ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > รวมประวัติศาสรตร์ / Phangnga
.

ประวัติศาสตร์จังหวัดพังงา

                    การกล่าวถึงประวัติจังหวัดพังงา จะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของ "ตะกั่วป่า"      เสียก่อนไม่ได้ เนื่องจากปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ยอมรับแล้วว่า "ตะกั่วป่า" ได้เคยเป็นบ้านเมือง   เป็นที่รู้จักกันดีไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แม้ขณะนี้จะมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งก็ตาม      

ส่วนจังหวัดพังงานั้นเพิ่งมาตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นเมื่อ พ..๒๓๕๒ ในรัชกาลที่ ๒ แห่ง      กรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อประมาณ ๑๗๖ ปีมานี้เอง

สมัยอาณาจักรศรีวิชัย

เดิมทีนั้นบนแหลมมลายูรวมทั้งส่วนบนที่เป็นของไทยด้วย ได้เป็นที่อยู่ของพวกพื้นเมืองเดิม อันได้แก่ พวก "เซมัง" และ "ซาไก" มาก่อน  ต่อมามีชนอีกพวกหนึ่งเรียกกันว่า "ชนพูดภาษามอญ - เขมร" อพยพแผ่ลงมาจากทางเหนือเข้ามายึดริมแม่น้ำตอนใกล้ ๆ ชายทะเลเป็นถิ่นฐานเรื่อยลงไปจน ถึงปลายแหลมมลายู ชนพวกนี้ส่วนหนึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน เป็นชนชาติมอญ อยู่ในแม่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นละว้าและปากแม่น้ำโขงเป็นชนเขมร  เฉพาะส่วนที่ลงมาอยู่บนแหลมมลายูนั้นกลายเป็น "พวกมลายูเดิม" แต่ไม่พูดภาษามลายู

ต่อมามีชนพวกพูดภาษามอญ - เขมร ได้อพยพใหญ่ลงมาตามแนวทางเดิมอีกคราวหนึ่ง ในครั้งนี้ชนพูดภาษามอญ - เขมร  ได้เจริญขึ้นมากแล้วได้ทำเรือแพข้ามไปอยู่บนเกาะสุมาตรา ชวาและบอร์เนียว และได้เข้ามาขับไล่เอาพวกมลายูเดิมที่ด้อยความเจริญกว่าให้เข้าไปอยู่ในป่าบ้าง หนีไปอยู่ตามชายทะเลห่างไกลบ้าง กลายเป็นพวก "จากุน" ไป และอยู่ตามชายฝั่งทะเลไทยเรียกว่า "ชาวเลหรือ "ชาวน้ำ" ภาษาราชการเรียกว่า "ชาวไทยใหม่"

ในสมัยใกล้เคียงกัน พวกชาวอินเดียที่มีอารยธรรมสูงได้เริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เนื่องจากชาวอินเดียเหล่านี้มีความฉลาดกว่า มีวัฒนธรรมสูงกว่า จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน ฯลฯ ให้แก่ชาวพื้นเมือง ในที่สุดชาวอินเดียก็ได้เข้าผสมกับชาวพื้นเมือง และมีอำนาจปกครองแหลมมลายูอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อเสื่อมอำนาจลงพวกเขมร  (เมืองละโว้) ลงมาชิงได้บ้านเมือง  แต่เขมรปกครองอยู่ได้ไม่นานชนชาติไทยได้เป็นใหญ่ในประเทศสยาม (ณ กรุงสุโขทัย) ก็ขยายอำนาจลงมา ได้แหลมมลายูตอนข้างเหนือไว้เป็นอาณาเขต ตั้งแต่

