4 พระบรมธาตุ
4
พระบรมธาตุ
ตำนานที่มาโดยละเอียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปี
พระธาตุลำปางหลวง
ลำปาง
โดย
สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
ประวัติพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (2)
พระธาตุลำปางหลวง
จากตำนานเมืองของล้านนากล่าวว่า
เมื่อสมัยพระพุทธองค์ทรงพระเกษมสำราญ พระอริยาบทอยู่วัดเชตะวันในชมพูทวีป
ในคืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่งอรุณ พระองค์ทรงรำพึงว่า
ตั้งแต่ได้ตรัสรู้โพธิสมโพธิญาณ นับได้ 25 พรรษาแล้ว
จะเข้าสู่ปรินิพพานเมื่ออายุครบ 80 ปี สังขารธาตุจักย่อยสลายให้ปวงชนและพระอรหันต์
จะได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่บูชาเสมอเหมือนดังกูตถาคตยังมีชีวิตอยู่
ทรงรำพึน 4 องค์ เสด็จออกจากเชตะวันอารามมหาวิหาร
จารึกไปตามเมืองน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลายโดยมีพระเจ้าปเสนทิฯ ตามเสด็จด้วย
เมื่อเสด็จถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง)
พระพุทธองค์ก็เสด็จประทับอยู่เหนือดอยม่อนน้อยซึ่งเป็นเขาเตี้ย
ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อลั๊วะอ้ายกอน
เห็นพระพุทธเจ้าบังเกิดความเลื่อมใสได้นำเอาน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้บ้าง
(เป็นไม้ข้าวหลามไม้เปาะ) กับมะพร้าวและมะตูมอย่างละ 4 ลูก มาน้อยถวายพระพุทธองค์
พระองค์รับเอาไว้แล้วก็สั่งให้พระอานนท์เถระใส่ลงในบาตรแล้วพระองค์ก็ทรงฉันน้ำผึ้งนั้น
เสร็จแล้วพระองค์ก็ทิ้งกระบอกไม้นั้นไปทางทิศเหนือแล้วพยากรณ์ว่า
สถานที่นี้ต่อไปจะมีผู้มาสร้างเมืองมีชื่อว่า ลัมภะกัปปะนคร
จากนั้นพระองค์ก็ใช้พระหัตฏ์ขวาขึ้นลูกพระเศียรได้พระเกศา 1 เส้น มอบให้แก่ ลั๊วอ้ายกอน
ด้วยความโสมนัสปลื้มปิติเป็นล้นพ้น ลั๊วอ้ายกอน
ก็นำพระเกศาธาตุลงบรรจุในผอบทองคำใหญ่ขนาด 8 กำ พระเจ้าปเสนทิฯ
กับพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ก็ช่วยกันขุดหลุมขนาดกว้าง 5 วา ลึก 5 วา
แล้วอัญเชิญผอบพระเกศธาตุ ลงไปประดิษฐานกลางหลุมนั้น
พระเจ้าปเสนทิฯ กับลั๊วอ้ายกอน ก็นำเอาทรัพย์สิน เงินทอง
แก้วแหวนของมีค่าจำนวนมาก ถวายเป็นพุทธบูชาฝังรวมไว้ในหลุม เสร็จแล้วก็แต่งพยนต์ผัด
(พยนต์หมุน) ไว้รักษาพระเกศธาตุ ถมกลบดินดีแล้วก็ก่อเป็นรูปเจดีย์สูง 7 ศอก
พระตถาคตพยากรณ์ต่อไปว่า
เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว 218 ปี จึงมีพระอรหันต์ 2 องค์
ชื่อ กุมาระกัสปะเถระ กับ เมฆิยเถระ จักนำเอาพระอัฐนิลาตข้างขวาและพระอัฐิลำคอข้างหน้าหลังมาบรรจุไว้ในที่นี้
เจดีย์นี้ก็จะปรากฏเป็นเจดีย์ทองคำมีชื่อว่า ลัมภะกัปปะ
แล้วองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจารึก
โปรดเพื่อมนุษย์ไปตามบ้านเมืองน้อยใหญ่ต่อไป
ครั้นต่อมา มีพระเถระชาวเชียงใหม่ 2 รูป ได้จารึกลงมาสู่เมืองอโยธยาทางใต้
