ประวัติศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง
และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมืองนี้มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐
ปีมาแล้ว
หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่านครศรีธรรมราชมีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๗ เป็นอย่างน้อย๑
ชื่อของเมืองนครศรีธรรมราช
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า
นครศรี- ธรรมราช"
ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อ
ตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมาและสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ
ที่เคยเดินทางผ่านมาในระยะเวลาที่ต่างกัน เช่น
ตมฺพลิงฺคมฺ
หรือ ตามฺพลิงฺคมฺ (Tambalingam)
หรือ กมลี
หรือ ตมลี
หรือ กะมะลิง
หรือ ตะมะลิง
เป็นภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหานิเทศ
(คัมภีร์บาลี
ติสþสเมตþเตยþยสุตþตนิทþเทศ)
ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘
คัมภีร์นี้เป็นวรรณคดีอินเดียโบราณกล่าวถึงการเดินทางของ
นักเผชิญโชค เพื่อแสวงหาโชคลาภและความร่ำรวยยังดินแดนต่าง ๆ
อันห่างไกลจากอินเดีย คือบริเวณ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ระบุเมืองท่าต่างๆ
ในบริเวณนี้ไว้และในจำนวนนี้ได้มีชื่อเมืองท่าข้างต้น
อยู่ด้วย
ดังความตอนหนึ่งดังนี้
. .
เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์
ย่อมแล่นเรือไปในมหาสมุทร
ไปคุมพะ
(หรือติคุมพะ)
ไปตักโกละ
ไปตักกสิลา
ไปกาลมุข
ไปมรณปาร
ไปเวสุงคะ
ไปเวราบถ
ไปชวา
ไปกะมะลิง
(ตะมะลิง)
ไปวังกะ
(หรือวังคะ)
ไปเอฬวัททนะ
(หรือเวฬุพันธนะ)
ไปสุวัณณกูฏ
ไปสุวัณณภูมิ
ไปตัมพปัณณิ
ไปสุปปาระ
ไปภรุกะ
(หรือภารุกัจฉะ)
ไปสุรัทธะ
(หรือสุรัฏฐะ)
ไปอังคเณกะ
(หรือภังคโลก)
ไปคังคณะ
(หรือภังคณะ)
ไป ปรมคังคณะ
(หรือสรมตังคณะ)
ไปโยนะ
ไปปินะ
(หรือปรมโยนะ)
ไปอัลลสันทะ
(หรือวินกะ)
ไปมูลบท
ไปมรุกันดาร
ไปชัณณุบท
ไปอชบถ
ไปเมณฑบท
ไปสัง
กุบท
ไปฉัตตบท
ไปวังสบท
ไปสกุณบท
ไปมุสิกบท
ไปทริบถ
ไปเวตตาจาร
. . .๒
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (Gorge Coedes)
นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า
นักปราชญ์ทางโบราณคดีลงความเห็นว่าชื่อเมืองท่า กะมะลิง
หรือ ตะมะลิง
ข้างต้นนี้ตรงกับชื่อที่บันทึกหรือจดหมายเหตุจีนเรียกว่า
ตั้ง-มา-หลิ่ง
และในศิลาจารึกเรียกว่า ตามพþรลิงค์
คือ นครศรีธรรมราช๓
นอกจากนี้ในคัมภีร์มิลินทปัญหา
ซึ่งพระปิฎกจุฬาภัยได้รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลีซึ่งบางท่านมีความเห็นว่ารจนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่
๗-๘ แต่บางท่านมีความเห็นว่ารจนาเมื่อราว พ.ศ.
๕๐๐ ก็ได้กล่าวถึงดินแดนนี้ไว้ในถ้อยคำของพระมหานาคเสน
ยกมาเป็นข้ออุปมาถวายพระเจ้ามิลินท์ (หรือเมนันเดอร์
พ.ศ. ๓๙๒-๔๑๓)๔
ดังความตอนหนึ่งว่าดังนี้
. . .
เหมือนอย่างเจ้าของเรือผู้มีทรัพย์
ได้ค่าระวางเรือในเมืองท่าต่างๆ
แล้วได้ชำระภาษีที่ท่าเรือเรียบร้อยแล้ว
ก็สามารถจะแล่นเรือเดินทางไปในทะเลหลวง
ไปถึงแคว้นวังคะ
ตักโกละ
เมืองจีน
(หรือจีนะ)
โสวีระ
สุรัฏฐ์
อลสันทะ
โกลปัฏฏนะ-โกละ
(หรือท่าโกละ)
อเล็กซานเดรีย
หรือฝั่งโกโรมันเดล
หรือ สุวัณณภูมิ๕
หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งนาวาไปได้
(หรือสถานที่ชุมนุมการเดินเรือแห่งอื่นๆ
). . .๖
ศาสตราจารย์ซิลแวง
เลวี (Sylvain
levy) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า คำว่า
ตมะลี (Tamali)
ที่ปรากฏในคัมภีร์มหานิทเทศนั้นเป็นคำเดียวกับคำว่า ตามพรลิงค์
ตามที่ ปรากฏในที่อื่นๆ๗ส่วนศาสตราจารย์ ดร.