.. ๑๘๐๐ เศษเป็นต้นมา

พร้อมๆ กันนั้นพวกแคว้นมลายู ซึ่งอยู่บนตอนเหนือของเกาะสุมาตราได้มีอำนาจมากขึ้น จึงได้ข้ามฟากมาตั้ง "อาณาจักรมาลักกา" ขึ้นบนปลายแหลมมลายู แล้วยกทัพขึ้นมาทำสงครามยึดเอาเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ ในที่สุดไปปะทะกับอิทธิพลของไทยสุโขทัยตรงสี่จังหวัดภาคใต้ แล้วก็หยุดลงแค่นั้น ชนชาวมลายูที่ข้ามเข้ามาใหม่นี้ได้นำเอาวัฒนธรรมมลายู มีภาษา การนุ่งห่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาให้แก่บ้านเมืองบนแหลมมลายูที่ตีได้ ต่อมาชาวมลายูบนเกาะสุมาตราได้อพยพเข้ามาอยู่บนแหลมมลายูมากขึ้น ทั้งได้นำเอาศาสนาอิสลามที่ได้ก่อกำเนิดขึ้นในสุมาตราก่อน เข้ามาให้ชนชาวพื้นเมืองเดิมด้วย ทำให้ชนชาวพื้นเมืองเดิมเหล่านั้นค่อยๆ กลายเป็นชาวมลายูไปโดยปริยาย ชนชาวมลายูที่ยกเข้ามาจากสุมาตราเข้ามาอยู่ใหม่นี้เรียกว่า "พวกชาวมลายูใหม่" โดยเหตุนี้เองวัฒนธรรมต่างๆ ของชนชาวมลายูตอนล่าง จึงได้แตกต่างกับชนชาวไทยที่อยู่ตอนบน

ในสมัยกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ไทยได้ส่งกองทัพไปตีและได้เข้าครอบครองดินแดนบนแหลมมลายูทั้งหมดหลายครั้ง บางครั้งได้ข้ามไปปกครองเมืองบางเมืองบนเกาะสุมาตรา ต่อมาเมื่อชาวยุโรปเข้ามามีอิทธิพลจึงได้ถูกชนชาวยุโรปยึดเอาแหลมมลายูตอนล่างไปปกครอง

ในสมัยที่การแล่นเรือข้ามช่องมะละกาไม่ปลอดภัยจากโจรสลัด และต้องใช้เวลาแล่นเรืออ้อมความยาวของแหลมมลายูมากนั้น ชาวอินเดียได้เดินเรือใบมายังชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ซึ่งทอดจากเหนือลงมาใต้ขวางทิศทางอยู่ ส่วนหนึ่งได้มาขึ้นจอดที่ท่าเมืองสำคัญเมืองหนึ่งบนฝั่งทะเลด้านนั้น คือท่า "เมืองตักโกลา" หรือ "ตะโกลา" หรือเมือง "ตะกั่วป่า" ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะในอ่าวหน้าเมืองเป็นที่ทอดสมอจอดเรือหลบมรสุมได้เป็นอย่างดีทุกฤดูกาล นอกจากนั้นสามารถขนถ่ายสินค้าเดินทางบก เพื่อข้ามไปลงเรือซึ่งคอยรับอยู่ในอ่าวบ้านดอนอีกฟากหนึ่งของแหลมมลายูใกล้มาก ทั้งนี้เพราะได้อาศัยลำแม่น้ำตะกั่วป่าเป็นทางลำเลียงสินค้าด้วยเรือเล็กขึ้นไปทางต้นน้ำได้ไกลมาก จนกระทั่งน้ำตื้นมากเรือเล็กไปไม่ไหวแล้ว จึงได้ลำเลียงสินค้าขึ้นหลังช้างหรือวัวต่างม้าต่างเดินบกข้ามสันเขาราวๆ   ๕-๖ ไมล์ ก็จะถึงต้นน้ำคีรีรัฐ ถ่ายสินค้าลงเรือล่องลงไปตามลำน้ำคีรีรัฐจนถึงปากแม่น้ำ ถ่ายของขึ้นเรือใหญ่แล่นออกทะเลไป หรือถ่ายของขึ้นเมืองไชยา  ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อุดมสมบูรณ์ มีผู้คนมากอยู่ในอ่าวบ้านดอนก็ได้ ก็โดยเหตุที่เป็นเส้นทางเดินแวะพักเช่นนี้เอง  จึงพบว่า บริเวณเมืองไชยาและเมือง     ตักโกลา มีโบราณวัตถุที่แสดงว่ามีชนชาวอินเดีย และชนชาติอื่นๆ เคยเดินทางผ่านและเคยมาพักอยู่มาก

