อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท |
|
|
อุทยาน
แห่งชาติถ้ำผาไทมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเมือง
อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปาง
มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมาก
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ชั้นที่ 160
มีจุดเด่นและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ คือ ถ้ำผาไท
หล่มภูเขียว บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม ถ้ำออกรู
ห้วยแม่พลึง
นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คือ
ศูนย์ฝึกลูกช้าง มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214
ตารางกิโลเมตร
ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1627/2532 ให้ นายพูนสถิตย์
วงศ์สวัสดิ์ นักวิชาการป่าไม้ 5
กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม
และจัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
และบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยาง-ป่าแม่งาว
ป่าแม่ต๋า-ป่าแม่มาย ป่าแม่งาวฝั่งขวา และป่าแม่โป่ง
ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว จังหวัดลำปาง
เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย
ผลการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทพบว่า
เป็นป่าธรรมชาติที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์
มีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งประชาชนและหน่วยงานต่างๆ
รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ เขื่อนกิ่วลม และถ้ำผาไท
โดยได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติ
ที่ กษ 0713(ผท)/20 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งนายไพโรจน์ สุวรรณกร
อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติให้ใช้ชื่อ
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2534
ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืชกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ต่อไป |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
สภาพ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและพื้นที่ถูกบุกรุกแผ้วถาง
มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป ยอดเขาสูงที่สำคัญ คือ ดอยกิ่วลม
สูง 1,202 เมตร รองลงมาคือ ดอยสันกลางสูง 1,022 เมตร
ดอยผาหวด สูง 975 เมตร
ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณสลับกับป่าเต็งรัง
ส่วนทิศใต้ ได้แก่ ดอยหลวง สูง 1,100
เมตรทางทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นแหล่งผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมที่สำคัญ
ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง
น้ำจากลำห้วยและลำธารสายต่างๆ
ที่ไหลไปทางทิศตะวันตกจะไหลลงสู่แม่น้ำวัง
ส่วนที่ไหลไปทางด้านทิศตะวันออกจะไหลลงสู่แม่น้ำงาวเป็นส่วนใหญ่ |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
ฤดู ร้อนจะร้อนจัด มีลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน
ฝนตกสม่ำเสมอ มีลมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
บางครั้งมีพายุพัดแรงมาก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด
ในตอนกลางคืนและตอนเช้ามีหมอกปกคลุมทั่วไป
ลมหนาวพัดมาจากทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
เนื่อง จากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
ป่าไม้ที่พบได้แก่ ป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบ คือ ตะเคียน
ไม้ตระกูลยาง ไม้ตระกูลไม้ก่อ ยมหอม อบเชย ดีหมี ฯลฯ
ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบเห็น คือ ประดู่
มะค่าโมง แดง อ้อยช้าง ชิงชัน ไผ่ชนิดต่างๆ ตุ้มกว้าว
อุโลก สะแก และหญ้าแพก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระทิง หมูป่า ลิง เม่นใหญ่ ตุ่น
อีเห็น อ้น กระต่ายป่า แย้ กิ้งก่า ตุ๊กแกป่า งู กบ เขียด
อึ่งอ่าง คางคก และนกนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาชนิดต่างๆ
หลายชนิด |
|
|
|
ด้านประวัติศาสตร์ |
|
ภาพเขียนประวัติศาสตร์บ้านพักห้วยหก เป็น
ภาพเขียนสีแดงของกลุ่มคนเดินเรียงแถว
เป็นภาพเขียนที่มีอายุประมาณ 2,000-3,000 ปี
เป็นยุคสมัยของสังคมเร่ร่อน
และลักษณะของภาพเขียนดังกล่าวไม่ค่อยได้พบเห็นมากนักในประเทศไทย
สำหรับการเดินทางต้องใช้ทางเดินเท้าจากหมู่บ้านห้วยหก
ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
ถ้ำผาไท เกิด
จากภูเขาหินปูน มีความลึกจากบริเวณปากถ้ำเข้าไปประมาณ 405
เมตร มีหินงอกและหินย้อยที่สวยงามอยู่ตลอดเส้นทางเดิน
บริเวณปากถ้ำเป็นคูหากว้างซึ่งมีเสาหินขนาดใหญ่สูงหลายสิบเมตรตั้งตระหง่าน
เป็นเอกลักษณ์
บนผนังถ้ำด้านขวามือมีรอยจารึกพระปรมาภิโธยย่อ ป.ป.ร.
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
ทรงจารึกไว้เมื่อครั้งเสด็จประพาสถ้ำผาไทในปี พ.ศ. 2469
นอกจากนี้ยังมีทางแยกไปถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีหินงอกหินย้อยรูปทรงแปลกตาน่า
ชม |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำราชคฤห์ เป็น
ถ้ำหินปูนอีกแห่งหนึ่ง มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
การเดินทางใช้เส้นทางรถยนต์จากอำเภองาวถึงหมู่บ้านแม่แก้
ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร และเดินทางเท้า
เข้าไปยังถ้ำประมาณ 300 เมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำออกรู ห้วยแม่พลึง อยู่ใกล้ที่ทำการสวนป่าแม่พลึง
|
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
น้ำตกแม่แก้ เป็น
น้ำตกขนาดเล็ก เกิดจากลำห้วยแม่แก้
ตั้งอยู่บริเวณบ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
การเดินทางใช้เส้นทางรถยนต์จากอำเภองาว ถึงบริเวณน้ำตก
ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกแม่แจ้ฟ้า น้ำตก
แม่แจ้ฟ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำตกตาดเหมย
เป็นน้ำตกที่มีน้ำใสสะอาดไหลลงแอ่งน้ำรองรับลงมาเป็นชั้นๆ
มีความสูงรวม 9 ชั้น ที่ตั้งอยู่ห่างจากบ้านทุ่งฮ้างหมู่ 1
ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
เป็นทางรถยนต์เข้าไป ประมาณ 8 กิโลเมตร. |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกแม่ส้าน เป็น
น้ำตกขนาดกลางมี 2 ชั้น มีน้ำใสไหลตลอดปี
ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
การเดินทางต้องใช้ทางเดินเท้าจากหมู่บ้านแม่ส้าน
ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกห้วยตาดน้อย เป็น
น้ำตกขนาดเล็ก น้ำใส ไหลตลอดปี
ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านห้วยปง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
การเดินทางใช้เส้นทางรถยนต์ จากถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม
แยกไปสู่น้ำตก ประมาณ 25 กิโลเมตร. |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
หล่มภูเขียว เป็น
แอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่
มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟ
น้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียว
มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
หล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1
(ถนนพหลโยธิน) จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไปประมาณ 14
กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว
จังหวัดลำปาง เส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อน
มีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
อ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม เกิด
จากการสร้างเขื่อนกิ่วลมกั้นแม่น้ำวัง
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดลำปาง
ผู้สนใจสามารถล่องแพหรือเรือชมทิวทัศน์ของทะเลสาบและเกาะกลางน้ำ
โดยมีสถานที่สำหรับจอดเรือและแพอยู่ 2 แห่ง คือ
บริเวณสันเขื่อนกิ่วลม ซึ่งจะมีทางแยกเข้าไป 14 กิโลเมตร
จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดลำปางถึงทางแยกประมาณ 20 กิโลเมตร
ที่สำหรับจอดเรือและแพอีกแห่งหนึ่ง คือ ท่าเรือสำเพาทอง
ซึ่งมีทางแยกจากทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1055 (ลำปาง-แจ้ห่ม)
เข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ชมทิวทัศน์
|
|