ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > พระธาตุ > พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง : ประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (1)


  4  พระบรมธาตุ

พระบรมธาตุ

ตำนานที่มาโดยละเอียด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี

พระธาตุลำปางหลวง  ลำปาง

โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย

 

ประวัติพระธาตุลำปางหลวง  จังหวัดลำปาง (1)

                เมืองลำปาง เขลางค์นครกับตำนานเจ้าเจ็ดตน

                ดินแดงทางภาคเหนือที่เราเรียกว่าดินแดนล้านนาหรือโยนกนั้น มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีเจ้าเมืองปกครองต่าง ๆ มากหลายหัวเมือง เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เชียนแสน หริภุญชัย ลัมภะกัปปะนคร พละน่านเจ้า ซึ่งต่างก็แย่งชิงความเป็นใหญ่ปกครองดินแดนทางล้านนาไทย เจ้าแผ่นดินองค์ใดมีกำลังกล้าแข็งมีฝีมือมากก็ขยายดินแดนปกครองได้กว้างไกล เมื่อใดเสื่อมอำนาจบ้านเมืองอ่อนแอก็ถูกเมืองอื่นที่มีกำลังกล้าแข็งกว่ายึดครอง เป็นเช่นนี้มาตลอดทุกยุคทุกสมัย

                จนถึงในระหว่าง พ.ศ. 2272-2275 ดินแดนในล้านนาไทยไม่เป็นปกติสุข เกิดการจลาจลรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ทั่วไป ต่างก็ตั้งตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนดังสมัยก่อน เมืองเชียงแสน เชียงราย ตกอยู่ในอำนาจของพม่า เมืองเชียงใหม่มีองค์ดำ (หรือเจ้าองค์นก) เป็นเจ้าครองเมืองกำลังรบติดพันอยู่กับพม่าเมืองลำพูนมีท้าวมหายศครองเมือง เมืองแพร่ เป็นน่านต่างก็มีเจ้าเมืองปกครองอยู่

                ส่วนเมืองลำปางไม่มีเจ้าผู้ครองนครมีแต่ขุนเมือง 4 คน ควบคุมอำนาจการปกครองเมืองอยู่แต่ไม่มีสิทธิ์ขาดเพราะต่างก็แก่งแย่งอำนาจกัน บ้านเมืองระส่ำระสายไม่เป็นปกติสุข

                จนกระทั่งมีภิกษุรูปหนึ่งทนเห็นความเดือดร้อนของประชานไม่ไหว จึงลาสิกขาบทออกมาตั้งตัวเป็นใหญ่ ภิกษุรูปนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดนายาง (วัดนายางอยู่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) มีความเชี่ยวชาญทางไสยเวทวิทยาคม ได้รับการยกย่องจากชาวเมืองมีผู้มาสมัครเป็นลูกศิษย์และบริวารเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสมภารวัดสามเขากับสมภารวัดบ้านฟ่อน ก็ลาสิกขาบทออกมาเป็นเสนาซ้ายขวาของสมภารวัดนายาง ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นมาอีกก๊กหนึ่ง ซึ่งขุนเมืองทั้ง 4 ไม่สามารถปราบปรามได้

                ต่อมาเมื่อท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูนทราบข่าว จึงยกกองทัพเมืองลำพูนลงมาปราบก๊กของสมภารวัดนายางที่เมืองลำปาง สมภารวัดนางยางก็พาสมัครพรรคพวกบริวารต่อสู้กับกองทัพเมืองลำพูนเป็นสามารถจนถึงขั้นตลุมบอน ที่ตำบลป่าต้น กองทัพสมภารวัดนายางกำลังพลน้อยกว่าสู้กองทัพลำพูนไม่ได้ ก็แตกหนีมาอยู่ที่วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง กองทัพลำพูนยกกำลังมาล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้

                ครั้นเวลาใกล้รุ่ง สมภารวัดนายางกับเสนาซ้ายขวากับพวกก็หลบหนีจากที่ล้อมไปได้ พากันหนีลงทางใต้ กองทัพลำพูนไล่ติดตามมาทันกลางทางจึงเกิดการต่อสู้รบกันอีก สมภารวัดนายางกับพวกเหลือแต่ไม้ค้อน (ตะพด) กับไม้เสา รั้วสวน เป็นอาวุธเข้าต่อสู้กับกองทัพเมืองลำพูนเป็นสามารถ จนทัพลำพูนจวนจะแพ้อยู่แล้ว