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในปลายปี พ.. ๒๓๕๑ พระเจ้าปะดุงกษัตริย์พม่าพิจารณาเห็นว่าเมืองไทยกำลังอ่อนกำลังลงเพราะได้สิ้นแม่ทัพนายกองที่เข้มแข็งไปหลายคน เช่น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นต้น   ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ทรงพระชรามากแล้ว ควรจะถือโอกาสไปตีเมืองไทยล้างความอับอายที่ได้พ่ายแพ้มาแล้วหลายหน จึงให้อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพ เกณฑ์คนเตรียมยกทัพมาตีเมืองไทย แต่การเกณฑ์คนเข้ากองทัพมีอุปสรรค  เสร็จไม่ทันจึงให้ยับยั้งการมาตีเมืองไทยไว้และปล่อยคนเกณฑ์  ในขณะที่ยังปลดปล่อยคนยังไม่หมดนั้นก็พอทราบว่าเมืองไทยเปลี่ยนรัชกาลใหม่ () ความกลัวพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็หมดไป อะเติงหวุ่นจึงขอยกกองทัพที่เหลือมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก  เพื่อกวาดผู้คนและเก็บทรัพย์ได้พอคุ้มกับทุนรอนที่ได้ลงไปแล้ว  โดยแบ่งกำลังออกเป็น ๒ กองทัพ ยกมาทางเรือมาตีเมืองถลางกองทัพหนึ่ง อีกกองทัพหนึ่งให้เดินมาตีเมืองระนอง กระบุรี และชุมพร

ทางกรุงเทพฯ ได้ข่าวศึกล่วงหน้าสองเดือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่มีกำลัง ๔ หน่วย คือ พระยาทศโยธากับพระยาราชประสิทธิ์เป็นแม่ทัพไปเกณฑ์กองทัพเมืองไชยา ยกข้ามแหลมมลายูไปรักษาเมืองถลางไว้ก่อนหน่วยหนึ่ง เจ้าพระยายมราช (น้อย) เป็นแม่ทัพหลวงกับพระยาท้ายน้ำแม่ทัพหน้ารีบลงไปเกณฑ์กำลังเมืองนครศรีธรรมราชยกไปช่วยเมืองถลางหน่วยหนึ่ง ให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) เป็นแม่ทัพยกกำลังจากกรุงเทพฯ  ๕,๐๐๐  ไปเป็นกำลังส่วนกลางคอยช่วยเหลือทัพอื่นหน่วยหนึ่ง และเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีได้เสด็จไปรวมพลจัดกองทัพอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ด้วยเข้าใจว่ากองทัพพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์  แต่เมื่อไม่มีวี่แววพม่ามาทางนั้น  ก็ยกกำลังไปรวมกับกองทัพใหญ่  ซึ่งกรมพระราชวังบวรยกจากพระนครโดยทางเรือถึงเป็นเพชรบุรี เคลื่อนทัพบกตรงไปเมืองชุมพร ในการทัพคราวนี้นายนรินทร์ธิเบศร์  (อินได้ไปในกองทัพด้วย ได้แต่งโคลงนิราศไพเราะเป็นที่นิยมยกย่องของบรรดากวีไว้เรื่องหนึ่ง ชื่อ  "นิราศนรินทร์ "

จะเห็นว่า การทัพคราวนี้ได้แบ่งกำลังออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ไปป้องกันเมืองถลางได้เกณฑ์กำลังจากหัวเมืองปักษใต้ ทัพส่วนที่ไปป้องกันหัวเมืองอื่นๆ ได้เกณฑ์กำลังหัวเมืองชั้นใน

