|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนกัมพูชานับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดวาอารามตั้งอยู่ทั่วประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ยังอยู่ในช่วงการทำนุบำรุง หลังจากถูกทำลายไปในช่วงที่เขมรแดงปกครอง ในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กัมพูชาได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ ประเทศตะวันตก และประเทศอื่น ๆ หลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว 2 ครั้ง
กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกับไทย มีประวัติศาสตร์ อารยธรรมยาวนาน นครวัด และนครธม นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่อัศจรรย์ชิ้นหนึ่งในเอเชีย ศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของกัมพูชา มีความคล้ายคลึงกันมากกับศิลปวัฒนธรรมไทย ภาษาเขมรมาจากรากศัพท์สันสกฤต จึงมีคำหลายคำในภาษาเขมรที่คุ้นหูคนไทย นอกจากนี้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสยังคงมีให้เห็นในเมืองหลวงและต่างจังหวัด
|
|
ที่ตั้ง กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันออกของไทย ที่มีพรมแดนติดกันประมาณ 890 กม.
ประชากร 11 ล้านคน (1.1 ล้านในกรุงพนมเปญ)
ภาษา เขมร ฝรั่งเศส อังกฤษ
ศาสนา พุทธ
รัฐบาล ประชาธิปไตย ในระบบพระมหากษัตริย์
สกุลเงิน 100 เรียล (Riel) = 1 บาท
เงินเหรียญสหรัฐใช้กันอย่างแพร่หลาย
สภาพอากาศ เช่นเดียวกับประเทศไทย
|
|
หากพูดถึงประเทศกัมพูชา ภาพในความรู้สึกของชาวโลก คงมองออกมาคล้าย ๆ กันว่าเป็นประเทศที่ตกอยู่ในห้วงแห่งสงครามเสมือนดินแดนต้องคำสาป ภาพการสู้รบ และความตายตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมายังคงอยู่ในความทรงจำของชาวโลก หากขยายเข้าไปในความทรงจำนั้น ก็คงจะเห็นภาพหัวกะโหลกมนุษย์กองโต ในทุ่งสังหาร คิลลิ่งฟิลด์ฝังลึกอยู่ในความรู้สึกอย่างยากที่จะลืมเลือน |
|
ประเทศกัมพูชา ในเวลานี้ก็เหมือนคนที่เพิ่งตื่นจากฝันร้ายจากภัยสงครามที่เขมรแดงได้มอบให้ กับสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากเหตุการณ์นั้น คนเขมรเกือบสามล้านชีวิตต้องตายลง และสงครามก็ได้ทิ้งร่องรอยฝากไว้ให้กับชาวเขมรที่เหลือรอดด้วยสภาพความพิการทางร่างกายกว่า 1.4 แสนราย พื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศยังเต็มไปด้วยกับระเบิดไม่น้อยกว่า 10 ล้านลูก ปัจจุบันชาวกัมพูชาและทหารต้องสูญเสียอวัยวะจากการเหยียบกับระเบิดดังกล่าวอีกปีละไม่น้อยกว่า 3,000 คน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเห็นภาพความพิการของคนเขมรอยู่ดาษดื่น |
|
วันนี้ฝันร้ายดังกล่าวได้ยุติลงแล้วอย่างสิ้นเชิงเมื่อหลายฝ่ายยอมวางอาวุธและหันหน้าเข้าหากัน การพัฒนาประเทศกำลังเริ่มเดินเครื่องหลังจากที่ต้องหยุดชะงักมาเป็นเวลานาน ความล้าหลังของประเทศในทุก ๆ ด้านกำลังได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ |
|
ทางหนึ่งที่รัฐบาลกัมพูชาจะสามารถหาเงินเข้าประเทศได้โดยง่าย คือการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งทางกัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อติดอันดับสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอย่าง นครวัด-นครธมอยู่แล้ว การทำประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ของเขมร นายเวง เสรีวุธ มีแผนที่จะประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในประเทศโดยเน้นตลาดใหญ่คือนักท่องเที่ยวจากไทย |
|
ย้อนไปในอดีตเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวนครวัด-นครธม เมื่อปี ค.ศ.1958 มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้าไปเที่ยวถึง 4.5 แสนคน หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้วมีเพียง 1.2 แสนคน ซึ่งแตกต่างกันมากแสดงให้เห็นถึงการอ่อนประชาสัมพันธ์ จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วนที่รัฐบาลของนายกฮุ่น เซน ต้องลงมือทำประชาสัมพันธ์ เพื่อแข่งกับประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
|