ปรนะวิธานะ (Senarat Paranavitana)
นักปราชญ์ชาวศรี-ลังกา (ลังกา)
มีความเห็นว่า คำว่า ตมะลี
(Tamali) บวกกับ คมฺ
(gam) หรือ คมุ (gamu-ซึ่งภาษาสันสกฤตใช้ว่า
ครฺมะ (grama)
จึงอาจจะเป็น ตมะลิงคมฺ (Tamalingam)
หรือ ตมะลิงคมุ
(Tamalingamu)ในภาษาสิงหล
และคำนี้เมื่อแปลเป็นภาษาบาลีก็เป็นคำว่า ตมฺพลิงคะ
(Tambalinga) และเป็น ตามพรลิงคะ(Tambralinga)
ในภาษาสันสกฤต๘
ตัน-มา-ลิง
(Tan-Ma-ling) หรือ ตั้ง-มา-หลิ่ง
เป็นชื่อที่เฉาจูกัว
(Chao-Ju-Kua) และวังตาหยวน (Wang-Ta-Yuan)
นักจดหมายเหตุจีนได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เตา-อี-ชี-เลี้ยว
(Tao-i Chih-lioh)
เมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๙
ความจริงชื่อตามพรลิงค์นี้นักจดหมายเหตุจีนรุ่นก่อน ๆ
ก็ได้เคยบันทึกไว้แล้วดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสุงชี (Sung-Shih)
ซึ่งบันทึกไว้ว่าเมืองตามพรลิงค์ได้ส่งฑูตไปติดต่อทำไมตรีกับจีน
เมื่อ พ.ศ. ๑๕๔๔
โดยจีนเรียกว่า ต้น-เหมย-หลิว
(Tan-mei-leou) ศาสตราจารย์พอล วิทลีย์ (Paul
Wheatley) นักปราชญ์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า Tan-mei-leou
นั้นต่อมานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนชาวฝรั่งเศสและอังกฤษได้ลงความเห็นคำนี้ที่ถูกควรจะออกเสียงว่า
Tan-mi-liu หรือ Tan-mei-liu๙
มัทมาลิงคัม (Madamalingam)
เป็นภาษาทมิฬปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่พระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ ๑
ในอินเดียภาคใต้โปรดให้สลักขึ้นไว้ที่เมืองตันชอร์ (Tanjore)
ในอินเดียภาคใต้ระหว่าง พ.ศ.
๑๕๗๓-๑๕๗๔
ภายหลังที่พระองค์ได้ทรงส่งกองทัพเรืออันเกรียงไกรมาปราบเมืองต่าง ๆ
บนคาบสมุทรมลายูจนได้รับชัยชนะหมดแล้ว ในบัญชีรายชื่อเมืองท่าต่าง ๆ
ที่พระองค์ทรงตีได้และสลักไว้ในศิลาจารึกดังกล่าวนั้นมีเมืองตามพรลิงค์อยู่ด้วย
แต่ได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นชื่อ มัทมาลิงคัม๑๐
ตามพฺรลิงค์ (Tambralinga)
เป็นภาษาสันสกฤต
คือเป็นชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (ปัจจุบันเรียกว่าวัดเวียง)
ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สลักด้วยอักษรอินเดียกลาย ภาษาสันสกฤต เมื่อ พ.ศ.
๑๗๗๓
ศิลาจารึกหลักนี้พันตรี
de Lajonauiere Virasaivas ได้กล่าวไว้ว่าสลักอยู่บนหลืบประตูสมัยโบราณมีขนาดสูง
๑.๗๗ เมตร (ไม่รวมเดือยสำหรับฝังเข้าไปในธรณีประตูด้านล่างและทับหลังด้านบน)
กว้าง ๔๕ เซนติเมตร หนา ๑๓ เซนติเมตร
ศิลาจารึกหลักนี้มีข้อความ ๑๖ บรรทัด
ในปัจจุบันนี้ศิลาจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ
ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์
ได้อ่านและแปลศิลาจารึกหลักนี้ไว้ดังนี้๑๑
คำอ่าน
๑. สฺวสฺติ ศฺรีมตฺศฺรีฆนสาสนาคฺรสุภทํ ยสฺ ตามฺพฺรลิงฺ
๒.
เคศฺวระ ส - - นิว ปตฺมวํสชนตำ วํศปฺรทีโปตฺภวะ สํรู
๓.
เปน หิ จนฺทฺรภานุมทนะ ศฺรีธรฺมฺมราชา ส ยะ ธรฺมฺมสาโสกสมานนี
๔.
ตินิปุนะ ปญฺจาณฺฑวํสาธิปะสฺวสฺติ ศฺรี กมลกุลสมุตฺภฤ (ตฺ)
ตามฺ
๕.
พฺรลิงฺเคศฺวรภุชพลภิมเสนาขฺยายนสฺ สกลมนุสฺยปุณฺยา
๖.
นุภาเวน พภุว จนฺทฺรสูรฺยฺยานุภาวมิห ลโกปฺรสิทฺธิกีรฺตฺติ
๗.