กองทัพของพม่าที่ยกมาทางเรือตีได้เมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง  ซึ่งพลเมืองน้อยได้อย่างง่ายดาย เพราะพอได้ข่าวว่ากองทัพพม่ายกมาผู้คนก็อพยพครอบครัวเข้าป่าไปหมด ไม่มีการต่อสู้  จากนั้น   กองทัพส่วนนี้ของพม่าได้ยกขึ้นเกาะภูเก็ตล้อมเมืองถลางไว้ ล้อมอยู่เดือนกว่าก็ตีเมืองไม่ได้  เพราะพระยาถลางป้องกันแข็งแรงนัก จึงได้คิดอุบายทำทีว่าลงเรือกลับไปแล้ว แต่ไปซุ่มคอยทีอยู่ที่เกาะยาว พระยาถลางตกหลุมพรางปล่อยผู้คนออกจากเมืองไปทำมาหากิน พม่าได้ทีจึงจู่โจมเข้าล้อมเมืองถลางใหม่ คราวนี้ก็ล้อมเมืองภูเก็ตไว้ด้วย

กองทัพไทยที่จะยกมาช่วยป้องกันเมืองถลาง เกณฑ์กองทัพได้แล้วยกข้ามแหลมมาถึงเมืองชายฝั่งตะวันตก แต่หาเรือลำเลียงกำลังส่วนใหญ่ข้ามฟากไปยังฝั่งเกาะภูเก็ตไม่ได้ คงได้แต่เก็บเอาเรือชาวบ้านบรรทุกกำลังส่วนหนึ่งล่วงหน้าไปได้ แต่ขณะที่เรือกำลังข้ามฟากไปนั้น ได้ปะทะเข้ากับเรือพม่าที่ออกมาลาดตระเวนหาเสบียง จึงเกิดรบกันขึ้น บังเอิญเรือแม่ทัพไทยเกิดระเบิดขึ้นตัวแม่ทัพถึงแก่ความตาย ขบวนเรือที่เหลือจึงแล่นหลบเข้าอ่าวเมืองกระบี่ไป กองทัพพม่าก็ยังคงล้อมเมืองถลางและเมืองภูเก็ตอยู่ตามเดิม

ฝ่ายกองทัพพม่าที่ยกมาทางบกนั้นตีได้เมืองมะลิวัน เมืองระนอง และเมืองกระบุรี แล้วยกกำลังข้ามเข้ามาทางฝั่งตะวันออกตีเมืองชุมพรอีกเมืองหนึ่ง แต่ยังไม่ทันจะตีเมืองอื่นต่อไป ก็ถูกกองทัพไทยส่วนที่ยกมาทางบกเพื่อป้องกันหัวเมืองปักษ์ใต้ตีแตกไปและปราบปรามข้าศึกลงไปจนถึงเมืองตะกั่วป่า ครั้นพม่าแตกหนีไปหมดแล้ว ทัพหลวงก็ไปพักพลรอฟังข่าวทางเมืองถลางอยู่ที่เมืองชุมพร

ข่าวกองทัพใหญ่ของไทยยกกำลังลงไปช่วยเมืองถลางนี้รู้ไปถึงกองทัพพม่าที่ล้อมเมืองถลางและเมืองภูเก็ตอยู่ จึงเร่งตีเมืองถลางแตก จับผู้คนและเก็บกวาดทรัพย์สมบัติไปรวมไว้ที่ค่ายแล้วให้เผาเมืองเสีย  ขณะนั้นก็พอดีกองทัพไทยยกมาใกล้จะถึงเกาะชะรอยพม่าจะได้ข่าวอยู่แล้ว ครั้นคืนวันหนึ่งเิดลมกล้าพม่าอยู่ที่เมืองถลางได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง สำคัญว่าเสียงปืนกองทัพไทย แม่ทัพพม่า  ตกใจรีบสั่งให้อพยพผู้คนขนทรัพย์สิ่งของลงเรือหนีไปโดยด่วน พม่ายังไปไม่หมดกองทัพไทยถึงจึงเข้า ตีพม่าส่วนที่เหลือได้ผู้คนและข้าวของกลับคืนมาเป็นอันมาก

