|
|
|
|
|
|
|
ประเทศไทยและประเทศเม็กซิโกได้สถาปนาคามสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างปี 2518 โดยทั้งสองฝ่ายเปิดสถานเอกอัครราชทูตในเมืองหลวงของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยได้ตั้งที่ปรึกษาการพาณิชย์ที่กรุงเม็กซิโก ซิตี ซึ่งทั้งสองประเทศได้ทำข้อตกลงร่วมกันทั้งที่เกี่ยวกับความร่วมมือของภาคเอกชนระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภานักธุรกิจเม็กซิกัน(MEXICAN BUSINESS COUNCIL) รวมไปถึงความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบินและการขนส่งทางอากาศเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2534
และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจเมื่อเดือน ธ.ค.2540 |
|
ทั้งนี้ก่อนจะกลายมาเป็นประเทศเม็กซิโกจนถึงปัจจุบันนี้นั้น แต่เดิมดินแดนแห่งนี้เชื่อว่าชนพื้นเมืองได้อพยพมาจากเอเชียโดยทางอลาสก้าและต่อมาได้สร้างอารยธรรมขึ้นที่นี่ สิ่งที่เป็นพยานชี้ชัดของความรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตได้แก่พีระมิด ราชวังและวัดวาอารามต่าง ๆ ที่ปรากฏหลงเหลือจนถึงทุกวันนี้ และแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนเผ่าโอลเมค ทอลเทค มายา และแอซเทคว่ามีการพัฒนาขั้นสูงทั้งทักษะในเรื่องของดาราศาสตร์ การคำนวณ ศิลปวิทยาการและภาษานับย้อนไปกว่า 11,000 ปี |
|
จนกระทั่งสเปนได้เดินทางแสวงหาโลกใหม่และค้นพบดินแดนยูคาตันนี้เข้าโดย ฟรานซิสโกเฮอร์นานเดซ เดอ คอร์โดบา ในปี 2060 โดยขึ้นฝั่งที่แหลมมาโคเซ นับจากนั้นการบุกเบิกสำรวจพื้นที่แนวชายฝั่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยเรียกดินแดนนี้ว่า "New Spain" มีการทำสงครามกับชนเผ่าดั้งเดิมและในที่สุดสเปนเป็นฝ่ายชนะและมีการแต่งตั้งอุปราชปกครองต่างพระเนตรพระกรรณกษัตริย์เรื่อยมาและสิ้นสุดอำนาจลงในปี 2364 ซึ่งเม็กซิโกได้รับเอกราชแต่สิ่งที่สำคัญและถือเป็นวันยิ่งใหญ่ของชาติเม็กซิโกนั้นได้แก่คำประกาศ "EI Grito de Dolores" โดย บาทหลวงมิเกล ฮีดัลโก ซึ่งเป็นพระคริสต์นิกายคาทอลิก ผู้นำการต่อสู้โค่นล้มอำนาจการปกครองของสเปนให้ได้มาซึ่งเอกราชเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2353 |
|
สหรัฐเม็กซิโกเป็นประเทศใหญ่อันดับ 3 ของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกัน และเป็นประเทศที่มีประชากรใช้ภาษาสเปนมากที่สุดในโลก |
|
ดินแดนของแม็กซิโกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียนที่มีอารยธรรมสูงมาช้านานชาวอินเดียนเผ่ามายาซึ่งเป็นพวกที่รุ้จักการทำการเกษตรกรรมเป็นอย่างดีได้อพยพมาจากบริเวณคาบสมุทร ยูคาตาน (Yucatan) แล้วมาสร้างอารยธรรมขึ้นในเม็กซิโก เช่นได้สร้างปิระมิด อันใหญ่โตที่เม็กซิโกปัจจุบัน นอกจากนั้นชาวอินเดียมายายังได้ประดิษฐปฏิทินขึ้นใช้อีกด้วยความก้าวหน้าของชาวอินเดียมายา ในเม็กซิโก ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 1500 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อสเปนเดินทางมาพบเม็กซิโก ใน ปี ค.ศ.1519 นั้นก็พบว่าชาวอินเดียนในเม็กซิโกมีวัฒนธรรมสูงและเจริญรุ่งเรืองมากทีเดียว แต่เพราะการขาดอาวุธยุทโธปกรณ์ชาวอินเดียแห่งเม็กซิโกจึงต้องสูญเสียอธิปไตรให้แก่สเปนผู้ "ค้นพบ" โลกใหม่อย่างหมดหนทางต่อสู้ |
|
ดินแดนของเม็กซิโกเคยแผ่ขยายเข้าไปถึงบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ จนกระทั่งรัฐเท็กซัสได้ก่อการปฏิวัติแยกตัวออกจากเม็กซิโกแล้วประกาศเอกราชเป็นสาธารณรัฐในปี ค.ศ.1836 ในการแยกตัวออกไปของรัฐเท็กซัสนี้รัฐสภาของเม็กซิโกไม่ยอมรับรองความเป็นเอกราชของเท็กซัส อย่างไรก็ดีในที่สุดสหรัฐก็ผนวกรัฐเท็๋กซัสเข้ากับประเทศสหรัฐ.ซึ่งมีผลทำให้เกิดสงคราม ระหว่างเม็กซิโกกับสหรัฐในช่วงปี 1846-1848 และผลก็ปรากฏว่าเม็กซิโกเป็นฝ่ายปราชัย
ทำให้เม็กซิโกนอกจากจะไม่ได้เท็กซัสกลับคืนมาแล้ว ยังต้องสูญเสียดินแดนทางเหนือของแม่น้ำริโอ แกรนเด (Rio Grande) ให้แก่สหรัฐ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญากัวดาลูป ฮิดาลโก(Treaty of Guadalupe Hidalgo) เพื่อยกดินแดนดังกล่าวให้สหรัฐ |