ธรจนฺทฺรภานุ-ติ ศฺรีธรฺมฺมราชา กลิยุคพรฺษาณิ
ทฺวตริงศาธิกสฺ ตฺรีณิ
๘.
สตาธิกจตฺวารสหสฺรานฺยติกฺรานฺเต เศลาเลขมิว
ภกฺตฺยามฺฤตวรทมฺ
- - -
ต่อนั้นไปอีก
๗ หรือ ๘ บรรทัด
อ่านไม่ใคร่ออก
สังเกตเห็นได้แต่เพียง
๙.
- - - -
นฺยาทิ ทฺรพฺยานิ - - - - - - มาตฺฤปิตฺฤ
๑๐
- - - - - - - - - -
สปริโภคฺยา
- - - - - - - -
๑๑.-๑๒
- - - - -
โพธิวฺฤกฺษ
คำแปล
สวสฺติ
พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์
ทรงประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา
พระองค์สืบพระวงศ์มาจากพระวงศ์อันรุ่งเรือง คือ ปทุมวงศ
มีรูปร่างงามเหมือนพระกามะ อันมีรูปงามราวกับพระจันทร์
ทรงฉลาดในนิติศาสตร์เสมอด้วยพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นหัวหน้าของพระราชวงศ์
ทรงพระนาม
ศรีธรรมราช
ศรีสวสฺติ
พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงศ
พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิมีอำนาจ
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลซึ่งพระองค์ได้ทำต่อมนุษย์ทั้งปวง
ทรงเดชานุภาพประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์
และมีพระเกียรติอันเลื่องลือในโลกทรงพระนาม จันทรภานุ ศรีธรรมราช
เมื่อกลียุค ๔๓๓๒ - - - -
คำว่า ตามพรลิงค์
นี้ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง
มนวิทูร แปลว่า ลิงค์ทองแดง (แผ่นดินผู้ที่นับถือศิวลึงค์),๑๒
นายธรรมทาส พานิช แปลว่า ไข่แดง (ความหมายตามภาษาพื้นเมืองปักษ์ใต้),๑๓
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกเพี้ยนเป็น
ตามรลิงค์ (Tamralinga)
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงประทานความเห็นว่า ตามพรลิงค์
แปลว่า นิมิตทองแดง
จะหมายเอาอันใดที่ในนครศรีธรรมราชน่าสงสัยมาก
พบในหนังสือพระมาลัยคำหลวง เรียกเมืองลังกาว่า ตามพปณยทวีป
แปลว่า เกาะแผ่นทองแดง
เห็นคล้ายกับชื่อนครศรีธรรมราชที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกว่า ตามพรลิงค์
จะหมายความว่าสืบมาแต่ลังกาก็ได้กระมัง,๑๔
ไมตรี ไรพระศก ได้แสดงความเห็นว่า ตามพรลิงค์
น่าจะหมายความว่า ตระกูลดำแดง
คือ
หมายถึงผิวของคนปักษ์ใต้ซึ่งมีสีดำแดงและอาจจะหมายถึงชนชาติมิใช่ชื่อเมือง๑๕
และศาสตราจารย์โอ, คอนเนอร์
(Stanley J. O, Connor)
มีความเห็นว่าชื่อ ตามพรลิงค์
นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์
เพราะศาสนาพราหมณ์เจริญสูงสุดในนครศรีธรรมราช
จึงได้ค้นพบโบราณวัตถุสถานมากกว่าที่ใดในประเทศไทย
และหลักฐานทางโบราณวัตถุในลัทธิไศวนิกาย (Virasaivas)
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือแพร่หลายในอินเดียภาคใต้ก็พบเป็นจำนวนมากในเขตนครศรีธรรมราชก็รองรับอยู่แล้ว๑๖
ตมะลิงคาม
(Tamalingam)
หรือ
ตมะลิงโคมุ (Tamalingomu)
เป็นภาษสิงหล
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อักษรสิงหลชื่อ Elu-Attanagalu vam-sa
ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๑๙๒๕๑๗
นอกจากนี้ในเอกสารโบราณประเภทหนังสือของลังกายังมีเรียกแตกต่างกันออกไปอีกหลายชื่อ
เช่น ตมะลิงคมุ (Tamalingamu)
ปราฏอยู่ในคัมภีร์ชื่อ ปูชาวลี (Pujavali), ตมฺพลิงคะ
(Tambalinga) ปราฏอยู่ในหนังสือเรื่องวินยะ-สนฺนะ
(Vinay-Sanna)๑๘
และในตำนานจุลวงศ์๑๙ (Cujavamsa)
ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า . . . พระเจ้าจันทภานุบังอาจยกทัพจาก
ตมฺพลิงควิสัย (Tambalinga
Visaya) ไปตีลังกา . . .