ในการเดินทางโดยเครื่องบินของสายการบินต่างประเทศ หรือสายการแอร์คัมโพสของกัมพูชา ที่บินจากกรุงเทพฯ ในขณะนี้ยังคงต้องใช้เส้นทางบินที่ต้องไปลงจอดที่สนามบินโปเชียนตง กรุงพนมเปญ ก่อนที่จะต่อเครื่องบินภายในประเทศของเขาในวันรุ่งขึ้น (ยกเว้นสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ลงจอดด้วยสัญญาปีต่อปี) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐบาลของนายกฯ ฮุน เซน ต้องการเห็นกรุงพนมเปญโตไปพร้อมกับจังหวัดเสียมราฐ และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับสายการบินภายในประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ |
|
ในกรุงพนมเปญแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ค่อยมีอะไรที่ยิ่งใหญ่เท่าใดนัก นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่ส่วนใหญ่จะเข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของเขา จากนั้นก็จะไปที่ พระบรมมหาราชวังเขมรซึ่งจำลองแบบวัดพระแก้วจากประเทศไทยไปเกือบทั้งหมด และสุดท้ายก็จะไปดู ตุล สะแลง และทุ่งสังหาร คิลลิ่ง ฟิลด์ ดูแล้วเกิดความหดหู่ใจอย่างยิ่ง |
|
สิ่งหนึ่งที่เห็นในกรุงพนมเปญในการมาเยือนครั้งนี้ (นอกจากความไม่เป็นระเบียบของการจราจร และขอทานที่เดินขอสตางค์กับนักท่องเที่ยวอย่างตื้อไม่เลิก) ก็คือวิถีชีวิตของคนเขมรที่ซึมซับรับแบบอย่างจากประเทศไทยไปเกือบร้อยเปอร์เซ้นต์ทั้งระบบราชการ และเอกชน มีคนไทยมาทำมาหากินอยู่ที่นี่กว่า1,600 คน ทั้งค้าขาย และทำธุรกิจ คนเขมรชื่นชอบสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและหาซื้อได้ง่าย ละครทีวีและภาพยนต์จากประเทศไทยก็เช่นกันล้วนได้รับความสูงมากถึงขนาดมีโปสเตอร์และรูปถ่ายดาราจากประเทศไทย ติดอยู่ตามร้านค้าหรือบ้านเรือนแทบทุกแห่ง |
|
Top |
|
|
|
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราล่วงรู้ถึงความเป็นมาของตนเอง และล่วงรู้ถึงความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษในอดีตได้นั้น ก็คือการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ ที่จะบอกเล่า เรื่องราวของคนแต่ละกลุ่มแต่ละชาติพันธุ์ ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้ศึกษา
หลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างสถาปัตยกรรมประติมากรรม จิตรกรรม จึงมิได้เป็นเพียงมรดกของมวลมนุษยชาติที่ต้องปกป้อง และรักษาเท่านั้น และรักษาเท่านั้น แต่ยังเป็นอนุสรณ์สะท้อนให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงสัจะรรมข้อหนึ่งที่ว่า ทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนเป็นของไม่เที่ยง เมื่อถึงยุคแห่งความรุ่งเรืองก็ย้อมถึงยุคแห่งความเสื่อม และดับสูญ
นครวัด-นครธมเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของชาวเขมร เป็นที่เชิดหน้าชูตาเพียงแห่งเดียวของประเทศกัมพูชา มีอายุกว่า 900 ปี ถูกสร้างขึ้นโดย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ราวกลางศตวรรษที่ 11 เพื่อเป็นเทวสถานที่บูชาพระวิษณุในร่างของพระองค์ในขณะมีชีวิต และเป็นสถานสุสานที่ทรงรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระวิษณุเมื่อสิ้นพระชนม์
ประมาณ หนึ่งร้อยปีล่วงมาแล้ว มีนักธรรมชาติวิทยาท่านหนึ่งชื่อ อังรี มูโอต์ ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางในหนังสือของเขาชื่อ การท่องโลก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทำให้ชาวโลกสนใจโบราณสถานของขอมอย่างจริงจัง ตอนหนึ่งเขาได้บรรยายถึงเมืองพระนครไว้ว่าเป็นนฤมิตรกรรมทางสถาปัตย์ ซึ่งอาจไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างมาแล้วหรือที่จะสร้างต่อไปในโลกเสมอเหมือนได้ คำกล่าวนั้นไม่ได้เกิดความจริงแต่ประการใด
การที่ชาวขอมโบราณจะสร้างสถาปัตยกรรม ที่มีความยิ่งใหญ่ได้นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยความเชื่อในศาสนาเป็นหลักใหญ่ และพระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชอำนาจมาก ที่จะสามารถรวบรวมทั้งทาส และประชาชนมาสร้างได้