เมื่อมีชัยชนะพม่าแล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงพระราชดำริว่าเมืองถลางพม่าก็เผาเสียแล้ว  จะกลับตั้งขึ้นมาใหม่ก็ไม่เป็นที่ไว้ใจได้   ด้วยกำลังที่รักษาบ้านเมืองอ่อนแอลงกว่าแต่ก่อน หากว่ากองทัพพม่าจู่โจมมาอีกก็จะรักษาไว้ไม่ได้ หัวเมืองต่างๆ  จะยกไปช่วยก็ไม่ทันการณ์  เพราะหาเรือไม่ได้  จึงโปรดให้รวบรวมผู้คนพลเมืองถลางที่เหลืออยู่  อพยพข้ามฟากมาตั้งภูมิลำเนาที่ "ตำบลกราภูงา" ซึ่งตั้งอยู่บนปากแม่น้ำพังงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง และจัดการปกครองขึ้นเป็นบ้านเมืองในรัชกาลที่ ๒ นี้เอง ดังปรากฏอยู่ในทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ ๒ ซึ่งกำหนดขึ้นใน จ..๑๑๗๑ (๒๓๕๔) ได้ออกชื่อเมืองพังงาด้วย แต่ขณะนั้นเรียกว่า  "เมืองภูงา" และเป็นการยืนยันว่า ในครั้งนั้นเมืองพังงาขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช

ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดปัญหาการเมืองขึ้นในเมืองไทร คือ เชื้อสายเจ้าพระยาไทรบุรีเดิมได้รับการยุยงจากอังกฤษที่ปีนัง   ยกกำลังเข้าตีเมืองไทรได้ เจ้าเมืองอันได้แก่พระยาไทรบุรีและพระยาเสนานุชิต บุตรพระยานคร  ซึ่งรักษาเมืองมาแต่รัชกาลที่ ๒   ต้องหนีมาอยู่ที่เมืองพัทลุง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษายกทัพไปปราบ แต่พอไปถึงก็ทราบว่าเจ้าพระยานครกลับจากกรุงเทพฯ มาถึงก่อน เกณฑ์ทัพเมืองนครและเมืองพัทลุงให้พระยาไทรบุรีและพระยาเสนานุชิต และ วิชิตสรไกรไปตีได้เมืองไทรกลับคืนมาแล้วจึงไม่ต้องไปตี   แต่ก็พอได้ข่าวว่าพระยากลันตันกับ พระยาบาโงย  ซึ่งมีตนกูประสากับบุตรด้วยวิวาทถึงกับสู้รบกัน  จึงได้ให้คนไปเชิญทั้งสามคนมาระงับข้อวิวาทที่เมืองสงขลา ทีแรกก็ไม่มีใครมา ต่อเมื่อให้พระยาไชยาคุมกำลังลงไปขู่ทั้งสามจึงยอมมาเมืองสงขลา แล้วก็ตกลงเลิกรบทำหนังสือสัญญาให้ไว้ต่อกันได้สำเร็จ จากเหตุการณ์คราวนี้เป็นบทเรียนให้เห็นว่าการใช้ข้าราชการไทยลงไปปกครองเมืองที่ประชาชนเป็นชาวมุสลิมดังที่ทำมาแล้วนั้นไม่มีทางที่จะราบรื่นไปได้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงใช้วิธีการแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนย่อยๆ ดังที่รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงใช้กับเมืองปัตตานีได้ผลดีมาแล้ว คือ แบ่งพื้นที่เมืองไทรออกเป็น ๔ เมืองเล็ก แล้วแต่งตั้งให้ชนชาวมลายูที่มีใจสวามิภักษ์ต่อแผ่นดินไทยเป็นเจ้าเมืองใน พ.. ๒๓๘๓