                บังเอิญสมภารวัดนายางถูกกระสุนของทัพลำพูนที่ระหว่างคิ้วล้มลง เสนาซ้ายขวาเข้าช่วยประคองถูกกระสุนล้มลงทั้งคู่ เสนาวัดบ้านฟ่อนถูกกระสุนที่หางตา เสนาวัดสามขาถูกที่หัวเข่า ถึงแก่มรณกรรมทั้งสามคน ส่วนพลพรรคเมื่อเห็นหัวหน้าเป็นอันตรายต่างก็แตกพ่ายหลบหนีไป ที่หนีไม่ทันก็ถูกทัพลำพูนฆ่าตายที่นั่น

                เมื่อกองทัพลำพูนรบชนะแล้วก็ตั้งพักอยู่ในวัดพระธาตุลำปางหลวง แล้วก็ให้พลพรรคไปเรียกเก็บเงินภาษี บังคับเกณฑ์เอาข้าของเงินทองทรัพย์สินข้าวปลาอาหารไปบำรุงกองทัพ เมื่อผู้ใดไม่ยินยอมขัดขวางไม่ยอมให้หรือไม่มีก็จับตัวมาลงโทษทารุณกรรมต่าง ๆ บ้างก็ถึงแก่ชีวิต เป็นทุกขเวทนานัก ผู้หญิงลูกสาวใครสวยงามก็ถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอ ครั้งนั้นชาวเมืองลำปางได้รับความเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก

                ท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูนคิดที่จะยึดเมืองลำปางขณะที่กองทัพมีความหึกเหิมเพราะชนะศึกมาใหม่ ๆ จึงคิดอุบายแต่งตั้งให้ นายทหารเอก คือ หาญฟ้าแมบ  หาญฟ้าง้ำ  หาญฟ้าฟื้น  ซ่อนอาวุธเข้าไปเจรจาความเมือง ต่อขุนเมืองทั้ง 4 ที่ครองเมืองลำปาง คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือน จเรน้อย และท้าวขุนทั้งหลายมาประชุมกันที่สนามว่าการ

                ครั้นได้ทีก็พร้อมกันไล่ฟันแทง ขุนเมืองลำปางล้มตายลงหลายคน กองทัพเมืองลำพูนก็ยกกำลังหนุนเข้ามาปล้นเอาเมืองลำปาง ฆ่าฟันผู้คนจุดเพลิงเผาผลาญบ้านเมือง บ้านเรือนราษฎรเสียหายเป็นอันมาก พวกขุนเมืองที่หนีเอาตัวรอด มีท้าวลิ้นก่านจเรน้อย นายน้อยธรรมราษฎรชาวเมืองต่างแตกหนีกระจัด กระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ ที่คิดว่าปลอดภัย คือ ประตูผา เมืองลอง เมืองตีม เมืองต้า เมืองเมาะ เมืองวาง ทิ้งให้เมืองลำปางในครั้งนั้นเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยเพราะต่างกลัวกองทัพเมืองลำพูน

                ครั้นนั้นชาวลำปางต่างก็หาทางจะกอบกู้บ้านเมือง เพียงแต่รอคอยโอกาสอยู่ ต่อมามีพระมหาเถระรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระแก้วชมพู เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอันมาก ท่านคิดที่จะกอบกู้นครลำปางให้เป็นอิสระจากกองทัพลำพูนซึ่งมายึดครองเมืองอยู่นั้น เมื่อได้ซ่อนสุมผู้คนจนได้กำลังพอสมควรแล้ว จึงไปหาท้าวลิ้นก่านกับจเรน้อยที่หนีกองทัพลำพูนไปอยู่ประตูผา เหนือเมืองลำปาง เจรจาขอให้ขุนเมืองทั้งสองกอบกู้เมืองลำปาง แต่ขุนเมืองทั้งสองไม่กล้าเกิดท้อถอยเสียแล้ว จึงแจ้งให้พระมหาเถรเจ้าเลือกหาผู้ที่มีฝีมือมีความสามารถกอบกู้บ้านเมือง ถ้าหากผู้ใดสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไปกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จก็ขอมอบบ้านเมืองให้ผู้นั้นปกครองสืบไป