เป็นต้น
ชื่อเหล่านี้นักปราชญ์โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อ
ตามพรลิงค์
ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ของไทย
กรุงศรีธรรมาโศก
ปรากฏในจารึกหลักที่ ๓๕
คือศิลาจารึกดงแม่นางเมือง พบที่แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง ตำบลบางตาหงาย
อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๑๗๑๐
ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียว สูง ๑.๗๕
เมตร กว้าง ๓๗ เซนติเมตร หนา ๒๒ เซนติเมตร
จารึกด้วยอักษรอินเดียกลายทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาษามคธ มี ๑๐ บรรทัด
ตั้งแต่บรรทัดที่ ๖ ถึงบรรทัดที่ ๑๐ ชำรุดอ่านไม่ได้ ด้านหลังเป็นภาษาขอม
มี ๓๓ บรรทัด ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ
ได้อ่านและแปลศิลาจารึกหลักที่ ๓๕ ดังนี้๒๐
ด้านที่ ๑
คำจารึกภาษามคธ
คำแปลภาษามคธ
ศรีธรรมราช
เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ซึ่งพบที่วัดหัวเวียง (วัดเวียง)
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังกล่าวมาแล้ว
ศิลาจารึกภาษาสันสกฤตหลักนี้สลักขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๑๗๗๓
และได้กล่าวไว้ว่าสลักขึ้นในรัชสมัยของเจ้าผู้ครองแผ่นดินทรงมีอิสริยยศว่า
ศรีธรรมราช
ผู้เป็นเจ้าของ ตามพรลิงค์ (ตามพรลิงคศวร)
ต่อมาชื่อ ศรีธรรมราช
นี้ได้ปรากฏอีกในศิลาจารึกหลักที่ ๑
ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งสลักด้วยอักษรไทยและภาษาไทย
เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕
ดังความบางตอนในศิลาจารึกหลักนี้ เช่น๒๓
. . . เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก
พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่ มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรย
หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา . . . และ . .
. มีเมืองกว้างช้างหลายปราบเบื้องตะวันออกรอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา
เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคนที พระบาง
แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง . . .น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน
เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน . . .เมืองพลัว พ้นฝั่งของ
เมืองชวาเป็นที่แล้ว . . . เป็นต้น
สิริธรรมนคร หรือ สิริธัมมนคร
ชื่อนี้พบว่าใช้ในกรณีที่เป็นชื่อของสถานที่ (คือเมืองหรือนคร)
เช่นเดียวกับชื่ออื่นๆ
ที่กล่าวมาแต่หากเป็นชื่อของกษัตริย์มักจะเรียกว่า พระเจ้าสิริธรรม
หรือ พระเจ้าสิริธรรมนคร
หรือ พระเจ้าสิริธรรมราช
ชื่อ สิริธรรมนคร
ปรากฏในหนังสือบาลีเรื่องจามเทวีวงศ์ ซึ่งพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่
๒๑ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระรัตนปัญญา
พระเถระชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ.
๒๐๖๐ และเมื่อมีผู้อื่นแต่งต่ออีก จนแต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ.
๒๐๗๑๒๔
ส่วนในหนังสือสิหิงคนิทานซึ่งพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่ได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีเมื่อราว
พ.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๘๕
(ในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกนหรือพระเจ้าวิไชยดิสครองราชย์ในนครเชียงใหม่
แห่งลานนาไทย) เรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมราช๒๕
โลแค็ก หรือ โลกัก (Locae, Loehae)
เป็นชื่อที่มาร์โคโปโลเรียกระหว่างเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน เมื่อ พ.ศ.
๑๘๓๕ โดยออกเดินทางจากเมืองท่าจินเจาของจีน
แล่นเรือผ่านจากปลายแหลมญวนตัดตรงมายังตอนกลางของแหลมมลายู
แล้วกล่าวพรรณนาถึงดินแดนในแถบนี้แห่งหนึ่ง ชื่อ โลแค็ก
ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเป็นลิกอร์หรือนครศรีธรรมราช๒๖
ปาฏลีบุตร (Pataliputra)
เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณของลังกาที่เป็นรายงานของข้าราชการสิงหลที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ซึ่งได้กล่าวถึงเมืองนี้ไว้ในตอนเที่ยวกลับเพราะเรือเสียที่ตลื่งหน้าเมืองนี้
โดยเรียกคู่กันในเอกสารชิ้นนี้ว่า เมืองปาฏลีบุตร
ในบางตอน และ เมืองละคอน
(Muan Lakon)๒๗
ในบางตอน เช่น
. . . ในวันอังคารที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๙๔
ในขณะที่เขากำลังมาถึงเมือง ละคอน (Muan Lakon)
ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของสยาม
เรือก็อับปางลงแต่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายและทุกคนได้ขึ้นฝั่งยังดินแดนที่เรียกกันว่าเมืองละคอน
ในดินแดนนี้มีเมือง (City) ใหญ่เมืองหนึ่งเรียกกันว่า ปาฏลีบุตร
(Pataliputra) ซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ทุกด้าน . . .๒๘
ในโครงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีของนายสวนมหาดเล็กก็เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า
ปาตลีบุตร เช่นกัน ดังที่ปรากฏในโคลงบางบทว่าดังนี้๒๙
(๓๗) ปางปาตลีบุตรเจ้า นัครา
แจ้งพระยศเดชา ปิ่นเกล้า
ทรนงศักดิ์อหังกา เกกเก่ง อยู่แฮ
ยังไม่ประนตเข้า
สู่เงื้อมบทมาลย์ ฯ
ลึงกอร์
เป็นชื่อที่ชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓ จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา
และนราธิวาสใช้เรียกชื่อเมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ชื่อลึงกอร์นี้ชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันและเมืองใกล้เคียงใช้เช่นเดียวกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่าชาวไทยมุสลิมในบริเวณดังกล่าวนี้ไม่เคยเรียกชื่อตามพร-ลิงค์ว่า
นครศรีธรรมราช
เลยมาแต่สมัยโบราณยิ่งกว่านั้นแม้แต่คำว่า นคร
เขาก็ไม่ใช้ เพราะเขามีคำว่า เนการี
หรือ เนกรี
(Nigri) อันหมายถึงเมืองใหญ่หรือนครใช้อยู่แล้ว
ปัจจุบันนี้ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง ๓
จังหวัดยังคงเรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชว่า
ลึงกอร์
อยู่บ้างด้วยเหตุนี้ชื่อ ลิกอร์
ที่ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และยุโรปชาติอื่นๆ
ใช้เรียกชื่อตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช
อาจจะเรียกตามที่ชาวมาเลย์และชาวพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยทั้ง
๓ จังหวัดใช้ก็ได้
เพราะชาวยุโรปคงจะอาศัยชาวมาเลย์เป็นคนนำทางหรือเป็นล่ามในการแล่นเรือเข้ามาค้าขายกับเมืองท่าต่างๆ
บนแหลมมลายูตอนเหนือหรือคาบสมุทรไทย๓๐
ลิกอร์ (Ligor)
เป็นชื่อที่พ่อค้าชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
คือในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่สอง หรือเมื่อ พ.ศ.
๒๐๖๑
อันเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใช้เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช
และพบว่าที่ได้เรียกแตกต่างกันออกไปเป็น ละกอร์
(Lagor) ก็มี
นักปราชญ์สันนิษฐานว่า คำว่า
ลิกอร์
นี้ชาวโปรตุเกสคงจะเรียกเพี้ยนไปจากคำว่า นคร
อันเป็นคำเรียกชื่อย่อของ เมืองนครศรีธรรรมราช
ทั้งนี้เพราะชาวโปรตุเกสไม่ถนัดในการออกเสียงตัว
น (N)
จึงออกเสียงตัวนี้เป็น ล (L)
ดังนั้นจึงได้เรียกเพี้ยนไปดังกล่าว แลัวในที่สุดชื่อ
ลิกอร์
นี้กลายเป็นชื่อที่ชาวตะวันตกรู้จักกันดี๓๑
ในจดหมายเหตุของวันวลิต
(Jeremais Van Vliet)
พ่อค้าชาวดัทช์ซึ่งเป็นผู้จัดการห้างฮอลันดา
และเข้ามาประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองก็ได้เรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า
ลิกูร์ (Lijgoor Lygoot)๓๒
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จอห์น ครอวฟอร์ด (John Crawfurd)
ฑูตชาวอังกฤษที่เป็นตัวแทนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยก็เรียกนครศรีธรรมราชว่า
ลิกอร์๓๓
แม้แต่ในปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกก็ยังใช้ชื่อนี้กันอยู่
อย่างชื่อศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ ที่พบ ณ วัดเสมาชัย (คู่แฝดกับวัดเสมาเมือง
ต่อมารวมกับบางส่วนเป็นวัดเสมาเมือง) อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช นั้น ชาวตะวันตกและเอเชียรู้จักกันในนาม จารึกแห่งลิกอร์
(Ligor Inscription) นอกจากนี้ยังเรียกด้านที่ ๑
ของศิลาจารึกหลักนี้ว่า Ligor A
และเรียกด้านที่ ๒ ว่า Ligor B
ดังนั้นนอกจาก ตามพรลิงค์
แล้ว
ชื่อเก่าของนครศรีธรรมราชอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง
คือ ลิกอร์
ละคร
หรือ
ลคร
หรือ
ละคอน
คงจะเป็นชื่อที่เพี้ยนไปจากชื่อ นคร
อันอาจจะเกิดขึ้นเพราะชาวมาเลย์และชาวตะวันตกเรียกเพี้ยนไป
แล้วคนไทยก็กลับไปเอาชื่อที่เพี้ยนนั้นมาใช้
เช่นเดียวกันกับที่เคยมีผู้เรียกนครลำปางว่า เมืองลคร
หรือ เมืองละกอน
เป็นต้น
และคงเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ดังหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารโบราณของฑูตสิงหลที่รายงานไปยังลังกา เมื่อ พ.ศ.
