อุทยาน แห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าตะเบาะ และป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน และเพื่ออำนวยประโยชน์อื่นแก่รัฐและประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. 2532 จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้พบน้ำตกสวยงามเหมาะสมที่จะปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงได้ขอให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าตะ เบาะและป่าห้วยใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเมื่อกลางปี งบประมาณ 2534 กรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/244 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 ตามมติที่ประชุม คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการตราพระราชกำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่า ห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ นำเสนอร่างพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติได้มี หนังสือ ที่ กษ 0712.3/1275 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2539 ให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชกำหนดให้เป็นอุทยาน แห่งชาติ ได้พิจารณาตามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 22 ธันวาคม 2535 ว่าพื้นที่ทีจะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติมีราษฎรอาศัยหรือทำกินหรือไม่ และได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.425/65 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2539 ว่า พื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ไม่มีราษฎรบุกรุกครอบครองแต่อย่างใด เนื่องจากหน่วยราชการต่าง ๆ และราษฎรในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีเพื่อรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์นี้ เพื่อจะได้เสนอประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ในท้องที่ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลบ้านโคก และตำบลนาป่า อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือ ที่ นร 0214/13816 ลงวันที่ 26 กันยายน 2539 และส่งร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปเพื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ พิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป สำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/105 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ว่าได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกำหนดดังกล่าวข้างต้นเสร็จแล้ว พื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกำหนดนี้ทับซ้อนกับพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าตะเบาะและป่าห้วยใหญ่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 619 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 การทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังกล่าวสมควรให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในส่วนที่ทับซ้อน กับพื้นที่อุทยานแห่งชาติตามร่างพระราชกำหนดต่อไป และกรมป่าไม้แจ้งยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดตามร่างคณะกรรมการกฤษฎีกา แก้ไข สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานกฤษฎีกาฯที่ให้กรมป่าไม้ออกกฎกระทรวงเพิกถอนป่า สงวนแห่งชาติ ที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติจะดำเนินการภายหลัง อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 78 ก หน้า 11 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 87 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็น เทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดของห้วยน้ำดำ ห้วยผึ้ง ห้วยกกไฮ ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำชี เป็นผืนป่าเดียวกันกับป่าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ อาณาเขตทิศเหนือติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศใต้จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออกจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันตกจด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะภูมิอากาศ
โดย ทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม
พรรณไม้และสัตว์ป่า
ส่วน ที่ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ยาง แดง สัก ก่อ ประดู่ ตะแบก ไผ่ ฯลฯ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา หมูป่า เก้ง ลิง นกนานาชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลาชนิดต่าง ๆ
จาก ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2271 ถึงบ้านเฉลียงลับระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวขวาไปทางบ้านน้ำร้อน ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 ประมาณ 200 เมตร เลี้ยวซ้ายขึ้นอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ตามเส้นทาง รพช. (บ้านเฉลียงลับ- ตาดหมอก) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถแล้วเดินด้วยเท้าตามลำห้วยอีก 2 กิโลเมตร เพื่อชมความงามน้ำตกตาดหมอก และน้ำตกสองนาง
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุทยาน แห่งชาติตาดหมอก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 181,250 ไร่ หรือ 290 ตารางกิโลเมตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา และน้ำตกที่สวยงามยิ่ง สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บ้านพัก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องน้ำ - ห้องสุขา ที่จอดรถ ลานกางเต็นท์ เปิดให้บริการบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (ห้วยบง) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 9 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น
น้ำตกตาดหมอก ต้น กำเนิดจากเขาตาดหมอก เป็นน้ำตกสูงเด่นไหลลงจากหน้าผาสูงมีชั้นเดียวโดดๆ ความสูงประมาณ 200-300 เมตร สายน้ำที่โจนลงมาจากหน้าผาสูงทำให้สายน้ำแตกกระจายเป็นละอองน้ำคละคลุ้งไป ทั่ว ยิ่งในช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมาก ละอองน้ำจะฟุ้งกระจายจนไม่สามารถยืนอยู่ใกล้น้ำตกได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางถนน 7 กิโลเมตร แล้วเดินลัดเลาะไปตามลำห้วยอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาชัน
น้ำตกสองนาง เป็น น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เพราะสายน้ำจะไหลผ่านโขดหินลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 12 ชั้น แต่ละชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ชั้นที่สูงเพียง 5 เมตร และชั้นที่สูงถึง 100 เมตร ไหลลงสู่คลองห้วยบง สู่เขื่อนบ้านเฉลียงลับ สิ้นสุดที่แม่น้ำป่าสัก น้ำตกตั้งอยู่บนเส้นทางเดียวกับน้ำตกตาดหมอก โดยมีทางแยกไปน้ำตกสองนางก่อนถึงน้ำตกตาดหมอก
ผาสวรรค์ เป็น หน้าผาสูง 50 เมตร ยาว 200 เมตร มองเห็นทิวทัศน์แม่น้ำเลย ภูหลวง ภูหอ และภูกระดึง ได้อย่างชัดเจน ผาสวรรค์ตั้งอยู่ที่บ้านดงคล้อย ตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว
แหล่งท่องเที่ยวอิ่นๆ อุทยาน แห่งชาติตาดหมอกยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นอีก เช่น ผาน้ำเที่ยง เป็นหน้าผาที่ทอดตัวขนานกับแม่น้ำเลน ยาว 500 เมตร สูง 100 เมตร น้ำตกวังหินแร่ เลยดั้น จุดชมทิวทัศน์ระหว่างกิโลเมตรที่ 3 กิโลเมตรที่ 7 (ทางขึ้นน้ำตก) เป็นต้น
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการ
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณใกล้คลองน้ำ รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 400 คน การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
ระบบสาธารณูปโภค ไม่ มีระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปัจจุบันให้บริการโดยใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า เปิดให้บริการระหว่าง 18.00 - 22.00 น. นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมไฟฉายไปด้วย ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ถ้าหากมีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสาร จะใช้วิทยุในการสื่อสาร