เพื่อมานมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนั้น ไดไปพบพระเถระชาวอโยธยา
พระเถระองค์นั้นก็ถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองอยู่แห่งหนที่ใด
มีกิจอันใดพระเถระชาวเชียงใหม่ก็ตอบว่ามาเพื่อจักไหว้และบูชาพระบรมสารีริกธาตุอันอยู่ในเมืองนี้
องค์ท่านมาจากเมืองระมิงค์อันเป็นเมืองอยู่ทางตอนเหนือของต้นน้ำ
พระเถระชาวอโยธยาได้ฟังดังนั้น
จึงบอกว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้น ทางเมืองเหนือต้นน้ำมีมากกว่า
ที่มีมากคือที่เมืองหริภุญชัยและลัมภะกัปปะนคร
พระเถระชาวเชียงใหม่กล่าวว่าพระบรมสารีริกธาตุที่หริภุญชัยนั้นพอรู้ แต่ที่ลัมภะกัปปะนครนั้นหาปรากฏไม่
แล้วพระเถระทั้งสองก็ขอเขียนตำนานดังกล่าวต่อพระเถระเจ้านั้นมีข้อความต่อไปนี้
เมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานล่วงเข้ามาได้ 218
ปี ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำสงครามชนะศึกน้อยใหญ่
หัวเมืองทั้งหลายได้อาศัยเข้านิโคธสามเณรทรงเลิกนับถือเลื่อมใสต่อพวกเดียรฐีทั้งหลาย
พระองค์บังเกิดศรัทธาปสาทะอันแรงกล้าต่อพระบวรพุทธศาสนามีความตั้งใจอยากจะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้มีจำนวน
84,000 องค์ พระวิหาร 84,000 หลัง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระธรรมของพระพุทธเจ้า
84,000 พระธรรมขันธ์
พระองค์ให้หาพระบรมสารีริกธาตุก็ได้พบที่กรุงราชคฤห์
แล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่กรุงปาตลีบุตร
แล้วสั่งให้หัวเมืองทั้งหลายในชมพูทวีปให้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์และพระวิหารอย่างละ
84,000 เสร็จแล้ว
พระองค์จึงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมอบให้พระเถระเจ้าทั้งหลายให้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระเจดีย์และพระวิหารนั้น
ๆ
ส่วนพระกุมาระกัสสปะเถระ
กับพระเมฆิยะเถระก็อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์
ลัมภะกัปปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง)
ตรงตามพุทธทำนายเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนต่อไป
ล่วงมาเป็นเวลานาน
ถึงสมัยพระยาจันทะเทวราชครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุวรรณภูมิรู้ข่าวว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ที่พระยาศรีธรรมโศกราชได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ลัมภะกัปปะนครนั้น
องค์พระเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมากพระยาจันทะเทวราชทรงมีความเลื่อมใสอยากได้มาไว้ในบ้านเมืองของพระองค์จึงเสด็จมาโดยจตุรงค์เสนา
ถึงลัมภะกัปปะนครที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุก็ให้ตั้งค่ายพักพลรายล้อมบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระองค์ก็ให้จัดการสมโภชพระบรมธาตุเป็นเวลา
7 วัน