มีสมมุติฐานถึงระยะเวลาในการสร้างนครวัดของนักสำรวจ และนักวิชาการทางโบราณคดีหลายรายได้คาดการณ์คล้ายกันจนไม่เหลือช่องว่างให้คาดเดา โดยบอกว่าการสร้างอาจจะใช้คนหรือทาสผลัดเปลี่ยนหมุนเงวียนไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน ใช้ช้างมากว่า 4 หมื่นเชือก และใช้ช่างจำหลักหินที่มีฝีมืออีกไม่น้อยกว่า 5 พันคนด้วยเทคนิคในการก่อสร้างที่ชาวเขมรหรือขอมที่มีอยู่ในขณะนั้นถือได้ว่ามีความชำนาญมากกว่าชนชาติอื่นในย่ายอินโดจีน ชาวเขมรหรือขอมโบราณสามารถสร้างแราสาทหลังหนึ่งได้จากทุกด้านพร้อมกันโดยใช้คนงานจำนวนมาก ตามการคำนวณ เชื่อว่าการสร้างปรางค์ก่ออิฐที่สูงประมาณ 12 เมตร ฐานกว้าง 5 เมตร สามารถสร้างให้เสร็จสิ้นได้ภายใน30 วัน การสร้างปราสาทนครวัดจึงไม่ใช้เวลาไปกว่า 50 ปีเป็นอย่างสูง
และด้วยเหตุความคลั่งไคล้ต่อสิ่งก่อสร้างมหึมานี่เอง ก็นำมาซึ่งความล่มสลายในช่วงปลายสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในศตวรรษที่ 14 ได้เกิดศึกสงครามโดยกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาที่มารุกรานพลเมืองของอาณาจักรขอมที่เหนื่อยกับการสร้างเมืองถูกบังคับไห้ออกรบ ซึ่งก็ไม่สามารถต้านทานทัพจากกรุงศรีอยุธยาได้ เพราะหลายร้อยปีนับตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองพลเมืองขอมถูกบังคับให้สร้างปราสาทและสุสานอย่างหนักมาโดยตลอดและล้มตายไปเป็นจำนวนมหาศาลหามิได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธาร่วมกันในทางศาสนากับผู้สร้างไม่ บางทีชาวขอมอาจเห็นด้วยซ้ำไปว่าการสงครามเป็นเสมือนความหลุดพ้นจึงไม่พยายามปกป้องประเทศของตน
โบราณสถานเมืองพระนคร จึงเป็นเสมือนสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้รู้ว่าความฟุ่มเฟือยคลั่งไคล้ในเทพเจ้าของผู้มีอำนาจที่อยู่บนความทุกยากแสนสาหัสของประชาชน ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ และต้องเสื่อมสลายลงในที่สุด ศาสนาที่มีความอ่อนโยนสมถะไม่สิ้นเปลือง และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้เท่านั้น จึงจะได้รับความศรัทธาอย่างแท้จริง |
|
Top |
|
|
|
มีเรื่องเล่าขานกันจนกลายเป็นตำนานประจำราชวงศ์นโรดมและพสกนิกรชาวกัมพูชาว่าเมื่อครั้งอาณาจักรชัยวรมัน (ขอม)ทางตอนเหนือของประเทศหมดอำนาจลง เจ้าหญิงซึ่งเป็นผู้สืบขัตติยราชตระกูลได้นำข้าราชบริพารที่จงรักภักดีล่องเรือมาตามลำน้ำทนนสาบหรือแม่น้ำทะเลสาบ จนมาถึงจุดที่เป็นกำเนิดของอาณาจักรพนมเปญ (คือเดือนเพ็ญ) นับแต่นั้นราชวงศ์เขมรินทร์ก็ครองราชย์บัลลังก์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันมีเรื่องเล่าถึงคำทำนายสืบต่อกันว่าเมื่อถึงกษัตริย์องค์ที่ 14 ครองราชย์เมื่อใด การสืบราชบัลลังก์ก็จะถึงการสิ้นสุดโดยมีเหล่ากาดำบินว่อนเต็มท้องฟ้า บดบังแสงอาทิตย์ไม่ให้ตกทอดถึงแผ่นดิน พร้อมกับคาบผลไม้เน่าสีแดงมาทิ้ง เสมือนหนึ่งเลือดจะต้องนองแผ่นดิน ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จพระนุโรดมสีหนุ ตรัสบ่อยครั้งเกี่ยวกับตำนานดังกล่าว โดยทรงเปรียบกลุ่มเขมรแดงว่าเป็นกาตามตำนานความเชื่อ เนื่องจากกลุ่มเขมรแดงนิยมแต่งกายในชุดชาวนาย้อมผ้าสีดำที่มีส่วนทำให้พระองค์ต้องพลัดแผ่นดิน
มาถึงยุคประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ในการร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีการถกเถียงและได้ผลสรุปออกมาว่า ประมุกแห่งรัฐได้แก่กษัตริย์ ซึ่งในปัจจุบันก็คือสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ส่งผลให้อนาคตผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์องค์ต่อไปได้แก่ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ แต่พระโอรสองค์โต พระองค์นี้ต้องการมีส่วนร่วมในอำนาจในทางการเมืองและผลประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเต็มตัวและจัดตั้งพรรคฟุนซินเปกขึ้นมากกว่าความต้องการในฐานะประมุกของประเทศ แต่คำทำนายจะเป็นจริงหรือไม่ เวลาเท่านั้นจะเป็นคำตอบ |
|
Top |
|
Home |
|
|
|
แหล่งอ้างอิง
- หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 7 ธันวาคม 2536 หน้า 2
- หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 14 พฤษภาคม 2542 หน้า5
- หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 หน้า5
|