ประวัติศาสตร์จังหวัดสงขลา
สงขลา
มาจากคำว่า สิงขร แปลว่า ภูเขา ตามสภาพที่ตั้งเมืองซึ่งปรากฏ ป้อมกำแพง
และคูเมือง บนภูเขา ค่ายม่วง
และทางตอนล่างบริเวณบ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา
ที่ได้ชื่อว่าเมืองสงขลานั้นมาจากคำว่า สิงขร+นคริน
เดิมเป็นภาษาบาลี (มคธ)
เมื่อเรียกชื่ออย่างไทยแล้ว เมืองสิงขร (สิงขะระ)
เรียกควบเป็นสงขลา ชาวปอร์ตุเกสที่มาค้าขายสมัยอยุธยา
เรียกว่า สิง-กอ-ลา
(SINGOLA)
เมืองสงขลา
ปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ขึ้นเสวยราชย์ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.
๑๘๙๓ ว่าเป็นเมืองประเทศราชในจำนวน ๑๖ เมือง
ที่ตั้งตัวเมืองในสมัยนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหัวเขา อำเภอเมืองสงขลา
(บริเวณเขาค่ายม่วง)
เมื่อ พ.ศ.
๒๑๗๓ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์
กับพวกทำการแย่งราชสมบัติ ปลดพระ
อาทิตวงศ์ จากราชบัลลังก์
แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง
เป็นเหตุให้หัวเมืองต่าง ๆ แข็งเมือง เมืองสงขลาก็แข็งเมืองด้วย
กรุงศรีอยุธยายกทัพมาปราบหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนถึง พ.ศ.
๒๒๒๓ สมเด็จพระนารายณ์
ส่งกองทัพมาปราบเมืองสงขลาได้ และยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
เมื่อ พ.ศ.
๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าจึงเกิดก๊กต่าง ๆ
ขึ้นสงขลารวมอยู่ในก๊กเจ้านคร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓
เจ้านครและเจ้าเมืองสงขลา หนีไปยังเมืองปัตตานี
พระเจ้าตากสินเสด็จเมืองสงขลา ประทับอยู่ ๑ เดือนแล้ว
ทรงแต่งตั้งให้ชาวเมืองสงขลาคนหนึ่งชื่อโยม เป็นพระสงขลา
ต่อมามีพระราชดำริ พระสงขลา(โยม) หย่อนสมรรถภาพ
จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยี่ยง
แซ่เฮา) นายอากร รังนกเกาะสี่ เกาะห้า
เป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลา (นายเหยี่ยง แซ่เฮา
เป็นต้นสกุล ณ สงขลา) ส่วนพระสงขลา (โยม)
ให้เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี
ครั้น พ.ศ.
๒๓๗๔ ตนกูเดน ซึ่งเป็นกบฎต่อไทยและหนีไปเกาะหมาก
(ปีนัง) กับเจ้าพระยาไทรปะแงรัน
ผู้เป็นบิดาได้คบคิดกับพวกเมืองไทรบุรี เมืองปัตตานี ยะหริ่ง ยะลา ให้เป็นกบฎยกทัพมาตีเมืองสงขลา
แต่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ยกทัพมาปราบพวกกบฎไม่คิดต่อสู้
ทัพตามลงไปจนถึงเมืองเประ การปราบจึงสำเร็จ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายเมืองสงขลามาตั้งฝั่งตะวันออก คือ
ตั้งเมืองในเขตเทศบาลปัจจุบันเมื่อ พ.ศ.
๒๓๗๗
ใน พ.ศ.
๒๓๘๔ โปรดเกล้าฯ ให้จัดแจงฝังหลักเมืองสงขลา พระราชทานเทียนชัย
หลักชัยพฤกษ์ กับเครื่องไทยทาน
ออกมาให้พระยาสงขลาฝังหลักเมือง พระยาสงขลาจัดทำโรงพิธีกลาง
และโรงพิธีสี่มุมเมืองกับโรงพิธีพราหมณ์ ในเดือน ๔ ขึ้น
๑๐ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก ๑๒๐๔ เวลาเช้าโมง ๒ บาท (วันศุกร์ขึ้น
๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ.
๒๓๘๕ เวลา ๐๗.๑๐ นาฬิกา )
ปัจจุบันศาลเจ้าหลักเมืองอยู่ที่ถนนนางงาม
ใน พ.ศ.
๒๔๐๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จเมืองสงขลา ถึงสงขลาเมื่อเดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ เวลาบ่าย ๕
โมงเศษเรือพระที่นั่งกำปั่นกลไฟมณีเมขลา มาจอดที่เกาะหนู
โปรดให้พระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์)
ผู้สำเร็จราชการเมืองเข้าเฝ้าและพระองค์ประทับที่พระราชวังแหลมทราย
ปรึกษาข้อราชการและประพาสเมืองสงขลา ๙ ทิวา กับ ๘ ราตรี
ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ
ใน
.ศ. ๒๔๑๔
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสอินเดียเมื่อเสด็จกลับผ่านทางไทรบุรี
เสด็จพระราชดำเนินโดยสกลมาร์ค ตามเส้นทางถนนตัดใหม่
แล้วเสด็จประทับเรือพระที่นั่งสู่กรุงเทพมหานครฯ
ใน พ.ศ.
๒๔๓๑ พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม)
ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมืองสงขลาว่างผู้สำเร็จราชการเมืองอยู่
๖ วัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
เสด็จประพาสเมืองสงขลาโปรดเกล้าให้หลวงวิเศษภักดี (ชม)
เป็นพระยาสุนทรานุรักษ์
เป็นผู้รักษาราชการเมืองสงขลาและโปรดเกล้าให้พระยาสุนทรา
นุรักษ์เป็นพระยาวิเชียรคีรีผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา
เมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๓
เมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๙
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราโชวาทเพื่อปรับปรุงการปกครองได้ปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลเมืองสงขลา
จึงเป็นที่ตั้งของมณฑลนครศรีธรรมราช
ต่อมา พ.ศ.
๒๔๙๕
เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ประกาศใช้เมืองสงขลาจึงเป็นที่ตั้งภาค ฯ
ภายหลังเมื่อยุบเลิกการปกครองแบบภาคแล้วก็ตาม
จังหวัดสงขลาก็เป็นที่ตั้งของเขตและภาคอยู่ ปัจจุบันมีส่วนราชการส่วนกลาง
๑๔๐ ส่วน ส่วนภูมิภาค ๓๒ ส่วน ส่วนท้องถิ่น ๑๗ ส่วน และรัฐวิสาหกิจ ๒๘ ส่วน
ที่มา
:
พิธีเปิดอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองสงขลา.เทมการพิมพ์,
๒๕๒๘
|