|
26
ธันวาคม |
ความเป็นมา |
|
ในอดีตประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
พื้นที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์
จากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการทำลายป่าและล่าสัตว์มากขึ้น
เป็นผลให้แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่าถูกทำลาย
สัตว์ป่าถูกล่าจนมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว
สัตว์ป่าหลายชนิดเกือบจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย |
|
กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้น มีเพียง
พระราชบัญญัติรักษาช้างป่า ร.ศ.1199(พ.ศ.2443)
เท่านั้น ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่น ๆ
ต่อมาในปีพ.ศ.2503
รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น
คือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี
เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ได้ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26
ธันวาคม 2503 |
|
ปี พ.ศ.2535
ได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
2503 ใหม่
โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
มาตรการต่างๆ
ที่มีอยู่ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสมดังวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
ประกอบกับจำเป็นจะต้องเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าและให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าควบคู่กันไป
และเนื่องจากปัจจุบันได้มีความตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่นอันเป็นทรัพยากรทีสำคัญของโลก
ดังนั้นเพื่อปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ
สมควรปรับปรุงกฏหมายนี้ |
|
และต่อมาได้ถือเอาวันที่
26 ธันวาคม ของทุกปี เป็น
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม สัตว์ป่าในธรรมชาติก็ยังคงถูกไล่ล่า
และลดจำนวนลง
เรื่อยๆ ภารกิจ
ของผู้มีหน้าที่ในการปกป้องชีวิตสัตว์ป่ามีมากขึ้น
การทำงานเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
ลำพังเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะทำให้ประสบความสำเร็จได้
จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนฝ่าย
ประสานร่วมมือกันทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน เยาวชน
และองค์กรเอกชนต่าง ๆ |
|
การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก |
|
|
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงห่วงใยต่อทรัพยากรป่าไม้
ทรงให้คำแนะนำและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เสมอมา
โดยได้เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางประเภทได้
เนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอาจเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่คู่กับโลกต่อไป |
|
|
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชปณิธานอันแรงกล้า ได้ทรงสนทนากับชาวบ้านให้มีความรัก
ห่วงใยต่อแทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
และชีวิตของสัตว์ป่าดังปรากฏในพระราชกรณียกิจต่าง ๆ
ที่พระองค์ได้เสด็จทรงงานในท้องถิ่นทุรกันดาร |
|
กิจกรรม |
|
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสูญเสีย
ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนและช่วยกันปกป้องทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป
โดยงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า ให้ความเมตตาแก่สัตว์ป่า งดล่าสัตว์ป่า
และร่วมปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่อิสระภาพ ได้แก่
การจัดนิทรรศการ
บรรยาย จัดทำเอกสาร แผ่นพับ แผ่นภาพ
ประกวดคำขวัญ
ประกวดภาพถ่าย
จัดประชุม
สัมมนา
ส่วนกลาง
ดำเนินการโดยสำนักสารนิเทศร่วมกับสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
ส่วนภูมิภาค
ดำเนินการโดยสำนักงานป่าไม้ทุกเขต |
|
ปิยะนาถ กลิ่นภักดี เรียบเรียง
อ้างอิง
http://www.forest.go.th
http://www.deqp.go.th |