พระองค์ตั้งสัจจะอธิษฐานขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเสด็จออกจากหลุมถึง 3 ครั้ง
พระบรมสารีริกธาตุก็หาได้เสด็จออกไม่
พระองค์จึงบัญชาให้อำมาตย์ทั้งหลายของพระองค์ทำการขุดดินลงไปอัญเชิญผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุออกจากหลุมแล้วอัญเชิญขึ้นหลังช้างเลิกทัพกลับเมืองสุวรรณภูมิ
เมื่อถึงเมืองจัดให้มีการสมโภชเป็นการใหญ่
พอถึงคืนที่ 2
พระบรมสารีริกธาตุก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ลอยขึ้นสู่อากาศทั้งผอบทองคำที่บรรจุแล้วเสด็จกลับไปลัมภะกัปปะเจดีย์ตามเดิม
พระยาจันทะเทวราชรู้สึกน้อยพระทัยเป็นอันมาก
พอรุ่งเช้าพระองค์ก็สั่งให้เตรียมกองทัพเสด็จออกติดตามพระบรมสารีริกธาตุจนถึงลัมภะกัปปะนคร
ก็ทรงเห็นผอบพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่ที่เดิมเป็นปกติ
พระองค์จึงเข้าไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุโดยความเคารพและเลื่อมใสเป็นล้นพ้น
พระองค์จึงสั่งให้จัดการพักพลให้เรียบร้อยแล้วให้จัดการตกแต่งหลุมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้กว้างด้านละ
10 วา ลึก 20 วา ปราบก้นหลุมให้ราบเรียบเรียบร้อยจึงก่อด้วยอิฐเงิน
อิฐทองคำสูงจากกุ้นหลุมขึ้นมา 4 ศอก
แล้วให้แต่งผอบเงินอีกอันหนึ่งเพื่อบรรจุผอบทองคำเดิม
ประดิษฐานไว้เหนือหลังสิงห์อันหล่อด้วยทองคำ
แล้วนำเอาสิงห์ทองคำลงไปตั้งบนอิฐทองคำกลางหลุม
เสร็จแล้วพระองค์ก็ให้ช่างก่อเจดีย์ขึ้นหุ้มสิงห์ทองคำนั้น
เจดีย์นี้มีรูปสัณฐานคล้ายฟองน้ำ
แล้วพระองค์ก็ตั้งเครื่องบูชาด้วยดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองคำ
ประทีปเงินประทีปทองคำล้อมรอบไว้ทุก ๆ ด้าน
นอกจากนี้ก็ให้ตั้งไหเงินลูกใหญ่ไว้ที่มุมทั้ง 4
ด้านของหลุมแล้วพระองค์ก็ให้สร้างหุ่นพยนต์มีมือถืออาวุธไว้ทั้ง 4 ด้าน
เพื่อไว้ปกปักรักษาพระบรมสารีริกธาตุให้มั่นคงปลอดภัย
ก่ออุโมงค์หุ้มหุ่นพยนต์นั้นไว้อีกชั้นหนึ่ง
ก่อเสร็จก็ให้กลบด้วยแผ่นเงินแล้วถมด้วยศิลาแลงให้เสมอด้วยดิน
จากนั้นก็โบกปูนให้แน่นหนาแข็งแรงจนแล้วเสร็จ
แต่ยังมีทองคำเหลืออีก 4 โกฏิ์
พระยาจันทะเทวราชจึงปรึกษากับเหล่าอำมาตย์ทั้งหลายว่า
กิจกรรมทั้งหลายก็กระทำแล้วเสร็จแต่ยังมีทองคำเหลืออยู่อีก จึงตกลงให้นำทองคำจำนวน
2 โกฏิ์ นำไปฝังไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดท่าผา ห่างจากวัดท่าผาประมาณ 100 วา
(วัดท่าผา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ วัดพระธาตุลำปางหลวง 3 กม.
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ว่าการอำเภอเกาะคา ประมาณ 25 เส้น
เป็นวัดเก่าแก่มีพระพุทธรูปโบราณ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ วัดท่าผาประมาณ 100 วา
มีหลุมเก่าแก่หลุมหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า ซุ้มคำ ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่)
และทองคำที่เหลืออีก 2 โกฏิ์ ก็ให้ฝังไว้ที่ดอย พี่น้อง ทางทิศเหนือเมือง เตริน
