเจ้าอินทวงษ์อนุชาเจ้านันทเสนให้ไปครองเมืองเวียงจันทน์แทน
ครั้นถึง พ.ศ.
๒๓๓๘
เกิดศึกพม่าทางเมืองเชียงใหม่ กองทัพไทยต้องไปปราบปรามเจ้า
นันทเสนกับพระบรมราชาขออาสาไปในกองทัพ
ยกกองทัพไปถึงเมืองเถิน พระบรมราชา
(พรหมมา)
ก็ถึงแก่อนิจกรรม
ท้าวสุดตาซึ่งเป็นโอรสของพระบรมราชาจึงนำเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็นพระบรมราชาครองเมืองมรุกขะนครและให้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่ว่า
"เมืองนครพนม"
ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
การที่พระราชทานชื่อว่าเมืองนครพนมนั้นอาจเนื่องด้วยเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน
มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงให้ใช้คำว่า
นคร
ส่วนคำว่า
พนม
นั้นอาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีพระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็น
ปูชนียสถานสำคัญหรืออีกประการหนึ่ง
อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้เดิมมีอาณาเขตเกินไปถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
คือบริเวณเขตเมืองท่าแขกแห่งประเทศลาวปัจจุบัน
ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนไปถึงแดนประเทศญวน จึงนำเอาคำว่า
"พนม"
มาใช้เพราะพนมแปลว่า
ภูเขา
ส่วนคำว่า
"นคร"
นั้นอาจรักษาชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขะนครนั่นเอง
ต่อมาปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
โปรดให้พระยามหา-อำมาตย์
(ป้อม
อมาตยกุล)
เป็นแม่ทัพ ส่วนทางนครเวียงจันทน์ก็ให้พระยาสุโภเป็นแม่ทัพยกกำลังมา
สมทบกองทัพพระยามหาอำมาตย์ เพื่อโจมตีบ้านกวนกู่ กวนงัว
ซึ่งเป็นกบฏและเมื่อได้ชัยชนะจึงได้กวาดต้อนครอบครัวมาไว้ที่เมืองนครพนม
โดยที่บ้านหนองจันทร์เป็นที่ทำเลไม่เหมาะพระยามหา-อำมาตย์จึงให้ย้ายเมืองนครพนมมาตั้งที่บ้านโพธิ์ค้ำ
หรือ โพธิ์คำ
(เข้าใจกันว่าคงจะเป็นคุ้มบ้านใต้ในเมืองนครพนมนี่เอง)
จนกระทั่งถึง พ.ศ.
๒๔๒๖
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญมากเป็นพระพนมครานุรักษ์
ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม อยู่ได้ ๗ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม
ราชบุตรทองทิพย์บุตร
พระพนมนครานุรักษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทน และในปี พ.ศ.
๒๔๓๔
ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่โดยเริ่มแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล
มีมณฑลลาวกาว
(เขตอุบลราชธานีปัจจุบัน)
มณฑลลาวเฉียง
(เขตเชียงใหม่)
และมณฑลลาวพวนเป็นต้น เมืองนครพนมขึ้นอยู่ในเขต
ปกครองมณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองหนองคาย
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนประทับอยู่
ณ เมืองหนองคาย
ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๔๔๒
ได้ปรับปรุงระเบียบการปกครองข้อบังคับการปกครองหัวเมืองโดยแต่งตั้งให้มีผู้ว่าราชการเมือง
และกรมการเมือง คือแทนที่จะเรียกว่าอุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตร
ดังแต่ก่อนพร้อมได้แต่งตั้งตำแหน่งกรมการในทำเนียบขึ้นเรียกว่าปลัดเมืองยกกระบัตรเมือง
ผู้ช่วยราช-การพร้อมได้แต่งตั้งตำแหน่งกรมการในทำเนียบขึ้นเรียกว่า
ปลัดเมืองยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการเมืองและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้อุปฮาดโต๊ะเป็น พระพิทักษ์พนมนคร ดำรงตำแหน่งปลัดเมือง
ส่วนข้าหลวงประจำบริเวณซึ่งเป็นข้าราชการที่กระทรวงมหาดไทยส่งมาประจำนั้น
ก็ทำหน้าที่เป็นข้าหลวงดูแลราชการเมืองควบคุม
และให้ข้อปรึกษาแนะนำผู้ว่าราชการเมือง
กรมการเมืองปรับปรุงการงานให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน
ที่จัดและเปลี่ยนแปลงใหม่เมื่อ พ.ศ.