๒๒๖๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในชื่อ ปาฏลีบุตร
ข้างต้นนั้น
นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่าที่ได้เรียกเช่นนี้เพราะว่าเมืองนครเคยมีชื่อเสียงทางการละครมาแต่โบราณ
แม้แต่สมัยกรุงธนบุรีเมื่อเมืองหลวงต้องการฟื้นฟูศิลปะการละครยังต้องเอาแบบอย่างไปจากเมืองนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
เป็นชื่อที่อาจารย์ตรี
อมาตยกุล และศาสตราจารย์ยอร์ช
เซเดส์
(George Coedes) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า
คนไทยฝ่ายเหนือเรียกขานนามราชธานีของกษัตริย์
ศรีธรรม-ราช
ตามอิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้
ซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาทุกพระองค์
จนเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปและเป็นเหตุให้มีการขนานนามตามชื่ออิสริยยศของกษัตริย์ผู้ครองนครนี้
ซึ่งได้ใช้เรียกขานกันมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อยตราบจนปัจจุบันนี้
ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช
ดินแดนที่มีอดีตอันไกลโพ้นแห่งนี้
ชื่อที่ได้รับการจารึกไว้ในบันทึกแห่งมนุษยชาติ ณ ที่ต่างๆ
กันทั่วทุกมุมโลก
และทุกช่วงสมัยแห่งกาลเวลาที่นำมาแสดงเพียงบางส่วนเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นพัฒนาการและอดีตอันรุ่งโรจน์ของนครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดี
ยิ่งเมื่อหวนกลับไปสัมผัสกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในนครศรีธรรมราชเข้าผสมผสานด้วยแล้ว
ทำให้ภาพแห่งอดีตของนครศรีธรรมราชท้าทายต่อการทำความรู้จักกับ
นครศรีธรรมราช
ดินแดนที่ร่ำรวยไปด้วยมรดกทางอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้อย่างลึกซึ้งและจริงจังยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราช
การศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการมานานแล้ว
อดีตอันรุ่งเรืองของนครศรีธรรมราชจึงได้รับการเผยแพร่ครั้งแล้วครั้งเล่าในรูปแบบและภาษาต่างๆ
ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาตีความทั้งจากศิลาจารึกรุ่นเก่าที่ค้นพบเป็นจำนวนมากในนครศรีธรรมราช
ประติมากรรม และโบราณวัตถุสถานอื่นๆ
ตลอดจนเอกสารโบราณที่ค้นพบในเมืองนี้เป็นจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
และตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ผลจากการศึกษาค้นคว้าเหล่านั้นล้วนยังประโยชน์ต่อการศึกษากับอารยธรรมของนครศรีธรรมราชในระยะต่อมาอย่างใหญ่หลวง
ครั้น พ.ศ.
๒๕๒๑ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช,
จังหวัดนครศรีธรรมราช, หน่วยงาน
และเอกชนอีกเป็นจำนวนมากต่างก็ตระหนักและเล็งเห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในอันที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชอย่างมีระบบ
จึงได้ร่วมกันจัดให้มี โครงการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช พ.ศ.
๒๕๒๑-๒๕๓๐ ขึ้น
โดยจะจัดสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวในเนื้อหาต่างๆ ดังนี้๓๘
๑.
ลักษณะพื้นฐานทางประวัติศาสตร์
๒.
ลักษณะทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
๓.
ลักษณะทางประวัติศาสตร์สังคม
๔.
ลักษณะทางภาษาและวรรณกรรม
๕.
ลักษณะทางศิลปกรรม
๖.
ประวัติศาสตร์และโบราณคดีนครศรีธรรมราชที่สัมพันธ์กับดินแดนอื่น
การสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชตามโครงการนี้
ในระยะแรกมีจำนวน ๕ ครั้ง โดยได้กำหนดช่วงเวลาและหัวเรื่องไว้อย่างกว้างๆ
ดังนี้
ครั้งที่
๑ พ.ศ.
๒๕๒๑ เรื่อง ประวัติศาสตร์พื้นฐานของนครศรีธรรมราช
ครั้งที่
๒ พ.ศ.
๒๕๒๔ เรื่อง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของนครศรีธรรมราช
ครั้งที่
๓ พ.ศ.
๒๕๒๖ เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและวรรณกรรม
ครั้งที่
๔ พ.ศ.
๒๕๒๘ เรื่อง ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากศิลปกรรม
ครั้งที่
๕ พ.ศ.
๒๕๓๐ เรื่อง การตีความใหม่เกี่ยวกับศรีวิชัย
ขณะนี้
(พ.ศ.