(เมืองเถิน หรือห้วยแม่เดินเหนืออำเภอเถิน) แล้วฝังทองคำ
พระองค์ก็ตั้งจิตอธิษฐาน
ว่าต่อไปภายภาคหน้าขอให้ท้ายพระยาหรือบุคคลผู้มีบุญญาธิการที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
และพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในลัมภะกัปปะนคร ลงขุดเอาทองคำนี้
ก่อสร้างพระเจดีย์ให้รุ่งเรืองตลอด 5,000 พรรษา
เมื่ออธิษฐานเสร็จพระองค์ก็กราบไหว้ขอขมาโทษพระบรมธาตุแล้วเสด็จกลับเมืองสุวรรณภูมิ
มาถึงสมัยพระยาพละ เจ้าเมืองแพร่ซึ่งปกครองเมืองอยู่ใกล้กับเมืองลัมภะกัปปะนคร
พระองค์รู้ประวัติว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีอยู่ในเมืองลัมภะกัปปะนคร
พระองค์มีความประสงค์อยากได้มาในเมืองของพระองค์ จึงเสด็จมาพร้อมเหล่าเสนาทั้ง 4
เมื่อถึงแล้วพระองค์ให้ตั้งราชวัตรฉัตรธงรอบบริเวณที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ
แล้วก็ให้คนทำการขุดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็พบแผ่นเงินที่กลบหลังหุ่นพยนต์
ก็ให้ยกแผ่นเงินออกเสียแล้วก็ขุดต่อลงไปถึงอุโมงค์ของหุ่นพยนต์
คราวนี้ไม่สามารถขุดลงไปได้เพราะหุ่นพยนต์ได้ปกปักรักษาพระองค์จึงให้หาก้อนหิน ดิน
ทราย และท่อนไม้ใหญ่มากองรอบบริเวณปากหลุมเป็นอันมาก
แล้วจึงให้คนพร้อมกันทิ้งวัตถุเหล่านี้ลงไปในหลุม
แต่วัตถุเหล่านี้ได้ย่อยเป็นผุยผงพุ่งกลับขึ้นมาหาทำอันตรายแก่หุ่นพยนต์ไม่
พระองค์ให้กระทำอยู่ 2 ถึง 3 ครั้ง ก็ไม่บังเกิดผลจนหมดปัญญา
จึงให้คนทั้งหลายถมดินแต่ข้างหลังหุ่นพยนต์นั้นขึ้นมาจนหุ้มอุโมงค์นั้นแล้ว
พระองค์จึงให้หาคนผู้กระทำความผิดมา 4 คน
แล้วฆ่าเอาศพให้หัวสุมกันให้เท้าชี้ไปคนละทิศ ทั้ง 4 ทิศ เพื่อให้คนทั้ง 4
ทำการรักษาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป แล้วถมดินนั้นขึ้นมาจนเสมอพื้น
จากนั้นก็หาไม้ขะจาวมาปลูกไว้ตรงกลางหลุมนั้น 1 ต้น และให้ปลูกไม้ขะจาวไว้ทั้ง 4
ทิศ
เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าภายหน้าเมื่อหุ่นพยนต์ชำรุดหักพังลงพระองค์จะได้มาขุดเอาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป
เสร็จแล้วพระองค์พร้อมด้วยเหล่าจตุรงค์เสนาก็เสด็จกลับเมือง
ลุมาประมาณ พ.ศ. 1200 เจ้าแม่มหาเทวีทรงพระนามว่าจามเทวี
ได้เสวยราชสมบัติในเมืองหิริภุญชัยมีเดชานุภาพอำนาจมาก ครั้งหนึ่งพระนางเสด็จไปทัพแม่สลิตเสร็จแล้ว
เสด็จกลับผ่านมาทางสบยาว
(ปากห้วยแม่ยาวไหลลงมาบรรจบแม่น้ำวังทางทิศใต้ของวัดพระธาตุลำปางหลวงประมาณ 2 กม.)
ได้ตั้งค่ายพักที่นี้ ขณะที่พระนางประทับอยู่ในค่ายด้วยความสุขสำราญนั้น
ในเวลาปัจฉิมยาม พระธาตุก็แสดงปาฏิหาริย์เป็นดวงไฟมาจากลัมภะกัปปะนครตกลงกลางค่ายของพระนาง
พระนางเข้าพระทัยว่าชาวบ้านแถวนั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแกล้งจุดไฟโตนดให้มาตกลงที่ค่าย
รุ่งขึ้นพระนางจึงเรียกเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้าเล่าเหตุการณ์เมื่อคืนให้ทราบแล้วถามคนอื่นว่า