|
|
|
|
|
ดินแดนทางตอนเหนือของเม็กซิโกจรดประเทศสหรัฐ ทางด้านใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศกัวเตมาลาและประเทศเบลิซ (Belize) (อาณานิคมของอังกฤษแต่เดิมเรียกว่า British Honduras) พื้นที่ของเม็กซิโกทั้งสิ้นมี 761,601 ตารางไมล์หรือประมาณ 3 เท่าของรัฐเท็กซัสทางด้านตะวันตกของเม็กซิโกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแอตแลนติกตรงบริเวณอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ฝั่งทะเลทั้งหมดของเม็กซิโกมีความยาวทั้งสิ้น 6,212 ไมล์ จุดที่อยู่เหนือสุดของ เม็กซิโก คือตรงบริเวณที่ แม่น้ำกิลา และแม่น้ำโคโลราโดไหลมาบรรจบกันตรง เหนือและจุดที่อยู่ใต้สุดของประเทศ อยู่ตรงปากแม่น้ำ ซูเชียเต (Suchiate River) |
|
แม่น้ำ ปาปาลัมปัน เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของเม็กซิโก เป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำสายนี้มีถึง 8,000 ลูกบาศก็เมตรต่อวินาที แม่น้ำเลอร์มา ซานติอาโกก็เป็นแม่น้ำสำคัญอีกสายหนึ่งของเม็กซิโก แม่น้ำสายนี้ไหลลงสุ่ทะเลสาบชาปาลา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด (มีพื้นที่ 417 ตารางไมล์) และเป็นทะเลสาบที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของแม็กซิโก ส่วนน้ำในทะเลสาบชาปาลาจะไหลออกไปตามลำแม่น้ำซานติอาโกซึ่งแม่น้ำสายนี้จะไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกไปในที่สุด |
|
ภายในบริเวณส่วนลึกของเม็กซิโก มีแม่น้ำหลายสาย ซึ่งไม่ไหลลงสู่มหาสมุทรแต่ไหลลงสู่ทะเลสาบซึ่งไม่มีทางน้ำไหลลงสู่ทะเลได้เลยมีดังนี้ในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงตอนกลางประเทศเม็กกซิโก แม่น้ำ Casas Grandes ไหลลงสู่ทะเลสาบ Guzman แม่น้ำ Santa Maria ไหลลงสู่ทะเลสาบ Santa Maria และแม่น้ำ Carmen ไหลลงสู่ทะเลสาบ Patos แม่น้ำและทะเลสาบ |
|
โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สภาพภูมิอากาศของบริเวณใดบริเวณหนึ่งจะกำหนดโดยยึดสถานที่ตั้งของบริเวณนั้นว่าอยู่ในละติจูดที่เท่าใดเป้นหลักไม่ได้ เพราะระดับความสูงกับอัตราการตกของฝนมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้บริเวณหนึ่งมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างไปจากอีกบริเวณหนึ่งที่ตั้งอยู่ในละติจูดเดียวกัน |
|
สภาพภูมิอากาศในเม็กซิโกแบ่งออกได้เป็น 9 เขต ดังนี้ |
|
1.เขตอากาศร้อนมีฝนตกชุกตลอดปี
2.อากาศร้อนมีฝนตกชุกในฤดูมรสุม
3.เขตอากาศร้อนมีฝนตกในฤดูร้อน
4.เขตอากาศแห้งแล้งทุ่งหญ้าสเต็ปป์
5.เขตอากาศร้อนมีฝนตกในฤดูหนาว
6.เขตอากาศร้อนมีฝนตกตลอดปี
7.เขตอากาศร้อนมีฝนตกเล็กน้อยทุกฤดูกาล
8.เขตอากาศร้อนมีฝนตกในฤดูร้อน
9.เขตอากาศหนาวเย็น |
|
|
|
|
|
ภาษาที่ใช้กันเป็นส่วนมากในเม็กซิโก ได้แก่ ภาษาอินเดียน และภาษาสเปน
เมื่อจัดแบ่งชาติอินเดียออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะของการใช้ภาษาอินเดียน ภาษาต่าง ๆ แล้วกลุ่มที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มที่ใช้ภาษา Nahuatl ซึ่งเป็นภาษาของชาวแอซเทค ชาวอินเดียนที่ใช้ภาษาอินเดียนประจำเผ่าของตนกลุ่มที่สำคัญรองลงมาตามลำดับมีดังนี้ ชาวอินเดียนเผ่ามายา เผ่ามิกซ์เทค เผ่าซาโปเทค เผ่าโอโตมิ เผ่าโตโตแนค และเผ่ามาซาเทค ชาวอินเดียนกลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ มีจำนวนประชากรอยู่ในกลุ่มตั้งแต่ 100,000 คน ขึ้นไปและใช้ภาษาของตนกับภาษาสเปน
ฉะนั้นภาษาสเปนจึงเป็นภาษาประจำชาติของสหรัฐเม็กซิโก |
|
|
|
ความสัมพันธ์ระหว่างโบสถ์กับรัฐในเม็กซิโกได้ผ่านพ้นอุปสรรคและความขัดแย้งระหว่างองค์กรทั้งสองมาแล้ว ในสมัยที่ผ่านมาความเป็นศัตรูกันระหว่างสองฝ่ายเป็นไปอย่างเปิดเผยเพื่อให้เข้าใจถึงสภาพการณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างโบสถ์กับรัฐในเม็กซิโกในยุคใหม่ จำเป็นที่จะต้องรู้ประวัติความเป็นมาของศาสนาและการปกครองในเม็กซิโก |