๒๕๒๗)
การสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวซึ่งจัดขึ้น ณ
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้ผ่านไปแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑
ในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘
มกราคม ๒๕๒๑,
ครั้งที่ ๒ ในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗
มกราคม ๒๕๒๕ และครั้งที่ ๓ ในระหว่างวันที่ ๑๔-๑๘
สิงหาคม ๒๕๒๖
ผลจากการสัมมนาทางวิชาการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชอย่างกว้างขวาง๓๙
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิวัฒนาการทางด้านอารยธรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของนครศรีธรรมราชโดยสังเขป
ดังนี้ คือ
ยุคหินกลาง
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสำรวจภาคสนามทางโบราณคดีของกรมศิลปากรใน
พ.ศ. ๒๔๕๒
ได้พบเครื่องมือหินเก่าแก่ (จากการเปรียบเทียบโดยถือตามลักษณะเครื่องมือ)
จัดเป็นเครื่องยุคหินไพลสโตซีนตอนปลายที่ถ้ำตาหมื่นยม
ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง เครื่องมือหินดังกล่าวนี้มีลักษณะกะเทาะหน้าเดียว
รูปไข่ คมรอบ ปลายแหลม ด้านบนคล้ายรอยโดยตัด
คล้ายกับลักษณะของขวานกำปั้นที่พบ ณ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
และจัดว่าเป็นเครื่องมือหินยุคหินกลาง (อายุราว ๑๑,๐๐๐-๘,๓๕๐
ปี มาแล้ว)
หรือมีลักษณะเหมือนเครื่องมือหินวัฒนธรรมโฮบิบเนียน ดังนั้น
จึงอาจจะกล่าวได้ว่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินกลางเป็นอย่างน้อย
เป็นต้นมา๔๐
ยุคหินใหม่
ครั้นในยุคหินใหม่ (อายุราว
๓,๗๖๖-๒,๐๐๐
ปีมาแล้ว) ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้
และภาชนะดินเผาในยุคนี้กระจัดกระจายโดยทั่วไปทั้งที่บริเวณถ้ำและที่ราบของจังหวัดนครศรีธรรมราช
เช่น พบเครื่องหินที่มีป่า ตัวขวานยาวใหญ่ (บางท่านเรียกว่า
ระนาดหิน)
ที่อำเภอท่าศาลา นอกจากนี้ได้พบขวานหินแบบ จงอยปากนก,
มีดหิน, สิ่วหิน,
และหม้อสามขา เป็นต้น ในหลายบริเวณของจังหวัดนี้๔๑
แสดงว่าในยุคนี้ได้เกิดมีชุมชนขึ้นแล้ว และชุมชนกระจัดกระจายโดยทั่วไป
อันอาจจะตีความได้ว่าชุมชนในยุคนี้เองที่ได้พัฒนามาเป็นเมืองและมีอารยธรรมที่สูงส่งในระยะต่อมา
ยุคโลหะ
ในยุคโลหะ (อายุราว
๒,๕๐๐-๒,๒๐๐
ปีมาแล้ว)
ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของยุคนนี้ คือ
กลองมโหระทึกสำริดในนครศรีธรรมราชถึง ๒ ใบ คือ ที่บ้านเกตุกาย ตำบลท่าเรือ
อำเภอเมือง ใบหนึ่ง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง อีกใบหนึ่ง
กลองมโหรทึกดังกล่าวนี้จัดอยู่ในวัฒนธรรมดองซอน
ดังนั้น
ย่อมเป็นการยืนยันได้ว่ายุคนี้ชุมชนในนครศรีธรรมราชได้มีการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนอื่นแล้ว
การติดต่อดังกล่าวอาจจะโดยการเดินเรือ
แสดงให้เห็นว่าสังคมหรือชุมชนในนครศรีธรรมราชเริ่มย่างเข้าสู่สังคมเมืองในยุคประวัติศาสตร์แล้ว
ซึ่งระยะที่กล่าวนี้อาจจะเป็นระยะต้นคริสตศักราชหรือพุทธศตวรรษที่ ๕
พุทธศตวรรษที่ ๗-๘
ในคัมภีร์มหานิทเทศซึ่งแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘
ได้กล่าวถึงเมืองท่าที่สำคัญในอินเดีย ลังกา
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายเมือง
ในจำนวนเมืองเหล่านี้ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชไว้ด้วย
ดังความตอนหนึ่งที่ว่า . . . ไปชวาไปกะมะลิง
(ตะมะลิง) ไปวังกะ (หรือวังคะ)
. . .๔๒
นอกจากนี้ยังปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหาซึ่งแต่งขึ้นในระยะเดียวกันกับคัมภีร์มหานิทเทศด้วย๔๓
คำว่า กะมะลิง
หรือ ตะมะลิง หรือ
กะมะลี หรือ
ตมะลี จีนเรียกว่า
ตั้งมาหลิ่ง
เจาชูกัวเรียก ตัน-มา-ลิง
ในศิลาจารึกเรียก ตามพรลิงค์
หรือ ตามรลิงค์
คือ เมืองนครศรีธรรมราชโบราณ๔๔
แสดงว่าในระยะนี้
เมืองนครศรีธรรมราชโบราณเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านการค้า
หรือเป็นตลาดการค้าที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินเรือและ พ่อค้าชาวอินเดีย อาหรับ
และจีน
พุทธศตวรรษที่ ๙๑๐
นอกจากเอกสารของต่างชาติจะกล่าวถึงนครศรีธรรมราชในระยะนี้แล้วได้มีการค้นพบ
พระวิษณุศิลาอันเป็นเทวรูปกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จำนวน ๓ องค์ในภาคใต้ พระวิษณุในกลุ่มนี้จำนวน ๒ องค์
ค้นพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ องค์แรกค้นพบที่หอพระนารายณ์ อำเภอเมือง
ต่อมาย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นครศรีธรรมราชตามลำดับองค์ที่สองค้นพบที่วัดพระเพรง ตำบลนาสาร อำเภอเมือง
และปัจจุบันนี้จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เทวรูปกลุ่มนี้มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่
๙๑๐
