อุทยาน แห่งชาติสาละวิน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบริมฝั่งน้ำซึ่งปกคลุมไปด้วยป่า เบญจพรรณ และป่าเต็งรัง และมีสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ธรรมชาติ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น แม่น้ำสาละวิน มีเนื้อที่ประมาณ 450,950 ไร่ หรือ 721.52 ตารางกิโลเมตร กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณลำน้ำสาละวิน (ตั้งแต่ใต้ห้วยแม่สามแลบไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสาละวินและป่าแม่ยวมฝั่งขวา ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียม และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และสวยงามเหมาะที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้ได้ทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของ สภาพพื้นที่จึงให้ นายอัมพร ปานมงคล นักวิชาการป่าไม้ 4 ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 504/2532 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2532 สำรวจพื้นที่ป่าบริเวณดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาน้อย ตำบลท่าผาปุ้บ อำเภอแม่ลาน้อย ตำบลแม่คง ตำบลบ้านกวด ตำบลแม่ยวม ตำบลสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื้อที่ประมาณ 1,013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 632,125 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายมงคล ชัยดำรงเลิศ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 หัวหน้าฝ่ายป้องกันรักษาป่า สำนักงานป่าไม้เขตแม่สะเรียง และ นายเจน ทาฟอง เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปสำรวจเพิ่มเติมและมีความเห็นว่า สมควรกำหนดขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติสาละวิน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโครงการสาละวินตอนล่าง (มร.11) เดิม อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ มติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2536 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 ได้พิจารณาเห็นชอบในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่ง ขวา และป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ อุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 200-1,027 เมตร ซึ่งยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยวม แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกองคา แม่น้ำแม่แงะ และแม่น้ำหาร
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิ อากาศของอุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำคง (สาละวิน) แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
พรรณไม้และสัตว์ป่า
มี สภาพป่าที่อุดมของป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมี สัก แดง ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ สัตว์ป่าที่สำคัญมี เลียงผา กวางป่า เก้ง หมูป่า หมี หนูหริ่ง เสือปลา วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง กระต่ายป่า กระรอก กระแต ชะนี อีเห็น และนกชนิดต่าง ๆ
เดิน ทางจากอำเภอแม่สะเรียงใช้เส้นทางตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1194 ระยะประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเข้าทางแยกขวามือไปตามทางอีก 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หากต้องการเดินทางต่อไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.4 (บ้านแม่สามแลบ) ต้องเดินทางโดยรถยนต์ (ถนนลาดยาง) อีกประมาณ 50 กิโลเมตร จากบ้านแม่สามแลบ หากต้องการเดินทางต่อไปที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางได้ทางเรือโดยสาร เรือออกจากท่าเรือบ้านสามแลบ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. (ค่าโดยสาร 1,000 บาทต่อผู้โดยสาร 10 คน : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (บ้านท่าตาฝั่ง) การเดินทางไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (บ้านท่าตาฝั่ง) สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้ เริ่มจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ถนนลูกรัง : ข้อมูลเดือนตุลาคม 2549) ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง เส้นทางนี้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการผจญภัย
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ป่าต้นสักใหญ่ หน่วยพิทักษ์อุทยานที่ สว.3 (ห้วยบง) ต้น สักใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ มีขนาดความโต 840 ซม.รองจาก ต้นสักใหญ่ที่วนอทยานสักใหญ่ ที่ จ.อุตรดิตถ์ ใกล้เคียงกันมีน้ำตกห้วยบง เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีจำนวน 3 ชั้น และเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติป่าต้นสักใหญ่ ระยะทาง 3 กม.สามารถเดินชมธรรมชาติได้ และมีจุดชมวิวอยู่ระหว่างเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของ อ.แม่สะเรียงได้
แม่น้ำสาละวิน แม่ น้ำสาละวินหรือที่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า "แม่น้ำคง" เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีต้นน้ำมาจากที่ราบสูงธิเบต ซึ่งมีความสูงถึง 8,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล แม่น้ำไหลมาจากทางใต้ผ่านธิเบต จีน พม่า จนมาเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วจึงไหลผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย ก่อนที่จะไหลเข้าไปในเขตพม่าอีกครั้งหนึ่ง รวมความยาวที่กั้นพรมแดนไทยเป็นระยะทางทั้งสิ้น 120 กิโลเมตร ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาบริเวณที่ราบสูงของธิเบตจะละลายลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำใสสะอาดกว่าฤดูอื่น ในฤดูหนาวมีสายหมอกปกคลุมตลอดลำน้ำซึ่งไหลผ่านกลางป่าผลัดใบที่เริ่มเปลี่ยน สี นอกจากนี้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนระดับน้ำจะลดต่ำมองเห็นหาดทรายขาวละเอียด ทั้งสองฝั่งสลับกับโขดหินใหญ่ นักท่องเที่ยวนิยมมากางเต็นท์พักแรมบนหาดทรายริมน้ำ หรือนั่งเรือชมความงามของลำน้ำและทิวทัศน์ธรรมชาติริมสองฝั่งน้ำ กางเต็นท์นอนริมแม่น้ำสาละวิน ผู้สนใจสามารถมากางเต็นท์นอนได้ที่บ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำสาละวินที่มีหาดทรายสวยงาม ยาวประมาณ 200 เมตร พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียงเพียง 8 กิโลเมตร แล้วเข้าทางแยกขวามือไปตามทางลูกรังอีก 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จากนั้นไปตามทางลูกรังที่ใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งอีกประมาณ 40 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าตาฝั่ง
ล่องแม่น้ำสาละวิน ใน หน้าแล้งระดับน้ำของแม่น้ำสาละวินจะลดต่ำจนหาดทรายและโขดหิน โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ผู้สนใจนิยมนั่งเรือหางยาวของชาวบ้านที่บ้านแม่สามแลบซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ สาละวิน เพื่อล่องไปตามลำน้ำ โดยมี 2 เส้นทางให้เที่ยวชม เส้นทางที่หนึ่ง มีจุดหมายที่สบเมย ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำเมยมาบรรจบแม่น้ำสาละวิน ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง เส้นทางที่สอง บ้านซิมูท่า-บ้านแม่ปอ-บ้านท่าตาฝั่ง ใช้เวลาไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง เช่นกัน บ้านแม่สามแลบอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านท่าตาฝั่ง ห่างจาก อำเภอแม่สะเรียงไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1194 ประมาณ 47 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงขึ้นเขาสูงชัน และคดเคี้ยว จนกระทั่งถึงทางแยกไปบ้านแม่สามแลบ เลี้ยวขวาเลียบลำน้ำไปอีก 2 กิโลเมตร
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ในท้องที่แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง ประมาณ 8 กิโลเมตร
ที่พักแรม/บ้านพัก มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.4 (แม่สามแลบ) ในท้องที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 50 กิโลเมตร ระบบไฟฟ้าใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ที่พักแรม/บ้านพัก มี บ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (ท่าตาฝั่ง) อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 70 กิโลเมตร ไปทางบ้านแม่สามแลบ เดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 50 กิโลเมตร และทางเรือประมาณ 20 กิโลเมตร ระบบไฟฟ้าใช้เครื่องปั่นไฟ เปิดให้บริการระหว่างเวลาประมาณ 18.00 - 22.00 น.
ลานกางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว ดังนี้ 1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คน 2. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.1 (ท่าตาฝั่ง) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน 3. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.3 (ห้วยบง) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน 4. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ สว.4 (แม่สามแลบ) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 20 คน การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร มีร้านอาหารให้บริการ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.