                ตอนแรกพระมหาเถระเจ้าวัดพระแก้วชมพูจะลาสิกขาบทเพราะหาผู้กอบกู้บ้านเมืองมิได้ ครั้นได้ปรึกษาญาติโยมและศิษย์ทั้งหลายต่างขอนิมนต์ไว้ก่อน ขอให้ครูบาเจ้าซึ่งชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ให้ลงเลขทำนายดู พระมหาเถระเจ้าก็ทำตามตำราที่ร่ำเรียนมาก็เห็นว่า มีชายคนหนึ่งชื่อ “หนานทิพช้าง”

                หนานทิพช้างผู้นี้เป็นพรานป่าชาวบ้านคอกวัว (แถวข้างวัดศรีล้อม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง) บางแห่งก็ว่าเป็นคนบ้านปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม กล้าหาญ มีกำลังฝีมือเข้มแข็ง ชำนาญในการใช้ปืนและธนูเป็นอันมาก และเคยเป็นหมอคล้องช้างป่า คนทั้งหลายจึงเรียกว่าทิพช้าง

                พระมหาเถระเจ้าจึงให้คนไปถามทิพช้างว่ารับจะกอบกู้บ้านเมืองจากข้าศึกชาวลำพูนหรือไม่ ทิพช้างก็รับรองอย่างแข็งขันว่า “พวกข้าศึกชาวลำพูนก็คนเดินดิน กินข้าวเหนียวเหมือนกับเรา เราหาเกรงกลัวไม่”

                พระมหาเถระเจ้าจึงตั้งให้ทิพช้างเป็น “เจ้าทิพเทพบุญเรือน” เป็นหัวหน้าคุมคน 300 คน คุมคนไปรบกับกองทัพเมืองลำพูน ที่ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เจ้าทิพเทพบุญเรือนจึงจัดกองกำลังให้หนานนันต๊ะสาร กับหนานชัยพล น้อยไชยจิตเป็นแม่กอง คุมไพร่พลชาวบ้านผู้กล้าหาญและมีฝีมือเข้มแข็ง แบ่งพลเป็น 3 กอง ๆ ละ 100 คน ยกออกจากเวียงดิน บ้านคอกวัวของทิพช้าง (ภายหลังได้สถาปนาเป็นเวียงดิน อยู่ทางเหนือเมืองลำปาง) มุ่งตรงไปวัดพระธาตุลำปางหลวงที่กองทัพ ซึ่งมีท้าวมหายศตั้งพักไพร่พลอยู่

                เวลาขณะที่เจ้าทิพเทพบุญเรือนยกกำลังพลไปถึงนั้น เป็นเวลากลางคืนค่อนข้างดึก จึงให้กำลังคนล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้อย่างแข็งแรงทุกด้านเมื่อจัดวางกำลังเรียงรายโดยรอบแล้ว เจ้าทิพเทพบุญเรือน ก็ลอดคลานเข้าไปทางท้องร่อง สำหรับระบายน้ำเวลาฝนตก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดเข้าไปในวัด

                เมื่อเจ้าทิพเทพบุญเรือนลอดเข้าไปถึงวัดชั้นในแล้วก็เข้าไปถามยามรักษาการณ์ว่า ท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูนอยู่ที่ไหน ยามรักษาจึงถามว่ามีธุระสิ่งใดหรือ เจ้าทิพเทพบุญเรือนก็ตอบว่า เจ้าแม่เทวีเมืองลำพูน (ชายาท้าวมหายศ) ใช้ให้ส่งหนังสือด่วนให้ท้าวมหายศ ยามรักษาได้ฟังดังนั้นก็หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงอนุญาตให้เจ้าทิพเทพบุญเรือนเข้าไปหาท้าวมหายศซึ่งกำลังเล่นหมากรุกกับทหารคนสนิทและนางบำเรอที่วิหารหลวง ตรงมุมตะวันตกเฉียงเหนือ