มีผู้ใดเห็นไฟโตนดตกลงมาบ้าง แต่คนทั้งหลายกลับตอบว่าไม่ได้เห็นเลย
ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งที่อยู่ในที่นั้น ชื่อ ล่ามพันทอง จึงกราบทูลว่า
ที่พระแม่เจ้าเห็นไฟโตนดตกนั้นหาใช่ไฟโตนดไม่
ที่แท้คือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ที่ตั้งอยู่วัดลัมภะกัปปะนครเสด็จมาแสดงปฏิหาริย์ให้พระแม่เจ้าได้ทรงทราบทั้งนี้ด้วยบุญญาธิการของพระแม่เจ้าต่างหาก
เมื่อชายผู้นั้นกราบทูลให้พระนางทรงทราบ
ดังนั้นแล้วพระนางก็เข้าพระทัยโดยปัญญาของพระนาง
แล้วพระนางก็สั่งให้เตรียมพลยกไปลัมภะกัปปะนครสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระเจ้า
เมื่อเสด็จถึงพระนางเสด็จลงจากหลังช้างเสด็จเข้าไปกราบนมัสการตรงที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุด้วยความโสมนัสเคารพยิ่ง
ฝ่ายชาวบ้านเมื่อทราบข่าวว่า
พระแม่เจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงต่างชักชวนมาเฝ้าชมพระบารมีของพระนางเจ้า
พระนางก็ทรงถามเรื่องทุกข์สุขของชาวบ้านว่ามีเรื่องเดือดร้อนอันใด
ชาวบ้านชาวเมืองต่างก็กราบทูลว่า
ไม่มีความเดือดร้อนอื่นใดนอกจากการขาดแคลนน้ำบริโภคที่ทุกวันต้องเอาเกวียนไปบรรทุกเอาน้ำมาจากแม่น้ำวัง
และห้วยแม่ยาว ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก
เมื่อจักขุดหาบ่อน้ำก็หาสายน้ำไม่ได้
จนท้อใจเมื่อพระนางได้ยินเรื่องความเดือดร้อนเกี่ยวกับการขาดน้ำบริโภคของชาวบ้านชาวเมืองก็ให้รู้สึกสงสารเป็นอันมาก
ก่อนที่พระนางจะเสด็จกลับพระนางก็ทรงกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุด้วยความเคารพแล้วทรงอธิษฐานว่า
ถ้าสถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระอรหันต์เจ้าและพระยาศรีธรรมโศกราช
นำมาประดิษฐานไว้จริงแล้ว
ขอให้สายน้ำจงแตกออกตรงใจกลางเมืองทั้งนี้เพื่อเป็นที่อาศัยแก่หมู่ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น
เมื่อพระนางอธิษฐานเสร็จก็แสดงความเคารพกราบไหว้อีกครั้งหนึ่ง
แล้วพระนางก็ดำเนินขึ้นหลังช้างที่ได้เตรียมไว้เสด็จยาตราทัพกลับสู่เมืองตาลเมืองรมณีย์ที่ทรงพระสำราญของพระองค์
(เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์เป็นเมืองร้าง
ตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอห้างฉัตร)
เย็นวันนั้น
เมื่อขบวนเสด็จของพระนางเสด็จไปแล้วก็มีหญิงแก่คนหนึ่งชื่อ ย่าลอน
ได้ไปในสถานที่แห่งหนึ่ง มีรอยน้ำซึมออกมาบนผิวดินนางก็ขุดคุ้ยดู
ก็พบสายน้ำพุ่งออกมา เมื่อเป็นเช่นนี้นางก็ไปบอกกล่าวกับชาวบ้านทั้งหลายให้มาดู
ชาวบ้านทั้งหลายก็นำเอาเสียมมาขุดดินให้เป็นบ่อน้ำก็พบสายน้ำพุ่งขึ้นมาแรงนัก
ต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเกิดจากบุญญาธิการของพระนางเจ้าที่กระทำสัจจะอธิษฐานต่อพระบรมสารีริกธาตุเป็นมั่นคง
จึงพบบ่อน้ำนี้ น้ำใหม่นี้ก็ผิดกับน้ำที่มีในบ่ออื่น ๆ คือใสเย็น มีรสกลิ่นหอมอร่อย