๒๔๕๔
พระจิตรคุณสาร
(อุ้ย
นาครทรรพ)
ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองนครพนม
ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพนมนครานุรักษ์
ต่อมาทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.
๒๔๕๗
จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ โดยมีมณฑล จังหวัด อำเภอ
และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ปกครองบังคับบัญชา ฉะนั้น
พระยาพนมนครานุรักษ์
(อุ้ย
นาครทรรพ)
จึงนับว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก
การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง
โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว
การจัดระเบียบการปกครองต่อมามีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น
อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล
ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น
การปกครองแบบเทศาภิบาล
เป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง
ๆ
เป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย
คือ ระบบกินเมือง ให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.
๒๔๓๕
นั้น
อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น
หัวเมืองประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใด
ก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้เนื่องจากทางคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก
หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ ๆ
ส่วนหัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองอื่น ๆ
มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง
ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกัน
โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง
ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง
ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๓๗
จนถึง พ.ศ.
๒๔๕๘
จึงสำเร็จและเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น
จึงขอนำคำจำกัดความของ
"การเทศาภิบาล"
ซึ่งพระยาราชเสนา
(สิริ
เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
"การเทศาภิบาล"
คือ
การปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์
รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลางซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้นออกไปดำเนินงานในส่วนภูมิภาค
อันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร
เพื่อให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน
โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น
ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล
ดังนี้
การเทศาภิบาล นั้น หมายความว่า เป็นระบบ การปกครองอาณาเขต
ซึ่งเรียกว่า
การปกครองส่วนภูมิภาค
ส่วน
มณฑลเทศาภิบาล
นั้น
คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ ยังหมายความอีกว่า
ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่าง
ๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม
อันเป็นระบบกินเมือง
ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางและ
ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ
ในสมัยก่อนการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น
ก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกันแต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่
ดังจะอธิบายโดยย่อดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราชทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่นคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้น อยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง
กระทรวงกลาโหมบ้าง และกรมท่าบ้าง
การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง ๓ แห่ง
ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักรทรงพระราชดำริว่า
ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว
จึงได้มีพระราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว
จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเฉียงหรือมณฑลพายัพ
มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน
มณฑลเขมรหรือมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันตก
บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑล ดังกล่าวนี้
ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล
การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริง เมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๗
เป็นต้นมาและก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร
แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับดังนี้
พ.ศ.
๒๔๓๗
เป็นปีแรกที่ได้วางแผนจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ
กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก
มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา
ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่
และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ
ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงเดียวแล้ว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ.
๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ
มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์
และมณฑลกรุงเก่าและได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก
คือตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ.
๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ
มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
พ.ศ.
๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมาลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี
และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ.
๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก ๓
มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ.
๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์
เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
พ.ศ.
๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรีเมืองจันทบุรี
ระยองและตราด
พ.ศ.
๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.
๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง
เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย
และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษสร้างทางรถไฟสายใต้
พ.ศ.
๒๔๕๕ ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า
มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
พ.ศ.
๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น
ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖
จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน
มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร
เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว
ยังแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลอีกด้วยเมื่อจะได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ.
๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียเหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องจาก
๑.
การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
๒.
เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
๓.
เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด
จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
๔.
รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วน
ภูมิภาคยิ่งขึ้นและการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๔๙๕
รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดมีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ดังนี้
๑.
จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.
๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
๒.
อำนาจบริหารในจังหวัด ซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่
คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ
ผู้ว่าราชการจังหวัด
๓.
ในฐานะของคณะกรมการจังหวัด
ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่
๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น
๑.
จังหวัด
๒.
อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด
มีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น
ที่มา:
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดนครพนม.
นครพนม :
โรงพิมพ์ไทยสากล,
๒๕๒๙.
|