                เมื่อเจ้าทิพเทพบุญเรือนเห็นและแน่ใจว่า บุคคลตรงหน้านั้นคือท้าวมหายศจึงคลานเข้าส่งหนังสือปลอมมานั้นส่งมอบให้ท้าวมหายศ เมื่อท้าวมหายศรับหนังสือแล้วเจ้าทิพเทพบุญเรือนก็ถอยออกมา ยกปืนที่ติดตัวมายิงท้าวมหายศทันที ท้ายมหายศถูกกระสุนล้มลงขาดใจตายกลางวงหมากรุก (ลูกกระสุนนั้นยังทะลุไปถูกรั้วทองเหลือของเจดีย์ตามที่เห็นอยู่ทุกวันนี้)

                แล้วเจ้าทิพเทพบุญเรือนก็รีบหนีเล็ดลอดออกไปตามทางระบายน้ำเก่าที่เข้ามา แล้วนำทหารลำปางฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือตายก็แตกหนีพ่ายไป เจ้าทิพเทพบุญเรือนยกทัพไล่ตีติดตามไปจนถึงดอยดินแดน (ดอยผีปันน้ำ) จึงให้เลิกทัพกลับและแวะนมัสการพระที่วัดปงยางคก ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยบวชเรียนอยู่

                ณ วันนั้น ต่อมาจึงมีประเพณีเมื่อถึงเทศกาลทานข้าวสลาก (กิ๋นก๋วยสลาก) ประจำปีต้องมีที่วัดปงยางคกก่อนวัดอื่นในเมืองลำปางและเลยมาขอขมาเทพารักษ์และพระธาตุลำปางหลวง

                เมื่อขับไล่ปราบกอบทัพเมืองลำพูนแตกพ่ายไปแล้ว พระมหาเถระเจ้าพระแก้วชมภู พร้อมด้วยประชาราษฎร์ชาวเมืองลำปางทั้งหลายก็พร้อมใจกันแต่งตั้งปราบดาภิเษก สรงน้ำมุรธาภิเศกให้หนานทิพช้าง หรือเจ้าทิพเทพบุญเรือน สถาปนาให้เป็นที่ “เจ้าพระยาสุละวะภาไชยสงคราม” เจ้าผู้ครองเมืองลำปางในปี พ.ศ. 2275 (จุลศักราช 1094) ในครั้งนั้น นครลำปางตั้งตัวเองเป็นอิสระปกครองตัวเองไม่ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่หรือกรุงศรีอยุธยา

                เจ้าพระยาสุละวะไชยสงคราม (เจ้าทิพช้าง) ครองเมืองลำปางนาน 27 ปี จนลุปี พ.ศ. 2302 (จุลศักราช 1121) ก็ถึงแก่ทิวงคต มีโอรสธิดากับเจ้าแม่ปิมลาเทวีรวม 6 คน คือ

                1.  เจ้าชายอ้าย (ถึงแก่กรรมยังเยาว์วัย)

                2.  เจ้าชายแก้ว (ได้ครองเมืองแทนพระบิดา เป็นบิดาของเจ้าเจ็ดตน)

                3.  เจ้านางคำ

                4.  เจ้าชายคำภา

                5.  เจ้าชายพ่อเรือน (ถึงแก่กรรมในการรบกับท้าวลิ้นก่านบุตรพ่อเมืองคนเก่า)

                6.  เจ้านางกลม

                หลังจากท้าวพระยาสุละวะภาไชยสงครามทิวงคต ท้าวลิ้นก่านพ่อเมืองคนก่อน ซึ่งหนีไปอยู่ประตูผาตั้งแต่ครั้นศึกเมืองลำพูนได้ยกกำลังมาปล้นแย่งชิงเมืองจากเจ้าชายแก้ว ซึ่งได้ขึ้นครองเมืองแทนบิดา เจ้าชายแก้วกับเจ้าชายพ่อเรือนต่อสู้กำลังทัพท้าวลิ้นก่านไม่ได้ก็อพยพถอยมาอยู่ที่เมืองแพร่ (บ้างก็ว่าเมืองลอง) ส้องสุมรวมพลได้ผู้คนพอสมควรแล้ว ก็ยกกลับมารบกับท้าวลิ้นก่านอีก ในการรบคราวนี้ เจ้าชายพ่อเรือนน้องชายเจ้าชายแก้ว ถูกปืนตายในที่รบเจ้าชายแก้วก็หนีไปหาโป่อภัยคามินี แม่ทัพพม่า ซึ่งขณะนั้นยึดครองเมืองเชียงใหม่กับลำพูนอยู่