ปัจจุบันนี้บ่อนี้ยังมีอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า น้ำบ่อเลี้ยง
มีอยู่แห่งเดียวที่ทุกครัวต้องอาศัยน้ำบ่อนี้
พอรุ่งขึ้น พ่อเมืองก็หาไหอันใหม่ที่สวยงามมาตักน้ำในบ่อนั้น
เอาผ้าใหม่ผูกหุ้มปากไหแล้วให้คนหามไปถวายพระนางจามเทวี ที่เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์
เมื่อพระนางทอดพระเนตรเห็นมีผู้นำไหใส่น้ำมาถวายให้
จึงตรัสถามว่าเอาไหมาให้เป็นอะไร
คนทั้งหลายก็กราบทูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระนางเจ้าได้เสด็จกลับจากลัมภะกัปปะนครให้ทรงทราบทุกประการ
พระนางทรงได้ทรงทราบเรื่องดังนั้นแล้วก็บังเกิดความปลื้มปิติปสาทะเป็นอันมาก
แล้วพระนางก็ให้นางเฒ่าแก่ที่เฝ้าอยู่ขณะนั้นชิมน้ำนั้นดู
นางเฒ่าเมื่อชิมน้ำนั้นแล้ว ก็กราบทูลว่าน้ำนั้นมีรสดีกว่าน้ำทั้ง 7
แห่งของเมืองหริภุญชัย
พระนางรับสั่งให้อำมาตย์จัดคนให้ติดตามชาวบ้านลัมภะกัปปะไปเลือกหาชัยภูมิที่จะปลูกพลับพลาที่ประทับของพระองค์
เมื่ออำมาตย์เลือกได้ชัยภูมิที่ดีแล้ว ก็ช่วยกันปลูกพลับพลาจนเสร็จเรียบร้อย
แล้วกลับไปกราบทูลให้ทรงทราบ
พระนางจึงได้จัดขบวนยาตราจากเมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ถึงพลับพลาที่ประทับ
หลังจากพักผ่อนพระอิริยาบถให้หายเหน็ดเหนื่อยแล้วพระนางก็จัดแจงชำระพระวรกายจนหมดจด
แต่งพระองค์เสร็จแล้วก็เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุโดยเครื่องพระราชทานเป็นจำนวนมาก
แล้วสั่งให้มีการฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
เสร็จแล้วพระนางได้จัดการถวายนาราคาล้านเบี้ย
ให้เป็นนาของพระบรมสารีริกธาตุและถวายล่ามฟันทองกับนางดอกไม้ที่เป็นทาสีทาสาของพระนาง
ให้อยู่เป็นข้าธาตุอยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมสารีริกธาตุกับให้ข้าทาสชายหญิงอีก 2 ครัว
เพื่อให้ปฏิบัติดูแลรักษาบ่อน้ำอันเกิดจากการตั้งสัจจะอธิษฐานของพระองค์
เมื่อพระนางเสด็จสำราญพระอิริยาบถพักผ่อนจนพอพระทัยแล้ว
วันหนึ่งจึงได้สั่งให้เสนาอำมาตย์เตรียมพลเสด็จกลับไปยังเมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ของพระองค์
ลุเข้าปีมะเส็ง จุลศักราช 811 ในปี พ.ศ. 1992
เจ้าเมืองหาญแต่ท้องราชบุตรหมื่นด้งนคร อาศัยอยู่กับมหาเถรเจ้าอัตฐทัคศรี
ได้มาครองเมืองเชียงใหม่ ขอขึ้นกับพระยาติโลกรัตนะบพิตรเจ้า (พระบรมไตรโลกนาถ)
แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระองค์ได้ทรงมาสร้างพระเจดีย์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุที่ลัมภะกัปปะนครได้ตัดไม้ขะจาวต้นที่พระยาพละปลูกไว้เพื่อเป็นที่สังเกตแล้วให้ขุดลงไปข้างล่างได้กระดูกคนทั้ง
4 ที่พระยาพละฝังเอาไว้นั้น
พระองค์ได้สร้างพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลังหนึ่งกว้าง 9 วา สูง 15
วา ด้วยการก่ออิฐสะทายปูน (โบกปูน) จากนั้นก็ให้ก่อปาทะลักขณะ (พระพุทธบาท)