เพราะเหตุว่าแสดงให้เห็นถึงอิทธิของศิลปะอินเดียสมัยมถุราและอมราวดีตอนปลาย
(พุทธศตวรรษที่ ๘-๙)
ปรากฎอยู่๔๕
พุทธศตวรรษที่ ๑๑๑๒
ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐
ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑
หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็ได้ปรากฏขึ้นในนครศรีธรรมราช คือ
เศียรพระพุทธรูปศิลาขนาดเล็กซึ่งพบที่อำเภอสิชล (สูง
๘.๙๐ เซนติเมตร)
ปัจจุบันนี้จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
เศียรพระพุทธรูปดังกล่าวนี้มีต้นแบบมาจากศิลปะลุ่มแม่น้ำกฤษณาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
และศิลปะแบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปะรุ่นหลังมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓๔๖
นอกจากนี้ในชุมชนโบราณสิชล๔๗
ซึ่งตั้งอยู่บนแนวสันทรายที่ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้
โดยเป็นแนวตั้งแต่เขตอำเภอขนอมผ่านลงมายังอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา
และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากชายฝั่งอ่าวไทยประมาณ ๕๑๐ กิโลเมตร
ได้ค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากมาย๔๘
ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางอารยธรรมและการตั้งถิ่นฐานของมนุษยชาติ
เพราะมีที่ราบชายฝั่งทะเลกว้างใหญ่ไพศาลเหมาะแก่การกสิกรรม
มีอ่าวและแม่น้ำหลายสายที่เหมาะแก่การจอดเรือและคมนาคม
มีแหล่งน้ำสำหรับการบริโภค และตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นชายฝั่งทะเลเปิดอันเหมาะแก่การเป็นสถานีการค้า
และแวะพักสินค้ามาแต่โบราณทำให้ชุมชนโบราณแห่งนี้มีพัฒนาการสูงส่งมาแต่อดีตเหมือนกับชุมชนอื่นๆ
บนคาบสมุทรไทยอันเป็นศูนย์กลางหรือจุดนัดพบระหว่างอารยธรรมและการค้าของพ่อค้าวานิชในทะเลจีนใต้แห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกับพ่อค้าวานิชในทะเลอันดามันแห่งมหาสมุทรอินเดีย
หรืออีกนัยหนึ่งคือ จุดนัดพบระหว่างตะวันออกกับตะวันตก๔๙
หากแต่เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมว่าทำให้ชุมชนโบราณสิชลพัฒนาการได้อย่างรวดเร็วและกว้างใหญ่ไพศาลมาก
ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์โบราณคดีที่เอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานเช่นนี้
ย่อมเหมาะสำหรับการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์โบราณในแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลมาก
โดยเฉพาะในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์และยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในภาคใต้
ปรากฏว่าลักษณะภูมิศาสตร์โบราณคดีมีอิทธิพลต่อการตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์
แล้วได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ
ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในการตั้งหลักแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเมืองของประชาชนในภาคใต้มาตั้งแต่โบราณ
กล่าวว่า
บริเวณที่มีความเจริญสูงขึ้นเป็นสังคมเมืองอยู่ทางฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่
ส่วนทางฝั่งตะวันตกประชาชนที่ตั้งหลักแหล่งมี ๒
พวกซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน คือ
พวกแรกได้แก่คนพื้นเมืองที่มีความเป็นอยู่ล้าหลัง
มีอาชีพประมงหรือล่าสัตว์และทำไร่เลื่อนลอย อยู่กันเป็นชุมชนเล็ก
ไม่สามารถขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ได้ ส่วนพวกที่สองเจริญสูงกว่า
แต่มักจะเป็นชาวต่างชาติ เช่น
พ่อค้าหรือนักแสวงโชคที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งพักสินค้าหรือขุดแร่ธาตุเป็นสินค้า
ชุมชนพวกหลังนี้อาจจะขยายตัวเป็นเมืองได้๕๐
จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา
กล่าวได้ว่าได้ค้นพบชุมชนโบราณที่เก่าแก่ในคาบสมุทรไทยในช่วงต่อเนื่องของยุคสำริดกับยุคเริ่มแรกของการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลหลายแห่งด้วยกัน
แหล่งโบราณคดีเหล่านั้นได้พัฒนาอารยธรรมสืบเนื่องกันต่อมาด้วยเวลาอันยาวนาน
และมีจำนวนไม่น้อยที่ได้พัฒนามาตามลำดับตราบจนปัจจุบันนี้
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดีมีอยู่มาก๕๑ เช่น
แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
แหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอท่าชนะ แหล่งโบราณคดีพุมเรียงและชุมชนโบราณไชยา
อำเภอ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีสทิงพระ จังหวัดสงขลา
แหล่งโบราณคดีในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา
และอื่นๆ ในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด
อำเภอครองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
|