อุทยานแห่งชาติรามคำแหง |
|
|
อุทยาน แห่งชาติรามคำแหง
มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย
อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์
ประกอบด้วยปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น
น้ำตกสายรุ้ง อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีเนื้อที่ประมาณ
213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร
กรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าเขาหลวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่า
สงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2512
หลังจากนั้นกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส 0706/2978 ลงวันที่
21 กุมภาพันธ์ 2517 เรื่อง
การเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ
ให้จังหวัดทุกจังหวัดประสานงานกับป่าไม้เขตดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ใน
ท้องที่แต่ละเขตว่าบริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
หรืออุทยานแห่งชาติ
จากการสำรวจจังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือที่ สท 0009/1370
ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2517
ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายัง
กรมป่าไม้
เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง
ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง
จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ
น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ
อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518
ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี
ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า
ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย
เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ
จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะทางด้านความคิดของกรุง
สุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ
เพื่อเทอดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ
ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย
ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่
2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518
เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลบ้านด่าน
ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า
อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลบ้านป้อม ตำบลคีรีมาศ
อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 175 ลงวันที่
27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18
ของประเทศ
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
พื้นที่
ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้ง
สูงขึ้นไปจากที่ราบคล้ายจอมปลวก
ซึ่งแยกตัวจากเทือกเขาอื่นโดยเด่นชัด
มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้
ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ
เขาหลวง ประกอบด้วยเขานารายณ์ สูง 1,160 เมตร
เขาพระเจดีย์ สูง 1,185 เมตร เขาภูคาและเขาพระแม่ย่า สูง
1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม
ประกอบด้วย คลองตาเจ็ก คลองเสาหอ คลองวังเงิน คลองเนินคลี
คลองด้วงงาม คลองลานทอง คลองมะซาง และคลองเพชรหึง เป็นต้น |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
บริเวณ
อุทยานแห่งชาติรามคำแหงจัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
มีอากาศร้อน
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31
องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย
1,323 มิลลิเมตรต่อปี
และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
มีอากาศหนาวเย็นสบาย
โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน
ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม มกราคม
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรัง
รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ
ป่าเต็งรัง พบตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำขึ้นไป
ตามไหล่เขาและสันเขาที่แห้งแล้ง
พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 140-900 เมตร
ซึ่งมีดินตื้นและอุดมสมบูรณ์ต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง
รัง เหียง พลวง เหมือดหลวง มะเกิ้ม ตาลเหลือง แข้งกวาง
รักขน สารภีป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขางครั่ง นมแมว
ย่านลิเภา เป้ง ปรง เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณ
ที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง
แต่แห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง
โดยพบตามร่องห้วยในบริเวณที่มีป่าเต็งรังอยู่ตามไหล่เขาและสันเขา
ตามพื้นที่รอยต่อกับป่าดิบแล้งที่มีสภาพความชุ่มชื้นน้อยลง
และพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร
พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก
ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด
ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม
กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี
จากพื้นล่างขึ้นไปตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
150-900 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง ปอสลักพาด คำไก่
มะไฟ เลือดควายใบใหญ่ เสลาดำ ดีหมี จิก ไผ่หก ไผ่ไร่
ไผ่เฮียะ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม หวายโป่ง หวายนิ้ว
เขิงช้าง และว่านนกคุ้ม เป็นต้น
สำหรับพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตรขึ้นไปเป็น
ป่าดิบเขา ซึ่งกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามยอดเขา
และพบทุ่งโล่งที่มีหญ้าปกคลุมสลับกันอยู่
พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตองลาด จำปีป่า มันปลา สอยดาว ไคร้ขน
หมี่ปัง อบเชย ตองหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ คนางใบหยก
เขิงแข้งม้า ก๋ง เป็นต้น
สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหงประกอบด้วย เก้ง
หมูป่า ลิงกัง ชะมดเช็ด อีเห็นเครือ ลิ่นใหญ่
ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวขอบหูกลาง กระรอกท้องแดง
กระรอกหลากสี กระจ้อน นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง
นกแซงแซวหางปลา นกจับแมลงจุกดำ นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกระจิ๊ดธรรมดา นกกินแมลงอกเหลือง นกตีทอง นกบั้งรอกใหญ่
กิ้งก่าเขาหนามสั้น จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหางยาว
ตุ๊กแกบ้าน ตะกวด งูลายสาบคอแดง งูเขียวหัวจิ้งจกป่า
งูเหลือม อึ่งอ่างบ้าน กบว้าก อึ่งน้ำเต้า และกบหลังไพล
เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาหลากชนิด เช่น ปลาแขยง
ปลาซิวควาย ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาเข็ม
และปลากระดี่ เป็นต้น |
|
|
|
โซน |
ชื่อห้องประชุม |
รองรับ
ได้ (คน) |
ราคา
(บาท) |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. รามคำแหง 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
2. รามคำแหง 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
3. รามคำแหง 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