แล้วเสร็จสมบูรณ์
จุลศักราช 838 พ.ศ. 2019 ปีวอก เจ้าหมื่น คำเป๊ก เป็นเชื้อขุน
อยู่ทางใต้ภายใต้อำนาจปกครองของพระยาธรรมราชาติโลกะ (พระยาลกคำ) ปกครองอยู่เมืองปิง
เชียงใหม่
ได้ให้หมื่นคำเป๊กมาปกครองเมืองนครแล้วให้บูรณะพระมหาธาตุแห่งเมืองลำปางโดยให้สร้างกำแพงและวิหารกับให้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง
ใช้ทองหมดไปแสนสองหมื่นเสร็จแล้วก็ฉลองสมโภชไว้ในวิหารและให้ข้า 4 ครัวให้รักษา
จากนั้นก็ให้สร้างศาลาและบ่อน้ำ
ตัดถนนมาต่อหน้าพระมหาธาตุเจดีย์ศรีรัตนธาตุจนแล้วเสร็จ
ก็ปวานาตัวกับพุทธศาสนาในภายภาคหน้า แล้วไว้นากับพระพุทธเจ้า 20 พันธ์ข้าวปลูก
จุลศักราช 858 พ.ศ. 2039 เจ้าเมืองหาญศรีทัต มหาสุรมนตรี
อยู่ปกครองเมืองลีได้ 6 เดือน
ก็ชักชวนพระสงฆ์องค์เจ้ากับเสนาบดีอำมาตย์และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย
มาร่วมกันก่อตีนธรณีพระมหาธาตุ กว้าง 12 วา
ก่อนถัดจากนั้นไปในปีต่อมาก็มาก่อซ้ำจนสำเร็จ
องค์พระมหาธาตุใช้ดินและอิฐสิ้นล้านสามแสนสามพันแปดร้อยเจ็ดสิบสี่ก้อน
เมื่อเจ้าเมืองอ้ายอ่ำเป็นลูกผู้พี่ของเจ้าเมืองหาญปกครองอยู่เมืองนครได้มาช่วยก่อองค์พระมหาธาตุเจดีย์ก่อนตายเจ้าอ้ายอ่ำได้สั่งให้เรา
เจ้าหาญศรีทัตให้มาปกครองเมืองนครแทนตน วันนั้นมหาราช
เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่หลานพระยาลกคำเจ้าเมืองเชียงราย ชื่อแก้วพันตา
(พระยาเมืองแก้ว) ก็ได้ให้เจ้าเมืองหาญศรีทัตแขนเหล็ก (เคยใช้สับผู้คนมาแล้ว)
มาปกครองเมืองนครลำปางแทนเจ้าเมืองอ้ายอ่ำพระองค์ก็มาช่วยก่อองค์พระมหาธาตุด้วย
ล่วงมาถึงปีระกา พ.ศ. 2044 เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ
ได้มีพิธีหล่อพระเจ้าล้านทองด้วยทองสัมฤทธิ์กันจนยามรุ่งให้ไถ่ข้าไว้ 6 ครัว
ดูแลพระเจ้าล้านทอง กับให้นากับพระเจ้าล้านทอง 20 พันธ์
ข้าวปลูกและอธิษฐานขอให้เมืองนครมีแต่ความสุขสงบ
แล้วให้ได้เป็นพระอรหันต์เจ้าในพระพุทธศาสนาในอนาคตกาลภายหน้า
ต่อจากนั้นเจ้าเมืองหาญศรีทัต ก็ให้หล่อพระทององค์หนึ่ง 3 หมื่นทอง
นำมาจากเมืองลำปางมาไว้ที่วัดลำปางประดิษฐานอยู่พระวิหารด้านเหนือ
ทางวิหารด้านตะวันตกได้ประดิษฐานพระศิลาเจ้า
ซึ่งพระยาละโว้พระบิดาของพระนางจามเทวีให้ประทานไว้เป็นที่กราบไหว้บูชาแก่เจ้าอนันตยศผู้เป็นหลานตน
ปกครองอยู่ในเมืองนี้
นอกจากนี้มีพระพุทธเจ้าองค์หลวงที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านใต้
ที่มีมาแต่เก่าก่อนเจ้าเมืองหาญศรีทัตได้ก่อพระมหาธาตุเจดีย์กว้าง 12 วา สูง 21 วา
ปีต่อมาพระราชครูได้นำเอาฉัตรมาใส่ยอดพระมหาธาตุ แล้วยึดแกนเหล็กในปี ปีจอ พ.ศ.2045
ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวยอดมหาธาตุฉัตรได้รับความเสียหายในปี พ.ศ. 2055
มหาสังฆราชอภัยยะทิฐะเมธังคละเจ้ากับมหาสังฆราชวิจิตรญาณเมตตาเจ้า
ได้มาเป็นประธานเสริมแกนเหล็กยอดพระมหาธาตุจนมีความสูง 22 วา 1 ศอก