เมื่อเสร็จจากระงับเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างเจ้าเมืองในมลายูคราวนี้แล้ว พระบาทสมเด็จ    พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชดำริจะทรงปรับปรุงหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าทำลายยับเยินมาแล้วนั้น ให้กลับฟื้นคืนดีขึ้นมาใหม่ และมีความเข้มแข็งป้องกันตนเองได้ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ  ให้พระยาไทร (เลื่อนมาจากพระยาภักดีบริรักษ์แสงเป็นผู้ว่าราชการเมืองพังงา พระยาเสนานุชิต(ปลัดเมืองไทรเดิมและได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาแล้ว) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า และให้พระยาตะกั่วทุ่ง (ถิน) เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วทุ่ง ส่วนเมืองถลางนั้นยังมีความสำคัญอยู่ โปรดเกล้าฯ ให้แบ่ง  ชาวเมืองถลางที่หนีไปอยู่เมืองพังงากลับไปตั้งเมืองถลางขึ้นอีก แต่ตั้งเมืองใหม่ด้านตะวันออกของเกาะเมืองเหล่านี้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงนามของผู้ว่าราชการเก่าที่ว่า "พระตะกั่วทุ่งบางขลี" เสียใหม่เป็น "พระบริสุทธิ์โลหภูมินทราธิบดี" ทั้งทรงตั้ง "พระบริสุทธิ์โลหการ" ตำแหน่งผู้ช่วยอากรดีบุกขึ้นในเมืองตะกั่วทุ่งอีกตำแหน่งหนึ่ง  และพร้อมกันนั้นได้ทรงแปลงนามผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่าที่ว่า "พระยศภักดีศรีพิไชยสงคราม" เป็น "พระเสนานุชิตสิทธิสาตรามหาสงครามสยามรัฐภักดีพิริยพาห" หลวงปลัด แปลงใหม่ว่า "พระวิชิตภักดีศรีสุริยสงคราม" "หลวงนุรักษ์โยธา"    ผู้ช่วย แปลงว่า "พระเรืองฤทธิ์รักษาราช" และทรงตั้ง "พระสุนทรภักดี" ตำแหน่งผู้ช่วยราชการในอากรดีบุกเมืองตะกั่วป่าขึ้นใหม่

ต่อมาเมืองตะกั่วทุ่งได้ยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา เมื่อได้มีการจัดรวม  "เมืองในบริเวณเดียวกันจัดเป็น "มณฑล" เมื่อ พ.. ๒๔๓๗ ในรัชกาลที่ ๕ เมืองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในมณฑลภูเก็ตมีเพียง ๖ เมือง คือ ภูเก็ต ตรัง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา และระนอง

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ใน พ.. ๒๔๗๔ ฐานะของเศรษฐกิจภายในประเทศไทยกำลังอยู่ในลักษณะที่ทรุดโทรมตกต่ำอย่างน่ากลัว จึงได้มีการตัดทอน  รายจ่ายของประเทศในด้านต่างๆ ลงมามากมาย  สมัยนั้นมณฑลภูเก็ตแบ่งการปกครองเป็น ๗ จังหวัด  (ขณะนั้นเปลี่ยนเรียก "เมือง" เป็น "จังหวัด มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ แล้ว")  คือ ภูเก็ต ระนอง  ตะกั่วป่า พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล (เดิมสตูลขึ้นกับเมืองไทรบุรี แต่หลังจากได้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ พ.. ๒๔๕๒ แล้ว เมืองไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ  จึงโปรดให้สตูลไปรวมอยู่ในมณฑลภูเก็ตเมือง ๖ สิงหาคม พ.. ๒๔๕๓) รัฐบาลต้องการยุบเสียจังหวัดหนึ่งให้เหลือเพียง ๖ จังหวัด  จังหวัดที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องพิจารณายุบฐานะมีจังหวัดตะกั่วป่าและพังงา ครั้นถึงวันนัดสมุหเทศาภิบาลประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่าไปเข้าประชุมไม่ทัน เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จังหวัดตะกั่วป่าจึงถูกยุบลงเป็น "อำเภอ" และให้ขึ้นอยู่กับจังหวัดพังงา หลังจากนั้นอีก ๑ ปี มณฑลภูเก็ตก็ถูกยุบอีกให้จังหวัดต่างๆ ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทยจนถึงปัจจุบันนี้

 เก็บความจากคณิต  เลขะกุล, "พังงาในด้านประวัติศาสตร์" ,อนุสาร อ... (ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑๑ มิถุนายน  ๒๕๑๑),หน้า ๒๙-๓๑, หน้า ๕๓-๕๕.

 ที่มา :  ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ดี.แอล.เอส๒๕๒๘.

 

()  .ศ ๒๓๕๓

 

   

dooasia

รวมประวัติศาสตร์ 76 จังหวัด (อย่างละเอียด) /Information

 
รวมประวิติศาสตร์ไทย 76 จังหวัด โดยละเอียด
     
 
   
 
 
 
 
รวมแสดงความคิดเห็นค่ะ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจมหาสารคาม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์