เขาหลวง เป็น
ภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย
รูปพรรณสัณฐานคล้ายสตรีนอนสยายผมที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอด
เวลา
บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงามประกอบไปด้วยยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้า
ธรรมชาติ
บริเวณผานารายณ์เป็นจุดที่สามารถไปยืนชมทิวทัศน์กว้างไกลของทุ่งหญ้าและผืน
ป่าดงดิบตามริมห้วยชุ่มชื้น
และยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและตกในยามเย็น
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดเขาหลวงระยะทางประมาณ
4 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางดิ่งชันขึ้นที่สูงตลอด
ผู้ที่ต้องการพิชิตยอดเขาหลวงจึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม
ระหว่างทางจะพบกับสิ่งที่น่าสนใจเป็นระยะๆ
ช่วงแรกผ่านไปตามป่าดงดิบแน่นทึบ
เมื่อถึงต้นประดู่ใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่ริมทาง
สภาพทางจะเริ่มชันขึ้นๆ ราวกับหน้าผา รวมระยะทาง 3
กิโลเมตร ระหว่างทางมีจุดให้พักชมทิวทัศน์
จนไปถึงจุดพักที่เรียกว่า น้ำดิบผามะหาด
ซึ่งมีธารน้ำซับให้แวะพักล้างหน้าล้างตา
จากนั้นทางจะลาดขึ้น จนกระทั่งถึงยอดเขาหลวง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
|
|
ถ้ำนารายณ์ ตั้ง
อยู่บริเวณทางขึ้นเขาหลวง
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร
เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ซึ่งสลักจากหินทรายโบราณที่มีพุทธลักษณะคล้ายรูปพระนารายณ์
จึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานเป็นชื่อถ้ำ
ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำพระแม่ย่า ตั้ง
อยู่ที่ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 กิโลเมตร
เป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระแม่ย่า
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย
อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวสุโขทัย
ลักษณะคล้ายเพิงหินขนาดใหญ่ และด้านหลังเป็นถ้ำตื้น
การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319
เมื่อถึงสี่แยกบ้านขุนนาวัง
เลี้ยวซ้ายผ่านเขากุดยายชีเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร
ผ่านหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า)
ไปก็จะถึงถ้ำพระแม่ย่า |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ทุ่งหญ้าธรรมชาติ บน
ยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ
3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน
บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม
ไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงามเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน
อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
น้ำตกลำเกลียว เป็น
น้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใส
โอบล้อมไปด้วยสภาพธรรมชาติที่สวยงามของป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่แทรกตัว
อยู่เป็นระยะๆ มีโขดหินขนาดใหญ่จำนวนมาก
มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย
และให้ความเป็นส่วนตัว การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข
1319 เมื่อถึงสี่แยกที่บ้านนาสระลอยเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ
150 กิโลเมตร
เมื่อถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว
(น้ำตกลำเกลียว) ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร
จึงจะถึงตัวน้ำตกชั้นที่สูงสุด
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกสายรุ้ง เป็น
น้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงชันและสวยงาม
เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์มาเป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตก
เฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น
น้ำตกชั้นบนสุดเป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก
แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร
น้ำตกสายรุ้งมีน้ำตกเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
การเดินทางจากอำเภอคีรีมาศ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101
ไปประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าสู่บ้านใหม่เจริญผล
เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร
ถึงน้ำตก |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกหินราง ตั้ง
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นร่องหินที่มีน้ำไหลลงมาเป็นทางมีน้ำไหลเป็น
บางฤดู |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
พระร่วงวิ่งว่าว ตั้ง
อยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ มีตำนานเล่าขานว่า
เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ที่พระร่วงมาเล่นว่าว
เคยมีประเพณีสักการบูชาสืบทอดกันมาแต่โบราณ
ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
ชมวัฒนธรรมและประเพณี
|
|
ลานพม่าลับหอก ตั้ง
อยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร
เป็นลานหินทรายขนาดใหญ่ในลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นจุดพักทัพ
และลับอาวุธของทหารพม่า
ขณะที่เดินทางมารบกับไทยในสมัยสุโขทัย |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
สมุนไพร และว่าน ใน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติมีว่านและสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น
โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย
เสน่ห์สาวหลง หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง
เลือดค้างคาว รางจืด กระวาน กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
|
|
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติรามคำแหงได้จัดทำเส้นทางเดินป่าเพื่อศึกษาความหลากหลายของธรรมชาติไว้
2 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางศึกษาธรมชาติ สายที่ 1
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง 300 เมตร
จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับพื้นที่กางเต็นท์ ระยะทางประมาณ 1.5
กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
ในการศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ
ลานสมุนไพรโบราณ ป่าเต็งรัง ลำน้ำ
สภาพป่าธรรมชาติที่มีการทดแทนตลอดเวลา และน้ำตกหินราง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 2
เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกิจกรรมเดินทางไกลในการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติ
และชมสวนสมุนไพรโบราณ
จุดเริ่มต้นเดียวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 1
ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
|
|
อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน เป็น
แหล่งชมทัศนียภาพของทิวเขา วิถีชีวิตของผู้มีอาชีพหาปลา
และในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำเข้ามาอยู่ในอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก
เป็นจุดแวะพักก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ประมาณ 12 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|