                พม่าจึงส่งเจ้าชายแก้วไปยังกรุงอังวะ ต่อมาพระเจ้าอังวะให้เกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือมารบไทย ให้โป่ชุกยกทัพมาและนำตัวเจ้าชายแก้วมาด้วย กองทัพพม่าตีเมืองลำปางแตก จับท้าวลิ้นก่านฆ่าเสีย แล้วคืนเมืองลำปางให้เจ้าชายแก้ว พระเจ้ากรุงอังวะสถาปนาให้เจ้าชายแก้วเป็นเจ้าฟ้าชายแก้ว (บางแห่งเรียก เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว) เป็นเจ้าครองเมืองลำปางต่อไปในปี พ.ศ. 2307 (จุลศักราช 1126)

                โอรสธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้วอันเกิดกับเจ้าแม่จันทาเทวี ที่เป็นเชื้อสายของพญาสุละวะภาไชยสงคราม (เจ้าทิพช้าง) ที่ต่อมาได้ครองเมืองเชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน ลำปาง ลำพูน คือ

                1.  เจ้ากาวิละ ประสูติ พ.ศ. 2285 ต่อมาได้เจ้าครองเมืองลำปาง 7 ปี แล้วทรงโปรดฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เลื่อนขึ้นรับสุพรรณบัตรเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีฯ พระเจ้าขันธเสมานครเชียงใหม่ที่ 1

                2.  เจ้าคำโสม ประสูติ พ.ศ. 2287 ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองลำปางที่ 2  ต่อจากพระเจ้าบรมราชาธิบดี  (กาวิละ)

                3.  เจ้าน้อยธรรมลังกา ประสูติ 2289 ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 2 หรือเรียกกันว่าเจ้าช้างเผือก

                4.  เจ้าดวงทิพย์ ประสูติ 2291 ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองลำปางที่ 3 ต่อจากเจ้าคำโสม

                5.  เจ้านางศรีโนชา ประสูติ 2293 เป็นพระชายากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (ชาวเหนือเรียกว่าแม่ครอกศรีอโนชา มีพระธิดา 1 องค์ ทรงพระนามว่า เจ้าหญิงกุลทอง

                6.  เจ้านางศรีวรรณา  ประสูติ พ.ศ. 2295

                7.  เจ้าหมูหล้า ประสูติ พ.ศ. 2297 ได้เป็นอุปราชเมืองลำปาง ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2358 อายุได้ 39 ปี

                8.  เจ้าคำฟั่น  ประสูติ พ.ศ.2299 ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ 3 หรือเรียกกันว่า เจ้าหลวงเศรษฐี

                9.  เจ้าบุญมา ประสูติ พ.ศ. 2303 ได้เป็นเจ้าเมืองลำพูนที่ 2

                รวมโอรสและธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้ว ชาย 7 คน หญิง 3 คน รวมเป็น 10 คน ที่เรียกกันว่า “เจ้าเจ็ดตน” นั้นนับเฉพาะที่เป็นชายเท่านั้น เจ้าทั้งเจ็ดองค์นี้เป็นต้นตระกูลวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ ลำปาง ณ ลำพูน ส่วนเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนที่อยู่ทางเชียงรายส่วนมากใช้นามสกุล “เชื้อเจ็ดตน” เป็นเชื้อสายของ “ทิพช้าง” วีระบุรุษแห่งเขลางค์นคร เช่นกันสืบมาจนทุกวันนี้

                ส่วนเจ้าผู้ครองเมืองลำปางสืบต่อกันมาอีก 14 คน ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองคนสุดท้ายคือ เจ้าราชบุตร (เจ้าแก้ว ผาบเมือง ณ ลำปาง พ.ศ. 2465 นับแต่นั้นมา ตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองลำปางก็ถูกล้มเลิกไป เช่นเดียวกับตำแหน่งเจ้าเมืองในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งถูกสั่งเลิกหมด ให้ปกครองแบบมณฑลจังหวัด   โดยการส่งข้าหลวงจากส่วนกลางไปปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมของประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (1)

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์