|
|
|
สมัยก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อขุนทัพสเปนเฮอร์แนน คอร์เตส นำกำลังเข้าบุกยึดเม็กซิโกแล้วพบว่าชาวอินเดียนในเม็กซิโกจัดระบบการศึกษาเป็นอย่างดี เช่นการศึกษาของชาวมายาของชาวแอซเทค เป็นต้น
การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของชาวมายานั้นพระเป็นผู้สอน พวกพระชาวมายาจะศึกษาทางศาสนาและวิทยาศาสตร์แล้วถ่ายทอดวิชาทั้งสองไปให้แก่คนรุ่นต่อมา นักประวัติศาสตร์ค้นพบว่า พระชาวมายาซึ่งเป็นผู้คงแก่การเรียนนั้นมีความรู้ทางดาราศาสตร์และวิชาคำนวณและมีผลงานสำคัญทางด้านวรรณกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอยู่ในระดับสูงมากซึ่งสิ่งเหล่านี้จะปรากฏออกมาให้เห็นไม่ได้เลยถ้าปราศจากซึ่งระบบการปกครองและระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ |
|
|
|
|
|
สภาพเศรษฐกิจของเม็กซิโกเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็น ระดับของทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งสถาบันทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนของประเทศนักคิดคนหนึ่ง ชื่อ Frank Tannembaum ได้กล่าวว่า "เม็กซิโกเป็นประเทศที่สวยงามที่น่าอยู่อาศัยแต่ก็เป็นประเทศที่ทุรกันดาร ที่ยากยิ่งแก่การดำรงชีวิต"สภาพภูมิศาสตร์ของเม็กซิโกเต็มไปด้วยความยากลำบากและท้องถิ่นต่าง ๆ ก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก สภาพภูมิประเทศของเม็กซิโกเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการตั้งถิ่นฐานและการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากแรงงานของชาวเม็กซิกัน
ที่ได้ลงไป เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยเทือกเขาอันทุรกันดาร |
|
ถึงแม้ว่าท่ามกลางสภาพภูมิประเทศจะเต็มไปด้วยความยากลำบากดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็ไม่อาจที่จะลดความเพียรพยายามของชาวเม็กซิกัน ในการเข้าไปเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ในอาณาบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันนับตั้งแต่บริเวณแถบร้อนของที่ราบริมฝั่งทะเลหรือบริเวณกึ่งอากาศร้อนจนถึงบริเวณช่องเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าสน
มีพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อมนุษย์เจริญงอกงามอยู่ โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเม็กซิโก ปรากฎว่ามีบ่อสินแร่ซึ่งดึงดูดสเปนให้กระหายเข้ามาขุดค้นหาทองคำและเงิน นอกจากนั้นยังมีแร่เหล็กและถ่านหิน สำหรับสร้างอุตสาหกรรมของเม็กซิโกซึ่งเริ่มต้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี้เอง รวมทั้งมีน้ำมันปิโตรเลียมและสินแร่ที่มีความสำคัญทางอุตสาหกรรมและทางทหารอันจะมีประโยชน์ต่อการสร้างเศรษฐกิจของประเทศด้วย เมื่อเอาทรัพยากรเหล่านี้มารวมกับพลังงานด้านไฟฟ้าพลังน้ำจำนวนมหาศาลของเม็กซิโกแล้วจะทำให้เม็กซิโกมีทรัพย์สมบัติอย่างเพียงพอในการที่จะสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ |
|
|
|
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: 4.8 %
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ: 815 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายได้ประชาชาติต่อหัว: 4,135 เหรียญสหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ: 12.32 %
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ: 30.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ประมาณการค้าร่วมไทย-เม็กซิโก: 435.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
(มูลค่าส่งออก : 286.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/มูลค่านำเข้า:149.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
|
|
|
|
BACK
|
|
แหล่งอ้างอิง
- 14 มีนาคม วันชาติเม็กซิโก เดลินิวส์ : ( 14 มี.ค. 44)
- สารบรรณโลก
|