จุลศักราช 964 พ.ศ. 2145 ตามความเชื่อของคนโบราณที่พยากรณ์ว่า
พุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ 5000 ปี จากนั้นจะเป็นยุคของพระศรีอาริย์
ในวันนี้อนาคตพระวรศาสนาตามความเชื่อจะเหลือภายหน้า 2845 ปี
พระมหาอุปราช พระยาหลงนครชัยบุรี มีความศรัทธาในพระมหาธาตุเจดีย์
ได้ชักชวนพระสงฆ์องค์เจ้าเหล่าเสนาอำมาตย์เข้าขุน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
มาบูชาพระมหาธาตุเจดีย์กับได้สร้างฉัตรใส่ยอดพระมหาธาตุโดยมีพระมหาสมเด็จวรัตนมังคละลัมภะกัปปะรามาธิปติกับพระมหาสังฆราชวัดหลวงและมหาสังฆโมคคลีเชียงยืนเป็นประธาน
อุบาสกจำนวนมาก มีที่ความเคารพเลื่อมใสพระมหาธาตุช่วยกันอุปถัมภ์
การต่อมาเกิดศึกสงครามบ้านเมืองเป็นโกลาหลข้าศึกทั้งหลายได้มาทำลายบ้านเมือง
องค์พระมหาธาตุได้รับความเสียหายจนทิ้งร้างลง
จนถึงสมัยมหาราชครูศรีกลางนครสมเด็จรัตนมังคละลำปาง
พร้อมด้วยพระสงฆ์องค์เจ้าและสหบุญญะการีจึงได้ร่วมกันสร้างองค์พระมหาธาตุขึ้นใหม่
หลังจากนั้นก็มีการบูรณะองค์พระมหาธาตุเจดีย์อีกหลายครั้งเพราะองค์พระมหาธาตุได้สร้างมานาน
มีอายุเก่าแก่ก็ชำรุดทรุดโทรมตามยุคสมัย จนถึงจุลศักราช 1082 พ.ศ. 2263
พระมหาปัญโยลำปาง กับพระหลวงเจ้าป่าตัน และพระสงฆ์เจ้าพร้อมพ่อเมือง
ประชาชนทั้งผู้เฒ่าผู้ใหญ่ชายหญิงและชาวบ้านชานป่าตันได้พร้อมใจกันหล่อลำตองขึ้นใส่ยอดมหาธาตุ
จนแล้วเสร็จ
ครั้นต่อมาถึงสมัยพระองค์เจ้าสุวรรณหอคำเขลางคลัมภะบุรีพร้อมด้วยพระประยูรญาติเจ้าฟ้าท้ายพญาอำมาตย์เสนาไพร่ฟ้าราษฎร์ประชาทั้งหลาย
และฝ่ายสังฆราชา พระอริยะสังฆะเจ้าทุกวัดวาอาราม
ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระมหาธาตุเจดีย์
ที่ถูกมหาวาตะภัยลมพายุพัดเอายอดฉัตรและยอดองค์พระมหาธาตุตกลงมาได้สมัครสามัคคีบูรณะพระมหาธาตุพร้อมเพรียงกัน
จากนั้นก็แต่งราชทูตไปกราบทูลถึงสมเด็จพระเอกาทศรถพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ทางฝ่ายใต้ แจ้งเหตุการณ์ทั้งมวลให้ทรงทราบ สมเด็จพระเอกาทศรถ
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระหฤทัยยินดีปลื้มปิติมาก
ทรงช่วยอุปถัมภ์พระราชทานแก้วแหวนเงินทอง และทองคำเปลวให้มาบูรณะองค์พระมหาธาตุ
องค์พระมหาธาตุได้รับการบูรณะสร้างเสริมขึ้น
ใบยอดฉัตรทำขึ้นใหม่ใหญ่กว่าของเก่า 4 นิ้ว วัดโดยรอบได้ 9 กำ 4 นิ้ว
ใบชั้นของฉัตรเก่าเดิมมี 5 ชั้น ก็ต่อยอดขึ้นอีก 2 ชั้น
โดยต่อปลายแกนเหล็กขึ้นมาใหม่อีก 2 ศอก 1 คืน จากนั้นก็หุ้มด้วยทองคำปลายบน
กาบบัวตุ้ม แก้วยอดฉัตร รวมน้ำหนักทองคำ 800 รัชชะฏะหนัก 1100 สิ้นทองคำเปลว 18,912
แผ่น
พระองค์เจ้าสุวรรณะหอคำ ได้เสวยราชย์บ้านเมืองลัมภะบุรีนานได้ 6 ปี
ก็ได้บูรณะพระมหาธาตุขึ้นใหม่ ให้กับองค์พระมหาธาตุพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง
แผ่ขจรไปไกล
ให้เป็นถาวรวัตถุเพื่อเป็นที่เคารพสักการะกราบไหว้บูชาแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลายตราบชั่วกาลนาน